**ทิฏฐิวิสุทธิ

ทิฏฐิวิสุทธิ

โดย

อาจารย์แนบ มหานีรานนท์

นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

 

*******ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นที่ ๓ ต่อจากจิตตวิสุทธิที่ได้แสดงมาแล้ว ได้แสดงมาแล้ว ๒ วิสุทธิ คือศีลวิสุทธิ กับจิตตวิสุทธิ

*******ในวิสุทธิ ๗ นั้น เมื่อย่อลงไปก็ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา เรื่องศีลและเรื่องสมาธิ ได้พูดมาแล้ว ต่อไปนี้ก็จะพูดเรื่อง “ปัญญาวิสุทธิ

********ปัญญาวิสุทธิ นี้ มี ๕ วิสุทธิ ในวิสุทธิทั้ง ๗ นั้นนะ มีปัญญาเสีย ๕ วิสุทธิ มีทิฏฐิวิสุทธิเป็นต้น

*******ในเรื่องของวิสุทธิทั้ง ๗ นี้  สิ่งที่เราควรเข้าใจเสียก่อนว่า  วิสุทธิทั้ง ๗ นี้  จะต้องเป็นปัจจัยซึ่งกันนะคะ  จะขาดวิสุทธิอันใดอันหนึ่งไปไม่ได้  จะได้แต่เพียง ๒ วิสุทธิ  หรือ ๓ วิสุทธิ  หรือมีแต่ศีลวิสุทธิอย่างเดียวก็ไม่ได้  หรือจะมีแต่สมาธิอย่างเดียวก็ไม่ได้   ปัญญาอย่างเดียวก็ไม่ได้

*******เพราะว่า ปัญญา จะวิสุทธิได้ ก็ต้องได้สมาธิเป็นวิสุทธิเสียก่อน สมาธิ จะวิสุทธิได้ ก็ต้องได้ศีลเป็นวิสุทธิเสียก่อน ถึงจะเป็นไปได้

*******ทีนี้ศีลวิสุทธิ  จะวิสุทธิได้ด้วยอะไร  ก็ต้องวิสุทธิได้ด้วยปัญญาอีก คือมันกลับไปหาปัญญาอีกเหมือนกัน  โดยมากปัญญาที่เป็นทิฏฐิวิสุทธิในที่นี้  ท่านหมายถึงปัญญาที่อยู่ในเขตของภาวนา  คือวิปัสสนาภาวนา  แต่ว่าศีลจะวิสุทธิได้นี้ก็ต้องอาศัยปัญญา

*******ตั้งแต่สุตมยปัญญาเป็นต้นไป   และจินตามยปัญญาพวกนี้ก็ต้องอาศัย

*******เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยซึ่งกันและกันนะคะ ทั้ง ๗ วิสุทธินี้ต้องเนื่องกัน  ไม่ใช่ต่างคนต่างจะเกิดขึ้นเองโดยลำพังนั้นไม่ได้

*******เพราะธรรมชาติทั้งหลายจะต้องอาศัยเหตุและปัจจัยเกิดขึ้น นอกจากพระนิพพานเท่านั้น ที่ไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย เพราะพระนิพพานนั้น  เป็นธรรมที่ดับเสียซึ่งกิเลสหรือภพ  ดับเสียแล้วจากเหตุปัจจัย  หรือพ้นแล้วจากเหตุปัจจัยทั้งปวง เพราะเป็นอสังขตธรรม

*******พระนิพพานไม่ได้เกิดจากเหตุปัจจัย แต่พระนิพพานนี่เป็นตัวดับเหตุ  ดับปัจจัย  แต่ว่าพระนิพพานนั้นน่ะ  เป็นปัจจัยได้ไหม?  ไม่ได้เกิดจากเหตุจากปัจจัย  แต่พระนิพพานจะเป็นปัจจัยได้ไหม? พระนิพพานเป็นเหตุเป็นปัจจัยได้นะ ! คือเป็นอารัมมณปัจจัยได้  เพราะว่า  จิตทั้งหมดต้องมีอารมณ์ปัจจัยทุกอย่าง ขาดอารมณ์แล้วจิตจะเป็นไปไม่ได้เลย  แต่ส่วนจะเป็นอารมณ์อะไร,  จิตนั้นจะเกิดขึ้น  จะบัญญัติเป็นจิตอะไร  และมีความหมายเป็นจิตอะไรนั้น  ก็มีปัจจัยอื่นๆ อีกที่เข้าร่วมไป

*******แต่อย่างไรก็ตาม  ต้องมีอารมณ์เป็นปัจจัยเป็นสาธารณะของจิตทั้งปวง

*******พระนิพพพานนี้เป็นอารัมมณปัจจัย อารัมมณปัจจัยของอะไร ?  ของใคร ?  เป็นอารัมมณปัจจัยของมัคคจิต ๔  ผลจิต  ๔  ดวงนั้นน่ะ คือ โลกุตรจิต ๘ ดวงนี้ จะต้องมีพระนิพพานเท่านั้นเป็นอารมณ์  ถ้าไม่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว       โลกุตรจิต ๘ ดวงนี้ก็เกิดไม่ได้  ต้องมีพระนิพพานเป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัย   ถึงปรากฏขึ้นได้

*******เพราะฉะนั้น   เมื่อพูดถึงพระนิพพานเป็นตัวดับเหตุ  ดับปัจจัย แต่ว่าพระนิพพานนั้นเป็นตัวปัจจัยให้ธรรมอย่างอื่นเกิดได้  แต่ไม่มีอะไรมาเป็นปัจจัยให้เกิดพระนิพพาน

*******ฉะนั้นในวิสุทธิทั้ง  ๗  นี้  ก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัยเช่นเดียวกัน คือ ศีลวิสุทธิ ก็ต้องเป็นปัจจัยแก่จิตตวิสุทธิ จิตตวิสุทธิก็ต้องได้มาจากศีลวิสุทธิเป็นปัจจัยให้แล้ว  จิตตวิสุทธิจึงจะเกิดขึ้นได้

*******เมื่อจิตตวิสุทธิเกิดขึ้นแล้ว  ก็เป็นปัจจัยให้เกิดปัญญาที่เป็นวิสุทธิได้  ต้องเป็นปัจจัยกันอย่างนี้นะคะ  เพราะศีล  สมาธิ  ปัญญา  ที่เป็นวิสุทธิก็มี ที่ไม่เป็นวิสุทธิก็มี  ถ้าศีลไม่เป็นวิสุทธิ  ก็ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดจิตตวิสุทธิ  คือ  สมาธิที่เป็นวิสุทธิ

*******ศีล ที่ไม่เป็นวิสุทธิ  เป็นปัจจัยให้เกิด  สมาธิ  ที่ไม่เป็นวิสุทธิได้   แต่ว่าจะเป็นปัจจัยให้เกิดสมาธิ ที่เรียกว่า จิตตวิสุทธิ นั้นไม่ได้

*******ศีล  สมาธิ  ปัญญา  ก็ต้องเป็นปัจจัยกัน  ถ้าปัจจัยเป็นวิสุทธิ ผลก็ต้องเป็นวิสุทธิ  ถ้าปัจจัยไม่ใช่วิสุทธิ ผลก็ไม่ใช่วิสุทธิ

********ในการที่จะเป็นวิสุทธิได้หรือไม่นั้น   ก็อยู่ที่   โยนิโสมน-สิการ

*******ในเรื่องของโยนิโสมนสิการนี้  ก็ได้อธิบายมาแล้ว  ตั้งแต่ในเรื่องของศีลวิสุทธิ ว่าต้องมีมนสิการอย่างไร ถึงจะเป็นวิสุทธิอันนี้ก็ได้อธิบายมาตั้งแต่ในศีลวิสุทธิแล้วนะคะ 

*******ฉะนั้น  จึงขอให้เข้าใจว่า ในการที่เราจะนำปัญญาของเราให้ดำเนินไปถึงพระนิพพานได้นั้น จะต้องมีศีลที่เป็นวิสุทธิเสียก่อน  เป็นต้นไป  แล้วจึงจะเป็นปัจจัยให้จิตตวิสุทธิเกิดต่อไปได้

*******เมื่อเกิดจิตตวิสุทธิ  คือ  สมาธิที่เป็นวิสุทธิเสียก่อน  แล้วจึงเป็นปัจจัยให้ปัญญาที่เป็นวิสุทธิที่เรียกว่า “ทิฏฐิวิสุทธิ” เป็นต้นไป  ของปัญญาวิสุทธิ

*******หากจะมีแต่วิสุทธิใด  วิสุทธิหนึ่ง  แต่ฉะเพราะวิสุทธิเดียวนั้นไม่ได้

*******ฉะนั้น จึงไม่ควรที่จะทำความเห็นว่า  จะถือแต่ศีลอย่างเดียวก็ได้  ไม่ต้องไปทำสมาธิหรอก  ปัญญาก็ไม่ต้องทำ  ถือแต่ศีลอย่างเดียวก็พอแล้ว  ขอให้ศีลนี่  บริสุทธิ์เถอะ,  ความเห็นอย่างนี้ก็มีอยู่ในหมู่พุทธบริษัทไม่ใช่น้อยเหมือนกันเวลานี้  ที่ว่าถือศีลอย่างเดียวก็พอ  ก็ไปนิพพานได้เหมือนกัน  หรือทำแต่สมาธิอย่างเดียวก็ไปนิพพานได้ อย่างอื่นไม่ต้องคำนึงถึง  ทำแต่สมาธิอย่างเดียว อันนี้ก็ไม่ได้เหมือนกันนะคะ

*******ความเข้าใจอย่างนี้  ยังไม่เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องด้วยเหตุผล  เพราะการที่ไปถึงพระนิพพานได้นั้น  จะต้องไปด้วยศีล,  ด้วยสมาธิ  และพร้อมด้วยปัญญา  แล้วทั้ง  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  นี้  ก็ต้องเป็นวิสุทธิด้วย ทั้ง ๗  คือ  เป็นไปในอารมณ์อันเดียวกัน  ไม่ใช่จะต้องไปด้วยอันใดอันหนึ่ง เช่น การจะไปนิพพานนี่  ต้องอาศัยวิสุทธิทั้ง  ๗  คือ ต้องอาศัยศีลที่เป็นวิสุทธิ  สมาธิที่เป็นวิสุทธิ  และปัญญาก็ต้องเป็นวิสุทธิ

*******เมื่อท่านเข้าใจในวิสุทธิต้นๆ  คือ  ศีลวิสุทธิกับจิตต-วิสุทธิ  ทั้ง  ๒  วิสุทธิ  ตามที่ได้อธิบายมาแล้วนั้น

*******ในวันนี้จะได้อธิบายถึงปัญญาวิสุทธิต่อไป   ในเรื่องของปัญญาที่เป็นวิสุทธินั้น  ท่านจำแนกไว้เป็น  ๕  วิสุทธิ  มีทิฏฐิวิสุทธิ  เป็นต้น

*******ทิฏฐวิสุทธิ  คืออะไร?  ทิฏฐวิสุทธิ  หมายความว่าอย่างไร ?

*******ทิฏฐิ  แปลว่า  “ความเห็น

*******ความเห็นอย่างไร  จึงเรียกว่า  “บริสุทธิ์”  ความเห็นที่ไม่เจือด้วยกิเลส  หรือกิเลสอาศัยไม่ได้

********ทิฏฐวิสุทธิ ได้แก่  สัมมาทิฏฐิเป็นต้นไป สัมมาทิฏฐินี้ มีหลายขั้นนะ  เป็นไปในขั้นกามาวจรก็มี  ในรูปาวจรก็มี  ในวิปัสสนาก็มี  ในมรรคก็มี  ในผลก็มี  ต้องมีเป็นขั้น ๆ  ไปเหมือนกัน  แต่ว่าต้องได้สัมมาทิฏฐิก่อน  จะเป็นกามาวจรก็ตาม  หรือรูปาวจรก็ตาม  อรูปาวจรก็ตาม  ต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ ก่อนแล้วก็วิสุทธิ  ด้วย  คือ  เป็นทั้งสัมมาทิฏฐิ  และวิสุทธิด้วย  คือ  ความเห็นที่เป็นปัจจัยทำลายให้กิเลสหมดไป ไม่ใช่ ความเห็นที่เป็นปัจจัยให้เป็นที่อาศัยของกิเลสเกิดขึ้น  ปัญญานั้น ก็ไม่เป็นวิสุทธินะคะ

********ปัญญา คือ ความเห็นถูก  หรือปัญญาที่รู้ถูก  หรือเข้าใจถูกโดยปราศจากกิเลส ที่มีความเข้าใจผิดในอารมณ์ของปัญญานั้น

********เพราะว่า อารมณ์นั้น เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นด้วยปัญญา คือ  สัมมาทิฏฐิ ฉะนั้น ปัญญานั้นแหละจึงเป็นอาวุธอันสำคัญที่จะทำลายกิเลสในอารมณ์นั้นๆ ให้หมดไปได้

********ทีนี้เราวิปลาส เราเห็นอะไรเข้าละก็โดยมากมีวิปลาสเกิดขึ้น  ว่าดี  ว่างาม  อันนี้เป็นของเที่ยง มีสาระ  จะนำความสุขมาให้เรา   โดยมากละก็มีวิปลาสเกิดขึ้นในอารมณ์ที่เราเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น  รู้รส  ถูกต้องสัมผัสนี่แหละค่ะ  ในอารมณ์ทั้ง  ๖  นี้แหละ

********เมื่อมันเกิดขึ้นอย่างนี้แล้วละก็  เป็นวิปลาส แต่เมื่อปัญญาเกิดขึ้นมาแล้ว  จึงจะทำลายอารมณ์ของวิปลาส  ที่มีความเห็นผิดนั้นได้

********ฉะนั้นปัญญาที่เป็นวิสุทธินี่  ก็หมายถึงว่า  ปัญญาที่จะทำลายวิปลาสได้  แล้วจึงจะจัดเป็นวิสุทธิได้

*******ปัญญาที่บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสนั้นน่ะ  ที่จัดเป็นทิฏฐิวิสุทธิ  ซึ่งจะได้พูดกันในวันนี้

********ฉะนั้น ต่อไปนี้ ก็ขอทำความเข้าใจในคำว่า “ทิฏฐิวิสุทธิ” ที่เรียกว่าเห็นถูกนั้น เห็นอะไร? เห็นอย่างไร? และ เห็นที่ไหน?  และทิฏฐิวิสุทธินี้ ได้มาจากเหตุอะไร ?

********อันนี้ขอให้ทำความเข้าใจว่า  “ทิฏฐิวิสุทธิ”  คือปัญญาที่เห็นถูกนั้น  ต้องเห็นนามและรูป  ๒  อย่างนี้

********ปัญญาที่เข้าไปรู้ว่าเป็นนาม เป็นรูป นี้แหละ ปัญญาอันนี้  ที่เรียกว่า “ทิฏฐิวิสุทธิ” แปลว่า เห็นถูกแล้วใช่ไหม? ถ้าเราไม่เห็นเป็นนาม  เป็นรูป  ก็เห็นเป็นตัว เป็นตน  เป็นเรา เป็นเขา เป็นผู้หญิง เป็นผู้ชาย เป็นสัตว์ เป็นบุคคล อย่างนี้ เป็นต้น  เพราะว่า เห็นไม่ถูก  ความจริงน่ะ  มันไม่มีสิ่งเหล่านี้  สัตว์บุคคลตัวตนไม่มี  และไม่ใช่ของเที่ยง  ไม่ใช่ของงามด้วย  ถ้าพิจารณาจริงๆ แล้วละก็  ไม่มีอะไรเลยในตัวเรา  ที่จะไม่สกปรกโสโครกน่ะ  ไม่มีเลยสักอย่างเดียวก็ไม่มี  ผมสักเส้นที่ไม่สกปรกก็ไม่มี  ท่านบอกว่า  ผมแต่ละเส้นนี่เกิดจากสิ่งสกปรกทั้งนั้น  งอกจากหนังบนกระโหลกศีรษะนี่ก็จะต้องหล่อเลี้ยงด้วยน้ำเหลือง  นี่แหละที่เกิดขึ้นมาแต่ละเส้น

********เพราะฉะนั้น  จะไปหาที่ไหน  ที่ไม่สกปรกน่ะไม่มีเลยสกปรกทั้งนั้น  แต่หากวิปลาสจึงเห็นเป็นของงามของสวยไป  แต่เมื่อปัญญาเกิดขึ้นพิจารณาให้ถูกต้องโดยถี่ถ้วนแล้ว  จึงจะเข้าใจว่า  สิ่งนี้ไม่สวย  สิ่งนี้ไม่งามได้  ก็เหมือนกับท่านที่กินของสำรวมเราก็หาว่าท่านสกปรก  เราเห็นข้างนอกว่าสกปรก  แต่อาหารที่สำรวมอยู่ในปากเรานี่  อย่างเดียวกันเลย  สกปรกยิ่งกว่าความสำรวมทีแรกภายนอกอีก เมื่อสำรวมเข้าไปในปากแล้ว  สกปรกกว่า  แต่เราก็ไม่เห็นสกปรก  เพราะอะไร ?  เพราะมันเป็นของเรา   อยู่ในปากของเรา

********เพราะฉะนั้น  ตัวของเราทั้งหมดนี่เป็นของดีวิเศษทั้งนั้น   สะอาดทั้งนั้น  ดีทั้งนั้นเลย  นี่เราเข้าใจอย่างนี้  แต่ความจริงน่ะ  มันสกปรกทั้งนั้น  ถ้าพิจารณาไปให้ถูกต้องแล้ว  ก็จะเห็นว่าไม่ใช่ของสะอาดเลย  เต็มไปด้วยความสกปรกทั้งนั้น  อุปมาเหมือนกับเราใส่เสื้อผ้า   เวลาเอาไปซักก็บอกว่า” เสื้อผ้านี่  แหม!  สกปรกเหลือเกิน”  เราไปโทษเสื้อผ้านั่นว่าสกปรก แต่ที่จริงน่ะ  ตัวเรานั่นแหละสกปรก  เพราะฉะนั้นเสื้อผ้าที่เราใส่มันถึงได้สกปรก  มันเป็นอย่างนี้  เหงื่อไคลอะไรที่ออกมาจากตัวเรานี่แหละสกปรก  แต่เรากลับไม่ว่าตัวเราสกปรก ตัวเรานี่สะอาดดีอยู่เสมอ ใช่ไหม  ยิ่งคนอนามัยดีก็ยิ่งว่าตัวสะอาดใหญ่  เป็นอย่างนี้

*******แต่ที่จริงตัวเราสกปรก แต่เรามองไม่เห็น เรากลับไปเห็นเสื้อผ้านี่แหละสกปรก

********ฉะนั้น คนที่มีปัญญา  เพียงพิจารณาว่าเสื้อผ้าที่มันสกปรกนี่  มันมาจากไหน ?  แล้วก็กลับเข้ามาหาตัวเราอย่างนี้ว่า  อ๋อ  !  ตัวเรานี้เป็นปฏิกูลทั้งหมดเลยอย่างนี้ ห่อหุ้มอยู่ด้วยเครื่องปฏิกูลทั้งนั้นเท่านี้ก็อาจจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้นะ

********แต่ทีนี้เรามาเข้าข้างตัวเราเสียนี่ว่า ตัวเรานั้นดี  ส่วนของที่ไม่ดีนั้นอยู่กับคนอื่น  เราก็เลยไม่แลเห็น,  ไม่ได้พบความจริง

********เพราะฉะนั้น ปัญญาที่เข้าไปเห็นเป็นนาม เป็นรูปนี่ ขั้นแรกทีเดียว  ของปัญญา  ของผู้ที่จะเจริญวิปัสสนานี่ ก่อนอื่นต้องได้ นามรูป  ก่อน

********ส่วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา นี่  ยังไม่เห็น  ก็ยังไม่เป็นไร  แต่ต้องได้นามรูปก่อน แล้วการเห็นนามรูปนี่น่ะ  ก็คือเห็นไตรลักษณ์นั่นเอง

********การเห็นนามรูป  คือเห็นไตรลักษณ์ในลักษณะไหน ?  ก็ในลักษณะของอนัตตา

********เมื่อเห็นว่า  เป็นนาม  เป็นรูป  แล้ว  ก็ไม่มีตัว  ไม่มีตน  ทีนี้ไม่มีตัว ไม่มีตน  ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล  นี่น่ะ ชื่อว่า เห็นอนัตตา เห็นนาม  เห็นรูปในขณะนั้นก็ชื่อว่า เห็นอนัตตาเหมือนกัน  เพราะอะไร?  เพราะอนัตตานี้ กินความหมดเลยในธรรมทั้งหลาย สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหมดเป็นอนัตตาหมดเลย ต้นไม้ใบใหญ่ก็เป็นอนัตตาทั้งนั้นเลย

********ความจริงเป็นอยู่อย่างนั้น ต้นไม่ใบหญ้าก็เป็นอนัตตา  เพราะว่า อนัตตานี่เป็นตัวธรรมะ ธรรมทั้งหมด สิ่งทั้งหมดเป็นธรรมทั้งหมด เข้าถึงธรรมะนี่แหละ ก็เข้าถึงอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน 

********ทำไมต้นไม้ใบหญ้านี่ก็เป็นอนัตตา  เพราะอะไร ? เพราะไม่ใช่สัตว์  ไม่ใช่บุคคล  ไม่ใช่ตัวตน  ผู้หญิง  ผู้ชาย  อย่างนี้  ก็ถือว่าการเข้าไปรู้อย่างนั้น  หรือเห็นอย่างนั้น  ก็ชื่อว่าเห็นอนัตตา

********ฉะนั้น ขั้นแรกของผู้ทำวิปัสสนาจะต้องได้นามรูปก่อนอื่น  ต้องรู้สึกเป็นนามเป็นรูปเสียก่อนอื่นทีเดียว  แล้วส่วนอนิจจัง  หรือทุกขังอะไร  นี่เป็นขั้นต่อไป

********อันนี้เป็นความสำคัญมาก  ฉะนั้น ผู้ทำวิปัสสนานี่ไม่ต้องไปสนใจอย่างอื่น  สนใจในเรื่องนามรูปนี่ก่อน  พอได้นามรูปแล้ว  สิ่งอื่นๆ  ก็จะเกิดตามขึ้นมาภายหลัง

19********แต่ถ้านามรูปยังไม่ได้ สิ่งอื่นๆ ก็มีไม่ได้เหมือนกัน ไม่ได้ธรรมทั้งหมดที่สูงๆ  ขึ้นไปก็ไม่ได้  เพราะต้องได้จากนามรูปทั้งหมด

********อันนี้ผู้ที่เข้าไปเห็นนามรูปนี่แหละ ว่าไม่มีเจ้าของ  ไม่ได้อยู่ในอำนาจของใคร  แล้วก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล  ความรู้อย่างนี้ ปัญญาที่เข้าไปรู้อย่างนี้ ชื่อว่า “ทิฏฐิวิสุทธิ” คือสงเคราะห์ลงในวิสุทธิแล้ว  ท่านเรียกว่า  “ทิฏฐิวิสุทธิ”

*******อันนี้ก็วิสุทธิด้วยปัญญานะคะ เพราะด้วยอำนาจของปัญญาจึงได้เข้าไปทำลายสัตว์บุคคลตัวตนเสียได้ 

*******เมื่อรู้สึกว่า ไม่ใช่สัตว์บุคคล  ไม่ใช่ตัวตนอย่างนี้แล้ว  ไม่ใช่ผู้หญิง  ผู้ชายแล้ว  กิเลสอะไรเล่าจะเข้าไปอาศัยความรู้สึกอันนั้น  ? ความรู้สึกอันนั้นจะเป็นเหตุให้เกิดความพอใจได้ไหม?  ไม่ได้เลย !

*******เพราะฉะนั้น ความรู้อันนั้น กิเลสอาศัยไม่ได้เลย จึงถือว่า  ความรู้นั้น เป็นวิสุทธิ, เข้าถึงวิสุทธิ, นี่ก่อนอื่นทีเดียวนะคะ ปัญญาจะต้องได้วิสุทธิอันนี้ก่อน

*******ถ้าวิสุทธิอันนี้ไม่ได้อีก  ๔ วิสุทธินั้น  ไม่มีหวัง,  ไม่มีเลย  ถ้าวิสุทธินี้ไม่ได้ ก็แปลว่า ไม่ได้ทั้ง  ๕  วิสุทธินั่นแหละ  ไม่ได้ทั้งหมดเลย วิสุทธิต่อไปก็ไม่ได้

*******แล้วก็ปัญญาอันนี้มาจากไหน? ก็ตอบว่า  ทิฎฐิวิสุทธินี้น่ะ  ได้มาจากนามรูปปริจเฉทญาณ  ก็ต้องมีเหตุอีกใช่ไหม ? อันนั้นเป็นความรู้สึก,  วิสุทธิจึงมีได้มาจากนามรูปริจเฉทญาณ

*******เดี๋ยวนี้เราไม่รู้รึ ?  เรานักศึกษา,  รู้ไหมว่าร่างกายเรานี้  หรือในโลกนี้  มีแต่นามกับรูปเท่านั้นแหละ ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคลเลยใช่ไหม ?  ทุกท่านที่เป็นนักเรียนอภิธรรมแล้ว  ก็ต้องรับรองว่าเป็นอย่างนั้นใช่ไหม ? นี่เป็นเรื่องที่รู้แล้วใช่ไหม ?

********แต่ว่าวิสุทธิไหม? ทั้งๆ  ที่รู้แล้วอย่างนี้ละก็ยังรัก, ยังโกรธ, ก็ยังถือว่านั่นเป็นของเรา,  เป็นตัวตนของเราใช่ไหม? อันนั้นยังเป็นของๆ  เรายังมีอยู่อย่างนี้ใช่ไหม ?

********เพราะฉะนั้น  ความรู้อันนี้แหละไม่เข้าถึงวิสุทธิเพราะเหตุไร ? เพราะว่ากิเลสยังเข้าอาศัยได้ 

********ทีนี้ผู้ที่เห็นว่าไม่ใช่ตัว  ใช่ตน  ไม่มีสัตว์,  ไม่มีบุคคล, ไม่มีอะไรทั้งนั้น  สภาวธรรมนี่มันสูญหมดเลย ไม่มีอะไรเลย, มันว่างเปล่าจากสัตว์,  จากบุคคลตัวตน  ไม่มีอะไรทั้งหมดเลย  อย่างนี้ก็น่าจะเป็นวิสุทธินะ !  แต่ว่า กลับเป็นปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิได้

********เพราะอะไร? ทั้งๆ ที่ว่างเปล่านี้แหละ จะฆ่าใครมันก็ไม่บาป,  จะรักใครมันก็ไม่บาป จะทำอะไรมันก็ไม่บาป  เพราะมันไม่มีตัว  มีตน  มันสูญ ว่างเปล่าไปหมดเลย  กรรมอะไรก็ไม่มี  เมื่อไม่มีสัตว์บุคคล ไม่มีตัวตนแล้ว  ใครเล่าจะเป็นคนไปรับกรรม  รับบาป  รับบุญ  ได้ที่ไหนเล่า,  ใช่ไหม นี่เป็นอย่างนี้ นี่อาศัยได้นะ เพราะอะไร ทำไมจึงอาศัยได้  เพราะเป็นเหตุให้กิเลสมิจฉาทิฏฐิเข้าอาศัยได้ จนกระทั่งแม้ตายแล้วก็ไม่มีใครไปเกิด  ไม่มีคนเกิดแล้วก็ไม่มีคนตายอีก นี่! ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิใช่ไหม?

********เป็นมิจฉาทิฏฐิเพราะอะไร? เพราะว่าความจริงนั้น “สิ่งทั้งหลายมันไหลมาจากเหตุ”

********เมื่อเหตุให้เกิดมันมีอยู่ แล้วทำไมเล่า ผลจะไม่มี ในเมื่อเหตุมีอยู่, นี่แหละเขาปฏิเสธหมดอย่างนี้  ก็เห็นว่าไม่ใช่ตัว  ใช่ตนเหมือนกัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร? เพราะว่าความรู้อย่างนั้น ไม่ใช่รู้ชนิดนามรูปปริเฉทญาณนะคะ

********เพราะฉะนั้น มิจฉาทิฏฐิ  คือกิเลส  หรือความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  ก็เข้าได้อย่างนี้  ฆ่าสัตว์ก็ได้ ไม่บาป กิเลสก็เกิดได้เพราะความเห็นอย่างนั้น  จึงไม่ใช่ นามรูปปริจเฉทญาณ

********นามรูปปริจเฉทญาณของท่านน่ะ  มีนาม  มีรูปให้เห็น  ไม่ใช่สูญหมด  มีนาม  มีรูป  มีเหตุ  มีปัจจัย รู้ว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นจากเหตุนั้น,  มีขึ้นเพราะเหตุนั้น  อย่างนี้ละก็เป็นทิฏฐิวิสุทธิได้    เพราะว่า  มีของให้พิสูจน์  ไม่ใช่คิดเอาเองใช่ไหม ?  ตามไปพิสูจน์พิจารณา  จนกระทั่งสิ่งนั้นให้ความจริงแก่ตนแล้วไม่ได้คิดเอา

********ส่วนนัตถิกทิฏฐิ  หรืออุจเฉททิฏฐินี้  คิดเอาแล้วไม่ตรงกับความจริงด้วย  อย่างนี้  เพราะคิดเอาเอง

********แต่อันนี้รู้สภาวะ  ได้มาจากสภาวธรรมตามความเป็นจริง  คือ นามกับรูปนั่นเอง  กิเลสมิจฉาทิฏฐิก็จับไม่ได้, ที่จับไม่ได้  เพราะไม่ได้เห็น  ผิดไปจากเหตุผลของธรรมชาติเหล่านั้น  เพราะเห็นถูกตามความเป็นจริงอย่างนั้น  แล้วความเห็นถูกนั้นก็เป็นปัจจัยให้ทำลายกิเลส  คือ  ความเห็นผิดที่ว่า  เป็นตัวเป็นตน  เป็นสัตว์บุคคลได้

********นี่ค่ะ  เหตุผลมันต่างกัน, ก็ต้องมาจากเหตุเหมือนกัน  ทิฏฐิวิสุทธิ  นี่

********การพิจารณานามรูปนั้น จะพิจารณาอย่างไรถึงจะได้ชื่อว่า  เป็นทิฏฐิวิสุทธิได้  ก็ต้องพิจารณาตามมหาสติปัฏฐาน  พิจารณาอย่างไร นี่ไม่ยากเลย หลักฐานมีอยู่แล้วในมหาสติปัฏฐานนั้น  แต่ทีนี้เราจะต้องศึกษาว่า  ในมหาสติปัฏฐานให้พิจารณาอย่างไร ?  อีกทีหนึ่งนะคะ  อันนี้ก็เป็นของธรรมดาละ

********ในมหาสติปัฏฐานนั้นพิจารณาอะไร?  ก็คือพิจารณากาย  เวทนา  จิต  ธรรม  ใน  ๔  อย่างนี้ ว่าโดยองค์ธรรมของสติปัฏฐานนั้น  ก็ได้แก่  นามและรูป  นั้นเอง

********ในมหาสติปัฏฐานนั้นมี  ๔  อย่าง  โดยประเภทนะคะ  แต่ว่าในประเภทหนึ่งๆ อย่างในกาย, ในเวทนา,  ในจิต  หรือในธรรม  เหล่านี้  ก็มีหลายอย่าง  กายมี  ๑๔  เวทนามี  ๙   จิตมี  ๑๖  ธรรมมี  ๕  รวมเข้าแล้วมี  ๔๔  อย่าง 

********ใน ๔๔ อย่างนั้น เมื่อย่อลงไปแล้ว ก็คือ นามกับรูปนั้นแหละ ไม่ใช่อื่นจากนี้ไปเลย แต่ว่าแยกเอารูปมากำหนดบ้าง แยกเอานามมากำหนดบ้างแต่ละอย่าง  อันไหนที่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่เป็นที่อาศัยของกิเลส  หรือเป็นที่อาศัยของความเข้าใจผิด ท่านก็แยกออกมาให้กำหนด ซึ่งเมื่อกำหนดได้ความจริงแล้วว่า  ในที่นั้นไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน  ไม่มีในที่นั้น

********แล้วก่อนอื่น ผู้ที่จะทำวิปัสสนา คือ การกำหนดนามรูปนั้น ผู้นั้นจะต้องศึกษาให้เข้าใจนามรูปให้ดูเสียก่อน แล้วจึงจะลงมือกำหนดนามรูปนั้นได้

********ถ้ามิฉะนั้น การกำหนดนามรูปนั้นก็กำหนดไม่ถูก ไม่รู้ว่าอะไรเป็นนาม ไม่รู้ว่าอะไรเป็นรูป เราจะบอกให้ใครไปเก็บอะไร ต้นไม้  ดอกไม้  หรือหยิบอะไรก็ตาม  คนนั้นจะต้องรู้จักสิ่งนั้นเสียก่อน จึงจะหยิบมาให้ถูก  หรือไปเก็บดอกไม้ ลูกไม้นั้นให้มาถูก ไม่อย่างนั้นละก็เก็บไม่ถูกแน่

********ก็เมื่อได้ลงมือกำหนดนามรูปตามมหาสติปัฏฐานที่ถูกต้องแล้ว  ก็ต้องกำหนดหรือพิจารณานามรูปนั้น ไปจนกว่าวิปัสสนาที่ชื่อว่า   นามรูปปริเฉทญาณนั้นเกิดขึ้น

********ฉะนั้น การกำหนดรู้นามรูปนี่มี ๓ อย่าง คือ รู้ด้วยการปริยัติ ว่าอะไรเป็นนามเป็นรูปอย่างหนึ่ง รู้ด้วยการปฏิบัติที่ได้กำหนดนาม กำหนดรูป  เพราะเวลาปฏิบัติ จะต้องไปกำหนดนาม กำหนดรูปนั่น รู้ด้วยการปฏิบัติ  ขณะที่นามรูปเกิดขึ้น นี่เป็นขั้นที่ ๒ ขั้นที่ ๓ รู้ด้วยนามรูปปริจเฉทญาณ  รู้ถึง  ๓  ขั้น  ที่นี้สำหรับวิปัสสนา  ที่สงเคราะห์เข้าในวิปัสสนาญาณนั้น  ต้องใช้ในขั้นนามรูปปริจเฉทญาณ  ถึงจะใช้ได้ 

********นามรูปที่รู้ในเวลาศึกษาปริยัติก็ดี  หรือในเวลาปฏิบัติก็ดี  ก็ในนามรูปเหมือนกัน แต่ว่าการรู้นามรูปนั้น ยังไม่สามารถทำลายทิฏฐิที่อาศัยเกิดขึ้นในอารมณ์นั้นได้  ต้องเข้าถึงนามรูปปริจเฉทญาณถึงจะทำลายได้

********ฉะนั้น  ความรู้ทั้ง ๒  นั้น  จึงเข้าถึงวิสุทธิไม่ได้  ต้องเข้าถึงได้ด้วยความของรู้ขั้นนามรูปปริจเฉทญาณถึงจะเข้าได้ ความรู้ในนามรูปปริจเฉทญาณนี่ เป็นขั้นที่ ๓  เข้าถึงภาวนาอันนี้ถึงจะจัดเป็นตัววิสุทธิได้  ต้องกำหนดนามรูป หรือพิจารณานามรูปนั้นไปจนกว่าวิปัสสนาที่ชื่อว่า  นามรูปปริจเฉทญาณนั้นเกิดขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่านามรูปนี้เป็นตัวกรรมฐานของวิปัสสนา

********ฉะนั้น ผู้เจริญวิปัสสนาจึงต้องพิจารณานามรูปจนรู้แน่ชัดว่า นามรูปนี้มิใช่ตัวตน  และไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล อยู่ในนามรูปนั้น

********เมื่อเราปฏิบัติอยู่, คือ กำหนดนามรูปอยู่ ความรู้ว่าไม่ใช่สัตว์  ไม่ใช่บุคคล  ยังไม่เกิดขึ้นเป็นแต่เพียงยังกำหนดนาม  กำหนดรูป  กำหนดนาม กำหนดรูป อยู่อย่างนี้ไปก่อน  แต่ว่าในนามรูปนั้นพิจารณาดู กำหนดพิจารณาดู นามรูปว่า  มีสัตว์  มีบุคคล   ตัวตน  ผู้หญิง  ผู้ชายในนามรูปนั้นหรือเปล่า กำลังพิจารณาอยู่ ยังตัดสินใจไม่ได้ว่ามีหรือไม่มี  เป็นอย่างนั้น 

********ทีนี้ เมื่อพิจารณาดูไปจนกระทั่งสุดท้ายแล้วเกิดปัญญาตัดสินได้รู้แน่ว่า ไม่มีแล้ว, สัตว์บุคคล  ในที่นั้นไม่มีแล้ว  มีแต่นามกับรูป  ๒  อันเท่านั้น

********เพราะฉะนั้น  ในระหว่างพิจารณามาถึงนามรูปปริจเฉทญาณ  นี่คล้ายๆ กับตัดสินแล้ว

********เหมือนกับโรงศาลน่ะ  ในระหว่างที่พิจารณาคดีอยู่น่ะ  เขาต้องเอาสำนวนคดีนั่นแหละมาพิจารณาใช่ไหมละ,  ไม่ใช่ไม่มีนะ  ไม่ใช่พิจารณาโดยไม่มีคดี  หรือไม่มีหลักฐาน หรือไม่มีสำนวน ไม่ใช่อย่างนั้น  ต้องมีสำนวนให้เขาพิจารณาในเวลาที่พิจารณาอยู่นั้นน่ะ ตัดสินได้หรือยังว่า  อะไร เป็นอะไร ยังไม่ได้ใช่ไหม? ต้องพิจารณาจนกระทั่งถ่องแท้โดยเหตุผล  โดยแน่นอนแล้ว  ถึงตัดสินได้ว่าใครผิด  โจทก์ผิดหรือจำเลยผิด อันนี้ก็เหมือนกันในระหว่างที่เรากำหนดนามรูปนั้น คือเวลาที่เรากำลังพิจารณาพิสูจน์นามรูป ว่านามรูปนี้มีสัตว์บุคคล   เป็นตัวตนหรือเปล่า  อย่างนี้เรากำลังตามพิสูจน์อยู่

********แต่เมื่อเกิดนามรูปปริจเฉทญาณขึ้นแล้วแปลว่า ตัดสินใจได้แน่แล้ว  เมื่อปัญญานั้นตัดสินได้ถูกต้องแน่นอนแล้ว กิเลสก็เข้าอาศัยไม่ได้  ความเห็นว่ามีตัว  มีตนนะ  จะเข้าอาศัยได้ไหม ? ในขณะที่รู้อยู่ว่าไม่มีตัว มีตน รู้อยู่ว่ามันเป็นนาม เป็นรูปอยู่อย่างนี้ใช่ไหมคะ เข้าไม่ได้แน่  กิเลสจับไม่ได้แน่  จึงถือว่าความรู้นั้นเข้าถึงวิสุทธิได้

********รู้หมดเลยในสากลโลกนี้ ไม่มีอะไรนอกจากนามรูป ไม่ใช่เฉพาะเขาเท่านั้นนะ  เขารู้ทั่วไปหมดเลย  ทั้งโลกนี้แหละ เวลาที่รู้นะเข้าถึงนามรูปปริจเฉทญาณ  เราและคนอื่นอะไรๆ  เหมือนกันหมดเลย  ไม่มีอะไรเลยในโลกนี้น่ะ  มีแต่นามกับรูปเท่านั้น  และนามกับรูปนั้นก็ไม่ใช่เป็นอย่างเดียวกัน ปัญญาที่รู้อย่างนี้เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ  คือว่า  ตัดส่วนของนามรูปออกไปจากกันได้แล้ว คล้ายๆ กับว่า แยกฆนสัญญา  แปลว่า  กระจายออกไปแล้ว เป็นส่วน  เป็นสัด  อันนั้นไม่ใช่อันนี้,  อันนี้ไม่ใช่อันนั้น  นามก็ไม่ใช่รูป รูปก็ไม่ใช่นาม  แม้รูปแต่ละรูป  ก็ไม่ใช่อย่างเดียวกัน  ไม่ใช่กำหนดอยู่รูปเดียว  ต้องกำหนดรูปไปทั่วๆ  อย่างกำหนดอิริยาบถนี้  ก็ทั้ง ๔ ไม่ใช่กำหนดอันใดอันหนึ่ง หรือว่าจิตก็กำหนดไปตั้งเยอะ  ไม่ใช่กำหนดจิตดวงใดดวงเดียว  กำหนดตั้ง ๑๖ อย่าง,  เวทนาก็ไม่ใช่อันเดียว    กำหนดตั้ง ๙ อย่าง

********เพราะฉะนั้นการกำหนดนามรูปต่างๆ นี่เอง  จึงเห็นว่า  เป็นคนละอัน  เหมือนกับตัวหนังสือนั่นแหละ  ตัว ก. กับตัว ข. มันรู้แน่ชัดว่า  ไม่ใช่ตัวเดียวกันนี่อย่างนี้

********ถึงแม้จะรวมอยู่ด้วยกันเถอะ  ความหมายของคำอะไร  เกิดขึ้น  เขียนอะไรไปคำหนึ่งก็จะต้องเอาตัวหนังสือหลายตัวมารวมกัน  แต่ว่าไม่ใช่ตัวเดียวกัน

********ในนามรูปปริจเฉทญาณนี่  เป็นการแยกฆนสัญญาให้กระจายออกไปแล้ว

********ฉะนั้น  อนัตตาจึงปรากฏ และขอให้เข้าใจด้วยว่า ไม่ใช่จะต้องรู้ว่า “อนัตตา” เป็นภาษบาลีสำหรับไทยน่ะ รู้สึกว่า ไม่ใช่ตัว หรือไม่มีตัว  หรือมีแต่นามกับรูป คือรู้สึกว่า ทุกอย่างนี่ แหม! มีแต่นามกับรูปเท่านั้น นี่ก็ชื่อว่า รู้อนัตตาเหมือนกัน

********เมื่อมีแต่นามกับรูป  ก็ไม่มีตัว  อยู่ในตัวเอง  ไม่ใช่ว่า  จะต้องบอกว่า  แหม !  เข้าไปเห็นอนัตตา  อะไรอย่างนี้  ต้องรู้  จะนึกถึงว่า  จะเป็นภาษาบาลีออกมา  ไม่ใช่อย่างนั้นนะ,  ไม่ใช่,  ก็แค่เห็นเป็นนามเป็นรูปนั่นแหละ เป็นภาษาบาลีก็เรียกว่า รู้อนัตตาแล้ว  ไม่ใช่จะต้องรู้อีกต่างหาก

********ฉะนั้น คนที่ไม่รู้ภาษาบาลี ก็รู้ได้ ไม่รู้ละ มันเป็นอนัตตาหรืออะไรก็ได้เหมือนกัน ไม่ต้องหรอก! รู้เพียงแต่ว่า “รู้ว่า มีแต่นามกับรูปเท่านั้น”  ไม่เห็นมีอะไรนอกจากนี้ เท่านี้ ก็ชื่อว่ารู้อนัตตาแล้ว และก็รู้ว่า  นามรูปนั้นไม่ใช่อย่างเดียวกัน

********อันนี้ก็เป็นการรู้ในนามรูปปริจเฉทญาณ

********โดยเหตุนี้  ผู้ปฏิบัติเมื่อรูปอะไรเกิดขึ้น, นามอะไรเกิดขึ้น รูปอะไรดับไป นามอะไรดับไป จึงต้องรู้ เพราะว่าไม่ใช่อันเดียวกันนี่ ตัวรู้เป็นอันๆ  แล้วใช่ไหมละ ?  เป็นส่วนๆ ไป แล้วที่จะเข้าไปเห็น 

********ผู้ปฏิบัติที่เข้าไปเห็นความเกิดดับของนามรูป แต่ไม่รู้ว่ารูปอะไร นามอะไรนะ ยังใช้ไม่ได้ ที่ถูกแล้วต้องรู้นี่ว่า “เห็นรูปอะไร เห็นนามอะไร?” เพราะว่า รูปตอนนี้แยกออกไปแล้ว  เป็นสัด เป็นส่วนออกไปแล้ว ตัวกำหนดรูปอะไร ตัวก็จะต้องเห็นรูปนั้น นามนั้น จะไปเห็นทั้งหมดอย่างไรได้เล่า เพราะจิตต้องรับอารมณ์อันเดียวนี่

********รูปมีตั้งเป็นกองสองกอง  ตั้งหลายอย่าง  เช่นอย่างเวลาเรานั่งอย่างนี้ใช่ไหม  เราดูรูป  ก็จะเห็นแต่รูปนั่ง,  เวลายืนดูรูป  ก็จะเห็นแต่รูปยืน  จะไปเห็นรูปอื่นๆ  ที่ยังไม่เกิดขึ้นน่ะ  และยังไม่มีการดับไปในรูปนั้นได้อย่างไร,  ไม่ได้  อันนี้ต้องจำกัดด้วยนะไม่ใช่ว่า  เข้าไปเห็นรูปนามเกิดดับ  หรือเห็นรูปนามไม่เที่ยง แต่รูปอะไร  นามอะไร  เกิดดับบอกไม่ได้ใช้ไหมคะ หรือไม่รู้นี่น่ะก็ไม่ชื่อว่า  นามรูปปริจเฉทญาณ

********ฉะนั้นนามรูปปริจเฉทญาณนี่   วิสุทธิก็สงเคราะห์เข้า  ทิฏฐิวิสุทธินะคะ 

********ทีนี้ตอนนี้ขอย้ำความเข้าใจให้แน่นอนอีกครั้งหนึ่งว่า  ในคำว่า “วิสุทธิ” นี้ หมายถึงความหมดจดจากกิเลสนั้น  จะต้องมีได้เพราะ  ปัญญาเท่านั้น

********ถ้าเช่นนั้น จะย้อนกลับมาถามว่า ถ้าเช่นนั้นศีลก็ไม่มี วิสุทธิซี่,  และสมาธิศีลก็ไม่ วิสุทธิซี่? ไม่ใช่เช่นนั้น ศีลจะเป็นวิสุทธิ ได้ก็เพราะปัญญา การให้รักษาศีล อาศัยกุศล คือ ศีลนั้นจะได้เป็นปัจจัยให้พ้นจากสังสารทุกข์  หรือพ้นจากกิเลส

********ทีนี้ที่รู้ว่า สังสารทุกข์ การเวียนว่ายตายเกิดเป็นทุกข์ พระนิพพานเป็นที่ดับทุกข์ รู้อย่างนี้รู้ด้วย ศีล หรือรู้ด้วย สมาธิ หรือรู้ได้ด้วย  ปัญญา ต้องรู้ด้วยปัญญาใช่ไหม? ก็เพราะปัญญาเป็นเหตุให้รู้อย่างนี้นี่เอง  จึงรักษาศีลและทำสมาธิ

********เพราะฉะนั้น  จึงถือว่า  จะวิสุทธิได้ต้องด้วยปัญญาเท่านั้น  จะต้องมีได้เพราะปัญญาเท่านั้น ที่สามารถจะทำลายกิเลสในอารมณ์นั้นได้ ใช่ไหมคะ ? ถึงแม้ศีลวิสุทธิ กับจิตตวิสุทธิ  ก็เช่นเดียวกันอย่างที่ได้อธิบายมาแล้วนะคะ  จะเข้าถึงวิสุทธิได้  ก็ต้องมีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์   ร่วมกันไปกับอารมณ์ของ ปัญญา

********อันนี้พูดถึงปฏิบัติแล้ว ผู้ที่ลงมือเจริญวิปัสสนาแล้ว  ก็ถือว่า  ในที่นั้นมีศีลด้วย  มีสมาธิด้วย  มีปัญญา  แล้วก็เป็นวิสุทธิทั้งหมดเลย  ศีลก็เป็นวิสุทธิ  สมาธิก็เป็นวิสุทธิ  ปัญญาก็เป็นวิสุทธิ  รวมกันไปแล้วในที่นั้น

********อันนี้เป็นวิสุทธิที่แน่นอนทีเดียว และศีลกับสมาธินั้นจึงจะเข้าถึงวิสุทธิได้  คือหมายถึงว่า ถ้าได้ร่วมกันกับอารมณ์ของปัญญาแล้ว  หรือเป็นไปด้วยอารมณ์ของปัญญาแล้วละก็ ศีลและสมาธิจึงจะเข้าถึงวิสุทธิได้  เพราะมรรคมีองค์ ๘ นั้น เมื่อย่อลงแล้วก็ได้แก่  ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง  ๓  นั้น  ก็จะต้องมีอารมณ์ร่วมกันไปทั้ง  ๘  องค์

********ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่า  สติปัฏฐานนั้นเป็น  เอกายมรรค  เป็นทางเดียว

********เมื่อมีทางเดียวเท่านั้น  ศีลก็ต้องมีอารมณ์นั้น สมาธิก็ต้องมีอารมณ์นั้น   ปัญญาก็ต้องมีอารมณ์นั้น

********คำว่า ทาง นี้  ก็หมายถึง อารมณ์ ที่เป็นทางเดินของจิต จิตจะต้องเดินไปตามอารมณ์นั้นๆ  ก็เป็นทางเดียวเท่านั้น

********หากศีลมีอารมณ์อย่างหนึ่ง สมาธิมีอารมณ์อย่างหนึ่ง ปัญญามีอารมณ์อย่างหนึ่งไม่ได้ อันนี้ต้องมีหลายทางไม่ร่วมกันไป ศีล สมาธิ  ปัญญา ต้องร่วมกันไปในอารมณ์เดียว ร่วมไปในที่ไหน ?  ก็ต้องร่วมไปใน  อารมณ์ สติปัฏฐานนั่นเอง

********เพราะฉะนั้นสติปัฏฐาน จึงเป็นเอกายนมรรค คือ เป็นทางเดียวเท่านั้น  ที่จะทำให้ถึงพระนิพพานได้  ไม่มีทางอื่น

********ฉะนั้น ปัญญาที่ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธินี้ก็ต้องได้มาจากการเจริญสติปัฏฐานเป็นเหตุ คือ เป็นเหตุ เป็นผลกันทั้งหมดเลยนะคะ แต่จะต้องพิจารณาโดยปราศจากสัตว์ บุคคล  ตัวตน  ในนามรูปนั้นเสียก่อน แล้วจึงจะเข้าถึงทิฏฐิวิสุทธิได้

********แต่ปัญญาอันนี้ จะต้องเป็นภาวนามยปัญญา ไม่ใช่ สุตมยปัญญา หรือจินตามยปัญญา  คือ เพียงแต่ คิดๆ  นึกๆ เอาเองเท่านั้น, ถ้าอย่างนั้นแล้วปัญญาจะเข้าถึงวิสุทธิไม่ได้  ปัญญาที่จะเข้าถึงวิสุทธิได้นั้น จะต้องเป็น ภาวนามยปัญญา เพราะความรู้ขั้นนี้ จะต้องรู้ในขณะปัจจุบันอารมณ์ ที่รู้ว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน นี่รู้ในขณะปัจจุบันอารมณ์นะ  ไม่ใช่รู้โดยมานึกคิดเอา

********รู้ขณะกำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังได้กลิ่น กำลังกำลังรู้รสนะ  ต้องรู้ในขณะนั้นทีเดียว

********ถ้าหากว่า จินตามยปัญญาละก็คิดนึกเอาเวลานี้ เราก็คิดได้ คิดได้ว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แล้วบางทีเวลาเกิดเห็น เกิดได้ยิน  ขึ้นมาลืมไปไม่ได้คิด ลืมไปแล้วที่ว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล พอเห็นเกิดขึ้นมาก็กลายเป็นเราเห็น เราได้ยินไปแล้ว นี่แหละคะ  มันมีเรามาคั่นไปเสียแล้ว

********เพราะฉะนั้น ต้องเป็นตรงขณะที่เห็น ขณะเห็นอารมณ์นั้น ก็เข้าไม่ได้  เพราะความรู้นั้นเข้าถึงธรรมะเข้าถึงนามรูป  ไม่มีสัตว์บุคคลแล้ว

********ฉะนั้น ที่จะเป็นวิสุทธิได้  ต้องในขณะปัจจุบันอารมณ์  ในขณะเห็น  ได้ยิน  ได้กลิ่น  รู้รส  ในขณะกายถูกต้อง หรือในขณะนั่ง  นอน  ยืน  เดิน  หรือในขณะใช้อิริยาบถย่อย  ซึ่งเกิดจากความเคลื่อนไหวต่างๆ  ที่นอกจากอิริยาบถใหญ่ ๔ อย่าง  มีนั่งเป็นต้น  เมื่อผู้ทำวิปัสสนาได้ประสบกับอารมณ์ปัจจุบันตามที่กล่าวมาแล้วในขณะเห็นเป็นต้นนั้น

********ทิฏฐิวิสุทธิเป็นปัญญาขั้นต้นนะคะ เมื่อความรู้สึกดังนี้เกิดขึ้นในอารมณ์ใดแล้วความเห็นผิด คืออัตตานุทิฏฐิ  ที่ตามเห็นว่า  เป็นตัวเป็นตน  หรือมีตัวตนในนามรูปนั้นๆ ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ อันนี้เป็นของแน่นอน ในระหว่างความสว่างยังมีอยู่  ความมืดก็เกิดขึ้นไม่ได้

********เมื่อความมืดมีอยู่  ความสว่างในที่นั้นก็ไม่มี  เพราะไม่มีสว่างในที่นั้นแหละ  จึงมืดนะคะ  สว่างกับมืด  จะเกิดขึ้นพร้อมกันไม่ได้  ในขณะที่จิตได้อารมณ์หนึ่ง

********ในขณะที่จิตรับอารมณ์นั้นๆ  เมื่อปัญญาเกิดขึ้นหรือเพราะเหตุที่ปัญญาเข้าไปรู้แจ่มแจ้งแล้วว่ามีแต่นามหรือรูปเท่านั้น เมื่อเข้าใจด้วยปัญญาดังนี้เกิดขึ้นในจิตใจแล้ว ความเข้าใจผิดที่เคยรู้สึกว่าเป็นเรา หรือเป็นตัวตนของเรา ที่หมักดองอยู่ในจิตสันดานนั้น  ก็จะหลุดถอนขึ้นหมด  จะหลุดถอนขึ้นจากอารมณ์นั้น หมดไปจากอารมณ์นั้นในขณะเห็น หมดไปเมื่อไหร่? หมดไปในขณะเห็น ในขณะได้ยิน ในขณะได้กลิ่น ในขณะรู้รส ในขณะถูกต้อง หรือในขณะนั่ง นอน ยืน เดิน ทุกอย่างต้องหมดในขณะนั้น ไม่ใช่ว่า เวลาคิดแล้วหมดต้องหมดไปในขณะที่เห็น  ได้ยิน  จิตได้รับอารมณ์ทั้ง ๖ แล้ว ความยินดี  ยินร้ายจึงเกิดไม่ได้ เพราะในขณะเห็น ก็ไม่รู้สึกว่า เป็นเรา เป็นตัว เป็นตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล  หรือเป็นผู้หญิง เป็นผู้ชาย พอเห็นอย่างนี้แล้ว ความยินดียินร้ายในขณะที่เห็นนั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้

********อันนี้ไม่ใช่ง่ายๆ  เหมือนกัน กว่าจะถึงน่ะ เพราะฉะนั้นวิปัสสนานี่  มรรคผลจะได้หรือไม่ได้ ผู้ทำวิปัสสนานั้นไม่ควรจะสนใจให้มาก  ในระหว่างที่เรากำลังหัดทำอยู่  ขั้นแรกหัดทำให้ถูกก่อน  คือเรียนปริยัติศึกษาให้เข้าใจดีแล้วว่าทำอย่างไร  แล้วก็ไปทำให้ถูกตามความเข้าใจนั้นเสียก่อน  ต้องทำให้ถูกต้อง  ทีนี้ผลที่เกิดจากกระทำถูกต้องนั้นจึงเกิดอีกที   ปัญญาจะเห็นไตรลักษณ์หรือเห็นอะไร หรือจะเห็นนิพพานอย่างไรก็ตามใจ  แต่ว่าข้อสำคัญต้องทำให้ถูกเสียก่อน

********เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงอยากให้ผู้ที่ทำวิปัสสนานี่สนใจทำให้ถูก  เวลานั้นจะทำอย่างไร? เวลาเห็นนี่จะทำอย่างไร? เวลาได้ยินกำหนดอะไร? เวลารู้กลิ่นกำหนดรู้อะไร? เวลานั่ง นอน ยืน เดินอยู่กำหนดอะไร? นี่เป็นข้อสำคัญที่สุด

********ดิฉันต้องการให้ทำให้ถูกก่อน  แล้วผลที่เกิดจะเป็นวิปัสสนานั้นทีหลังไม่ต้องพูด  ถ้าทำถูกแล้วอาจารย์ไม่ต้องสอนใช่ไหม ? อาจารย์ไม่ต้องสอนหรอก  จะต้องสอนทำไม  เพราะทำถูกแล้ว  แต่ว่าอาจารย์ต้องสอน  เพียงทำให้ถูกเท่านั้นเอง  มีหน้าที่อยู่เพียงเท่านั้น

********ถ้าเข้าใจถูกแล้ว  อาจารย์ไม่ต้องสอน,  เวลาฟังนี่เข้าใจถูกดีแล้ว  ทีนี้เวลาไปทำ ก็ทำให้ถูกตามความเข้าใจนั้นได้  ก็ไม่ต้องสอนกัน  ไม่ใช่ว่า  แหม ! จะต้องคอยสอนกันอยู่เรื่อยไป

********เพราะฉะนั้นจึงขอให้สนใจในปริยัติก่อน  คือสนใจในการฟังก่อน  อันนี้ต้องเพียรสนใจ เป็นขั้นต้นทีเดียว  ถ้าเราสนใจในการฟังแล้ว  เข้าใจดีแล้ว มนสิการถูกต้องแล้ว  เรื่องทำขั้นที่สองก็จะไม่ยากอะไรเลย

********ที่ทำยากทำลำบากหนักหนา  ทำเท่าไรก็ไม่ถูก  ไม่ใคร่ถูกเลย  เพราะเหตุว่า  เวลาฟังนั่นยังเข้าใจไม่ถูก  ถ้าเข้าใจถูกแล้วจะไปทำให้ผิดได้อย่างไร  ถ้าเข้าใจถูกแล้ว  เป็นทำได้ถูกแน่

********เมื่อความเข้าใจผิดที่สำคัญ ที่เคยรู้ว่า เป็นตัวเป็นตน  ไม่เกิดขึ้นแล้ว  กิเลสคือความเห็นผิดว่าเป็นตัว เป็นตน ก็เกิดขึ้นไม่ได้  ถูกถอนออกไปจากอารมณ์นั้น  ในขณะรับอารมณ์ปัจจุบันที่เห็นหรือที่ได้ยิน  เป็นต้น  ในทันทีโดยไม่ต้องมีใครขับไล่  ไม่ใช่จะต้องไปขับไล่อีกที  มีพิธีรีตองอะไร  ไม่มีหรอก

********พอเห็นว่า อันนี้เป็นเป็นรูป แล้วความรู้สึกว่าเป็นตัว เป็นตน  น่ะ ไม่ต้องมีใครไปไล่มันล่ะ  มันก็ต้องออกของมันไปเอง  หายไปเองทีเดียว โดยไม่ต้องมีใครไปขับไล่ตัวตนออก หากแต่ถูกประหาณไปด้วยปัญญานั้นเอง

********เมื่อความเข้าใจผิดหมดไป ในขณะจิตรับอารมณ์ปัจจุบันนั้นแล้ว  ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากความเห็นผิด ที่เราเข้าใจว่าเราเห็น เราได้ยิน  เราได้กลิ่น เรารู้รส หรือเราถูกต้อง หรือเราเย็น เราร้อน หรือเรานั่ง เรานอน  เรายืน เราเดิน เรายก เรานี่เยอะ ไม่ใช่มีเราตัวเดียวนะ มากมายเหลือเกินนี้ เป็นเราทั้งนั้น  เวลาจะเอาเราออกนี่ต้องเอาออกหมด

********แต่ว่า  เอาเราที่ไหนออกอันหนึ่ง เช่นเอาออกได้ในขณะเห็น ขณะได้ยิน  ได้กลิ่น รู้รสก็ออกเหมือนกัน  ไม่ใช่ว่า  ออกแต่เห็น  พอได้ยินแล้วยังเป็นเราอยู่  ไม่ใช่อย่างนั้นนะ

********เพราะว่า  ผู้ร้ายมันเที่ยวไปปล้นทั้ง  ๖  ตำบล  ถ้าเราไปฆ่ามันตายที่ตำบลไหนได้ละก็  ตำบลอื่นก็ไม่มีผู้ร้ายแล้ว  ไม่ต้องเที่ยวตามฆ่าทุกตำบล

********ทิฏฐินี่ก็เหมือนกัน  ถ้ามันตายไปในขณะเห็น  ถูกทำลายไปในขณะเห็น,  ได้ยินแล้ว  ที่อื่นก็ต้องไม่มีด้วย  ความรู้สึกว่า  เป็นเราก็ไม่เกิดในที่อื่นๆ ด้วยเหมือนกัน

********ที่จริงแล้ว ฟังดูแล้วไม่น่าจะลำบากเลยนะ วิปัสสนา! เห็นอะไรอย่างเดียวก็ไปถึงใช่ไหมคะ? ถึงได้หมด เพราะเหตุที่มีปัญญามีความรู้ว่า เป็นรูปหรือเป็นนาม ที่มีอยู่ในอารมณ์ขณะนั้น

********ฉะนั้น  ตัวกิเลส  ซึ่งได้แก่  ตัณหาและทิฏฐิ  ที่มีความยึดมั่นรูปนามว่าเป็นตัว  เป็นตน  หรือเป็นเรา  จึงอาศัยเกิดขึ้นไม่ได้  ในขณะที่จิตมีความรู้สึกอยู่ว่าเป็นนามเป็นรูป

********ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการอบรม  หรือการเข้าไปพิจารณานามรูปนั้นเอง  นี่!  ปัญญาอันนี้ได้มาจากการพิจารณานามรูปนะ,  ถ้าเราไม่ได้ไปดู  หรือไม่ได้พิจารณานามรูปเลย  ปัญญาที่จะรู้นามรูปนี่ก็เกิดขึ้นไม่ได้

*******อุปมาเหมือนกับเราอ่านหนังสือออก นี่เราต้องไปเรียนหนังสือมาก่อนใช่ไหม?  จากปัญญาที่รู้ว่านี่ตัวหนังสือ เป็นตัวอะไร  นี่ตัว ก.  ตัว  ข. นี่ สระอะ  สระอา  นี่ปัญญาที่รู้อย่างนี้มาน่ะ  ถึงว่าอ่านหนังสือออก  ไม่ใช่อยู่ๆ ก็จะอ่านหนังสือออกขึ้นเอง  ก็ไม่ได้ ฉันใดก็ดี  ผู้ที่จะเข้าถึงนามรูปปริจเฉทญาณ นี่ก็เหมือนกัน  จะต้องได้ปัญญาที่กำหนดนามรูปรู้นามรูปมาก่อน  เวลาที่เราพิจารณานี้  ไปกำหนดพิจารณานามรูปมาก่อนแล้วจึงรู้นามรู้รูป

*******เพราะฉะนั้น ถ้าขาดการพิจารณา ผู้ทำวิปัสสนา ถ้าไม่มีนาม มีรูปเป็นกรรมฐานแล้ว ไม่มีหวังเลย แม้แต่ทิฏฐิวิสุทธิ ที่เป็นปัญญาขั้นต้น ที่จะได้มาจากขั้นต้นนี่นะคะ นามรูปปริจเฉทญาณก็ไม่มีหวังที่จะเกิดได้เลย  นี่พูดโดยเหตุผลนะคะ ที่จะเกิดในขณะเห็น, ขณะได้ยินนะ ไม่ใช่เกิดที่นึกคิดนะ ถ้าปัญญาที่นึกคิดละก็  นอนอยู่ในมุ้งที่ไหนก็คิดได้

********ทิฏฐิวิสุทธินี่ ต้องได้มาจากนามรูปปริจเฉทญาณ ฉะนั้น  ธรรมะทั้งหมด เมื่อพูดกันโดยเหตุผลแล้วละก็ มารวมกันทั้งหมดแหละค่ะ  เว้นแต่จะพูดทีละอย่างนะคะ เหตุอย่างหนึ่ง ผล อย่างหนึ่ง  ว่าคนละอย่าง  แล้วผลมีกี่อย่าง  มีหลายขั้นที่เกิดจากเหตุนั้น

********เช่นอย่างการเจริญสติปัฏฐานนี้ การเจริญสติปัฏฐานเป็นปัจจัยให้เกิดวิปัสสนาตั้งเยอะเลย  ผลนี่ก็มาจากการพิจารณาใช่ไหม, สติปัฏฐานนี่ แล้วก็เป็นปัจจัยกันมา  มันรวมกันหมด  ไม่ใช่จะแยกย้ายกัน เว้นแต่เราจะดึง  เอาเหตุผลมารวมกันไม่ได้เท่านั้นแหละ มันก็เลยต้องแยกย้ายกันไปเท่านั้นเอง แต่ที่ถูกแล้วมันรวมกันได้หมด เช่น อย่างว่าตทังคปหาน กับ ขณิกสมาธิ  มันก็เป็นเหตุผลแก่กัน  คือ ขณิกสมาธิ เป็นเหตุให้เกิดตทังคปหาน และตทังคปหานก็เป็นเหตุให้เข้าถึงสมุจเฉทปหานนี่มันต่อๆ กันเรื่อยไป

********เมื่อถึงสมุจเฉทปหานแล้ว ก็เป็นปัจจัยให้เข้าถึงวิมุติ พ้นจากกิเลส  ไม่รู้ละ  แต่ละประหาณก็เป็นเหตุให้เกิดวิมุติ  ถ้า ตทังคปหานก็เป็นเหตุให้เกิดตทังควิมุติ มันเข้ารวมกันหมดเลยคะ เหตุผลน่ะไม่ใช่ว่า ถ้าเราพูดกันโดยเหตุผล  หรือพูดกันโดยตำราอีกอย่างหนึ่ง ตำราแทบจะมาจับไว้จนหมด แหม! ถ้าเราเข้าใจตำรา  แต่ละอันๆ  อย่างนี้  เราก็รู้แล้วใช่ไหมว่า  เป็นเหตุเป็นผลกัน

********อย่างในวิปัสสนาญาณนี่  นามรูปปริจเฉทญาณได้มาจากไหน  ? ได้มาจากการเจริญสติปัฏฐาน  ทิฏฐิวิสุทธิได้มาจากไหน ? ได้มาจากนามรูปปริจเฉทญาณ นี่อย่างนี้เพราะธรรมทั้งหลายย่อมไหลมาจากเหตุทั้งนั้น

 

********เพราะฉะนั้น  อย่าติดตำรามากนัก ติดมากไม่ได้  ทีนี้ตำราในทีนี้พูดอย่างนี้นี่  ประเดี๋ยวตำราในที่อื่นก็ไปพูดอย่างอื่น เหมือนอย่างที่ยกขึ้นมาให้ฟังแล้วใช่ไหม แล้วทีนี้ก็เกิดขัดกันเลย นี่อย่างนี้ก็ไม่ได้เหมือนกัน  อันนี้ก็เพียงทิฏฐิวิสุทธิค่ะ

********ฉะนั้นไม่ว่าอะไร ทุกอย่างจะต้องมีเหตุทั้งนั้น จะพูดไปเฉพาะอย่างเดียวไม่ได้เลย  ถ้าอย่างเดียวแล้ว  แหม ปัญญาขัดกันหมดเลย

********ขอทบทวนที่พูดไปเมื่อครั้งที่แล้วว่า ศีลและสมาธินั้น ที่จะต้องเป็นวิสุทธิแน่นอน จะต้องเป็นไปในอารมณ์ของปัญญา ต้องเกิดร่วมกับอารมณ์ของปัญญานะคะ อันนี้ถ้าให้เข้าใจที่แน่นอน คือหมายถึงที่แน่นอนนะคะ  ร่วมกัน

********เพราะว่า วิสุทธินี้จะต้องเป็นมรรคด้วย เป็นตัวมรรคที่จะดำเนินไปถึงพระนิพพานด้วย  ก็อย่างเดียวกันกับมรรค ๘  นะคะ  แล้วก็วิสุทธินี้ต้องเป็นไปร่วมกัน เมื่อเป็นไปร่วมกันในอารมณ์เดียวกันของปัญญา 

********ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ จะต้องมีอารมณ์ร่วมไปเป็นอันเดียวกัน ศีลนั้น สมาธินั้น และปัญญานั้นถึงจะเข้าถึงวิสุทธิได้

********ทีนี้ก็อยากจะเรียนถามท่านผู้ฟังน่ะ  ตอบสักท่านหนึ่งก็ได้นะคะ ว่า:-

********ศีล สมาธิ  ปัญญา  ที่จะเป็นวิสุทธิได้ร่วมกันในอารมณ์เดียวกัน  จึงจะเป็นบาทซึ่งกันและกันได้  ก็อยากจะทราบว่า อารมณ์อะไรคะ? ศีล สมาธิ  ปัญญาในอารมณ์อันใด  ถึงจะเป็นวิสุทธิได้?  อารมณ์นั้นน่ะ  คืออะไร?  ได้ไหมคะ  สักคนหนึ่ง คิดว่าแม่ชีตอบได้นะ  เอ้า! อารมณ์นั้นคือนามรูปค่ะ  ก็ใช่ค่ะ,แต่ทีนี้อยากให้ตอบว่า “สติปัฏฐาน” ค่ะ  อันเดียวกันนั่นแหละ  รูปนามก็ได้  สติปัฏฐานก็ได้ในเรื่องวิสุทธินี้  ต้องมีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์นะคะ  หรือรูปนามเป็นอารมณ์

********สติปัฏฐานน่ะ  กาย  เวทนา  จิต  ธรรม  แต่ว่าเวลานั้นน่ะ  ยังไม่มีรูปนามเป็นอารมณ์  กาย  ก็ยังไม่รู้สึกว่า เป็นรูป  เพราะยังเป็นเราอยู่  เวทนา  ก็ยังรู้สึกว่า เราเป็นสุข,  เราเป็นทุกข์อยู่ก็เป็นการกำหนดเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน  หรือกำหนดจิต เรารู้  เรารัก  เราโกรธ  อย่างนี้ก็ยังมีอยู่  แต่ว่าเวลากำหนดก็ถ้ามีนามรูป คือ กำหนดนามรูปนั่นแหละ  ยังไม่รู้สึกนะคะ ว่าเป็นนาม เป็นรูป แต่เมื่อปฏิบัติไปจนกระทั่งเกิดวิปัสสนาแล้ว  เราจึงหมดไป  กายก็สักว่ากาย  เวทนาก็สักว่าเสวยอารมณ์  ธรรมชาตินี้เป็นนามไม่ใช่เรา จิตก็เหมือนกัน ธรรมก็เหมือนกัน  ผู้ปฏิบัติไปแล้วถึงจะมีความรู้สึกอย่างนี้เกิดขึ้น

********เพราะฉะนั้น  ก็ไม่ใช่อื่น   ไม่ใช่ว่ากำหนดรูปนามน่ะ  อย่างหนึ่ง  แล้วกำหนดสติปัฏฐานก็อย่างหนึ่ง  ไม่ใช่อย่างนั้น,   กำหนดสติปัฏฐาน  ก็คือกำหนดนามรูปนั่นเอง

********กำหนดเพื่อให้รู้ว่า กาย,  เวทนา,  จิตและธรรมในสติปัฏฐานทั้ง ๔  นี้น่ะ  เป็นรูปและเป็นนามนี้น่ะ อันเดียวกัน  อย่างเดียวกัน  แต่ว่าขั้นความรู้เท่านั้นที่ต่างกัน  เพราะถ้าไม่ได้ฟังเหตุผล  มาถึงตอนนี้แล้ว ดิฉันจะขอย้อนกลับไปทำความเข้าใจอีกครั้งหนึ่งว่า :-

********เมื่อท่านทราบตามเหตุผล ที่ได้อธิบายมาแล้วว่า ศีลกับสมาธิ  ที่จะเป็นวิสุทธิได้ ก็จะต้องมีปัญญาเป็นเหตุ หรือที่เกิดร่วมกันกับอารมณ์ของปัญญามีทิฏฐิวิสุทธิ เป็นต้น กำลังเจริญสติปัฏฐานอยู่แรกๆ เจริญน่ะ ทิฏฐิวิสุทธิยังไม่มีอยู่ เพราะว่าเมื่อเกิดปัญญาแล้วรู้ว่า สติปัฏฐาน กายก็ดี เวทนาก็ดี จิตก็ดี ธรรมก็ดี ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล สักแต่ว่า รูปกับนาม ๒ อย่างเท่านั้นเอง นี่จึงเข้าถึงทิฏฐิวิสุทธิแปลว่า ความรู้สึกว่า  เป็นสัตว์ เป็นบุคคล  เป็นตัว เป็นตนน่ะ  หมดไปแล้ว

********เพราะฉะนั้น ในที่นี้ก็เข้าถึงทิฏฐิวิสุทธิ เข้าถึงปัญญาวิสุทธิ วิสุทธิในที่นี้น่ะ หมดจด  หมดจดจากอะไร?  หมดจดจากทิฏฐิความเห็นผิด  ที่เห็นว่าเป็นตัว  เป็นตน  เป็นสัตว์  เป็นบุคคล  อย่างนี้เท่านั้นนะ

********นี่แหละ เข้าถึงความหมดจดของทิฏฐิวิสุทธิ ขั้นต้น  ในระหว่างที่เจริญสติปัฏฐานอยู่นี่เป็นขั้นต้นนะ  เพราะฉะนั้น วิสุทธิจึงมีอยู่หลายขั้น  มีอยู่ถึง ๗ ขั้น แต่ว่า ขั้นนี้หมดจากความเห็นผิดในสัตว์ บุคคล ตัวตน ยังไม่หมดจากราคะ โทสะ โมหะ เพราะว่าปัญญาที่แรกเกิดน่ะ ยังทำลายไม่หมด

********เมื่อปัญญาเกิดเรื่อยไป มีทิฏฐิวิสุทธิเกิดแล้วเป็นต้น ศีลและสมาธินั้น จึงจะเข้าถึงวิสุทธิ แน่นอน จึงอยากจะเรียนถามอีกครั้งหนึ่งว่า:-

********ปัญญาที่เรียกว่า ทิฏฐิวิสุทธิ ที่กำลังพูดกันอยู่นี้นั้น มีอะไรเป็นอารมณ์ หรืออารมณ์ของทิฏฐิวิสุทธินั้น คืออะไร? อยากจะสอบความเข้าใจว่าท่านเรียนมาแล้ว  ท่านเรียนวิสุทธิมานี้เป็นเดือนๆ แล้ว  ต้องการจะทราบที่แน่นอน อย่างอื่นถึงจะฟังไม่ค่อยเข้าใจก็ยังไม่สู้สำคัญเท่าไหร่  แต่ที่ต้องการให้ทราบแน่นอนและเป็นประโยชน์  เพื่อกันความเห็นผิดที่จะเกิดขึ้นอีกต่อไปด้วย  จึงได้ถามต้องการให้เข้าใจตรงนี้ให้แน่นอนถึงได้ถาม

********เมื่อรู้แล้วว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ถูกต้องแล้วต้องมีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์  เมื่อท่านเข้าใจแน่นอนอย่างนี้แล้ว  ถ้าท่านจะไปปฏิบัติที่ไหน  หากว่าข้อปฏิบัติอันนั้น  หรือการปฏิบัติข้อนั้นไม่มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ละก็  ขอให้ทำความเข้าใจให้แน่นอนทีเดียวว่า  นั่นไม่ใช่ทางพระนิพพาน

********เพราะสติปัฏฐาน เอกายโนมัคโค ทางไปพระนิพพาน มีทางเดียวเท่านั้น คือ มหาสติปัฏฐาน  ถ้าท่านเข้าใจอันนี้จะเป็นประโยชน์มาก

********เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงได้เรียนถาม เพื่อท่านเข้าใจแน่ชัดหรือยัง  เกือบจะไม่มีคนตอบ แต่ก็ยังอุตส่าห์มีคนตอบได้นะ เอาเถอะ ตอบว่า มีรูปนามก็ยังดี ก็ได้เหมือนกัน

********แต่ถ้ายังไม่มีใครรู้เลย แหม! ดิฉันก็จะต้องสอนตั้งต้นใหม่ หยุดแค่นี้! ก็ต้องขึ้นต้นใหม่นะคะ

********เพราะว่า  ยังจำพยัญชนะไม่ได้  ก็สอนต่อไม่ได้ใช่ไหมคะ  ถ้ายังอ่านหนังสือไม่ออก  สอนต่อไปก็ไม่ออก

********ปัญญาที่เรียกว่า ทิฏฐิวิสุทธิที่กำลังพูดถึงอยู่นี่น่ะ ก็ต้องมีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์

********อารมณ์ของวิสุทธิ ที่เขาถามว่า อะไรเป็นอารมณ์ของวิสุทธิ  ? เราก็ต้องตอบว่า “สติปัฏฐาน”

********ถึงแม้ว่าจะเป็นนามเป็นรูป แล้วก็ตาม คือ รู้เป็นนามเป็นรูป  แล้ว ก็คือ กำหนดสภาวะของสติปัฏฐานนั่นเอง กำหนดรูป  กำหนดกาย   หรือ กำหนดเวทนา ความสุข  ความทุกข์ อะไรที่เกิดขึ้นแต่ว่า  รู้ว่าเป็น  นาม ตัดบุคคลออกจากเวทนา ออกจากกายนั่นเอง แต่ว่าการกำหนดอารมณ์นั้นยังคงกำหนดอยู่ที่กาย  ที่เวทนา  ที่จิต  ที่ธรรม นั่นเองนะคะ

********ความจริงในเรื่องนี้ได้อธิบายมาแล้วในตอนต้นนั้น  แต่ก็อาจยังจำไม่ได้  หรือยังไม่เข้าใจดี  เพราะเหตุว่า เป็นสิ่งที่ควรทำความเข้าใจไว้ให้แน่นอน  เพื่อจะได้ป้องกันในการที่จะได้ไม่เข้าใจผิดในอารมณ์ของวิปัสสนา

********ในเมื่อเข้าใจในอารมณ์ของทิฏฐิวิสุทธิดีแล้ว  จึงขอให้เข้าใจไว้ให้แน่นอนว่า  อารมณ์ของทิฏฐิวิสุทธินั้น จะต้องมีสติปัฏฐาน หรือต้องมีนามรูปเป็นอารมณ์  เมื่อมีสติปัฏฐานตอนแรกน่ะ ยังไม่เข้าถึงทิฏฐิวิสุทธินะ  เจริญสติปัฏฐานทำทั่วไปหมด  แต่ยังไม่เข้านะ

********เมื่อสติปัฏฐานนั้น ยกขึ้นเป็นนามเป็นรูปแล้ว  ถึงจะเข้าถึงทิฏฐิวิสุทธิ เป็นขั้นต้น เป็นวิสุทธิขั้นที่จะต้องเข้าถึงก่อน ถ้านอกนั้นก็ไม่ใช่แน่นอน

********ถึงศีลและสมาธิก็เหมือนกัน  เพราะปัญญาใดไม่ได้เกิดจากมหาสติปัฏฐาน  จะไม่มีนามมีรูปเป็นอารมณ์  ปัญญานั้นก็ไม่เป็นวิสุทธิ  ยกเว้นแต่พระอรหันต์  ตรงนี้พอเข้าใจไหมคะ?  ที่ยกเว้นพระอรหันต์นี่  คือ พระอรหันต์จะต้องมีนาม  มีรูป  มีสติปัฏฐาน  เป็นอารมณ์อยู่เสมอหรือ?  ไม่ใช่คะ!  แต่ท่านก็เป็นวิสุทธิ  จะมีอะไร  เป็นอารมณ์  ก็มีวิสุทธิพระอรหันต์นี่อกุศลเป็นอารมณ์ก็ได้  ได้ไหมคะ?  ได้ซิคะ  พระอรหันต์นี่ท่านรู้โลภ รู้โกรธ รู้หลงของคนอื่น หรือว่าจะพิจารณารู้โลภ                                                                                           โกรธ  หลง  ของตนเองในอดีต  ที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ที่แล้วมาอย่างนี้ก็ชื่อว่ามีอกุศลเป็นอารมณ์

********เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าจะต้องมีนามรูปหรือสติปัฏฐาน เป็นอารมณ์อยู่เสมอ ไม่ใช่อย่างนั้น  ใช่ไหมคะ?  เพราะว่า  ถ้าต้องมีอารมณ์เป็นสติปัฏฐานอยู่เสมอละก็  พูดกับใครก็ไม่ได้  จะไปเทศนาโปรดใคร  อะไรต่ออะไร  ที่ไหน  ทำอย่างไร?  มีสติปัฏฐานอยู่เสมอ  แล้วจะเอาเรื่องราว  คือการพูดนี่น่ะ  เป็นบัญญัติทั้งนั้น  แล้วจะเอานาม  เอารูปที่เป็นปรมัตถ์เป็นอารมณ์ก็ไม่ได้

*******แต่ว่าถึงกระนั้น ท่านก็วิสุทธิ กิเลสก็ไม่มี ฉะนั้นจึงยกเว้น

*******แต่ถ้าผู้ที่ยังปฏิบัติอยู่แล้วละก็  ไม่ได้ หมดทุกคนละค่ะ ไม่ได้เชียว  ถ้าไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของสติปัฏฐานแล้ว  วิสุทธิ  ตั้งแต่ต้นไปก็ไม่ได้แล้วนะคะ  ไม่มีคะ !

********เพราะว่า  การทำประโยชน์ของวิปัสสนานั้น  ก็เพื่อจะละความยึดมั่นถือมั่น ที่เกิดจากความเข้าใจผิด  ที่เห็นว่านามและรูปนั้น เป็นตัว  เป็นตน  หรือเป็นเรา  เป็นของเรา  ความเข้าใจผิดอันนี้  ได้อาศัยเกิดขึ้น  ในขณะเมื่อนามรูปเกิดขึ้น เพราะอวิชชา แต่ไม่รู้ คือ อาศัยเกิดขึ้น  ในขณะตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง  ความเข้าใจว่าเป็นเรา  เป็นเขา  เป็นตัวเป็นตนนี่  ก็เกิดในขณะที่รูปนามนั้นเกิดขึ้นเหมือนกัน

********ถ้าไม่มีนาม ไม่มีรูปเกิด ความเข้าใจผิดว่า นามรูปนี้ เป็นเรา  เป็นตัว เป็นตน มีได้ไหม? ก็มีไม่ได้ เพราะไม่มี สิ่งที่ถูกเข้าใจผิด แล้วความเข้าใจถูกล่ะ  มีได้ไหม? ก็ไม่มีอีกเหมือนกัน  เข้าใจถูกก็มีไม่ได้  ไม่รู้ว่า จะเข้าใจถูก เข้าใจผิดในอะไร เพราะอยู่ดีๆ  มันไม่มีอะไรรับรองความเข้าใจของเราแล้ว  ความเข้าใจถูก  เข้าใจผิดก็มีไม่ได้

********ฉะนั้น ความเข้าใจถูกเข้าใจผิด จะเกิดได้เมื่อนามและรูปวัตถุที่ถูกเข้าใจผิด  หรือเข้าใจถูกนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้น ความเข้าใจผิดความเข้าใจถูกก็เกิดขึ้น เช่นอย่าง พอนามรูปเกิดขึ้นในการเห็น การได้ยิน หรือนั่ง นอน ยืน เดินเกิดขึ้น  เรานั่งก็เกิด  เราเห็นก็เกิด  เราได้ยินก็เกิด นี่เข้าใจผิดเกิดขึ้นใช่ไหม? เกิดที่นั้น

********ถ้าไม่ได้ยิน เราได้ยิน  มีไหม?  ไม่เกิด  หรือว่า ถ้าไม่ได้ยิน  จะรู้ว่า  ที่ได้ยินนี้ เป็นนาม  ไม่ใช่เรา  ก็เกิดไม่ได้อีก

********ฉะนั้น เมื่อความเข้าใจผิด  เกิดขึ้นที่ตรงนั้น ตรงที่เราเห็น  อย่างนี้  เกิดขึ้นกับนามที่เห็นรูป  ก็เข้าใจผิดที่นั่น  แล้วทีนี้  ความเข้าใจผิดจะเกิดที่ไหนล่ะ ?  ก็เกิดที่นั่นเหมือนกัน  ความเข้าใจผิดเกิดที่นั่น  เกิดเวลานั้น  เกิดที่วัตถุนั้น  อย่างนี้  ทีนี้  ความเข้าใจผิดก็ต้องเกิดตรงนั้น  ที่นามนั้น  ขณะนั้นเหมือนกัน  เพราะฉะนั้น  จึงทำลายความเข้าใจผิดที่ตรงนั้นได้  ถ้าความเข้าใจถูกเกิดขึ้น  ความเข้าใจผิดก็เกิดไม่ได้ตรงนั้น เพราะว่าความเข้าใจถูกเกิดขึ้น  ใช่ไหมคะ

********พอเห็น เราเห็น  เข้าใจผิด ใช่ไหมคะ ทีนี้  ความเข้าใจถูกล่ะ  ก็อาศัยการเห็นนั่นแหละ บอกว่า  ไม่ใช่เราเห็น เห็นเป็นนามธรรม  สักแต่ว่า เป็นนามเท่านั้น ไม่มีตัวตน ไม่มีสัตว์ บุคคล  ไม่ใช่ผู้หญิง  ผู้ชาย  อาศัยเกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัย นี่อย่างนี้ใช่ไหม? ก็ต้องอาศัยการเห็น  นั้นแหละ  ถึงจะเกิดความเข้าใจถูกได้

********ฉะนั้น  การทำวิปัสสนา จะละกิเลสความเข้าใจผิด  เราต้องรู้เสียก่อนว่า  เราเข้าใจผิดตรงไหน?  ใช่ไหม?  เราจะดับไฟนี่  เราต้องรู้ว่า  ไฟมันไหม้ที่ไหน  แล้วถึงจะไปดับได้  อยู่ๆ  อยากจะดับไฟ  ก็ไฟมันอยู่ที่ไหน?  ทีนี้ถ้าดับไม่ถูกไฟ  ไฟก็ไม่ดับ  น้ำจะดับไฟ ก็ต้องดับตรงไฟที่กำลังไหม้  นั่นแหละคะ,ไฟมันไหม้ตรงไหน ก็ต้องตรงกันนั้น และไฟถึงจะดับได้ ถ้าไม่อย่างนั้น ดับไม่ถูกไฟ ไฟก็ไม่ดับ

********โดยมากเข้าใจว่า  ไม่ต้องทำอะไรมากเลย  ทำสมาธิอย่างเดียวให้จิตสงบนิ่งก็แล้วกัน  ไม่ต้องไปกำหนดรู้มันหรอก  นามรูปอะไรๆ  ก็ไม่ต้องรู้อย่างนี้

********แต่ทราบอยู่ว่า  จะถอนความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัว  เป็นตน  อันนี้ทราบอยู่  แต่ก็บอกว่าไม่ต้องทำอะไรหรอก !  นิ่งๆอยู่มันก็ถอนไปเอง

********เหมือนกับเรานอนอยู่นั่นแหละ  เวลาตื่นๆอยู่มันวุ่นวายนัก  มันมีความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  อะไรๆ  ทุกสิ่งทุกอย่างไปหมด  เวลาตื่นขึ้นละก็ หลับเสียแหละดี เวลาเราหลับไม่มีใช่ไหม? ความรู้สึกเป็นเราก็ไม่มี เป็นผู้หญิงก็ไม่มี เป็นผู้ชายก็ไม่มี โกรธก็ไม่มี รักก็ไม่มี ดีไหม? ใช่ไหมล่ะ?  มันไม่มีจริงๆ นะ  เวลาหลับนอนนี่ ไม่มีกิเลสไม่มีจริงๆ  แต่ชื่อว่าละกิเลสไหม?  ชื่อว่าละกิเลสหรือเปล่า? ก็กิเลสมันเกิดเวลาตื่นต่างหากเล่า เวลาเห็น เวลาได้ยินต่างหากเล่า เวลาฝันนั่นกิเลสก็เกิดแล้วนะ  นามมันก็เกิดแล้ว  ถ้าไม่มีนาม  ไม่มีรูปนาม    ก็ไม่มีฝันเหมือนกัน  นั่นก็มีแล้วเกิดแล้ว แต่มันเกิดเฉพาะมโนทวารทางเดียวไม่ใช่เกิดเพราะตา  เพราะหู  อันนี้ต้องทำความเข้าใจกันอีกตอนหนึ่งค่ะ

*******ทีนี้เราก็ถือเอาว่า ถ้าอย่างนั้นละก็ เราหลับเสียก็แล้วกันนี่  กิเลสก็ไม่มีเหมือนกัน  จะต้องไปทำ ทำไมสมาธิ กิเลสไม่มีเพราะไม่รู้อีกใช่ไหม? เพราะโง่ใช่ไหม? จึงมี  ทีนี้ถ้าเราไปทำ  อย่าให้มันรู้อะไรเลย  ให้มันอยู่นิ่งๆ  ให้จิตมันนิ่งอยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน  อย่าให้รู้  ทำเพื่อไม่รู้ก็แล้วกัน,  ว่าอย่างนั้นเถอะ  แล้วละกิเลสได้ไหม?

*******ก็กิเลสเกิดเพราะไม่รู้จริง ไม่รู้เท่าทันตามความเป็นจริงของสภาวะธรรมนี่  โง่ เซ่อ เข้าใจผิดใช่ไหมล่ะ นั่นซี! แล้วนี่ไปทำเพื่อไม่รู้,  ไม่รู้นั่นหรือละกิเลส  ที่ถูกต้องทำให้รู้ ต้องทำให้รู้ซี

********มันมืดแล้ว, เฮ้อ! มันมืดก็ช่างมันเถอะ อย่าไปยุ่งกับมันเลย  นอนเสียก็แล้วกัน  มืดอย่างนี้,  ตื่นขึ้นก็มืดอีก  ที่มืดน่ะรู้ว่ามืดตอนตื่นนะ เวลาหลับแล้วก็ไม่มีละ, มืดก็ไม่มี, สว่างก็ไม่มี นี่ก็เหมือนกันค่ะ  ฉันใดก็ดี  การปฏิบัติวิปัสสนาก็เหมือนกัน  จะต้องประกอบด้วยเหตุผลความเข้าใจของเรา

********เพราะฉะนั้น  เวลาฟังน่ะ  ต้องฟังด้วยเหตุผลค่ะ  ให้ถือเอาเหตุผลนะคะ  ชื่อเสียงนี่  จะจำได้หรือไม่ได้  นี่ก็ไม่เป็นไร  แต่ถ้าเราเข้าใจเหตุผลแล้ว  พอคนอื่นพูดขึ้นมา  เราก็รู้ถึงเหตุผลอันนั้น  ถึงจะจำไม่ได้  แต่ว่าคนอื่นเขาจำได้  เขาพูดขึ้นมาเราก็รู้  แต่ถ้าเราจะเรียนจากความจำอย่างเดียว  พอคนอื่นเขาพูดเราลืม  พอคนอื่นเขาถามขึ้นมาลืมแล้ว  นึกไม่ออก  แต่เวลาที่เขาไม่ถาม  ไม่รู้ว่าลืมไหม ?  ไม่รู้  ไม่รู้หรอกว่าลืม  เพราะเราไม่ได้ใช้ จะรู้ได้อย่างไรว่าลืม  แต่เมื่อถูกคนอื่นเขาถามซิ  จำไม่ได้ อ้าว! ลืมเสียแล้ว  ลืมแล้วก็เลยหมดกันไปเลย

********แต่ส่วนความเข้าใจไม่ใช่อย่างนั้น เวลาเขาไม่ถามนะ ความเข้าใจยังไม่เกิด ยังไม่เกิดหรอก  แต่พอถูกถามปั๊บ  ความเข้าใจจะเกิดขึ้นมา  พอได้ยินคำพูดขึ้นเมื่อใด  ความเข้าใจในคำพูดนั้นจะเกิดขึ้นมาไม่เหมือนอย่างกับจำ  ถ้าจำแล้ว  พอได้ยินเข้า  ถ้าจำไม่ได้แล้ว  นึกไม่ได้จะปรากฏขึ้นมานี่แหละค่ะต่างกัน

********เพราะฉะนั้น  ก็ขอให้พยายามเรียนด้วยความเข้าใจ

********ทีนี้ย้อนไปข้างต้นว่า พอเห็น  พอได้ยินเกิดขึ้น  ทำไมถึงสำคัญว่า  เป็นเรา  เพราะเหตุว่า อวิชชา  อำนาจของอวิชชาเกิดขึ้นมา  ทำให้เห็นผิดไปจากความจริง  ถึงแม้จะไม่เกิดในขณะที่เห็น  ที่ได้ยินก็ตาม  แต่ว่าเคยเกิดอยู่ก่อนแล้ว

********เวลาเห็นน่ะ ที่รู้สึกว่า เราเห็นน่ะ รู้สึกที่ไหน? รู้สึกที่ไหน? ตอบหน่อยซิคะ  รู้สึกที่ไหน?    เห็นน่ะ  มันไม่รู้สึก ไม่ใช่  อาศัยการเห็นจึงรู้อย่างนั้นขึ้นมา ตัวเห็นนี่ มันไม่รู้หรอกว่าเป็นเรา  หรือเป็นใคร  อะไรมันก็ไม่รู้ทั้งนั้น มันมีหน้าที่ เห็น เท่านั้นแหละ, ตัวที่เห็นจะเป็นรูปหรือเป็นนาม จะเป็นเราหรือ อะไรไม่มีหน้าที่  เขาไม่เกี่ยวข้อง  แต่ว่า พอตาเห็นรูปแล้ว นามนี่ หรือใจเรานี่ ความเข้าใจผิดก็เกิดขึ้นที่ใจนี่ว่า  เราเห็น  เพราะอาศัยการเห็นนั้นเอง  จึงได้เกิดขึ้นนะคะ

********ทีนี้อวิชชานั่นมันอยู่ที่ใจ ถ้าใจเราถูกอวิชชาปิดบัง อวิชชายังทำงานปิดบังความจริงนั้นอยู่ ปัญญายังไม่เกิดขึ้นมาขับไล่อวิชชาให้หมดไปแล้วความสำคัญว่าเราเห็น  เราได้ยินก็ต้องยังอยู่ ใช่ไหมล่ะ  พอการเห็นเกิดขึ้น, การได้ยินเกิดขึ้น  ตัวอวิชชาก็เกิดขึ้น  อารมณ์ของอวิชชาก็เกิดขึ้น ก็สำคัญผิดในที่นั้น นอกจากว่า เราจะพยายามพิจารณา ใครพิจารณา  ก็ใจนี่แหละ นามทางใจนี่แหละพิจารณา จนกระทั่งเกิดปัญญา  ก็ละอวิชชา  ความรู้ผิดในที่นั้นให้หมดไป

********ทำไมอวิชชาจึงเกิดขึ้นมาให้สำคัญผิด ด้วยเหตุที่ยังไม่เคยพิจารณาให้ได้ความจริงใช่ไหมล่ะคะ

********ฉะนั้น โดยเหตุผลที่ได้อธิบายมานี้ ผู้ทำวิปัสสนาจึงมีความจำเป็นที่สุดที่จะต้องนำเอานามรูป ที่เราเข้าใจผิดอยู่นั้นขึ้นมาเป็นกรรมฐาน  คือ เอามาเป็นที่ตั้งรับรองการพิจารณา  หรือการพิสูจน์ของปัญญา  จนกว่าจะได้ความจริงในสิ่งที่ตนเข้าใจผิดนั้น จึงจะเป็นเหตุผลที่สอดคล้องต้องกัน

********เพราะว่า  ความเข้าใจถูก  หรือความเข้าใจผิดนั้น  จะต้องมีวัตถุเป็นเครื่องรับรองความเข้าใจถูกและความเข้าใจผิด  ไม่ใช่ความเข้าใจถูกและความเข้าใจผิดนั้น จะเกิดขึ้นมาเองเฉยๆ  โดยไม่มีวัตถุรับรองความเข้าใจถูกและผิดนั้น  อยู่ๆ  ก็เกิดความคิดผิด  หรือคิดถูกขึ้นมาเองเฉยๆ  อันนี้ก็เป็นไปไม่ได้

58********ถ้ามีความเข้าใจดังนี้ ท่านผู้ฟังก็คงทราบแล้วว่า ไม่ถูก  เพราะว่า เป็นความเข้าใจที่ยังไม่มีเหตุผลเพียงพอ ความเข้าใจถูก  เข้าใจผิด จะเกิดขึ้นมาเองเฉยๆ ไม่ได้  ถ้าไม่มีวัตถุที่อาศัยให้เกิด ความเห็นถูกและเห็นผิดนั้น  ซึ่งผิดจากพุทธภาษิตว่า  ไม่มีเหตุผล เพราะพุทธภาษิตว่า  “ธรรมทั้งหลายย่อมมีเหตุเป็นแดนเกิด” อาจจะเป็นความเข้าใจดังนี้ดอกกระมัง ที่ดิฉันเคยได้ยินว่า การละความยึดมั่นถือมั่นนั้น ไม่ต้องมีการศึกษาอะไร  ถ้าศึกษามาก  มันรู้มากนั่นแหละจะยุ่งมาก  เขาว่าอย่างนี้  ไม่ต้องรู้อะไรหรอก! ไม่รู้อะไรเลยนั่นแหละดี  เห็นธรรมง่ายดี  เขาว่าอย่างนี้  ผู้ที่มีความเข้าใจอย่างนี้มีอยู่นะคะ  มีไม่ใช่น้อยเหมือนกัน  ที่ว่าไม่ต้องศึกษาอะไร  ไม่ต้องไปศึกษา  การปฏิบัตินั้นจะปฏิบัติอย่างไรก็ได้  บางทีบอกว่าไม่ต้องปฏิบัติ ไม่ต้องมีพิจารณาอะไรทั้งนั้น  เมื่ออยากจะละความยึดมั่นถือมั่น    ก็ปล่อยวางเฉย โดยสั่งว่า “อย่าไปยึดถือมั่นก็แล้วกัน ว่าอย่างงั้น  ปล่อยวางเสียก็แล้วกัน  ก็นิ่งเสียจะเป็นอะไรไปก็เรื่องของเรานี่”  เขาว่าอย่างนี้ นึกปล่อยวางเอานึกละเอาเอง  โดยไม่ต้องมีการทำอะไรทั้งหมด

********ความเข้าใจอย่างนี้  ขอให้ท่านพิจารณาดูว่า จะเป็นเหตุเป็นผล  ที่เป็นไปได้หรือไม่?  ถ้าหากความจริงจะเป็นไปได้เช่นนั้นแล้ว  ในเวลาที่ต้องการ เมื่อมีความต้องการ เรานึกอยากจะได้อะไร ก็ได้ตามความต้องการ  อย่างนั้นหรือ?

********ถ้าเข้าใจอย่างนี้, ถ้าเช่นนั้นละก็  ขอให้ยกตัวอย่างมา ให้พิจารณาว่า  ในเวลาที่เราหิวข้าวนะ  เราไม่ต้องไปหาข้าวมากิน  เพราะว่า  เรานึกเอาได้นี่,  ปล่อยวางเรายังนึกเอาได้เลยใช่ไหมล่ะ ?  นึกปล่อย!  ก็ได้  นึกวาง! ก็ได้

********ทีนี้  เวลาท้องมันหิว  เราก็ไม่ต้องไปหาข้าวมากิน  เวลากิเลสเกิดเรายังนึกปล่อยนึกวางได้ ทีนี้ เวลาความหิวเกิด  เราก็นึกให้มันอิ่ม  ไม่ต้องไปหาข้าวมากินหรอก นึกขึ้นมาให้มันอิ่ม เราไม่ต้องเอาข้าวมากิน,  เราก็นึกกินเอง นึกกินเอา นึกอิ่มเอา ความอิ่มก็จะเกิดขึ้นเองตามที่เราต้องการ อย่างนั้นหรือ ?

********อันนี้ก็คงเป็นไปไม่ได้โดยแน่นอนนะคะ โดยเหตุผลนั้น  ถ้าเราจะได้ความจริงจากสิ่งใดๆ ก็ตาม,  สิ่งเหล่านั้นจะต้องถูกเราพิสูจน์เสียก่อน  เราต้องพิสูจน์เสียก่อน  เราถึงจะได้ความจริง  ไม่ว่าเรื่องอะไรทั้งหมดเลย

********อุปมา  เหมือนกับมีวัตถุที่เป็นของแปลก  อัศจรรย์มีอยู่ก้อนหนึ่ง  แต่มีคนทั้งหลายโจษจันกันว่า  วัตถุที่อัศจรรย์นั้นนะ  ร้อน  ร้อนมาก  มีความร้อนบางคนก็บอกว่า  เย็น บางคนก็ว่า  ไม่เย็น  ไม่ร้อน  ก็แล้วแต่  คนที่เขาไปพิสูจน์มาแล้ว  อย่างนี้เป็นต้น

********แต่ถ้าหากว่า เราจะได้ความจริงจากวัตถุนั้นว่าวัตถุนั้น จะร้อนหรือเย็นกันแน่  เราต้องการความจริง ให้ตรงกับความเป็นจริงของวัตถุนั้นท่านจะทำการพิสูจน์ ก็ต้องไปทำการพิสูจน์ในวัตถุนั้นๆ และการพิสูจน์เพื่อจะให้ได้ความจริงในวัตถุนั้น จะทำอย่างไร? ท่านจะทำอย่างไร ?  ถึงจะได้ความจริง นี่เป็นการพิสูจน์สำหรับความร้อน ความเย็นนะ จะทำอย่างไร  จึงจะได้ความจริงในเรื่องของความร้อน  และความเย็นนั้น  นี่เอาความจริงเฉพาะในที่นี้นะคะ ความจริงอย่างอื่นก็ต้องพิสูจน์กันอีกอย่างหนึ่งคนละอย่าง  ต้องให้ตรงกันถ้าเหตุผลไม่ตรงกัน การพิสูจน์อันนั้นก็ไม่ได้ความจริงเหมือนกัน ทีนี้จะทำอย่างไร, ถึงจะรู้แน่ว่าวัตถุนั้น ร้อนหรือเย็น

********ท่านต้องเอามือ  หรือเอาส่วนอวัยวะในกาย  ส่วนใดส่วนหนึ่ง  ที่สามารถจะรู้ความร้อนและเย็นได้  ไปถูกต้องหรือไปจับในวัตถุสิ่งนั้น  เพื่อพิสูจน์ความจริงว่า  ร้อนหรือเย็นในวัตถุนั้น  จะเอาตาไปดู, พิสูจน์อย่างนี้ได้ไหม ? ไม่ถูกใช่ไหม ? การพิสูจน์อย่างนี้  เป็นการพิสูจน์ไม่ถูก, เอาตาไปดูรู้ไหมว่า  ร้อน  หรือเย็น, ไม่รู้ใช่ไหม ?  เอาหูไปฟังร้อน  หรือเย็นรู้ไหม,  เอาหูไปพิสูจน์,  ไม่รู้  เอาจมูกไปดม  แต่อย่าให้ถูกนะ,  รู้ไหม ? ว่าร้อนหรือเย็น  ไม่รู้ใช่ไหมคะ ?

********เพราะฉะนั้น  การที่จะไปพิสูจน์วัตถุใดๆธรรมใดๆ  ต้องให้สมบูรณ์พร้อมด้วยปัจจัย  และถูกต้องตามวิธี,  ความจริงนั้น จึงจะเกิดได้  ความจริงจะเกิดได้ในทางนี้  ด้วยอาศัยปัจจัยอย่างนี้  แต่จะเอาเหตุอย่างอื่น  เอาปัจจัยอย่างอื่นไปพิสูจน์ความจริงนั้นไม่ได้

********เพื่ออะไรในโลกนี้ หรือสิ่งจะพิสูจน์ในโลกนี้ มีอยู่เท่าไหร่  มีอยู่กี่อย่าง? มีอยู่ ๖ อย่างเท่านั้นเอง  พิสูจน์ทางตา ๑, พิสูจน์ทางหู ๑,พิสูจน์ทางจมูก ๑, พิสูจน์ทางลิ้น ๑, พิสูจน์ทางกาย ๑, และพิสูจน์ทางใจอีก ๑,  นี่ ๖ อย่าง เท่านั้นนะคะ

*******พิสูจน์รสเพื่อให้ได้ความจริงของรส  ต้องทางลิ้น  ของเสียงต้องทางหู  ของรูปร่างต่างๆ  ต้องทางตา  เย็นหรือร้อน  อ่อนหรือแข็ง  ต้องทางกาย ทางอื่นเป็นไปไม่ได้  เพราะเหตุปัจจัยของเขาต้องคนละอย่างๆ กัน  ถึงแม้จะอยู่ในตัวของเราด้วยกันนี่ก็เถอะ  ต้องให้ถูกต้องด้วยเหตุด้วยปัจจัย แล้วก็ทางใจ

*******ที่จริง  ตา หู จมูก ลิ้น กาย นี่เป็นแต่เพียงคนใช้ของใจเท่านั้นเอง  แต่ว่าเป็นคนใช้ที่ซื่อสัตย์ รูปร่างอย่างไรก็เห็นอย่างนั้น แล้วก็เข้าไปรายงานทางจิตใจ

********ทีนี้พิสูจน์ทางใจนี่ซี ถ้าเหตุผลแล้วก็ต้องพิสูจน์ทางใจ รับพิจารณาเหตุผล  สื่อทั้ง ๕ นี่ส่งเข้าไป  เมื่อเข้าไปถึงก็พิจารณาเหตุผล

********หากว่าผู้พิจารณาไม่ประกอบด้วยเหตุผล ตัดสินก็ผิดความเข้าใจนั้นผิดเกิดขึ้น ก็ยึดถือตามความเข้าใจนั้น  แต่ว่าเป็นคนซื่อสัตย์  เห็นอย่างไรบอกอย่างนั้นที่เดียว  เห็นรูปร่างอย่างนั้น  บอกอย่างนั้น ได้ยินเสียงอย่างนั้น บอกอย่างนั้น แต่ว่าเสียงนั้น จะดีหรือจะชั่ว  จะผิดหรือจะถูก  เขาไม่มีหน้าที่  ที่จะรู้เลย  เป็นหน้าที่ของทางใจจะต้องตัดสิน  เขาเป็นแต่เพียงผู้เสนอสำนวนขึ้นไป  ให้พิจารณาเท่านั้นเอง  แต่ว่าคนตัดสินไม่ใช่คนเสนอเรื่อง

********เพราะฉะนั้น  ความผิด  ความถูก  เหตุผลสำคัญอยู่ที่ใจ  ถ้าใจมีปัญญามาก มีความแยบคายมีความชำนานิชำนาญ  คล่องแคล่วในการงาน สิ่งไหนก็สะดวกสบายในการพิจารณาได้ถูก ไม่ผิด เพราะถูกต้องด้วยเหตุผล

********คนทำใหม่ๆ ยังไม่เคยเลย ไม่เคยมีปัจจัย  ไม่เคยมีบารมี  ไม่เคยทำมา ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยได้ฟัง ให้ไปพิจารณาอะไร ก็บอกไม่ถูกเหมือนกัน

********เหมือนกับพิพากษานั่นแหละ ที่ยังไม่ชำนาญในการตัดสินความ  แรกๆ ที่เข้าไปพิจารณา  นี่ก็ยาก ผิดบ้าง  ถูกบ้าง  ก็ต้องอาศัยคนที่ชำนิชำนาญที่พิจารณาแล้ว  ช่วยประกอบให้ความเห็น และความเข้าใจ  การพิจารณานั้นถูกต้องได้

********เหมือนกันคะ เมือง  คือ ร่างกายนี่ เป็นเมืองๆ หนึ่ง เป็นนครหนึ่ง  เป็นโลกๆ หนึ่ง มีพร้อมหมดกระทรวงทบวงกรมต่างๆ  มีพร้อมหมดทุกกระทรวงมีทั้งนั้น มีกระทรวงคลัง กระทรวงมหาดไทย  กระทรวงยุติธรรม กระทรวงอุตสาหกรรม  มีโจรผู้ร้าย  มีวัดวาอาราม  มีหมดทุกอย่าง

********เพราะว่า โลกที่แสดงออกมาเป็นสิ่งต่างๆ เป็นวัตถุเหล่านี้  แสดงออกมาจากจิตใจนี่  เพราะฉะนั้น  จิตใจนี่มีทุกอย่างเลย

********เพราะฉะนั้น  เราที่ศึกษาธรรม  จึงต้องอาศัยธรรมะภายนอกว่า  ธรรมะบทนี้  ธรรมประเภทนี้  มาจากเหตุอะไร  ก็ยกเอาธรรมข้อนั้นมาอุปมาเพื่อนำเข้าไปถึงเหตุนั้น  หรือเหตุนี้  เมื่อออกไปข้างนอกแล้ว   แสดงอาการอย่างไร? เมื่อออกไปข้างนอกแล้วเป็นอย่างไร ?  โทสะเกิดขึ้นแล้วเมื่อเวลาเขาออกไปนะ  เขาไปทำงานอะไร ?  ถ้าเขาทำงานทางวาจา  เขาทำอย่างไร?  นี่เขาแสดงออกมา  เราก็อ่านข้างในออกมาข้างนอก  โยงเข้ามานี่สายนี้  อันนี้  กิริยาอย่างนี้ วาจาอย่างนี้น่ะ  มาจากสายนี้นะคะ  หรือมิฉะนั้น  ก็เลยยกเอากิริยาวาจาไปใช้ในประสบการณ์แล้วนำเข้าไปหาตัวการว่า  นี่มาจากตัวการอันนี้

********เพราะฉะนั้น  ข้ออุปมา อุปมัย  ตามที่จะให้เห็นธรรมะนะ ก็จะต้องอาศัยว่า  ผู้นี้ประสบการณ์มาทางไหนมาก,   ก็จะต้องเอาที่เขาเคยพบ  เคยเห็น  เคยได้รู้อะไรมา  ชำนาญในทางไหนมาก พระพุทธเจ้าที่ทรงเทศนาแก่ภิกษุหลายนัย หลายอย่าง หลายวิธี ก็เพราะอะไร? เพราะอัธยาศัยของคนนี้ชำนาญมาทางไหน ตนที่ชำนาญมาในทางทำไร่ไถนา  เวลาไปเทศน์โปรดคนชาวนา ท่านก็เทศน์เรื่องทำนา เรื่องแอก  เรื่องไถ  เรื่องนา  เรื่องโค เรื่องดิน อะไรทั้งหมด นี่! พระพุทธเจ้าแสดงอย่างนี้  เพราะผู้นั้นชำนาญมาแล้วในเหตุผลทางนี้ ท่านก็ยกเอาเหตุผลทางนี้นำเข้าไปหาความจริง  ผู้นั้นฟังก็ได้สำเร็จบรรลุมรรคผล  ถ้าผู้ไหนชำนิชำนาญในการรบในการสงคราม ท่านก็ยกเอาเรื่อสงครามขึ้นมาเทศนา  แล้วแต่เถอะว่า  ผู้นั้นจะได้มีประสบการณ์มาทางไหนมาก  เมื่อพูดถึงเรื่องนั้นแล้ว คนนั้นก็ย่อมเข้าใจได้ดี ใครเรียนทางแพทย์มา พอพูดถึงวิชาแพทย์คนนั้นก็เข้าใจดีกว่าคนที่ไม่ได้เรียนมาเลย ที่นั่งฟังกันอยู่นี่, ถ้าใครเรียนมาในทางผู้พิพากษา ธรรมศาสตร์ เมื่อพูดถึงกฎบัตร กฎหมายเขาก็เข้าใจ  คนที่ไม่ได้เรียนมา เมื่อฟังแล้วก็ไม่เข้าใจอย่างนี้ คนที่ทำนา ทำสวนมา  เมื่อพูดเรื่องนา เรื่องสวนละก็เขาก็เข้าใจ ไม่ต้องไปเรียนหนังสือหรอก  เขาเรียนมากับตัวธรรมชาตินั้นเอง  เขาเข้าใจ

********เพราะฉะนั้นจึงลำบากค่ะ,  การที่จะอธิบายธรรมะนี่  ท่านถึงบอกว่า  ต้องมีสัปปุริสธรรม  ต้องรู้จักบุคคลด้วย  ว่าบุคคลนี้จะมีปัญญาแค่ไหน,  มีศีล  มีสมาธิแค่ไหน,  พูดธรรมอะไรแค่ไหนทำอย่างไร,  อุปมาอย่างไร  คนนี้ถึงเข้าใจ  นี่ก็ไม่ใช่ง่ายๆ  เหมือนกันนะ

********เพราะฉะนั้น  พวกเราที่ศึกษาไว้นี่ ก็เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อไป เผื่อจะได้ไปช่วยเหลือคนอื่นเขาบ้างไม่ใช่ว่า  ฉันรู้มาเท่าไหร่  ฉันรู้มาอย่างนี้ ฉันรู้มามาก เอ้า!  โกยให้หมดเลย  ให้ๆ  แหม!  สอนมากสอนมาย มีความรู้มามาก  เรียนมามาก  เรียนถึงมหาวิทยาลัย  แต่ว่า นักเรียนที่เรียนนี่  ชั้นประถมเท่านั้นนะ  เพิ่งเข้ามา  เพิ่งมาศึกษาเล่าเรียน  แต่ทีนี้เราจะเอาคำสอนของมหาวิทยาลัย มาสอนนักเรียนประถมน่ะ จะได้ประโยชน์ไหม?  อย่างนี้ก็ลำบากเหมือนกัน  อันนี้เราต้องพยายามหน่อย  จะได้ดีละก็เอาตัวของเรานี่แหละคะ  อย่าเอาตำรา ตัวของเรานี่แหละ ทำอย่างไร, พูดอย่างไร เขาจะรู้  พูดอย่างไร  เขาจะเข้าใจ แล้วเขาเคยชำนิชำนาญมาทางไหน เรื่องสาธารณะหรือสิ่งที่สาธารณะใครๆ ก็ประสบมาทั้งนั้นแหละ  อย่างนี้ก็ดี  ถ้าเราสามารถจะยกมาแสดงประกอบได้ด้วยก็ดี

********ทีนี้  เรายกเอาตำรามาอย่างเดียวก็ลำบาก  ผู้ฟังจะเข้าใจได้น้อย  จำได้ว่า  ตำราว่าอย่างนั้น  แต่ว่าความเข้าใจ  ก็อาจจะไม่ถึงความเข้าใจที่ถูกต้องแน่นอน

********นี่นะคะ ก็พูดถึงย้อนกลับมาว่า การพิสูจน์นี่ก็ต้องพร้อมด้วยเหตุปัจจัย เมื่อเอามือไปจับเพื่อจะพิสูจน์ หรือเอากายส่วนใดส่วนหนึ่งไปถูก รู้ทีเดียวพอไปถูกเข้าก็สามารถรู้ได้ในสิ่งนั้นเอง เมื่อไปจับหรือไปถูกเข้า เพื่อพิสูจน์ความจริงนั้นนะ

********ทีนี้ ก็เมื่อธรรมทั้งหลาย ได้ประสบประกอบพร้อมแล้วด้วยเหตุปัจจัยของตนๆ  แล้ว ธรรมชาติของจริงของสภาวะอันนั้นๆ ก็จะปรากฏขึ้นตามความจริง ในขณะที่กำลังทำการพิสูจน์อยู่นั่นเอง เช่น มีความร้อนอยู่ แต่ว่าความร้อนนี้ไม่ปรากฏ จะนั่งอยู่ร้อยคน พันคน ก็ไม่ปรากฏ  เพราะยังไม่ได้เหตุปัจจัย ที่จะทำให้ปรากฏขึ้น เพราะว่าการปรากฏ คือการทำให้รู้ขึ้น

********เมื่อวัตถุใด ทำให้เกิดความรู้ขึ้นมา ชื่อว่า ปรากฏ ถ้าสิ่งใดยังไม่รู้ สิ่งนั้นไม่เรียกว่า ปรากฏ เมื่อไม่เรียกว่า ปรากฏแล้ว จะมีหรือไม่มี

********เหมือนอย่างว่า เสียงนี่ ก็มีอยู่เต็มโลก มีอยู่แต่เมื่อเราไม่ได้ยินเลย, ถ้าเราไม่ได้ยิน เสียงนั้นปรากฏขึ้นหรือยัง ปรากฏขึ้นในโลกแล้วหรือยัง คือตัวเรานี่เป็นโลก เสียงปรากฏขึ้นในโลกเมื่อไหร่ ? เมื่อเราได้ยิน, ถ้าเราไม่ได้ยิน, เสียงยังไม่ปรากฏในโลก

********มีก็ตาม จะว่ามีก็ได้ ในเมื่อแสดงว่า คนอื่นเขาได้ยิน แต่ที่เขาว่า มี ก็แปลว่า เขาได้ยินนั่นเอง เขาได้ปรากฏแล้ว

********เพราฉะนั้น เพราะอะไร ? ทำไมถึงยังไม่ปรากฏขึ้น เพราะเหตุปัจจัยยังไม่พอ กำลังของหูไม่พอที่จะไปรับคลื่นของเสียงที่ไกลมาก และระยะทางก็ไม่พอกัน เสียงก็ปรากฏไม่ได้ที่เรา

********นี่ก็เหมือนกัน ความเย็น ความร้อน จะมีอยู่ในวัตถุนั้นก็จริง แต่ไม่ปรากฏ เพราะอะไร ? เพราะว่ากายประสาทยังไม่ไปถึงตน, ตนยังไม่ได้ปัจจัยกายประสาทสำหรับกระทบเย็น ร้อน กายวิญญาณสำหรับรู้เย็น-ร้อน แต่ว่า ยังไม่ไปถึงวัตถุนั้น วัตถุนั้นก็ยังแสดงให้ปรากฏความเย็นร้อนไม่ได้ รู้ว่าเย็น รู้ว่าร้อน ก็เกิดไม่ได้ นี่ปรากฏไม่ได้เพราะยังไม่พร้อมด้วยเหตุปัจจัย

********ทีนี้  ก็เมื่อธรรมทั้งหลาย  ได้ประสบประกอบพร้อมแล้วด้วยเหตุปัจจัยของตนๆ  แล้ว  ความจริงของสภาวะธรรมนั้นก็จะปรากฏขึ้น  ตามความเป็นจริง ในเวลาที่เรากำลังทำการพิสูจน์อยู่นั้น  เราก็จะต้องได้ความจริงในวัตถุนั้น  ว่าวัตถุนั้น  ร้อนหรือเย็นกันแน่

********เมื่อเราได้พบความจริง  จากการที่เราได้เข้าไปพิสูจน์เช่นนั้นแล้ว  ความเคลือบแคลงสงสัยนั้นจึงจะหมดไปได้  เมื่อเราเข้าไปพิสูจน์แล้วนะ,  ได้ประจักษ์แก่เราแล้ว  ได้ปรากฏแก่เราแล้ว

********ฉะนั้น  ความสงสัยก็หมดไป  ไม่เกิดอีกหรอก  เฉพาะเรื่องนั้น,  หมด! ไม่สงสัยนะคะ

********ความสงสัยนั้นจะหมดไปได้  ในวัตถุธรรมที่เรารู้ความจริงของตน  ในธรรมชาติร้อนและเย็นนั้น และทั้งธรรมชาติในความจริงที่สอนให้เรารู้  หรือให้ความจริงของตนนั้น  ในธรรมชาติคือความร้อนและเย็นนั้น และธรรมชาติที่รู้  และเป็นผู้ให้ความจริงแล้วก็ตาม  คือ  กายวิญญาณนี้  เป็นผู้รู้ความจริงของความร้อนและเย็นนั้น ทั้งธรรมชาติที่ร้อนและเย็น ทั้งธรรมชาติทีรู้ร้อนและเย็น  ธรรมชาติทั้งสองนี้  ก็ไม่ใช่ตัว  ไม่ใช่ตน  ไม่ใช่สัตว์  ไม่ใช่บุคคล  ไม่ใช่ผู้หญิง   ไม่ใช่ชาย  และไม่ใช่ครู  ไม่ใช่อาจารย์  และไม่ใช่หนังสือ  ไม่ใช่ตำราด้วย ไม่ใช่ทุกอย่างนะคะ  ไม่ใช่หนังสือ  ไม่ใช่ตำรา ที่จะมาเป็นผู้สอนให้เรารู้จักความร้อนและเย็นนั้น   หนังสือสอนให้รู้จักความร้อน ได้ไหม,  ตำราน่ะ,  อาจารย์ล่ะ  สอนให้รู้จักความร้อนได้ไหม ?  เวลาที่อาจารย์สอนมีร้อนไหม ?  ไม่ร้อนใช่ไหม ?  แล้วทีนี้ใครล่ะเป็นผู้สอน, อาจารย์ก็สอนไม่ได้  หากแต่ว่าธรรมชาตินั้นเกิดขึ้นเองตามเหตุตามปัจจัยของตนๆ นั้น

********พอมาถึงตอนนี้  ขอให้ท่านย้อนไปถึงตอนที่พระพุทธเจ้ารับสั่งไม่ให้เชื่อครูอาจารย์,  ไม่ให้เชื่อตำรา  อะไรเหล่านี้ เป็นต้น  นี่ก็หมายถึงให้รู้ธรรมชาตินั้นที่เกิดตามปัจจัยของตนๆ  และทั้งธรรมชาติที่รู้ความจริงว่า  ร้อนและเย็น  ก็เกิดขึ้นเหมือนกันตามเหตุตามปัจจัยของตนๆ  เช่นเดียวกัน

********ทีนี้เมื่อไม่ใช่สัตว์   ไม่ใช่บุคคลแล้ว  อะไรเล่าที่สรุปลงในธรรมชาติทั้ง ๒  อย่าง  สรุปลงในความหมายของพระพุทธศาสนานี้  ที่บัญญัติว่า  เป็นรูปกับนาม  ไม่ใช่ใครทั้งนั้น  ตามที่พระพุทธองค์บัญญัติว่า  นั่นเป็นรูปกับนาม

********โดยเหตุผลดังที่กล่าวมานี้เอง  ไม่ใช่มีคนมาสอนให้รู้ได้นะ  อาจารย์ก็สอนให้ร้อนไม่ได้  ตำราก็สอนให้รู้ว่า ร้อนไม่ได้

********โดยเหตุนี้  พระสารีบุตร  ท่านจึงได้บอกว่า  “ธรรมที่ท่านรู้  ท่านเห็นนั้น  ไม่มีใครสอนท่านหรอก  ท่านรู้ของท่านเอง”  มีคนไปถามพระสารีบุตรว่า  “ที่ท่านรู้ธรรมเห็นธรรมมากนี่  เป็นผู้มีปัญญามาก  ใครนะเป็นผู้สอนท่าน,  ท่านรู้จากใคร” พระสารีบุตรก็บอกว่า “ท่านรู้เอง”

********ที่นี้ก็หมายถึง  ท่านรู้เอง  ใครสอนไม่ได้ใช่ไหมล่ะคะ ?  ถึงแม้พระพุทธเจ้าสอน  ความร้อนจะเกิดขึ้นมาได้ไหมเวลานั้น,  เวลาสอนให้รู้ว่า  ร้อนอย่างนี้นะ,  สอนให้รู้ว่า  อันนี้ร้อน  แล้วความร้อนเกิดไหม ?  ไม่เกิดใช่ไหม ?  ยังไม่เกิดนะ, ท่านจึงบอกว่า  ท่านรู้เอง  ไม่ได้รู้จากพระพุทธเจ้าหรอก  หาได้มีใครมาบอกให้ท่านรู้ไม่  แต่เมื่อบุคคลทั้งหลายผู้ยังไม่เข้าถึงความจริงในเหตุผลนั้นๆ  แล้ว  จึงได้ไปกล่าวหาพระสารีบุตรว่า  เป็นผู้ไม่รู้จักคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า   พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนทุกสิ่งทุกอย่าง  แล้วยังบอกว่า  “รู้เอง”  ก็โจษขานกันไป  จนไปทูลถามพระพุทธเจ้า  หาว่าพระสารีบุตรนี่คล้ายจะอกตัญญู  เพราะบอกว่า  ธรรมที่ท่านรู้นั้น  ท่านรู้เอง  ไม่ได้รู้จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรอก

********พระพุทธเจ้าก็ทรงทราบแล้วว่า  พระสารีบุตรนั้นท่านพูดถูก  ก็จึงเรียกให้พระสารีบุตรมาเฝ้าเรียกมาต่อหน้าผู้ที่มีความเข้าใจผิดเหล่านั้น  ตรัสถามพระสารีบุตรว่า  “สารีบุตร เธอหรือเป็นคนพูดว่าธรรมที่เธอรู้นั้น  เธอรู้เอง  “พระสารีบุตรก็รับว่า จริงพระเจ้าข้า  ได้กล่าวอย่างนั้นจริง” ก็มองดูพระพุทธเจ้าว่า จะติเตียนอย่างไรหรือไม่ แต่เปล่าพระพุทธเจ้ากลับทรงรับรองว่า “ถูกแล้ว สารีบุตรที่เธอกล่าวว่า เธอรู้เองน่ะ ถูกแล้ว” พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ทรงรู้เหตุผลตามความเป็นจริง  ก็รู้ว่า  นี่พระสารีบุตรพูดถูก

********ทีนี้คนทั้งหลายไม่รู้ ก็เลยสำคัญว่า พระสารีบุตรเป็นคนอกตัญญู เห็นไหมคะนี่น่ะ เพราะอะไร? แต่ความจริงมันเป็นอย่างนั้น  เหมือนอย่างทีดิฉันสอนเมื่อตะกี้นี้  ดิฉันจะสอนเท่าไหร่ๆ  ท่านก็ร้อนไม่ได้  มันไม่มีความร้อนน่ะ,  ทีนี้ ใครละที่เป็นผู้สอนให้รู้ ร้อน น่ะ  ใครสอน,  เรากินพริกเข้าไป แหม!  เผ็ดจริง! ถึงดิฉันจะบอกรสชาติของพริกว่าเผ็ดเท่าไรๆ ท่านก็ไม่เผ็ด

********แต่พอท่านกินเข้าไปเท่านั้นละ  ก็รู้ว่าเผ็ดทีเดียว,  ใช่ไหม  ?  ใครสอนให้ท่านรู้, ใครสอนให้รู้ว่าเผ็ด  คนหรือสอน ?  ครูหรือ,  อาจารย์หรือ  ตำรับ  ตำราหรือ ? เปล่าเลย!  พริกนั่นแหละ  เราจึงรู้ว่าเผ็ด

********โดยเหตุผลที่ได้อธิบายมานี้  ท่านนักศึกษาและท่านผู้ฟังทั้งหลาย  จงพยายามพิจารณาให้เข้าใจโดยเหตุผล  ตามที่ได้อธิบายมานี้ด้วย  ก็เพื่อจะได้เป็นความสะดวกในการที่จะเข้าใจ  เรื่องของวิปัสสนาและวิสุทธิ  ที่เราจะพูดกันต่อไปนะคะ

********ตามที่ได้อธิบายมาแล้วนี้  ต้องการจะเน้นให้ท่านนักศึกษาได้เข้าใจ  ในเหตุที่ถูกต้องว่า  ในการที่เราจะได้ความจริงในที่ใด  หรือในสิ่งใดก็ตาม  ความจริงที่แน่นอนที่เราได้มานั้นน่ะ  จะต้องได้จนกระทั่งตัดความสงสัยในที่นั้นๆ  ได้  หรือในสิ่งนั้นๆ  ได้ละก็  จึงแน่นอน

********ความจริงอันนั้น  จึงต้องได้มาจากการพิสูจน์  ตัวเราจะต้องไปทำการพิสูจน์มาแล้ว  ด้วยตัวของเราเองโดยแน่นอนความจริงอันนั้นถึงจะตัดความสงสัยของเราได้,  คือเราจะต้องพิสูจน์เอง  ไม่ใช่คนอื่นไปพิสูจน์  คนไปพิสูจน์นั้นนะ  พอเชื่อได้แต่ว่าไม่แน่  ความเชื่อนั้นไม่สามารถจะทำลายความสงสัยได้บ้าง  บางทีเชื่อแล้วก็ไม่สงสัยเหมือนกัน  แต่ว่าไม่เชื่อว่า  ทำลายให้สิ้นไปได้  เพราะอะไร ?  เพราะว่าจริงอยู่  ในระหว่างที่เชื่อนี้  อาจจะยังไม่เกิดความสงสัย  เพราะว่า เชื่อ ! คือ  ได้มาจากการเชื่อไม่ใช่ได้แน่นอนจากการพิสูจน์มา  เพราะว่า ต่อไปความสงสัยอาจจะเกิดได้ไม่เหมือนอย่างพระโสดาบัน  ที่ละความสงสัยได้แล้วนั้นน่ะ  ท่านละขาดเลย  แม้ในภพหน้าชาติหน้าต่อๆ  ไป  ที่ท่านยังต้องมีภพชาติอยู่อีกก็ตาม  แต่ว่าจะไม่เกิดความสงสัยในอารมณ์ที่ท่านได้เข้าไปพบความจริงแล้ว  ที่ได้พิสูจน์แล้ว  ไม่เกิดอีกเลย

********ของเรานี่อาจจะเชื่อได้ไม่สงสัยเหมือนกัน  แต่ว่า  อย่างดีก็เฉพาะในชาตินี้  ชาติหน้าก็ไม่แน่  อาจจะเกิดอีกได้  เพราะอาจจะไปเสวนา  ไปฟังมิจฉาทิฏฐิอะไรต่ออะไร,  อาจจะไปเชื่ออย่างอื่นอีกต่อไปได้  เพราะฉะนั้น  ไม่แน่นอนนะคะ

********ฉะนั้น วิปัสสนา คือ ปัญญาที่เข้าไปรู้ความจริงของนามรูป  ก็ต้องได้มาจากการพิสูจน์ของนามรูปนั้นเหมือนกัน  วิปัสสนาปัญญาน่ะ  ไม่ใช่ว่าไปคิด ไปนึก จนกระทั่งเกิดปัญญาขึ้นมานะคะ,  ไม่ใช่อย่างนั้นที่ไปรู้ความจริงนั้นน่ะ  ก็ต้องรู้มาจากการพิสูจน์  คือ  จะต้องไปพิสูจน์นามรูป  หรือไปพิจารณานามรูปจนได้ความจริงของนามรูปนั้นเมื่อไร  นั่นก็ชื่อว่าปัญญาเกิดแล้ว  ต้องอย่างนั้นเหมือนกัน

********ไม่ใช่ว่า วิปัสสนาปัญญาน่ะ จะเกิดขึ้นมาเองเฉยๆ  เพราะฉะนั้น ทำอย่างไรถึงไม่เกิดปัญญา ที่ไม่เกิดปัญญา ก็อาจจะเป็นเพราะการพิจารณาไม่พอเลยไม่ได้ความจริงก็ได้ ขอให้เราเข้าใจอย่างนั้นคะ

********เพราะฉะนั้น ปัญญาที่เป็นภาวนาปัญญานี่ ต่างกันกับจินตามยปัญญาค่ะ

********จินตามยปัญญานี่  เราอาจจะลูบไล้ไปในเรื่องอะไรที่เราเคยได้ยิน  ได้ฟังมาแล้ว  แล้วก็เข้าใจเหตุผลตามที่เราคิดนึกไป  อย่างนั้นก็ได้

********แต่ว่า  ภาวนาปัญญา  นั้น  ไม่ใช่อย่างนั้น ต้องมาจากการพิสูจน์  ของวัตถุนั้น  เพราะวัตถุนั้นเป็นตัวให้ความจริง  ไม่ใช่ความจริงนั้นเกิดจากความนึกคิดของเรา   ความจริงไม่ใช่เกิดจากการคิดนึกหรืออุปมา  อุปไมย  ทั้งหมดเลย  วัตถุนั้นแหละ  เขาเป็นผู้ให้ความจริง  เป็นผู้สอนให้เรารู้ความจริงของเขานะคะ  จึงต่างกัน  จินตาปัญญา  กับภาวนาปัญญาน่ะ  ต่างกันด้วยเหตุ  ๒  ประการ  คือ  ได้จากการคิดนึก  กับได้จากวัตถุที่ถูกพิสูจน์

********ทุกอย่างค่ะ ความจริงต้องได้มาจากพิสูจน์ทั้งนั้น เพราะตามธรรมดานั้น  เมื่อเราจะทำอะไรก็ตาม  เมื่อกรรม  คือการกระทำนั้นมี  สิ่งที่ถูกกระทำก็ต้องมีใช่ไหมคะ

********ถ้าจะทำอะไร  โดยไม่ต้องมีสิ่งที่ถูกกระทำนั้นน่ะ  ก็เป็นไปไม่ได้  ต้องมีสิ่งถูกกระทำ,  กรรมนั้นจึงจะสำเร็จผล

********ความสำเร็จอยู่ที่วัตถุนั่นแหละเป็นผู้ให้  ก็ถ้าหากว่าสิ่งที่ถูกกระทำไม่มี  กรรม  คือ  การกระทำนั้นก็ไม่มีเหมือนกัน  ทำไปเปล่าๆ,  ทำโดยไม่มีสิ่งที่ถูกกระทำ,  ทำไปเปล่าๆ  เป็นไปไม่ได้แน่โดยเหตุผลนะคะ  เมื่อกรรมไม่มีแล้ว   ความสำเร็จผลแห่งกรรมนั้น  ก็ต้องมีไม่ได้อยู่เอง  เป็นธรรมดา

********ฉะนั้น  ปัญญาจึงมีได้ถึง  ๓  ขั้น คือ :-

********๑. สุตมยปัญญา

********๒. จินตามยปัญญา

********๓. ภาวนามยปัญญา

********ในปัญญาทั้ง  ๓  นี้  ก็ต้องเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน    สุตมยปัญญานั้น เป็นปัญญาที่เกิดจากการศึกษา คือมาจากการได้ยิน ได้ฟัง  และมีความเข้าใจถูกในเรื่องราวนั้นๆ  อันนี้เป็นปัญญา  เป็นเหตุเบื้องต้นนะคะ ที่จะให้เราทำอะไรถูกต้อง  หรือทำได้ดี !

********จินตามยปัญญานั้น ก็คือ มีโยนิโสมนสิการ  คือมีความเข้าใจในเวลาที่จะทำงาน เวลาฟังเข้าใจแล้วว่า  เรื่องนี้ทำอย่างไร ?

********สมมุติว่า  สุตมยปัญญา  ฟังแล้วว่า  เราจะทำอะไรสักอย่างหนึ่งนี่  จะทำอย่างไร  เราก็ศึกษาจนกระทั่งฟังเข้าใจดี  หรือเรียนตามตำรับตำราเข้าใจดีแล้ว  แล้วเราก็ทำความเข้าใจนั้นน่ะ  เข้าไว้ในใจ  ทำความเข้าใจถูกนั่นแหละเข้าไว้ในใจ

********ทีนี้  เวลาลงมือทำงาน, ที่ได้ปัญญาของสุตมยปัญญานั่นแหละ  เขาเป็นปัจจัย  ที่จะให้เราทำความเข้าใจถูกแล้ว  เพราะเราฟังมานี่, เราเข้าใจถูกแล้ว  ส่วนจินตามยปัญญานี่  โยนิโสมนสิการก็ต้องทำความเข้าใจถูกไว้ในใจ  ความเข้าใจถูกนี้ต้องเอามาจากการฟัง  การศึกษา

********เมื่อทำความเข้าใจถูกว่า ทำอย่างนั้น,  จะต้องทำอย่างนั้น  เข้าใจว่าอย่างไร ? จะต้องทำอย่างนั้นถึงจะถูก  ถ้าทำอย่างนั้นไม่ถูก  อะไรอย่างนี้อยู่กับความเข้าใจทั้งนั้นแหละ

********เมื่อเวลาเข้าใจดีแล้ว  หรือเวลาที่ปฏิบัติเป็นต้น  จะต้องอาศัยการฟังมากทีเดียว  จากปริยัตินะคะ  จะต้องอาศัยมาก

********ถ้าไม่มีความเข้าใจ  หรือไม่มีโยนิโสให้ถูกต้องแล้ว  เวลาปฏิบัติน่ะ ถ้าไม่ทำความเข้าใจให้ถูกต้องเสียก่อนนะคะ   ก็จะทำถูก  หรือจะให้ผลสำเร็จที่ดีนั้นไม่ได้

********ส่วนภาวนาปัญญา  เป็นความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติ  เพราะการเข้าไปทำการพิสูจน์จนได้ความจริงของวัตถุที่ถูกพิสูจน์นั้น  ความรู้ในขั้นนี้  เป็นความรู้ที่ถูกต้องและแน่นอนที่สุด  เพราะเป็นความรู้ที่ได้มาจากที่ตนได้เข้าไปพิสูจน์แล้วด้วยตนเอง  ความรู้ในขั้นนี้แหละ เรียกว่า  วิปัสสนาปัญญา  จึงละทำลายความเห็น  หรือความเข้าใจผิด  มีความเข้าใจว่า  เป็นตัว  เป็นตน  หรือมีตัว มีตน เป็นต้นนั้น  ต้องปัญญาอันนี้ถึงจะทำลายได้แน่นอน

********เมื่อทำลายได้แน่นอนแล้ว  ความเห็นผิด  คือทิฏฐิเมื่อไม่มีกิเลสอย่างนั้นเข้าอาศัยแล้ว  ความเข้าใจผิดนั้น  ไม่อาศัยอยู่ในอารมณ์นั้นแล้ว  ก็ชื่อว่า  วิสุทธิ  ก็มีทิฏฐิวิสุทธิ  คือความเห็นถูก  เพราะความเห็นถูกนั่นแหละ  จึงได้ละความเห็นผิด  ก็ชื่อว่า  ทิฏฐิวิสุทธิ

********นี่แหละค่ะ  ทิฏฐิวิสุทธิ  ที่เรากำลังพูดกันอยู่นี้  หมายความว่า  ต้องรู้อย่างนี้  แล้วก็ต้องได้มาจากเหตุอย่างนั้น  คือ  วิปัสสนาญาณต้องเข้าไปพิสูจน์เสียก่อน  ต้องเข้าถึงปัญญาขั้นภาวนานี้  จึงจะเช้าถึงวิสุทธิได้  ถึงแม้ว่า  เราจะคิดๆ  นึกๆ  เอา  ก็ไม่ชื่อว่าเข้าถึงวิสุทธิ

********เพราะความหมายของทิฏฐิวิสุทธินี้  ก็หมายความว่า  เป็นความบริสุทธิ์ในขั้นปัญญา ที่เข้าไปพิจารณารู้จนแน่นอนแล้วว่า รูปนามนี้ไม่ใช่ตัวใช่ตน  และไม่มีตัวมีตนอื่นจากนามรูป  หรือทั้งโลกนี้ก็เช่นเดียวกัน มีแต่รูปนามเท่านั้น ในเวลาที่ปรากฏอยู่นั้น  และธรรมะทั้งหลายหลาก  จะเป็นกุศล  หรืออกุศลก็ตาม  หรือที่ไม่ใช่กุศล,  ไม่ใช่อกุศลก็ตาม  ก็เป็นธรรมะทั้งหมดนะคะ

********ในโลกนี้มีแต่ธรรมะทั้งโลก  หรือพระไตรปิฎกก็ตาม  เมื่อย่อลงแล้วก็ได้แก่  นามรูป  นั้นเอง  ที่มีเป็นของจริงปรากฏอยู่ในปัญญา  คือทิฏฐิวิสุทธินั่นแหละ

********ทิฏฐิวิสุทธินี้ เป็นวิสุทธิขั้นต้นของปัญญาใน ๕ วิสุทธินั้น นี่เป็นขั้นต้น แปลว่าปัญญานี่ต้องเข้าถึงวิสุทธินี้ ถ้าปัญญาไม่เข้าถึงวิสุทธิ  ก็ยังใช้ไม่ได้ปัญญานั้นก็ยังใช้ไม่ได้ และทิฏฐิวิสุทธินี้ก็ต้องได้มาจากเหตุ  คือ  วิปัสสนาปัญญา

********วิปัสสนา  ที่เป็นเหตุให้เข้าถึงทิฏฐิวิสุทธินั้น  วิปัสสนาปัญญานั้นชื่อว่าอะไร ?  วิปัสสนาในขั้นนี้ชื่อว่า “นามรูปปริจเฉทญาณ”  เท่านั้นเองเป็นวิปัสสนาขั้นต้นทีเดียว

********วิปัสสนาปัญญา  เกิดขึ้นทีแรกทีเดียวน่ะ  รู้อะไร ? รู้จักนามและรูปนี่เสียก่อน  รู้ว่านามกับรูปไม่ใช่อย่างเดียวกัน, ไม่เหมือนกัน  และรูปแต่ละรูปก็ไม่ใช่อันเดียวกัน,  นามแต่ละนามก็ไม่ใช่อันเดียวกัน  นี่นามรูปปริจเฉทญาณนี่นะคะ

********แล้วในนามรูปที่เกิดขึ้นนั้น ที่ปรากฏอยู่นั้นก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน เพราะตนไม่ได้มีสิทธิ์สร้างขึ้น  หากแต่ว่าเกิดด้วยเหตุปัจจัยเป็นผู้สร้างขึ้น ไม่มีตัวตนก็เท่ากับว่าเป็น “อนัตตา”

********ที่เข้าไปเห็นว่า ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน นี่ ชื่อว่าเห็น อนัตตา นะคะ

********นี่เป็นขั้นแรกของผู้ทำวิปัสสนา  วิปัสสนาอื่นๆ  สูงขึ้นไป  ต้องได้อันนี้เป็นขั้นต้น  เป็นเหตุก่อน  ถ้าอันนี้ยังไม่ได้แล้ว  วิปัสสนาที่สูงขึ้นไปกว่านี้น่ะ  ไม่มีหวังเลย

********เหมือนกับเราขึ้นบันได  ถ้าบันไดขั้นต้นยังไม่ได้ก้าวขึ้นไปยืนอยู่บนบันไดขั้นต้นแล้ว  ขั้นที่ ๒  ที่  ๓  ไม่มีหวังที่จะขึ้นไปได้,  นี่ก็เหมือนกัน  ปัญญาขั้นต้นของวิปัสสนา  จะต้องได้นามรูปปริจเฉทญาณชัดเจน  ซึ่งอันนี้เป็นผลของการปฏิบัติ

********ความรู้รูปนามในปริจเฉทญาณนี้ เป็นผลของการปฏิบัติ   ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติ   ซึ่งเคยเรียนให้ทราบแล้วว่า การรู้ รูปนามนี้  มี  ๓  ขั้น  คือรู้ด้วยปริยัติขั้นหนึ่ง  รู้ด้วยการปฏิบัติขั้นหนึ่ง  และรู้จากผลของการปฏิบัติ   คือ  นามรูปปริจเฉทญาณนี้อีกขั้นหนึ่ง  คือ  เป็นผลที่ได้จากการเรียนปริยัติแล้วก็ได้นำไปพิจารณานามรูปจากการปฏิบัติ  แล้วที่เป็นผลจากการพิจารณานามรูป  อันนี้เป็นตัววิปัสสนาญาณขั้นต้น  เรียกว่านามรูปปริจเฉทญาณ

********เพราะว่า  ถ้าญาณอันนี้ไม่เกิดขึ้นแล้ว  วิปัสสนามีต่อไปไม่ได้  ต้องเห็นว่า  เป็นนามรูปเสียก่อน  แล้วต่อไปถึงจะไปเห็นว่า  นามรูปนี้  เป็นทุกข์  เป็นโทษ  เป็นภัย ไม่เที่ยง  คือ  จะต้องมีนามรูปเป็นเครื่องรับรองความรู้สึกว่า  นามรูปไม่เที่ยง  นามรูปเป็นทุกข์ นามรูปเป็นภัย,นามรูปเป็นโทษ  จะต้องมีนามรูป   เท่านั้น  จะเห็นว่า  เป็นอะไรๆ ก็ตาม  ดีหรือเลวก็ตาม  ก็เป็นเรื่องของนามรูปนั่นเอง   ไม่ใช่ว่า  มีเราเป็นทุกข์, เขาเป็นทุกข์ เราเป็นทุกข์ ตัวตนเราเป็นทุกข์  เช่นอย่างเราจะถามว่า  ใครล่ะเป็นคนเห็นนามรูปไม่เที่ยง, ใครเล่าเป็นคนเห็นนามรูปเป็นทุกข์  ตอนนี้ไม่เอานาม  ไม่เอารูปแล้ว,  พอถูกถามอย่างนี้เข้า  เอ๊าะ!  ไม่รู้ว่า  คนที่เห็นน่ะ เป็นนามหรือเป็นรูป  นี่แปลว่า  ยังเห็นไม่ทั่วไปใช่ไหม, นี่ยังไม่หมดนะ  ยังไม่หมดตัวตนนะ  ไม่ใช่มีแต่นามรูปทั้งหมด  คือว่า :-

********ผู้เห็นนามรูปไม่เที่ยงนี่  มันจะว่าเราเป็นผู้เห็น  ทีนี้เราผู้เห็นน่ะ  คือใคร?  มันยังไม่หมด  มันยังไม่ออก  ที่ตัวรู้ว่า  ไม่เที่ยง,  รู้ว่าเป็นทุกข์  ยังไม่ใช่เหลือแต่นามรูปทีเดียว  นี่อันนี้ก็ยังมีอยู่

********นี่ก็แสดงว่า  ยังไม่เข้าถึงนามรูปปริจเฉทญาณยังนะคะ,  ยังไม่เข้าถึงนามรูปปริจเฉทญาณ  ปัญญาขั้นนี้เป็นผู้เข้าถึงความเข้าใจถูกดีแล้ว  ทั้งปริยัติและปฏิบัติ  การที่จะมาถึงจุดนี้  ต้องเข้าใจจากปริยัติน่ะ เข้าใจดีแล้วนะคะ แล้วทำการปฏิบัติก็ถูกด้วย

********เมื่อเข้าใจดีแล้ว  เวลามาทำก็ต้องถูกด้วย  เพราะเราจะทำอะไรทั้งหมด  เราต้องทำไปตามความเข้าใจใช่ไหม ?  เราเข้าใจแล้วว่า  จะทำอย่างนี้  แล้วเราก็ทำไปตามความเข้าใจนั้น  แล้วผลของการกระทำนั้น  ถึงจะเป็นผลดีได้  เข้าใจถูกด้วย  และเมื่อทำสำเร็จแล้ว  เป็นรูปอย่างนี้ถูกไหม  ?  รูปที่ถูก,    รูปร่างที่ถูก  หรือรสชาติที่ถูก  อะไรก็แล้วแต่  เราก็ต้องทำความเข้าใจไว้ว่า  ที่ถูกที่ดีนั้นเป็นอย่างไร ? นี่เราต้องเข้าใจด้วย

********ทีนี้เมื่อเราเข้าใจถูกแล้ว  ในเวลาที่เราทำนั่นแหละ  ดีหรือไม่ดี  เราก็รู้ว่า  ถูกหรือไม่ถูก  มันใช่อย่างที่เราเข้าใจมาไหม ?  ลักษณะและรูปร่าง  รสชาติอย่างที่เราเข้าใจมาน่ะ  ใช่หรือไม่ใช่

********ถ้าเราไม่เข้าใจในทางที่ถูกมาแล้ว ที่ถูกที่ดีน่ะ ต้องมีรูปร่างอย่างไร มีรสชาติอย่างไร?  ถ้าเราไม่เข้าใจมาแล้ว  ถึงเราทำขึ้นแล้ว  เราก็ไม่รู้ว่า มันดีหรือไม่ดี ใช่หรือไม่ใช่ เพราะเราก็ไม่รู้นี่ว่า ที่ใช่น่ะ มันอย่างไร ?

********เพราะฉะนั้น  ความเข้าใจจากการศึกษานี่จึงเป็นความสำคัญอันหนึ่งที่จะทำให้เราเข้าใจได้เพราะเราจะทำอะไร,  ยิ่งทำวิปัสสนานี่ก็เหมือนกันเวลากำหนดนามก็ดี,  กำหนดรูปก็ดี  แต่ละอารมณ์ๆ  ที่กำหนดลงไป  ผิดก็ได้  ถูกก็ได้  เราต้องเข้าใจให้ถูก  แล้วต้องรู้ด้วยว่า  นี่ถูกแล้ว  หรือเวลาผิด  เราก็ต้องรู้ด้วยว่า ที่กำหนดอารมณ์ลงไปอย่างนี้, ทำความรู้สึกอย่างนี้น่ะ  ถูกไหม?  ไม่ถูกก็ให้รู้ว่า ไม่ถูกด้วย  นี่ก่อนอื่นทีเดียวค่ะ

********เพราะฉะนั้น  ดิฉันจึงบอกว่า  เรื่องการเข้าวิปัสสนาจะได้อะไร  หรือไม่ได้อะไร,  จะรู้หรือไม่รู้น่ะ  ไม่สำคัญดอก  ขอให้เข้าใจรู้ว่า  ที่ทำลงไปนั้นน่ะมันถูกหรือมันผิด

********เพราะเรามาหัดทำนี่  เมื่อเวลามาหัดทำ,  ถูกก็ต้องรู้   ผิดก็ต้องรู้   นั่นแหละ   มรรคผลต่อไปเราถึงจะหวังได้  เพราะฉะนั้น   ปัญญาที่เข้าถึงนามรูปปริจเฉทญาณ  นี่  ต้องเป็นปัญญาที่สมบูรณ์แล้ว  ถูกต้องแล้วทั้งปริยัติ  และทำถูกด้วย  จึงจะได้เข้าถึงปัญญา  อันนี้

********ปัญญาทั้ง  ๓  มีสุตมยปัญญา  เป็นต้น ต้องให้เข้าถึงภาวนาปัญญา  นามรูปปริจเฉทญาณนี่เป็นภาวนาปัญญานะคะ  มีนามรูปปริจเฉทญาณ  เป็นต้น

********วิธีปฏิบัติอย่างไร  จึงจะเกิดปัญญารู้ว่า  นามรูปไม่ใช่เรา  ก็มีสิ่งที่ยังจะต้องเข้าใจเหตุผลให้ถูกต้องและแน่นอนอยู่ ในปัญญาน่ะ  ยังมีอยู่อีกข้อหนึ่งว่า :-

********ในการที่จะเกิดวิปัสสนา  ที่เรียกว่านามรูปปริจเฉทญาณนั้น  เราจะมีวิธีปฏิบัติอย่างไรกัน  คือหมายความว่า  เราจะกำหนดนามรูปอะไร  และอย่างไรจึงจะรู้ว่านามรูปไม่ใช่เรา  ชนิดถึงขั้นภาวนาปัญญานั้นได้

********ก่อนอื่นที่เราจะทำความเข้าใจกันในเรื่องนี้นั้น  คือ  ท่านต้องไม่ลืมว่าปัญญานี้มี  ๓  อย่าง หรือ  ๓  ขั้น  มีสุตมยปัญญา  เป็นต้น

********ฉะนั้น  การกำหนดนามรูป  ก็มี  ๓  อย่าง หรือ  ๓  ขั้นเหมือนกันแต่สำหรับในขั้นต้น  คือ  สุตมยปัญญานั้นต้องรู้ว่า  ขันธ์  ๕  นั้นไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนเหมือนกัน  เพราะบรรดาท่านที่นับถือพุทธศาสนาทุกท่าน  หรือท่านที่เคยศึกษาธรรมมาแล้ว  ท่านก็จะต้องมีความเข้าใจ  จากการฟังเทศน์บ้าง  จากการศึกษาธรรมะบ้าง  เล่าเรียนอย่างนี้นะคะ  อย่างที่ท่านนั่งอยู่ในที่นี้ทั้งหมดนี่  สุตตาปัญญานี่  เข้าใจดีแล้ว  ทุกท่านก็เคยได้ฟังแล้วว่า  ขันธ์  ๕  นี่  ไม่ใช่ตัวใช่ตนและไม่มีตัวมีตนในขันธ์  ๕  แล้วก็ขันธ์  ๕  นี่ก็ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา  นี่เคยได้ยินกันมาแล้ว  ทุกท่านที่นั่งอยู่ในที่นี้นะคะ  ย่อมจะต้องมีความเข้าใจอยู่แล้ว  หรือว่า รูปนามนี้เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว ใช่ตน  แล้วในบางครั้ง  ก็คิดตามไป  นึกตามไป  ที่ได้ฟังก็เห็นจริง  ว่ามันไม่ใช่ตัวใช่ตน จริงๆ แต่ถ้าหากว่า ท่านไม่ได้ศึกษา เป็นแต่จินตามยปัญญาหรือได้ยินมาว่า  ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนขันธ์  ๕  นี้  นามรูปไม่ใช่ตัวใช่ตน  การเห็น  การได้ยินนี่  ก็ไม่ใช่ตัวใช่ตน  แต่ว่าใครเป็นคนเห็น  แล้วที่เห็นนี่  เป็นขันธ์หรือเปล่าล่ะ  ถ้าเป็นขันธ์  เป็นขันธ์อะไร ?

********นี่ทั้งๆ  ที่บอกว่าขันธ์  ๕ ไม่ใช่ตัวใช่ตน  เข้าใจพูดถูก  ได้ยินมา  เคยทำความเข้าใจไว้อย่างนั้น

********แต่ถ้าถามว่า  เมื่อไม่มีตัวมีตน  แต่มีขันธ์  ๕  เท่านั้น  แล้วการเห็น  การได้ยินนี่  ใครเป็นคนเห็น? ใครเป็นคนได้ยิน  ถ้าหาก   มีแต่ขันธ์  ๕  แล้ว  การเห็น  การได้ยินนี่  เป็นขันธ์อะไรเล่า ?  นี่หากว่า  ไม่เคยศึกษามาเลย  ไม่เคยได้ยินมาเลยว่า  ในสภาวะที่เรียกว่า  เป็นรูป  เป็นนามนั้น  ได้แก่อะไรบ้าง  หรือว่า เราย่อขันธ์  ๕  ลงมาเหลือแต่นามกับรูปนั้นน่ะ  ได้อย่างไร?  สภาวะธรรมอันไหนเป็นนาม, สภาวะธรรมอันไหนเป็นรูป   ถ้าท่านไม่เคยศึกษามาเลย  ดิฉันเชื่อเหลือเกินว่า  ตอบไม่ได้ ตอบไม่ได้หรอกค่ะ  ว่าที่เห็นนี่เป็นรูป  หรือเป็นนาม   และถ้า เป็นขันธ์แล้ว  จะเป็นขันธ์อะไร  ? ทีนี้เราก็ไม่รู้   ขันธ์อะไรก็ไม่รู้  ว่านี่เป็นรูปขันธ์  หรือเวทนาขันธ์  หรือสัญญาขันธ์,  สังขารขันธ์  ก็ไม้รู้  หรือเป็นวิญญาณขันธ์  ไม่รู้นั้น  เมื่อไม่รู้อย่างนี้แล้วจะมีหวังไหมคะ  ว่าขันธ์  ๕  น่ะ  คืออะไร ?  ก็แต่ขันธ์แล้วยังไม่รู้ว่า  อะไรมันเป็นขันธ์  ก็ไม่รู้  จะดูหรือจะไปรู้ขันธ์ที่อะไรละ  ว่านี่มันเป็นขันธ์อะไร ?  แล้วจะไปพิจารณาว่าขันธ์นี้  มันไม่เที่ยง,  จะไปพิจารณาที่ไหน?  มีหวังไหม  ที่จะไปเห็นขันธ์ ๕  ไม่เที่ยง  ถูกแล้ว!  ชื่อของขันธ์  ๕  ทั้ง  ๕  ชื่อนี้แหละถูกปฏิเสธแล้วว่า  ทั้ง  ๕  ชื่อนี้แหละ  ไม่เที่ยง  ที่ไม่เที่ยง    ก็แต่ชื่อเท่านั้นแหละ  ชื่อขันธ์  ๕  นี้แหละไม่เที่ยง,   ไม่ใช่ตัว  ไม่ใช่ตน,  เป็นทุกข์  เป็นอะไร  นี่ได้ยินมาอย่างนี้  แต่ว่า  ที่ตัวขันธ์น่ะ  ไม่รู้หรอก,  ไม่รู้จริงๆ  เมื่อไม่ใช่ตัวใช่ตน  แล้วใครเป็นคนทำงานเล่า ?  ทำงานต่างๆ  นี่ การเห็น,  การได้ยิน,  ได้กลิ่น,  รู้รส,  ถูกต้อง,  ใครคิดนึก,  ใครโลภ,  ใครโกรธ,  ใครหลงเล่า  นี่อย่างนี้ก็หาตัวไม่ได้

********บางทีก็บอกว่า เห็นเป็นทุกข์เหลือเกิน,  ถามว่าใครเป็นทุกข์,  คนทุกข์น่ะ  คือใคร?  หาไม่ได้  หาตัวคนทุกข์ไม่ได้    อย่างนี้ก็มี  นี่มีเหมือนกัน  ผู้ทำวิปัสสนานี่  ดิฉันก็เคยพบ  หรือว่า  เคยไปแนะนำอยู่

********ถ้าหากว่า เราจะรู้ได้ว่า  การเห็น  การได้ยินนี่ไม่ใช่ตัวตนของเรานี่,  จริงอยู่  เราก็จะต้องรู้ด้วยการศึกษา  อย่างท่านที่กำลังศึกษาอภิธรรมอยู่นี้นะ  ถ้าถามละก็  เข้าใจทันที

********ถึงแม้ว่า  ยังไม่เห็นว่า  ไม่เที่ยง,  เป็นทุกข์,  ไม่ใช่ตัวตนก็ตาม  แต่ก็ต้องรู้แล้วว่า  ธรรมชาติอันนั้นที่ทำงานอย่างนั้นน่ะ  มีหน้าที่อย่างนี้นะเป็นขันธ์อะไร ?

********อันนี้  ดิฉันเชื่อว่าท่านนั่งอยู่ในที่นี้นะ  รู้หมดเข้าใจหมด  ตามปริยัติ  นี่เป็นการรู้ตามปริยัติ

********ทีนี้  เวลาไปพิจารณาขันธ์  ๕  ก็จะได้รู้ว่า  ไปพิจารณาที่ไหน? ? พิจารณาที่สภาวะอะไร? สภาวะอะไร เป็นขันธ์อะไร?  และเวลาพิจารณาก็จะได้รู้ว่า  ที่ตัวพิจารณาอยู่นี้    พิจารณาขันธ์อะไร,นี่ก็ยังได้รู้แต่ว่า ต้องมีการศึกษา ถ้าไม่อย่างนั้น ไปพิจารณาขันธ์ ๕  จะไปพิจารณาที่ไหน ? ขันธ์อยู่ที่ไหนก็ยังไม่รู้  อย่างนี้ลำบากนะคะ

********แล้วทีนี้จะปล่อยวางขันธ์  ๕  ได้อย่างไร  เมื่อปล่อยวางและไม่ยึดมั่นนั้น  พอรู้ว่า  ขันธ์  ๕  นี่  มันไม่เที่ยง,  เป็นทุกข์,  เป็นอนัตตา แล้วก็เลิก  ไม่ยึดมั่น  ถือมั่น  อย่างนั้นหรือ ? ไม่ยึดมั่น ถือมั่นในชื่อนะคะ  ตัวจริงๆ น่ะ ยังไม่ปล่อย  เพราะยังไม่รู้นี่  ไม่ยึดมั่น  ถือมั่นว่าเป็นเรา  หรือเป็นของเรา

********แต่ความจริงนั้น  ปัญญาที่เกิดมาจากเหตุอย่างนี้  ยังไม่ใช่วิปัสสนาปัญญา,  เพราะเป็นปัญญาที่ได้มาจากเหตุภายนอก  ซึ่งได้ยินได้ฟังมาจากคนอื่น   ซึ่งได้มาจากการฟังเป็นต้นนั่นเอง  จะละกิเลส  หรือปล่อยวางได้  ก็ต่อในเวลาที่กำลังคิดนึกถึงว่า  ไม่ใช่ตัว  ไม่ใช่ตน  ที่ได้ยินได้ฟังมาแล้วนั่นเอง  เมื่อเลิกคิดถึงอารมณ์นั้นแล้ว  คือหมายความว่า  เมื่อจิตเปลี่ยนไปรับอารมณ์ใหม่ หรืออารมณ์อื่น เช่นมีการเห็น,  การได้ยิน  เป็นต้น  ในอารมณ์ต่างๆ  ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น  ความรู้สึกว่า  ไม่ใช่เรา  ก็ไม่มี  แต่ว่าเวลาคิดไป  คิดตาม  เชื่อตามนั้น  ก็ว่าไม่ใช่เรา

********แต่ที่ว่าเป็นเราน่ะ  เป็นตรงไหน? ไม่รู้ว่าเป็นเรา  ตรงไหน? แต่ก็นึกเอาว่าไม่ใช่เรา  เพราะฉะนั้น  ก็เป็นเรา  ตรงนึกเอา  ถ้านึกว่าไม่ใช่เราแล้วก็แล้วไป

********เมื่อความรู้สึกว่าไม่ใช่เรา  ไม่มีในเวลานั้นแล้ว  คือในเวลาที่นึกเอาเท่านั้น  ไม่ใช่เปลี่ยนอารมณ์ไป  เมื่อการเห็น  การได้ยิน เกิดขึ้น  ขณะนั้น  ความรู้สึกว่าไม่ใช่เรา  ไม่มีแล้ว  ในเวลานั้นความรู้สึกว่า  เราเห็น  หรือเราได้ยิน  ก็ต้องปรากฏขึ้น  ปรากฏขึ้นโดยอาศัยการเห็น  การได้ยินนั้นเอง  กิเลสที่เป็นอนุสัยกิเลสอย่างละเอียด  ที่หมักดองอยู่ในจิตใจนั้น  ก็จะเกิดขึ้นด้วยอาศัยการเห็น  การได้ยิน  เป็นต้นนั้น

********ในขณะที่ได้เห็น ที่ได้ยิน นั้นเอง ความรู้สึกว่านี่  เราเห็น  ก็เกิดขึ้นตามมา อย่างนี้  เพราะว่า ไม่รู้นี่ว่า อะไรเห็น  ?  เมื่อไม่รู้ว่า  ที่เห็นน่ะ  มันเป็นอะไร  มันเป็นรูป  หรือมันเป็นนาม  ก็จะเอาเราเข้าไปเป็นคนเห็น,  คนได้ยิน

********ถ้าไม่เอาเราเข้าไป  อะไรมันก็เป็นเราก็ไม่รู้  เพราะเราไม่ได้ศึกษามาก่อน  ว่าการเห็น,  การได้ยินนี่  มันเป็นอะไร,  รูป  หรือ นาม อย่างนี้ เราไม่ได้ศึกษามา และอาศัยอะไรเกิดขึ้นบ้าง  ไม่รู้ทั้งนั้น

********เพราะฉะนั้นเวลาเห็น  เวลาได้ยินเกิดขึ้น,  เราก็เกิดตามขึ้นมา  เพราะเวลานั้นไม่ได้คิดนี่ว่า  ไม่ใช่เรา  ถ้าเวลาที่เราคิดว่า  ไม่ใช่เรา,  ไม่เกี่ยวกับการเห็น  การได้ยิน  เกิดขึ้นรับอารมณ์  ขณะฟัง  ขณะเห็น ขณะได้กลิ่น,  รู้รส,  เวลานั้นไม่ได้คิดว่าไม่ใช่เรา  เพราะว่า  จะต้องมารับอารมณ์ที่กำลังประสบอยู่  เราก็เกิดขึ้น  อาศัยการเห็น  การได้ยินนั้นเกิดขึ้น

********ฉะนั้นปัญญาที่ได้มาจากภายนอก  เพียงแต่การได้ยิน  ได้ฟัง  มาจากผู้อื่นนั้น  จึงยังไม่สามารถที่จะไถ่ถอน  ความยึดมั่น  และความเห็นผิดว่าเป็นเรา หรือเป็นของเรา ที่ฝังหมักดองอยู่ในจิตสันดานนั้นได้  เพราะยังไม่ใช่ภาวนาปัญญา

********เพราะฉะนั้น  ความรู้สึกว่าเป็นเรานั้น  จึงยังไม่ถูกไถ่ถอนออกไปเลยนะคะ

********ทีนี้จะไถ่ถอนน่ะ  จะต้องไถ่ถอนเวลาไหน ? ไม่ใช่ไถ่ในเวลานึกคิดเท่านั้นน่ะ  ไถ่ถอนที่แท้จริง  ต้องไถ่ถอนขณะที่เห็น,  ขณะที่ได้ยิน

********วิปัสสนาปัญญา   ที่ผู้ปฏิบัติจะรู้ได้ด้วยตนเองว่า  ตนได้รู้แล้ว  ได้เห็นแล้ว  นี่พูดถึงผู้ปฏิบัติ  แล้วก็เกิดปัญญาขึ้น  ตัวก็รู้ว่า  ตัวได้เข้าไปรู้แล้ว  ได้เข้าไปเห็นแล้ว  ตามความเข้าใจที่ได้ศึกษามา  ว่าจะต้องเห็นอย่างไร? เห็นอะไร?  ผู้ปฏิบัติก็ได้เข้าไปรู้แล้วไปเห็นแล้ว

********แต่เมื่อใดได้เข้าทำการปฏิบัติ  จนได้เห็นนามและรูปโดยชัดเจนแล้ว  ว่าไม่ใช่เรา  ด้วยวิปัสสนาภาวนา  คือนามรูปปริจเฉทญาณนั้นแล้ว  จึงจะไถ่ถอนความยึดมั่น  ที่หมักดองอยู่ในจิตใจ  หรือในขณะที่เห็น  ที่ได้ยินนั้น  นี่แหละค่ะ  ต้องเข้าถึงอันนี้

********เพราะว่า  มันเกิดขึ้นใน เวลาเห็น,เวลาได้ยิน  มันยึดในการเห็น  การได้ยิน  เป็นต้น

********ทีนี้  เวลาที่จะเอาเราออก  จะไถ่ถอน  เวลาที่เห็น   เวลาที่ได้ยิน  นั่นเอง  นี่อย่างนี้  โดยเหตุผลถึงจะเป็นไปได้  ไม่ใช่ไถ่ถอนในเวลาที่คิดนึก  ไม่ใช่อย่างนั้น  ต้องไถ่ถอนในขณะที่เห็น    ที่ได้ยิน  นั่นเอง

********เมื่อเห็นว่าไม่ใช่เรา  แต่เป็นนาม  เป็นรูป  ในขณะเห็น  ขณะได้ยิน  นั้นแล้ว  ความรู้สึกว่า  เป็นเราถึงจะออกไปจากที่ตรงนั้นได้   และปัญญาอันนี้  เป็นปัญญาที่ผู้ปฏิบัติจะรู้ได้ด้วยตนเองว่า  ตนน่ะรู้หรือยัง,  เห็นหรือยัง  นามรูป  นี่นะ  ตนได้รู้แล้ว  เห็นแล้ว  เพราะเป็นความรู้ที่ได้มาจากที่ตนได้ปฏิบัติให้เกิดขึ้นด้วยตนของตนเอง  และคนอื่นก็ทำไม่ได้  คนอื่นจะช่วยทำให้เราเห็นน่ะ ไม่ได้  ให้เรารู้เข้าถึงนามรูปปริจเฉทญาณน่ะ  ทำไม่ได้เลย  แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ก็ช่วยให้เราละมิจฉาทิฏฐิไม่ได้  เป็นแต่ทรงพระมหากรุณาสอนให้รู้ว่า  วิธีที่จะละมิจฉาทิฏฐิ หรือธรรมที่จะละมิจฉาทิฏฐิ นั้นทำอย่างไร ?  ปฏิบัติอย่างไร ?  พิจารณาอย่างไร ?  บอกได้เท่านี้เอง

********แต้ถ้าไม่ทำ  ไม่ปฏิบัติ  หรือปฏิบัติ  แต่ไม่ถูก  ก็ไม่ได้เหมือนกัน  พระพุทธเจ้าก็โปรดไม่ได้เหมือนกัน

********ฉะนั้น  ความรู้ที่ได้มาจากที่ตนได้เข้าไปพิสูจน์ด้วยตนเองนั้น  ความรู้อันนี้แหละ  จึงไถ่ถอนความสำคัญผิดที่เห็นว่า  นามรูปนั้น  เป็นตัวเป็นตนได้

********เพราะเหตุที่เข้าไปรู้ความจริงของนามรูปตามหลักฐานที่ท่านตรัสไว้ว่า  การที่ไม่เห็นอนัตตานั้นก็เพราะว่ามีเครื่องปิดบังไว้

********ในไตรลักษณ์  แสดงว่า  ผู้ที่ไม่เห็นอนัตตานี่เพราะ ฆนสัญญา ปิดบังไว้  ความเป็นกลุ่มก้อนไปรวมกันเข้า  เมื่อมีสิ่งใดที่รวมกันเข้าเป็นกลุ่มก้อนแล้ว  สิ่งนั้นก็ต้องเป็นตัวเป็นตน  เกิดเป็นสาระ  เกิดเป็นแก่นสารขึ้น

********ผู้ที่ไม่เห็นอนิจจัง  เพราะว่า สันตติปิดบัง คือความสืบต่อของนามรูปที่เกิดขึ้นมาทดแทนกันเรื่อยๆ  เราก็นึกว่ามันมีอยู่เรื่อยตั้ง  ๗๐–๘๐ ปี  ธรรมอันนั้นยังอยู่ก็เข้าใจว่าอย่างนั้น  ไม่รู้สึกว่ามันหมดไป  เพราะว่าที่หมดไปก็ไม่เห็น, ทำไมไม่เห็น  เพราะของใหม่มันเกิดขึ้นมาแทนเรื่อย,  มันลำบาก  ก็เลยทำให้เราเห็นว่าเป็นอันเดียวกันอยู่เรื่อย,  หมดไปไม่เห็นเพราะ สันตติ  อันนี้แหละ จึงปิดบังความไม่เห็นของนามรูป ไม่เห็นความดับไป

********ฉะนั้น  รูปนี่ยังหยาบนะ  ถ้าเรามีปัญญาน้อยกำหนดดูรูปแล้ว  จะเห็นความไม่เที่ยงของรูปนี่ง่ายกว่า  ความไม่เที่ยงของจิตใจ   เพราะจิตใจนี้มันละเอียดมาก  แล้วก็เร็วมากด้วย  เร็วกว่ารูปด้วย  ๓ ขณะ  คือ  อุปาทะ,  ฐีติ,  ภังคะ  ของจิตหมดแล้วดับไป  แต่ส่วนรูปนี่  อายุยังตั้งอยู่ได้ถึง  ๑๗   ขณะของจิต  จิตที่ดับไปๆ  ๓  อนุขณะ  เป็นขณะหนึ่งเรียกว่า  เป็นขณะใหญ่นะคะ  รูปยังตั้งอยู่ได้ถึง  ๑๗  ขณะใหญ่ของจิต,รูปยังหยาบนะคะ  แล้วเราก็พอที่จะเห็นได้

********เพราะฉะนั้น  ผู้ที่ทำวิปัสสนาน่ะ ที่ปัญญาน้อย, ปัญญายังอ่อน   ก็ควรพิจารณารูป  คือกายยานุปัสสนาสติปัฏฐาน  อันนี้  จิตนี่  ละเอียดมาก  ยิ่งทำสมาธิด้วยแล้ว  ก็ยิ่งละเอียดใหญ่  เพราะว่าจิตเกิดในที่เดียว และหมุนเร็วสันตติที่สืบต่อกันเร็ว  เพราะฉะนั้น  อำนาจสมาธิ  จึงไม่สามารถจะเห็นความไม่เที่ยงของจิตใจได้ หรือไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะนี่  ปรากฏได้ยากมากทีเดียว  ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาเฉียบแหลม  มีบารมีแก่กล้ามาแล้ว  ถึงจะเห็นได้

********ผู้ที่ไม่เห็นว่านามรูปเป็นทุกข์น่ะ  เพราะอะไร ?  ท่านบอกว่า  “เพราะไม่ได้พิจารณาอิริยาบถ” ทุกข์ทั้งหลายแหล่  ของนาม  หรือของรูป   โดยมากจะปรากฏที่อิริยาบถ  คือว่า    ที่อิริยาบถนี่  เห็นทุกข์ง่าย  ถ้าเราไม่เปลี่ยนละก็  ทุกข์จะปรากฏทีเดียวใช่ไหมคะ ?  นี่พูดถึงตามกฎธรรมดา

********เพราะตามธรรมดานี่  ตั้งแต่เช้าตื่นขึ้นท่านเปลี่ยนอิริยาบถกี่หน? จำได้ไหมคะ,  นั่งกี่หน, นอนกี่หน, ยืนกี่หน, เดินกี่หน,  จนกระทั่งกว่าจะถึงพรุ่งนี้ แม้ท่านนอนกว่าจะหลับนี่ ก็จำไม่ได้แล้วว่าพลิกตัวกี่หน  ใช่ไหม ? นี่แหละ เปลี่ยนจนจำไม่ได้ ทำไมถึงเปลี่ยน  ท่านเปลี่ยนอิริยาบถทุกครั้ง ท่านเปลี่ยนทุกครั้ง ท่านใช้อิริยาบถทุกครั้ง  เพื่อแก้ทุกข์ค่ะ  ท่านต้องแก้ทุกข์  คือ เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อแก้ทุกข์

********แต่ว่า เปลี่ยนกี่ครั้งไม่รู้, ทุกข์นะ,  เกิดมากจนดูไม่ทัน  จนนับไม่ถ้วน  ในวันหนึ่งนี่นะ  ท่านมีทุกข์กี่ครั้ง  ท่านต้องแก้ทุกข์กี่ครั้งจนนับครั้งไม่ถ้วนนะ แต่ทำไมหนอ  เราจึงไม่เห็นใช่ไหม

********เพราะไม่ได้พิจารณาอิริยาบถ  ถ้าพิจารณา,  มีหรือจะไม่เห็น? ต้องเห็นซิคะ, ต้องเห็น! นี่เป็นเพราะขาดการพิจารณา เพราะฉะนั้น อิริยาบถนี่ต้องเปลี่ยนเรื่อย คือว่า ในเวลาที่จะเปลี่ยนอิริยาบถน่ะ  เราไม่รู้ว่าอิริยาบถนี่  มันเป็นทุกข์แล้ว  แล้วเราก็จะเปลี่ยน   พอจะเปลี่ยนอิริยาบถใหม่  เราก็สำคัญว่าอิริยาบถใหม่เป็นสุข  เช่นอย่างว่า  นั่งนี่เป็นทุกข์  ก็เข้าใจว่านอนเป็นสุข เป็นอย่างนี้อยู่เรื่อย เราเข้าใจว่า  อิริยาบถนั้นเป็นสุขอยู่เรื่อยๆ  เพราะขาดจากพิจารณา

********เพราะฉะนั้น  แม้แต่พิจารณาอิริยาบถที่มีอย่างเดียวเท่านั้น  ดิฉันก็เชื่อเหลือเกิน  ท่านจะต้องพ้นทุกข์ได้,  ท่านจะถึงนิพพานได้, ท่านจะต้องเกิดวิปัสสนา, ด้วยการพิจารณาอิริยาบถ  ๔  อย่าง เท่านั้นแน่นอนทีเดียว

********แต่ผู้ทำวิปัสสนา  ไม่ค่อยสนใจอิริยาบถ โดยมากไปสนใจในนาม  ไม่ใคร่สนใจในรูป ถือว่าดูเหมือนว่า  อิริยาบถนี่  ไม่ค่อยจะสำคัญ

********ทีนี้ ถ้าพิจารณาแต่อิริยาบถ  ๔  อย่างนี่  ดิฉันเชื่อเหลือเกินว่า  ๗  วันหรือ  ๑๕ วัน  แต่ขอให้พิจารณาให้ถูกนะคะ  แล้วก็พิจารณาด้วยความเพียรให้รู้ให้ถี่ถ้วนในเวลาเปลี่ยนอิริยาบถทุกคราวนี่  ดิฉันอยากจะรับรองที่เดียวว่า  ไม่ถึงเดือน   ต้องพบความจริง  แต่ต้องทำให้ถูกนะ  ท่านจะต้องได้พบแน่ทีเดียว

********เพราะฉะนั้น   เพราะเหตุที่ไม่ได้พิจารณาอิริยาบถ  จึงไม่เห็นว่านามรูปเป็นทุกข์  ถ้าปฏิบัติถูกนะคะ  นี่พูดถึงเหตุที่ไม่เห็นนะคะ

********ฉะนั้น  ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนา  เพื่อจะเข้าไปเห็นอนัตตา  ว่านามรูปไม่ใช่ตัว  ไม่ใช่ตนนั้น  จึงจำเป็นจะต้องเข้าใจในอุบายที่จะทำลายฆนสัญญาให้กระจายออกเสียก่อน  ใช่ไหมคะ คือว่า จากอิริยาบถแต่ละอันๆ ต้องทำความรู้  ต้องพิจารณาให้รู้แน่นอนว่าไม่ใช่อย่างเดียวกัน  และไม่ใช่รูปเดียวกัน  คือรูปที่นั่งนั้นแหละ  แล้วก็มานอน  ไม่ใช่อย่างนี้ต้องพิจารณาให้รู้ถูกต้องอย่างนี้ด้วยค่ะ

********ฉะนั้นการกำหนดนามรูปนี้เอง  จึงเป็นการทำลายฆนสัญญา  นี่นามรูปปริจเฉทญาณนี่  ต้องกำหนดนามรูป  ถึงจะเห็นนามรูป  ใช่ไหมคะ  คือ  เราต้องดูนามรูป  เราถึงจะเห็นนามรูป  หรือต้องพิจารณาแล้วถึงจะได้

********เพราะฉะนั้น ในระหว่างที่เราพิจารณานามรูปนั้นแหละเป็นการทำลายฆนสัญญา อันนี้ก็ไม่ใช่ของยาก แต่เมื่อผู้ปฏิบัติไม่ยอมทำ  หรือจะเป็นเพราะไม่เข้าใจ  หรือไม่เชื่อ บอกว่าไปเข้าวิปัสสนา  ท่านจะต้องไปดูนามรูป  ไม่ได้ไปทำอะไรนะ  ท่านไปดูนามรูปน่ะ

********เพราะฉะนั้น ความรู้ของท่านจะเกิดขึ้นในทางทวารใดก็ตาม ใน ๖ ทวารนี้แหละ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่น่ะ จะต้องมีนามรูปนี้รับรองเสมอ  นามก็ได้  รูปก็ได้  รูปอะไร  นามอะไร  จะต้องมีอยู่อย่างนี้เสมอเลย  ถ้าหากว่า ขณะใดการรู้อะไรเกิดขึ้นก็ตาม การกำหนดอะไรก็ตาม  แต่ถ้าไม่มีนาม ไม่มีรูป เป็นเครื่องรับรองความรู้นั้นแล้ว  ผิด  ใช้ไม่ได้  นั่นท่านทำผิด  ผิดจากวิปัสสนา  ถ้ามีอยู่เสมอแล้วก็เชื่อเหมือนกันค่ะ  ว่าต้องเห็น  เดี๋ยวนี้น่ะถือว่าไม่จำเป็น  รู้มาแล้ว  รู้มาจากอาจารย์แล้ว, อาจารย์บอกแล้ว  ต้องค่อยๆ  ไป  มีนามมีรูปนะ    และต้องรู้ว่า รูปอะไร นามอะไรด้วย อันนี้เพื่อทำลายฆนสัญญา จะได้ชื่อว่าเป็นเหตุให้เกิดความเข้าใจถูกว่านามรูป  ไม่ใช่รูปเดียวกัน  มีมาก  นามก็มีมาก  ก็ไม่ใช่นามเดียวกัน

********เพราะฉะนั้น ดูนามอะไร ดูรูปอะไร  ให้รู้นะสั่งนักสั่งหนา  แต่เข้าไปปฏิบัติจริง  มีสติจริง นั่งก็รู้ว่านั่ง  นอนก็รู้ว่านอน อะไรต่ออะไรก็รู้หมดทุกอย่าง แต่ไม่รู้นาม รู้รูป ไม่มีนาม มีรูป  เป็นเครื่องรับรอง  คล้ายๆ  กับว่า  เขาให้เราไปเรียนหนังสือนี่ เราก็ต้องไปอ่านหนังสือซี!  เวลาอ่านต้องมีหนังสือ แล้วเราก็ต้องดูหนังสือด้วย นี่ถึงจะถูกต้อง เหมือนกัน  เวลาเราไปดูนาม ดูรูปทุกอย่างต้องมีนาม  มีรูป  รับรองความรู้สึกนั้นเสมอเลย,  เราต้องเข้าไปอ่านหนังสือนี่เราก็ต้องไปดูนามรูปเสมอเลย, ดู!  ทำสติ  นั่งก็รู้  นอนก็รู้  อะไรก็รู้  พยายามทำสติ  ให้รู้อะไรทุกสิ่งทุกอย่างนั่นแหละ,  แต่ไม่รู้นามรูปนี่แหละค่ะ  จะว่าเข้าใจถูกได้อย่างไร,  เพราะว่า  ทำก็ยังไม่ถูกนะคะ  การทำไม่ถูกนี่  ดิฉันคิดว่าเพราะเข้าใจยังไม่ถูกนั่นเอง  หรือเข้าใจแล้ว  แต่ไปทำให้มันไม่ตรงกับความเข้าใจ  ที่ตัวเข้าใจมา  อันนี้เป็นอีกข้อหนึ่งเหมือนกัน  เลยทำไม่ถูก

********เพราะการเห็นอนัตตานั้น  จะต้องเห็นได้ด้วยวิปัสสนาที่เกิดขึ้นจากการพิจารณานามรูปนั้นเอง

********เห็นอนัตตา เห็นอะไร? เห็นว่าเป็นนาม  เป็นรูปนั่นแหละ  ชื่อว่าเห็นอนัตตาแล้ว  อนัตตานี่เป็นภาษาบาลี

********ฉะนั้น การกำหนดรู้นามรูปนี้เอง จึงเป็นการทำลายฆนสัญญาด้วย แต่ข้อสำคัญของการพิจารณานามรูปนั้น  อยู่ที่ผู้พิจารณา  คือ ในเวลาที่ตนทำการกำหนดรูปนั้น  จะต้องรู้ด้วยว่าตนกำหนดนามอะไร  และรูปอะไรด้วย, ไม่ใช่รู้แต่เพียงนาม  หรือรูปเฉยๆ  เท่านั้นไม่ได้  รู้เพียงแต่ว่ารูปๆ,  ดูรูปๆ  ดูอะไรก็ไม่รู้  เหมือนดูหนังสือๆ  อะไรก็ไม่รู้,  ดูตัวอะไรก็ไม่รู้,  อย่างนี้ก็ไม่ได้เหมือนกันนะคะ

********เราจะต้องรู้ว่านามอะไร และรูปอะไรด้วย  อุปมาเหมือนเราอ่านหนังสือ  ถ้าเราอ่านแยกตัวหนังสือออกไปเป็นตัวๆ แล้ว ในตัวหนังสือนั้นๆ จะไม่มีความหมายเลย สำหรับในตัวหนังสือเหล่านั้นใช่ไหม? ตัวหนังสือนี่ต้องเอามารวมกันเข้า ถึงจะเกิดความหมายขึ้นว่าเป็นอะไร, ถ้าแยกกันออกไปอยู่คนละตัวๆ  ไม่เอามารวมกันให้ติดต่อ,  ตัวที่จะต้องอยู่ข้างบน,  หรืออยู่ที่ตำแหน่งไหน, ถ้าเราเอาสระที่อยู่ข้างบนนั่นแหละมาไว้ข้างล่าง  เอาข้างล่างไปไว้ข้างบน  ก็อ่านไม่ได้  พยัญชนะที่อยู่ข้างหน้าเอาไปไว้ข้างหลัง  ก็อ่านไม่ได้, แต่ถ้าเอามารวมติดต่อกันเข้าแล้ว  ก็มีความหมายเกิดขึ้น  ถ้าเราแยกออกไปเป็นตัวๆ  ละก็,  ไม่มีเลย ความหมายในตัวหนังสือนั้น  จะไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรเลย  การที่ยึดมั่นถือมั่นว่า  มันเป็นอะไร  ก็เกิดไม่ได้เหมือนกัน  เพราะมันไม่เป็นอะไรในที่นั้น  คือ  มันไม่มีความหมายอะไร, ใช่ไหมคะ ?

********เช่นอย่างคำว่า  “เรือน” เป็นต้น  เราจะเอา  สระเอ,  ตัว  ร.  สระอือ,  ตัว อ. ตัว น. มารวมกันเข้าแล้ว  คำว่า  เรือน  ก็เกิดขึ้น  และคำว่า  เรือน  ที่เกิดขึ้น  ก็มีความหมายทันทีว่า  เรือน  คืออะไร  เกิดมีสาระ,  เกิดเป็นแก่นสารขึ้น  ก็เกิดเป็นตัวเป็นตนขึ้น พอเกิดเป็นแก่นสารขึ้นมา ก็เกิดเป็นตัวเป็นตนขึ้น

********การเห็นว่า เป็นแก่นสาร เป็นสาระ ก็ชื่อว่าเป็นอัตตา  เหมือนกัน

********แต่ถ้าเราแยกเอาตัวสระออกไปจากกัน  คือ  อย่าให้มารวมกันแล้ว  ความหมายของคำว่า เรือน นั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้

********ฉันใดก็ดี    การทำลายฆนสัญญาก็ฉันนั้น,   ก็เมื่อฆนสัญญาถูกทำลายแล้ว  อันความสำคัญว่ามีตัวมีตน  ก็เกิดขึ้นไม่ได้เอง  โดยไม่ต้องมีใครห้ามปรามเลย

********อีกนัยหนึ่ง  ความหมายของคำว่า บ้าน นั้นถ้าหากว่า  วัตถุต่างๆ  มีไม้และปูน เป็นต้น ยังรวมกันอยู่ตราบใด ความสำคัญว่า บ้าน หรือ เรือน บ้านก็ยังมีอยู่แก่เราตราบนั้น  และความเป็นของก็ต้องมีอยู่ คือ เมื่อเป็นบ้าน เป็นเรือน แล้วก็เป็นของใครเล่า, บ้านของใคร ? ก็ต้องมีเจ้าของละ พอเป็นบ้าน เป็นเรือนขึ้น  เป็นของเรา,  เป็นของตน

********เมื่อความสำคัญในของสิ่งนั้น  หรือในบ้านเรือนนั้นเกิดขึ้น,  ความสำคัญในความมีสาระในของสิ่งนั้นเป็นก็เกิดตามขึ้นมา ความยึดถือที่รู้ว่าเป็นของเราก็เกิดติดตามขึ้นมาด้วย บ้านของเรา,  ของคน  หรือของคนนั้น  คนนี้  หรือของใครก็แล้วแต่  มีเจ้าของขึ้นมาทีเดียว

********พระพุทธองค์ท่านตรัสว่า  ไม่มีเจ้าของนะ,  นามรูปนี่น่ะ  คนที่เห็นอนัตตาน่ะ, เห็นว่า นามรูปนี้ไม่มีเจ้าของ

********ทั้งนี้ก็เพราะฆนสัญญานั้นเอง  ถ้าหากว่าเราทำลายความเกาะกุม  ของวัตถุเหล่านั้นออกแล้ว เช่น  เอาไม้ออกมากองไว้เป็นพวกๆ หรือเป็นกองๆนั้นแล้ว  ความรู้สึกว่า เป็นบ้าน  หรือเป็นเรือนนั้นจะหมดไปเอง  พร้อมทั้งสาระด้วย  โดยไม่ต้องไปมีวิธีปฏิบัติอย่างใดเลย ไม่ต้องมีใครไปขับไล่ละ มันรู้สึกว่า ไม่มีสาระเอง  เกิดขึ้น

********เพราะความรู้สึกอันนั้นเป็นผล  ที่เกิดขึ้นจากเหตุ  คือการปฏิบัติที่ได้มีโยนิโสมนสิการ ในการพิจารณานามรูปนั้นด้วยความถูกต้องแล้วนั่นเอง

********วิปัสสนาญาณนี่เป็นธรรมที่เป็นผล จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทำเหตุให้ถูกต้องแล้ว

********ฉะนั้น ผู้ทำวิปัสสนา จึงไม่ควรที่จะไปสนใจในไตรลักษณ์ทั้ง  ๓ นั้นมากนัก  ผู้แรกปฏิบัติไปฝึกหัดทำวิปัสสนาน่ะ, ไปหัดทำ, ไตรลักษณ์  นี่มันเป็นผลที่ทำได้ถูกต้องแล้ว

********ทีนี้ระหว่างที่เราเข้าปฏิบัติ ให้ถือว่าเราไปหัดทำ ไม่ต้องไปสนใจว่า เมื่อไรจะไปถึงไตรลักษณ์ หรืออะไรอย่างนี้,  เมื่อไรวิปัสสนาจะเกิด,เมื่อไปสนใจเข้าแล้วก็มุ่งแต่จะเอา ไม่เที่ยง, เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, มุ่งแต่จะไปเห็นไตรลักษณ์, ควรจะมุ่งไปเรียน ไปหัดทำใจให้ถูก ให้ตรงต่อการงาน อันนี้ถึงจะถูกต้องนะคะ

********ที่เข้าไปทำน่ะ มุ่งไปแต่เพียงว่า จะไปหัดทำให้ถูก ไม่ใช่มุ่งเข้าไปจะเอาไตรลักษณ์  ไม่เที่ยง เป็นทุกข์, เป็นอนัตตา อันนี้ทำใจไม่ควรแก่การงาน  ไม่ถูกนะคะ ทำใจไม่ถูก ไม่เหมาะแก่กาละเทศะว่า ควรจะทำความรู้สึกอย่างใดในเวลานั้นจึงจะถูก ซึ่งเป็นกาลที่ว่า เป็นอโยนิโสมนสิการ ถ้าไม่ถูกกับกาละเทศะ เพราะผิดจากหน้าที่และกาละเทศะที่ควรจะรู้ในเวลานั้น เพราะธรรมที่เป็นพระไตรลักษณ์ก็ดี หรือปัญญาที่เรียกว่า นามรูป-ปริจเฉทญาณก็ดี ธรรมอันนี้เป็นผลจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทำเหตุให้ถูกต้อง และสมบูรณ์แล้วเท่านั้น

********ผู้ปฏิบัติพึงสนใจแต่ในเรื่องที่จะกำหนดนามรูปให้ถูกต้องเท่านั้น  นี่ขั้นที่ถูก  ขั้นแรกนี่เพียงแต่สนใจเพียงแค่นี้เท่านั้น

********โดยเหตุที่ได้อธิบายมานี้เอง ในทางที่ถูกนั้นผู้ปฏิบัติควรสนใจในการศึกษา แต่ในเรื่องที่จะทำการกำหนดนามรูป ซึ่งเป็นกรรมฐานของวิปัสสนาเท่านั้น ว่าจะพิจารณาอย่างไร และจะมีโยนิโสมนสิการอย่างไร? จะทำความรู้สึกอย่างไร ในเวลาพิจารณานามรูปนั้น  จึงจะถูกต้อง หวังแต่เพียงว่า จะให้เข้าใจในงานให้ถูกต้อง และให้ดีเสียก่อน ยังไม่ควรจะรีบหวังผลในการกระทบที่ยังไม่ค่อยเข้าใจดี หรือที่ตนยังทำไม่ถูกนั้น, เพราะถึงจะหวังก็ยังไม่ได้ เพราะยังทำไม่ถูก จะได้อย่างไร ? เพราะผลนั้นจะเกิดขึ้น ก็ต้องเกิดจากเหตุ ไม่ได้เกิดจากความต้องการของใคร, ใช่ไหม? เราอยากให้เกิด เราต้องการ พอไปถึง อยากจะทำวิปัสสนาให้เกิดวิปัสสนา นี่เป็น อัตตา แล้วนะ นี่ความรู้สึกอย่างนี้มีอัตตาแล้วนะ, ไม่วิสุทธิ เพราะอะไร? เพราะไม่เข้าใจว่า  ธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุ  จากปัจจัย  ไม่ได้อยู่ในอำนาจของใคร,  ใครเล่าที่ต้องการอย่างไร  แล้วจะได้อย่างนั้นหรือ? ไม่ได้เลย!  ไม่ได้ค่ะ

********ฉะนั้น  การที่รู้สึกว่า  ฉันจะต้องไปทำวิปัสสนา  ที่ไปทำนี้ต้องให้เกิดวิปัสสนา อยากจะเห็นอย่างนั้น ต้องการอย่างนี้, จะรู้อย่างนี้  ความรู้สึกอันนี้น่ะ เป็นอัตตา เข้าไปอาศัยอยู่ในความรู้สึกอันนั้น  ความรู้สึกอันนั้นไม่เป็นวิสุทธิ และวิสุทธินี่ ทั้งตัณหาและทิฏฐิไม่ได้อาศัย  อยากจะได้วิปัสสนาเป็นตัณหาหรือเปล่า? การปฏิบัติเช่นนั้นเป็นตัณหาหรือเปล่า ? แล้วก็เป็นทิฏฐิด้วย เพราะเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอำนาจ, เป็นตัวเป็นตนของเราแล้ว  สามารถเข้าไปบังคับได้, เราจะทำให้เป็นอย่างนั้นได้, เราจะให้เป็นอย่างนี้ได้  ทั้งตัณหาและทิฏฐิเข้าอาศัยด้วยก็ไม่บริสุทธิ์

********เพราะฉะนั้น  ข้อสำคัญเราจะต้องทำให้เข้าถึงความบริสุทธิ์เสียก่อน  เมื่อบริสุทธิ์แล้ว  กิเลสไม่อาศัยในที่นั้นแล้ว  วิปัสสนาต่อไปก็เกิดง่าย  เพราะว่ากิเลสตัณหาไม่เป็นเครื่องปิดบังแล้ว

********ก็เมื่อเราได้ทำเหตุให้ถูกต้อง  และควรแก่ผลนั้นๆ แล้ว  ผลนั้นก็จะเกิดขึ้นเอง โดยไม่ใช่เพราะความปรารถนาของเรา

********ข้อสำคัญก็มีอยู่ว่า  ถ้าเราต้องการผลอย่างไร  เราก็ควรจะศึกษาให้เข้าใจ  ในวิธีที่จะกระทำเหตุให้ตรงต่อผลนั้นๆ  ให้ถูกต้องนั่นแหละ  จึงจะตรงกับคำว่า “อุชุปฏิปันโน” พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าน่ะ เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว  ตรงอะไร? ตรงกับใคร? ที่ว่าปฏิบัติตรงแล้วน่ะ ตรงกับใคร ? ตรงต่อเหตุผลนั้น เมื่อกระทำเหตุอย่างนี้ก็จะได้ผลตรงกันกับเหตุนั้น  จึงชื่อว่า “อุชุปฏิปันโน” เป็นผู้ปฏิบัติตรง คือ ไม่ผิดจากเหตุผล, ไม่ปฏิบัติผิดต่อเหตุผลและทั้งจิตใจของท่าน  ก็ไม่มีความเข้าใจผิดต่อเหตุผลด้วย หมายความว่า เป็นผู้ปฏิบัติตรงต่อเหตุผลนั้น  ผลก็จะตรงตามที่ต้องการนั้นๆ  เหมือนกับเรื่อง ทิฏฐิวิสุทธิที่เรากำลังพูดกันอยู่นี้ก็เหมือนกัน

********เรื่องของวิสุทธินี่ เป็นธรรมที่ค่อนข้างละเอียดเกี่ยวกับจิตใจและเกี่ยวกับความเข้าใจ จึงได้พยายามให้เหตุผลให้มากๆ และละเอียด เพื่อจะได้นำความเข้าใจนั้นให้เข้าไปถึงเหตุผลที่ถูกต้อง เรื่องที่เราพูดกันอยู่นี้ ก็เป็นเรื่องที่มีอยู่กับเรา เกิดขึ้นกับเรา เราประสบอยู่เสมอ เราใช้อยู่เสมอ ที่เราไม่เข้าใจเหตุผล เพราะมันลี้ลับมันปนกันอยู่เท่านั้นเอง  ไม่ใช่ไปเอาที่ไหนมาพูดหรอกค่ะ

********ถ้าพูดถึงเฉพาะวิสุทธิจริงๆ แล้วน่ะ ๗ อย่าง ก็ไม่มีอะไรมากหรอกค่ะ นิดเดียวเท่านั้นแหละวิสุทธินี่มี  ๗  อย่าง พูดเดี๋ยวเดียวก็จบ  ๗ อย่าง  ใช่ไหมคะ ? แต่ว่า ที่ช้าน่ะ เพราะอะไร ?

********เพราะว่า  ต้องการจะให้ทราบว่า  วิสุทธิแต่ละอันๆ เกิดขึ้นด้วยเหตุอะไร แล้วเหตุนั้นน่ะ ทำอย่างไร ? ปฏิบัติอย่างไร จึงจะได้เหตุอย่างนั้น, เมื่อได้เหตุอย่างนั้นแล้ว จึงจะเข้าถึงวิสุทธิของเหตุนั้น  แต่ละอย่างๆ เพราะฉะนั้น ก็จึงช้า, ที่ช้าก็เพราะพยายามจะให้เข้าถึงเหตุผลของวิสุทธิ แต่ละอันๆ ถ้าพูดเฉพาะวิสุทธิ ก็ไม่ยากหรอกค่ะ, แต่ท่านก็คงจะฟังได้ จำได้  แล้วเวลาที่จะไปปฏิบัติ  ให้เกิดวิสุทธิอย่างนั้นก็ทำไม่ถูก ไม่รู้จะทำอย่างไร ถึงจะเข้าถึงวิสุทธิอันนั้น, วิสุทธิอันนั้นถึงจะเกิดได้

********เพราะฉะนั้น  จึงเห็นว่า จำเป็นที่เราจะต้องรู้เหตุผลในการที่จะเข้าถึงวิสุทธิแต่ละอย่างๆ

********เรื่องทิฏฐิวิสุทธินั้น มาจากเหตุอะไร ? ก็ต้องได้มาจากนามรูปปริจเฉทญาณ  ไม่ใช่เกิดขึ้นมาเฉยๆ นะคะ, ได้มาจากวิปัสสนา ต้องทำสติปัฏฐาน แล้วก็เกิดวิปัสสนา, ทำสติปัฏฐาน นั้นต้องทำให้ถูกต้องด้วย ถ้าทำผิดก็ไม่ได้เหมือนกัน, วิปัสสนาก็ไม่เกิด, ก็ไม่เข้าถึงวิสุทธิ เพราะฉะนั้น  ต้องมากด้วยสติปัฏฐาน  และทำสติปัฏฐานถูกแล้วจึงเกิดวิปัสสนา เมื่อเกิดวิปัสสนาแล้วแต่ละขั้นๆ ก็เข้าถึงวิสุทธิตามอำนาจของเหตุนั้นๆ แต่ละอย่างๆ นะคะ

********สรุปความว่า ที่ชื่อว่า “ทิฏฐิวิสุทธิ นั้นต้องได้มาจากเหตุ คือ นามรูปปริจเฉทญาณ และนามรูปปริจเฉทญาณก็เกิดจาก การพิจารณานามรูปที่ถูกต้อง หรือรู้นามรูปที่ถูกต้อง

********การรู้นามรูปที่ถูกต้องนั้น มาจากไหน ? ต้องมาจากปริยัติ ต้องเข้าใจปริยัติ  เสียก่อนว่า สอนว่าอย่างไร ? ให้ทำอย่างไร? และรู้อย่างไร, เห็นอย่างไร อันนี้ต้องได้มาจากปริยัติ นี่แหละค่ะ เป็นเหตุผลกันมาตามลำดับ

********เพราะฉะนั้น  ธรรมทั้งหมดนี่ ต้องติดต่อเนื่องกันทั้งนั้น  แต่ละอันๆ ก็ติดต่อโยงกันหมดแหละค่ะ, พระไตรปิฎกต้องโยงกันไปหมดเลย ทั้งพระไตรปิฎกของธรรมะแต่ละหมวด  แต่ละข้อ แล้วก็ปริยัติ, ปฏิบัติ, ปฏิเวธ ก็ต้องรวมกัน

********เมื่อขยายปริยัติออกไป, ขยายปฏิบัติออกไป, ขยายปฏิ-เวธออกไป  ก็จบพระไตรปิฎก, ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ ก็มีได้แต่ละข้อๆ เหมือนกัน

********การศึกษาที่ถูกต้อง คือ  ปริยัติ นี่, โดยเหตุนี้จึงขอให้เข้าใจเถิดว่า ไม่ว่าอะไรทุกอย่าง ก่อนจะถึงความสำเร็จได้ด้วยดีแห่งผลนั้นๆ แล้วก็จะต้องมีความเข้าใจ และทำให้ถูกต้องด้วยเหตุผล ที่เป็นไปตามลำดับ ดังที่ได้อธิบายมาแล้วนั้น จึงจะเป็นความสำเร็จด้วยดีได้

********ความสำคัญขั้นต้นของผู้ปฏิบัติ อยู่ที่ความเข้าใจในการกำหนดนามรูป ที่เป็นเหตุจะให้เกิดทิฏฐิวิสุทธิ นี่ต้องเข้าใจโดยถูกต้อง

********ฉะนั้นในเหตุสำคัญขั้นต้น ของทิฏฐิวิสุทธินี้ ก็อยู่ที่ผู้ปฏิบัติต้องมีความเข้าใจ ที่จะกำหนดรู้จักแยกนามรูปออกจากกันได้แล้ว ตนเห็นว่า รูปแต่ละรูป, นามแต่ละนามนั้นไม่ใช่อันเดียวกัน

********ฉะนั้น วิสุทธินี่น่ะ ไม่ใช่จะได้จากปริยัติ ต้องมาจากปฏิบัติ, ปริยัติเป็นเหตุของการปฏิบัติให้ถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้องแล้ว จึงจะเข้าถึง วิสุทธิ ได้

********ถ้าเรียนแต่ปริยัติอย่างเดียว  ไม่มีหวังเลยที่จะเข้าถึงวิสุทธิได้ ถ้าเรียนปริยัติอย่างเดียว แล้วกิเลสหมดได้ ก็คงจะเข้าถึงทิฏฐิวิสุทธิได้ แต่ว่าโดยเหตุผลตามธรรมชาติแล้ว เรียนแต่ปริยัติอย่างเดียวไม่ได้,  ต้องมีทั้งปริยัติ แล้วก็ต้องมีปฏิบัติด้วยแล้วถึงจะเข้าถึงปฏิเวธได้

********ถ้าผู้ปฏิบัติ ยังไม่เข้าถึงความเข้าใจดังกล่าวนี้แล้ว ก็ย่อมจะเข้าใจผิดไปว่า รูปที่จำแนกออกไปแต่ละอย่างๆ หรือนามแต่ละอย่างๆ นั้น ก็อาจจะเข้าใจว่า เป็นอันเดียวกัน ที่จำแนกออกไปหลายอย่าง เช่น รูปนั่งก็ดี, รูปนอนก็ดี, รูปยืนก็ดี, รูปเดินก็ดี, รูปเหล่านี้ก็คือ  รูปอันเดียวกันนั่นเอง, อาจจะเข้าใจอย่างนี้นะคะ

********ส่วนอาการที่นั่ง, ที่นอน, ที่ยืน, ที่เดินนั้นก็เป็นแต่เพียงอาการของรูปอันนั้นนั่นเอง, ถ้าไม่รู้จักแยกรูปนามออกจากกันแล้ว ก็คงต้องมีความเข้าใจอย่างนี้ เพราะว่า ความเข้าใจอย่างนี้ ยังคงเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง แล้วก็คงจะบอกไม่ได้เหมือนกันว่า รูปอันเดียวกันนั้น คือรูปอะไร? เช่นอย่างนั้น คือรูปอะไร ? เช่นอย่างว่า รูปนั่ง,รูปนอน นี่ ก็รูปเดียวกันอย่างนี้ รูปเดิน, รูปยืน เหมือนกันหมด  อิริยาบถทั้ง ๔ อาการ ที่นั่ง, ที่นอน, ที่ยืน, ที่เดิน, นี่น่ะ  เป็นไปด้วยรูปเดียวกัน ถ้าหากว่ายังมีความเข้าใจอย่างนี้

********ทีนี้เราก็ถามว่า ที่ว่ามีรูปเดียวน่ะ, รูปอะไร? เอาเถอะ จะเข้าใจว่า เป็นรูปเดียวกันนะ, รูปเดียวกันนะ คือ รูปอะไร ?

รูปนั่ง ? รูปนอน  ? ว่ารูปเดียวกัน แล้วจะตอบว่ายังไร ? ก็ไม่รู้จะเอารูปอะไรแน่ใช่ไหม ? ถ้าเอารูปนั่ง ก็แปลว่ามีรูปนั่งอย่างเดียว แล้วนอกนั้น รูปนอน หรือยืน หรือเดิน  จะเกิดขึ้น จะว่าอย่างไร ? แต่นี่รูปนั่งมันก็ไม่ใช่   รูปนอน, รูปยืนก็ไม่ใช่รูปเดิน นี่แหละค่ะ เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจให้ถูกด้วยเหตุผล

********ในทาง นาม ก็เช่นกัน ไปเข้าใจเสียว่า นามอันเดียวกัน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเหตุว่า  ยังไม่เข้าใจที่จะกำหนดให้รู้ในรูปและนาม  ให้กระจายออกจากฆนสัญญานั้นได้ หลักฐานท่านบอกว่า ต้องปฏิบัติให้ฆนสัญญานี้กระจายออกไปก่อน  ถึงจะเข้าไปรู้ว่าไม่มีตัวมีตนได้

********ข้อสำคัญในการที่จะเห็นว่าไม่มีตัว มีตนน่ะ ก็ต้องเข้าใจวิธีปฏิบัติให้ฆนสัญญานี้กระจายออกไปทำอย่างไร ? ที่เราควรจะสนใจน่ะ มีอยู่เพียงแค่นี้

********ทำอย่างไร ? วิธีปฏิบัติอย่างไร ? ฆนสัญญาถึงกระจายออกไปได้ นี่อันนี้เป็นสิ่งที่เราควรจะเข้าใจนะคะ จึงจะเป็นประโยชน์แก่เรา

********ถ้าหากว่า ฆนสัญญายังไม่กระจาย, ความเห็นผิดที่ว่าเป็นอันเดียวกัน  หรือเป็นตัว เป็นตน ก็ยังละไม่ได้

********ที่ว่าความรู้สึกเช่นนั้น ก็เพราะเหตุว่า ไม่ตรงกับความจริงของนามและรูปนั้น เพราะความเป็นจริงนั้น  สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นจะต้องดับไปเป็นธรรมดา, ใช่ไหมคะ ? ไม่ใช่ว่าเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นไม่ดับ ถ้าเราเข้าใจว่า เป็นรูปเดียวกัน เมื่อรูปนั่งเกิดขึ้น รูปนั่งก็คงไม่ดับแล้วมาเป็นรูปยืนอีก รูปยืนเกิดขึ้นก็ไม่ดับ  แล้วมาเป็นรูปนอนอีก, เพราะมันรูปเดียวกันนี่  จะดับได้อย่างไร, ก็ไม่ดับซี

********แต่ว่าความจริงน่ะ รูปนั่งเกิดขึ้นแล้ว รูปนั่งต้องดับ, เมื่อรูปยืนจะเกิดขึ้นน่ะ เป็นรูปใหม่, รูปนั่งดับไปแล้ว  รูปยืนไม่ใช่มาจากรูปนั่ง  ที่ถูกความจริงเป็นอย่างนี้ แต่เมื่อเราไม่เข้าใจอย่างนั้น จึงถือว่ารูปนั่งนั้นแหละ  แล้วมันก็มายืน, ยืนนั่นแหละ แล้วมันก็ไปเดิน นี่อย่างนี้ใช่ไหม? ถ้าอย่างนั้นรูปนั่งก็ไม่ดับ, รูปนอนก็ไม่ดับ  รูปยืนก็ไม่ดับ  รูปเดินก็ไม่ดับ

********ฉะนั้น คำว่า รูปํ อนิจจํ นี่ ไม่ถูกเสียแล้ว เพราะมันไม่ดับ ตกลงรูปทุกรูป ไม่มีรูปอะไรดับ  เพราะมันเป็นอันเดียวกัน หากมาเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ดังเช่น รูปนั่ง กับรูปนอน นั่นก็เป็นคนละรูปไม่ใช่รูปเดียวกัน, เพราะเหตุว่า เมื่อรูปนั่งเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องดับไป รูปนั่งที่ดับไปแล้วนั้น ย่อมต้องหมดไป และรูปนั่งนั้น ก็มิได้กลับมาเป็นรูปยืน หรือรูปนอน หรือยังเหลืออยู่ในรูปนอนนั้นอีก และรูปนอนที่เกิดต่อจากรูปนั่งนั้น ก็เป็นรูปที่เกิดขึ้นใหม่อีกต่างหาก ไม่ใช่มาจากรูปนั่งหรือเป็นอันเดียวกันกับรูปที่นั่งแล้ว เปลี่ยนมาเป็นรูปนอนอีก

********ถึงแม้นามก็เช่นกัน นามที่รักเกิดขึ้น และนามที่รักนั้นดับไปแล้ว นามที่โกรธถึงจะเกิดขึ้นมาได้ ถ้ายังรักอยู่ โกรธก็เกิดไม่ได้ เพราะรักกับโกรธจะเกิดร่วมกันเป็นอันเดียวกัน ก็ไม่ได้

********เพราะฉะนั้น นามก็เป็นคนละอันเหมือนกัน นามรักเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป นามโกรธเกิดขึ้นใหม่ แล้วก็ดับไป  อย่างนี้ไม่ใช่อันเดียวกันนะคะ

********ในข้อนี้อุปมาเหมือนว่า เราจะทำขนมอะไรกินสักอย่างหนึ่ง  เมื่อทำขึ้นแล้ว, แล้วก็กินหมดไปแล้ว เหมือนกับนั่งแล้ว, นั่งก็หมดไปแล้ว ใช่ไหม? ขนมนั้นเมื่อจะทำใหม่อีกอย่างหนึ่ง ก็ต้องปรุงใหม่ ทำใหม่ ขนมอย่างหนึ่งน่ะ ไม่ใช่ปรุงอย่างเดียว แป้งอย่างเดียวแล้วทำได้หลายอย่าง, ไม่ใช่อย่างนั้น, ขนมอย่างหนึ่ง ก็ต้องผสมอย่างหนึ่ง, ไม่ใช่เอาแป้งอันที่ทำขนมไปแล้วในคราวก่อนนี้ , แล้วก็เอามาทำขนมใหม่ให้เกิดขึ้น , ไม่ได้ อันนี้ไม่ได้ ต้องเป็นคนละอัน เพราะแป้งที่ทำไปแล้ว, สมมุติว่าแป้งที่ไปทำสังขยา หรือไปทำขนมหม้อแกง, ใส่ทำในขนมหม้อแกงแล้วน่ะ แล้วจะเอาแป้งในขนมหม้อแกงนั้นน่ะ ไปทำขนมอื่นอีกได้ไหม? ไม่ได้ใช่ไหม ? แป้งที่อยู่ในขนมหม้อแกงน่ะ จะไปเป็นขนมอื่นอีกไม่ได้แน่นอน ใช่ไหม ?

********ถ้าจะทำขนมใหม่อีก, แม้จะทำขนมหม้อแกงอย่างเดียวกัน  ถ้าเราทำ ๒ คราว แป้ง ก็คนละคราว  ไม่ใช่แป้งอันก่อน จะกินหมดไปหรือใช้หมดไป  หรืออะไรก็แล้วแต่

********แต่เมื่อจะทำใหม่ ก็ต้องเอาแป้งใหม่  ไม่ใช่แป้งอันเก่าที่ทำอันก่อนนั้นแหละ แล้วก็มาทำอันใหม่นี้ เป็นไปไม่ได้นะคะ

********อิริยาบถก็เช่นเดียวกัน  อย่างเดียวกัน เหมือนกัน  ไม่ใช่ว่า ไปใช้อันเก่า เราก็ต้องใช้เครื่องปรุงส่วนสัดคนละอย่าง ถึงอิริยาบถนั่ง นอน ยืน เดิน ของเราก็เหมือนกัน  มหาภูตรูป ๔ เหมือนกันก็จริง แต่ว่าส่วนสัดที่ปรุงนั้น คนละรูป  คนละอย่างกันไม่ใช่ว่า  เอาขนมอีกอย่างหนึ่ง  แล้วเอาอันนั้นมาทำเป็นอันนี้ ต้องใช้วัตถุคนละอัน ถึงแม้จะใช้ไข่ด้วยกัน แต่ก็เป็นไข่คนละฟอง ไม่ใช่ฟองเดียวกันนะคะ ทำขนมคนละอย่าง, คนละคราว

********ถึงแม้รูปและนาม ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน หากรูปทั้งหมดจะเกิดจากมหาภูตรูป ๔ ก็จริงอยู่ แต่ในรูปนั่ง นอน ยืน เดิน  นั้นเป็นการปรุงของมหาภูตรูปเหมือนกัน แต่ต้องมีส่วนสัดไม่เท่ากัน ปรุงอย่างเดียวกัน มหาภูตรูปปรุงให้นั่ง, แล้วเวลาจะปรุงให้ยืน ก็ต้องปรุงอีกอย่างหนึ่ง ส่วนสัดที่เกิดขึ้นในที่นั้น ต้องคนละอย่างเหมือนกัน

********อันที่จริง ที่นั่งก็อย่างหนึ่ง ท่าเดินก็อย่างหนึ่ง และคนละส่วน   คนละสัด  ในเรื่องนี้ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค ปัญญานิเทสว่า “การก้าวเท้าไปครั้งหนึ่งนั้น  ผู้มีปัญญาอาจจะเห็นความดับในส่วนสัดของรูปก้าวนั้นได้ถึง ๖ ครั้ง” ก้าวเท้าไปจนกระทั่งหย่อนเท้าลงนี่ ปรุงคนละอย่างๆ คนละรูปๆ ๖ ครั้งนะ ปรุงในระยะหนึ่งๆ ก็ดับไปๆ ปรุงคนละส่วนอาจจะเห็นความดับในการก้าวนั้นถึง ๖ ครั้ง หรือ ๖ รูป

********แต่สำหรับเราผู้มีปัญญาน้อย ก็ไม่จำเป็นต้องเห็นถึงแค่นั้นก็ได้ เพียงแต่ให้รู้ว่า รูปนั่งกับรูปนอนนั้นไม่ใช่รูปเดียวกัน  เท่านี้ก็พอ  ก็ชื่อว่า ได้ทำลายฆนสัญญาออกไปแล้ว นี่สำหรับขั้นต้นนะคะ เห็นแค่นี้ก็พอแล้ว

********ความเข้าใจผิดที่สำคัญว่า นามรูปเป็นตัว หรือเป็นของตัว ก็เกิดขึ้นในขณะนั้นไม่ได้แล้ว เพราะว่าเป็นคนละรูป และคนก็ไม่มี, เป็นแต่ละรูป หาสัตว์ หาบุคคลในรูปนั้นก็ไม่มี เพราะรูปนั้นก็ดับไปแล้ว คนก็ไม่มีเหลืออยู่ เมื่อรูปดับไปแล้วจะมีคนเหลืออยู่อย่างไร ? ไม่มีเลย,

********เพราะฉะนั้น ถ้าเพียงแต่เห็นว่า มันเป็นคนละรูป รูปเก่าหมดไป  รูปใหม่เกิดขึ้นเท่านั้น เพียงแต่รู้ว่า รูปนั่งกับรูปนอนไม่ใช่รูปเดียวกันเท่านั้นก็ได้ชื่อว่า  ทำลายฆนสัญญาออกไปแล้ว ความเข้าใจผิดที่สำคัญว่า นามรูปเป็นตัว  เป็นตน  ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ในปัญญานั้น

********ถึงแม้จะละไม่หมด  แต่ว่าความเข้าใจผิดใหม่เกิดไม่ได้ ความเข้าใจผิดเก่าที่หมักดองอยู่ในสันดาน อาจจะยังไม่หมดไป ในเมื่อมีปัญญาแค่นี้แต่ก็เกิดไม่ได้, สะสมให้มากขึ้นไม่ได้อีกแล้ว ปัญญานั่นแหละ ชื่อว่า นามรูปปริจเฉทญาณ

********ถึงแม้การกำหนดนาม ก็ต้องกำหนดโดยทำความเข้าใจอย่างเดียวกัน มีเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน  เป็นต้น

********ในมหาสติปัฏฐานนั้น  ท่านจำแนกเวทนาออกเป็น ๓ อย่าง มีสุขเวทนา, ทุกขเวทนา,  และอุเบกขาเวทนา

********ในเวทนา ๓ อย่างนั้น ก็ไม่ใช่อันเดียวกัน, ทุกขเวทนาก็อันหนึ่ง, สุขเวทนาก็อันหนึ่ง, อุเบกขาเวทนาก็อีกอันหนึ่ง, อาศัยเหตุ อาศัยปัจจัยอะไรๆ คนละอย่างๆ คนละเหตุ คนละปัจจัย  คนละพ่อแม่กัน  คนละนามสกุลกัน, ไม่ใช่สกุลเดียวกัน แต่ว่าทำหน้าที่เหมือนกัน เป็นเวทนาเจตสิก แต่ไม่ใช่อันเดียวกันนะ

********เพราะฉะนั้น ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ท่านจึงให้กำหนดสุขเวทนาเกิดก็ให้รู้, ทุกขเวทนาเกิดก็ให้รู้  อุเบกขาเวทนาเกิดก็ให้รู้ แล้วยังให้รู้ต่อไปอีกว่า สุขเวทนาเกิดขึ้น ทุกขเวทนาเกิดขึ้นนี้เจือด้วยอามิสหรือเปล่า, ทุกข์เวทนาที่เจือด้วยอามิส กับทุกขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส ก็เป็นคนละอัน ถึงแม้จะเป็นทุกขเวทนาอันเดียวกันก็ตาม แต่ว่าส่วนผสมที่เป็นปัจจัยในเวทนานั้นไม่เหมือนกัน คนละอย่างกัน

********เพราะฉะนั้น วิธีกำหนดเวทนานั้น เมื่อเวทนาอะไรเกิด, จะเป็นสุขหรือทุกข์ก็ตาม ก็ต้องมีสติสัมปชัญญะให้รู้ว่าเวทนาอย่างนั้นเกิดขึ้น  และเมื่อเวทนาอะไรดับไป ก็ให้รู้ว่าเวทนาอย่างนั้นดับไป ถ้าไม่รู้, เวทนาอะไรเกิดก็ไม่รู้, เวทนาอะไรดับก็ไม่รู้, อันนี้นามรูปปริจเฉทญาณก็เกิดไม่ได้ เพราะฆนสัญญาก็ไม่กระจายออกไป

********ถ้ากำหนดไปอย่างนี้  จะรู้แน่ชัดเจนแล้วว่าเวทนาที่เกิดขึ้นและดับไปแต่ละอย่างๆ นั้น เป็นคนละอัน ไม่ใช่อันเดียวกัน, ความรู้อย่างนี้ เรียกว่านามรูปปริจเฉทญาณ นะคะ

********เมื่อรวมแล้ว ความรู้ทั้งสองอย่างก็เป็นนามรูปปริจเฉทญาณ คือรู้รูป, เห็นรูป  ฆนสัญญากระจายในรูป, เพราะกำหนดรูป ก็เรียกว่า รูปปริจเฉทญาณ ถ้าเห็นนาม ก็เรียกว่า นามปริจเฉทญาณ เมื่อรวมทั้งรูป ทั้งนาม เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ ทั้ง ๒ อย่าง แต่ว่า ก็คงเห็นนาม และเห็นรูปนั่นเอง

********เพราะในอารมณ์ของปัญญาเวลานั้น มีแต่รูปกับนามเท่านั้น  ฉะนั้น  ผู้ปฏิบัติ เวลาเข้ากรรมฐานที่ถูกแล้วต้องมีนามหรือรูปเป็นอารมณ์เสมอไป ขณะใดที่ไม่มีนามไม่มีรูปเป็นอารมณ์ ชื่อว่า ผิดจากทาง มีแต่รูปกับนามเท่านั้น ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน อาศัยอยู่ในอารมณ์นั้นเลย

********นามรูปปริจเฉทญาณนี้แหละ เป็นญาณให้เกิด หรือให้เข้าถึง ทิฏฐิวิสุทธิ ต้องได้ญาณนี้ให้ถูกต้องเสียก่อน แล้วจึงจะเข้าถึงทิฏฐิวิสุทธิได้  วิสุทธิในแต่เวลาที่เราเห็น, ได้ยินนะ จะรู้ตามนั้นได้ไหม? ไม่ได้, เพราะทิฏฐิ ความสำคัญผิดนั้นยังมีอยู่

********เมื่อความสำคัญผิดยังมีอยู่ เวลาเห็น, เวลาได้ยิน  มันก็ต้องเกิดขึ้นทำงาน นอกจากจะทำลายความเห็นผิดนั้นเสียก่อน ในเวลาที่กำลังเห็น, กำลังได้ยินอยู่นั้น นี่จะต้องทำลายก่อนว่า ไม่ใช่ตัวใช่ตน

********ทีนี้ใครเล่าเป็นคนสอน ว่าสิ่งนั้นไม่ใช่ตัวใช่ตน เห็นก็ตาม, ได้ยินก็ตาม ว่าไม่ใช่ตัวใช่ตน, ที่เข้าไปรู้นี้ได้นามรูปปริจเฉทญาณนี่ ใครสอน ?  นามและรูปนั้นเองสอน,  ก็การเห็น, การได้ยินนั่นแหละสอน สอนอย่างไร ? เพราะว่า เวลาเห็น เราจะต้องปฏิบัติจนกระทั่งกำหนดนาม จนรู้ว่า พอขณะเห็นเกิดขึ้น เราก็รู้ว่าอันนี้เป็น นาม ความรู้สึกว่าเป็นเราจะไม่เกิดขึ้นแล้ว แล้วใครเล่าจะเป็นคนบอกให้รู้ว่า อันนี้เป็นนาม ? ไม่มีตัวมีตนในที่นั้น, ไม่มีผู้หญิง ผู้ชาย ในการเห็นนั้น, ในการเห็นนั้น, ในการได้ยินนั้น, ใครบอก ? ก็  ตัวสภาวธรรม  การเห็น การได้ยิน นั่นเอง บอกให้เรารู้ว่าเขานี่น่ะไม่ใช่ผู้หญิง ผู้ชาย, จะบอกได้ไหมว่า  เห็นนี่เป็นผู้หญิง  หรือเป็นผู้ชาย  เป็นสัตว์หรือเป็นคน ? ใคร บอกได้ไหม ? บอกไม่ได้ใช่ไหม,  ไม่มีนี่ สภาวะที่จะเป็นเช่นนั้น เป็นตัว เป็นตน ก็ไม่มีในที่นั้น เราเข้าไปดูแล้ว ในที่นั้น ไม่มีจริงๆ, ในที่นั้น เขาบอกว่า เขาไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่มีตัวมีตน, ไม่เป็นเรา เป็นเขา, เขาไม่ได้อยู่ในอำนาจของใครด้วย เขาบอกเอง ก็เหมือนอย่างกับเรากินพริกนั่นแหละ ครูจะสอนยังไงๆ ก็ไม่รู้ว่า พริกนี่ มันเผ็ด ครูจะสอนอย่างไรๆ เล่าลักษณะของพริกอย่างไรๆ ก็ตามลูกศิษย์จะไม่เผ็ดเลย เวลาที่ครูสอน เผ็ดอย่างไร ครูสอนไม่ได้เลย

********แต่พอเราไปกินพริกแล้ว ความเผ็ดจะปรากฏขึ้นทันทีทีเดียว ทีนี้ความเผ็ดที่ปรากฏขึ้นนั้นน่ะ ครูสอนหรือใครสอน, ว่าเขานี่เผ็ด มีลักษณะอย่างนั้น ก็พริกนั่นแหละ วัตถุนั่นแหละ สอนละให้รู้ว่าเขานี่เผ็ดนะ มีลักษณะอย่างนี้ๆ นะ ครูสอนไม่ได้เลย, แม้ครูจะสอนยังไงๆ ลูกศิษย์ก็เผ็ดไม่ได้

********เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นนะ เราจะต้องไปพบนามรูปที่เป็นครูเสียก่อน อันนี้แหละ พบครูอันนี้แหละ ที่จะสอนให้รู้ความจริงได้ ต้องรู้เอง หาใช่ครูอาจารย์ หรือบุคคลหนึ่ง บุคคลใด หรือจากตำรับตำรา อ่านหนังสือเท่าไหร่ ก็ไม่พบ แม้จบพระไตรปิฎก ก็เผ็ดเกิดไม่ได้

********ความรู้เป็นความรู้ที่ได้มาจากสภาวธรรมที่ถูกพิสูจน์มาแล้วนั่นเอง เป็นผู้สอนให้รู้ หมายความว่า สภาวธรรม คือ นาม-รูป ที่ไม่ใช่สัตว์  ไม่ใช่บุคคลนั่นเอง เป็นผู้สอนให้รู้, ไม่ใช่คนอื่น

********จึงขอให้ท่านนักศึกษาทั้งหลาย จงเข้าใจด้วยเถิดว่า ครู-อาจารย์ที่จะสอนให้เราเกิดปัญญาวิปัสสนาโดยแท้จริงได้นั้น  มิใช่ครูอาจารย์  ซึ่งเป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือจะเป็นตำรับตำราอันหนึ่งอันใด ก็หาไม่

********ครูอาจารย์ที่แท้จริงของท่านนั้น ก็คือ นาม และ รูป นั่นเอง

********เพราะฉะนั้น ผู้ทำวิปัสสนา, ก่อนอื่นนี่ ไม่ต้องไปอยากรู้อยากเห็นอะไร ให้มันผิดจากอารมณ์ที่ถูกต้องไป ก่อนอื่นนี่ ต้องพยายามไปพบนามพบรูปเสียก่อน ต้องพยายามกำหนด จนกระทั่งนามรูปนี้ปรากฏขึ้นเสียก่อน แล้วทีนี้จะต้องการรู้อะไรละก็นามรูปนั่นแหละ เป็นครูละ เขาสอนให้รู้ได้ทุกอย่างเลย

********ในพระไตรปิฎกนั่น ก็มาจากนามรูปทั้งนั้นแหละค่ะ  เพราะฉะนั้นอยากรู้อะไรในพระไตรปิฎกนั่นน่ะ, ก็นามรูปนี่แหละ จะเป็นผู้บอก

********เพราะฉะนั้น อย่าเพิ่งไปเข้าใจถึงเรื่องที่จะเอาวิปัสสนา, จะให้เห็นไตรลักษณ์ จะให้เห็นเกิดดับ จะเห็นอนัตตา, จะเห็นอะไรต่ออะไร  หลายสิ่งหลายอย่างนี่น่ะ มนสิการไม่ถูก, ความเข้าใจไม่ถูกแล้วนะคะ

********เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าใจไม่ถูกแล้ว, ไม่รู้จักครู ไม่รู้จักอารมณ์แล้ว ก็ไม่มีหวังละ ที่จะเกิดปัญญาได้

********เพราะว่า ยังไม่พบครู, ยังไม่พบอาจารย์ แล้วก็ธรรมที่ยิ่งไปกว่านั้น ที่อยู่กับครู, กับอาจารย์ มีไม่เที่ยง,เป็นทุกข์, เป็นอนัตตา ที่เรียกว่าไตรลักษณ์นี้ก็ไม่ได้พบด้วย ต้องพบอาจารย์ก่อน

********ฉะนั้น  เมื่อพบอาจารย์แล้ว ขั้นที่ ๒ จึงรู้ได้เพราะอาจารย์จะสอนให้ค่ะ ไม่ใช่ตำรับตำราอันหนึ่งอันใด ครูอาจารย์ที่แท้จริงของท่านนั้น ก็คือ รูปนาม นั่นเอง

********ส่วนปัญญาของครูอาจารย์ที่เป็นบุคคลนั้น ก็เป็นแต่เพียงแนะนำให้ท่านเดินทางเข้าไปหา หรือไปพบกับครูที่แท้จริง คือนามรูปเท่านั้น เพราะการที่จะเข้าไปพบกับครู คือรูปนามนั้น ไม่ใช่ไปด้วยยวดยานต่างๆ ในโลกนี้ ซึ่งมีรถยนต์หรือเรือยนต์เป็นต้น นั้นไม่ได้ จะต้องไปด้วยโยนิโสมนสิการ คือ ความเข้าใจถูกต้องไปด้วยญาณ คือความเข้าใจถูกไม่ใช่รถ เรือ นะคะ

********ความเข้าใจถูกก็มาจากการฟังนี่แหละ เมื่อเข้าใจถูกนั้นก็จะนำท่าน ในเวลาทำงานนั้น จะได้ทำงานถูก คือความเข้าใจถูกที่ต้องประกอบไปกับการงาน ซึ่งจะเป็นผู้ประคับประคองให้ถูกต้องหรือเดินไปให้ถูกต้องตามทางนั้นได้

********ความสำคัญในข้อนี้ อยู่ที่โยนิโสมนสิการ และโยนิโสมนสิการ  จะต้องได้มาจากปริยัติ คือการศึกษา หรือการฟังธรรมนี่แหละคะ  อย่างในเวลานี้ อย่างที่กำลังศึกษาอยู่นี่แหละค่ะ และการศึกษาก็ต้องอาศัยตำรับตำรากับครูอาจารย์ที่เข้าใจเหตุผลนั้นดีด้วยตนเอง ผู้ที่จะสอนนี่ ต้องเข้าใจดีแล้วด้วยตนเองด้วยเหมือนกัน

********ถ้ามิฉะนั้นละก็ จะบอกลูกศิษย์ลำบากเหมือนกัน บอกตามหนังสือก็พอบอกได้  แต่ว่าหน้าตาหรือสภาวธรรม และการเข้าถึงที่ถูกวิธี ก็บอกไม่ได้  ครูอาจารย์จะต้องเข้าใจเหตุผลดีด้วยตนเอง ไม่ใช่เพียงจำมาได้เท่านั้น

********เมื่อได้ประกอบด้วยเหตุผลสมบูรณ์ดังว่ามานี้แล้ว ท่านจึงจะได้พบกับครู คือ นามรูป นั้นได้

********เมื่อเดินทางเข้าไปพบกับครู คือนามรูปนั้นแล้ว ต่อไปเป็นหน้าที่ของนามรูป ซึ่งจะเป็นผู้สอนให้ท่านรู้ความจริงทุกอย่างของนามและรูปตามกำลังของบารมี ที่จะรู้ได้ตามนัยของวิปัสสนาญาณ

********ถ้ามีบารมีน้อย ศึกษาน้อย อบรมมาน้อย ก็รู้น้อย มีปัจจัยมาน้อยก็รู้ได้เฉพาะบางสิ่งบางอย่าง จะรู้ทั่วถึงกว้างขวางก็เป็นไปไม่ได้

********ถ้าที่มีความรู้กว้างขวาง อบรมมาแล้วในบารมีตั้งแต่ชาติที่แล้วๆ มา เมื่อท่านเข้าไปรู้ความจริงในเหตุผลอะไรสักอย่าง ท่านก็สามารถด้วยความรู้ของท่าน สามารถจะขยายออกไปกว้างขวางในธรรมทั้งปวงได้ตามนัยวิปัสสนาญาณมีนามรูปปริจเฉทญาณ เป็นต้นนั้น

********การปฏิบัติที่ถูกต้องนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัญญาบารมีของผู้นั้นด้วยแต่ก็มีสิ่งที่ควรเข้าใจอีกข้อหนึ่ง :-

********ในการที่บุคคลจะเข้าถึงหรือจะได้พบกับความสมบูรณ์ในเหตุผล ดังที่ได้อธิบายมานั้น ต้องมีการพบกับบุคคลที่เป็นกัลยามิตร คือ มีอาจารย์เป็นต้น ที่จะเป็นผู้สอนให้ถูกต้องได้นั้น จะต้องเป็นผู้ได้บารมีมาแล้ว ถึงแม้ว่าผู้ศึกษาจะได้ศึกษาเข้าไปถึงเหตุผล หรือจะได้พบกับอาจารย์ที่สอนให้เข้าถึงเหตุผล ได้รู้เหตุผลตามความเป็นจริงได้นั้น  คนนั้นจะต้องเป็นคนมีบารมีด้วย

********ถ้าคนไม่มีบารมีมาแล้ว จะไม่ได้พบ ถึงพบก็ไม่ได้ประโยชน์จากครูอาจารย์นั้น ประโยชน์ก็จะไม่เกิดขึ้นกับตน

********อย่าว่าแต่ครูธรรมดาเลย, แม้ครั้งพุทธกาลคนที่ไปพบพระพุทธเจ้าแล้ว คุยกับพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นบรมครูอยู่เกือบทั้งคืน ก็ยังไม่รู้ว่าคนที่คุยอยู่ด้วยเป็นพระพุทธเจ้าเลย, ไม่รู้ก็ไม่ได้ประโยชน์เหมือนกัน

********แต่ว่า คนที่เขามีบารมีมาน่ะ นิดเดียวเท่านั้นแหละ รู้ทีเดียวว่า ธรรมะอันนี้ ต้องเป็นของพระพุทธเจ้า อย่างในคาถาธรรมบทแสดงว่า เอรกปัตตนาคราช ตั้งปัญหาถาม เพื่อจะทราบการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า อุตตรมานพมาแก้ปัญหานั้นได้อย่างถูกต้อง

********พอมานพมาแก้ปัญหานั้น, แกประกาศทันทีทีเดียวว่า แกดีใจเหลือเกิน พร้อมเปล่งอุทานออกมาว่า “พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก”  แม้แต่แกยังไม่ได้พบพระพุทธเจ้า แกเป็นผู้มีบารมีมามาก ได้บำเพ็ญเพียรในศีลธรรม แกรู้ทันทีว่าพระพุทธเจ้าได้เกิดขึ้นแล้วในโลก เพราะว่า ปัญหาอย่างนี้นอกจากพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่มีใครที่จะสามารถรู้ได้ และอธิบายได้อย่างนี้เลย

********นี่เห็นไหมล่ะคะว่า คนที่มีบารมีมา, คนที่มีปัญญารู้ได้ แกถามทันทีทีเดียวว่า “เวลานี้พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ไหน” พระพุทธเจ้า ขณะนั้นประทับอยู่โคนต้นไม้ คอยดักบอกมานพที่จะไปแก้ปัญหา ถ้าแก้ปัญหาได้แล้ว พระยานาคจะให้ลูกสาว แกอยากจะฟังธรรมของพระพุทธเจ้านั่นแหละ ใครหนอ, ที่จะมาแก้ให้ฟังได้ แล้วแกจะให้ลูกสาวทีนี้พระพุทธเจ้าก็ไปดักอยู่ต้นทาง มีคนไปแก้กันเยอะแล้วค่ะ ท่านไปดักอยู่ทางที่มานพจะไปแก้ปัญหา แล้วมานพนี่ เขาก็เป็นคนมีปัญญา เมื่อถูกพระองค์ถามว่า “เขาตั้งปัญหาว่าอย่างไร?” มานพก็ทูลปัญหาให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ก็ตรัส “แล้วเธอจะแก้ว่าอย่างไรเล่า?“ มานพก็แก้ไปตามความเห็นของตน ท่านก็ตรัสว่า “ไม่ถูกหรอก, แก้อย่างนั้น ปัญหานี้ต้องแก้อย่างนี้ หมายความว่าอย่างนี้ๆ”

********มานพเมื่อได้ฟังพระพุทธเจ้าแก้ให้ฟังเท่านั้น มานพก็บรรลุโสดา เห็นไหมคะ? คนที่มีบารมีมาน่ะ เพียงเท่านั้น ที่ตนพยายามติดตามปัญหาก็เห็นความจริงชัดเจนขึ้นมา ปัญญาปรากฏ ได้บรรลุโสดาแล้วก็นำเอาคำตอบนั้นไปแก้กับพระยานาค พอพระยานาคได้ฟังคำแก้ปัญหาเท่านั้น ก็รู้ทันทีว่า อย่างพวกที่ไม่มีปัญญานะ พบกับพระพุทธเจ้า คุยกับพระพุทธเจ้า ในโรงปั้นหม้อทั้งคืน ก็ยังไม่รู้ว่าคนนี้เป็นพระพุทธเจ้า  ก็ยังบอกว่าเอ! คำพูดของท่านก็มีเหตุผลดีอยู่หรอก แต่ว่าเราตั้งใจจะไปพบพระพุทธเจ้า  คิดว่าพระพุทธเจ้าคงพูดดีกว่านี้ นี่ดูซิคะ ไม่รู้ ไม่เกิดปัญญา ไม่ได้รู้ความจริง, ไม่ได้เข้าถึงเหตุผล ที่พระพุทธเจ้าแสดงนั้นเลย

********เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะมาเจอะนี้น่ะ ยากนักบางทีก็กลัว ที่ไหนมีเหตุผลที่แท้จริง หรือถูกต้องนี่กลัว ไม่กล้าไป ที่ไหนเลอะเทอะละก็ มันง่ายดีที่สุดเลย พูดดีที่สุดเลย เพราะว่า มีปัจจัยอยู่แล้ว มันพอใจกันเหลือเกิน คล้ายๆ กับคนกินเหล้า เมื่อใครชวนไปกินเหล้า มันก็ต้องพอใจใช่ไหม ?

********ทีนี้คนกินเหล้านี่ คนเข้าวัดไปชวนมา ก็ไม่มา, ที่ไหนมีเหตุผลดี ยากนักที่คนจะเข้ามาถึงได้

********นี่แหละ อันนี้ก็เป็นบารมีอันหนึ่ง, อย่างที่พวกเรามาเรียนมาศึกษาอยู่นี้ ก็เป็นการสร้างบารมีนะคะ ถ้ายังมีภพชาติเกิดไปข้างหน้าอีกละก็ เราคงจะไปพบกับอาจารย์ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่ไม่มีเหตุผล เพราะว่าเรามีปัญญาที่ได้ศึกษามาแล้ว เพราะฉะนั้น เราก็คงจะรู้เหตุผลว่า อันนี้มันใช่ หรือไม่ใช่ ต้องมีบารมีมาแล้วนะคะ จึงจะพบ จึงจะฝ่าอุปสรรค คือ ตัณหา, มานะ, ทิฏฐิ ที่เป็นศัตรูตัวสำคัญ ที่จะมาเป็นผู้กีดขวางให้ท่านไปพบกับเหตุที่ถูก มีอาจารย์เป็นต้นนั้นได้ ถ้ามิฉะนั้นแล้ว จะไม่มีหวังเลย

********ฉะนั้น เรื่องของการปฏิบัตินั้น จึงต้องขึ้นอยู่กับปัญญาบารมี และการปฏิบัติที่ถูกต้องตามวิธีนั้นๆ ด้วย

********สำหรับอาจารย์นั้น เป็นแต่เพียงว่า จะมีการแนะนำให้ท่านมีความเข้าใจถูก ในเวลาที่ไปทำการปฏิบัติอยู่นั้น เท่านั้นแหละ เป็นต้นว่า ให้ปฏิบัติอย่างนี้ถึงจะถูก ให้จิตตั้งอยู่ในอารมณ์นี้ อะไรอย่างนี้ เป็นเพียงคอยบอกเท่านั้นค่ะ

********เมื่อผู้ปฏิบัติมีความเข้าใจ และมีมนสิการถูกต้องดีแล้ว ผลที่ถูกต้องก็จะปรากฏแก่ผู้ปฏิบัตินั้นเอง และผู้ปฏิบัตินั้นก็จะรู้เอง ไม่ใช่ว่า เป็นหน้าที่ของอาจารย์ที่จะต้องรับรอง และความรู้ที่ถูกต้องนั้น จึงมิใช่ว่าถูกเพราะการรับรองของอาจารย์ อย่างนี้ใช้ไม่ได้นะ เช่นว่า “ฉันไปถามอาจารย์แล้ว อาจารย์บอกว่าถูกนี่ ! อย่างนี้ใช้ไม่ได้, อาจารย์บอกว่า” ไม่ถูก” ก็ไม่ถูก ใช่ไหม ? อาจารย์บอกว่า ถูกก็ถูกไม่ได้นะ”

********เพราะฉะนั้น ที่ถูกแล้วนะ พอเข้าไปเห็น,พบแล้วนะคะ  เห็นถูกแล้วนะ  ตัวรู้ด้วยตัวเองว่าเห็นถูก ใครจะมาบอกว่า เห็นผิดนะ ให้มีคนเหาะมาบอกก็ไม่เชื่อ ต้องเป็นอย่างนั้น  เพราะว่าความรู้ที่แน่นอนนั้นน่ะ จึงจะทำลายความสงสัยของตัวได้ หมดความสงสัยทีเดียว เมื่อหมดความสงสัยแล้วก็ต้องแน่นอนทีเดียว

********ถ้าผู้ปฏิบัติวิปัสสนา รู้แล้วและเห็นอย่างนี้แล้ว โอ๊ย ! อะไรก็ไม่รู้ เห็นแล้วละว่า มันเป็นอะไรก็ไม่รู้ ต้องไปถามอาจารย์ก่อน อย่างนี้, ถ้าอาจารย์บอกว่าถูก ก็เลยยึดมั่นว่า ถามอาจารย์แล้ว อาจารย์บอกว่าถูกนี่, นี่อย่างนี้, อันนี้นะ ใช้ไม่ได้

********ดิฉันเคยบอกกับผู้ปฏิบัติเสมอว่า สิ่งใดที่รู้ขึ้นก็ตาม เห็นก็ตาม แต่ถ้าตัวยังตัดสินใจแน่นอนในความรู้นั้นไม่ได้ละก็ อย่าสนใจ ! ไม่ต้องไปสนใจ ไม่เอา

********เพราะว่า ความรู้อันนั้น ยังไม่เป็นปัจจัยให้เราเกิดปัญญาที่แน่นอน ไม่เอา ! ให้กำหนดไป พิจารณาไป จนกว่าจะได้ความแน่นอนของตัวเอง อันนั้นถึงจะใช้ได้นะคะ จะมีบ้างละ ที่เข้าใจผิดน่ะ ก็มีบ้างเหมือนกัน คือว่า ไม่ใช่ แล้วเข้าใจว่า ใช่ อันนี้ก็มีบ้างเหมือนกัน แต่ว่า ที่ถูกแล้ว ตัวเองนี่สำคัญมากนะคะ ไม่ใช่ว่า ต้องอาจารย์รับรอง เพราะอาจารย์รับรองว่า ถูก ก็เลยถูก, ต้องเป็นความรู้ที่เกิดจากปัญญาของตนเอง ที่เกิดขึ้นจากตนพิสูจน์แล้วนั่นเอง แล้วก็เป็นความรู้ที่ได้มาจากนามและรูป ไม่ใช่ได้มาจากอาจารย์

********นามและรูปนี่แหละ เป็นผู้สอนให้รู้ ถ้าความรู้อย่างนี้ เกิดขึ้นในจิตใจเมื่อใด ก็ชื่อว่า เข้าถึงนามรูปปริจเฉทญาณ ถ้านามรูปปริจเฉทญาณนี้เกิดขึ้นเมื่อใด ก็จะขับไล่ความเห็นผิด ที่รู้สึกว่า นามรูปนั้น เป็นตัว เป็นตน หรือเป็นของตน ที่เข้าไปฝังอยู่ในจิตใจนั้น ก็ออกไปเมื่อนั้น เพราะว่า ปัญญาเกิดความเห็นถูก เกิดขึ้นมาในขณะใด ความเห็นผิดก็จะหลุดออกไปจากใจขณะนั้นทีเดียว

********เหมือนกับความมืด พอเราจุดไฟขึ้นมา ความสว่างก็ปรากฏขึ้น  ความมืดก็จะหายไปทันทีในเมื่อความสว่างนั้นปรากฏ

********เมื่อความรู้สึกผิดออกไปแล้ว  ความเข้าใจผิดก็จะไม่เกิดขึ้นมาแทรกแซง ในความรู้สึก ในอารมณ์ของปัญญานั้นได้

********เมื่อความรู้ที่ผิด เกิดขึ้นในอารมณ์ของปัญญานั้นไม่ได้แล้ว ปัญญานั้นก็จะเข้าถึงความบริสุทธิ์ ที่เรียกว่า “ทิฏฐิ-วิสุทธิ”  ซึ่งเป็นวิปัสสนาขั้นต้น ที่กำลังพูดกันอยู่นี้แหละ

********ฉะนั้น ในทิฏฐิวิสุทธิอันนี้ หรือขั้นนี้นั้น ก็หมายถึง ความบริสุทธิ์ของปัญญาที่ปราศจากความเห็นผิด หรือสำคัญผิด ที่ว่ารูปนามนั้น เป็นตัว เป็นตน นั้นเอง

********ข้อสำคัญ ในสิ่งที่ควรทำความเข้าใจให้ถูกนั้นอีกอันหนึ่ง ก็คือ สติและสัมปชัญญะ อันนี้เป็นความสำคัญมากสำหรับผู้ปฏิบัติ ทั้งสมถะ และ วิปัสสนา  ต้องใช้ทุกอย่าง

********สติสัมปชัญญะนั้น หมายความว่ากระไร ? และความรู้สึกอย่างไร มีอยู่ที่ไหน จึงเรียกว่า  “สติสัมปชัญญะ”

********อันนี้ต้องขอให้ทำความเข้าใจหน้าตาลักษณะของจิตใจให้ชัดเจน ว่าจิตใจที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะนั้น มีความรู้สึกอย่างไร ? เมื่อทีหลังขาดสติสัมปชัญญะ จะได้กลับมาหาอารมณ์ที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะนั้น ถูกต้องได้

********เวลามีสติสัมปชัญญะ รู้สึกอย่างไร ?

********เวลาไม่มีสติสัมปชัญญะ รู้สึกอย่างไร ?

********อันนี้ต้องเป็นความสังเกตของผู้ปฏิบัติ และต้องรู้จักด้วย ถ้าไม่รู้จัก ก็จะมีสติสัมปชัญญะไม่ได้เหมือนกันนะคะ

********ถ้าท่านมีความเข้าใจตามลักษณะที่ว่ามานี้แล้ว ท่านก็สามารถยกจิตของท่านขึ้นสู่อารมณ์ หรือทางของ มัชฌิมาปฏิปทาที่ถูกต้องได้ ขอยุติ การอธิบายเรื่องทิฏฐิวิสุทธิไว้เพียงแค่นี้. 

✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾