**ปฏิปทาญาณทัสสนาวิสุทธิ ตอนที่ ๑

ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ตอนที่ ๑)

โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

สวัสดีค่ะ ท่านที่เคารพ

            มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินี่ จบแล้วทุกอย่างนะคะ เพราะฉะนั้น ตอนนี้ก็ไม่มีอะไรอีกแล้วที่จะต้อง เข้าใจ เฉพาะมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินะคะ แต่ว่า ต่อไปนี้ก็จะสรุปคำว่า “มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ” พอให้ได้ใจความ ให้เข้าใจง่ายๆ นะคะว่า วิสุทธิอย่างไร ที่จะเข้าถึงและจะเข้าถึงวิสุทธิได้ด้วยปัญญาอะไร?   

            ดิฉันพูดมาหลายครั้งแล้ว ก็อยากจะถามเหมือนกัน ว่า ปัญญาอะไรที่ได้ชื่อว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปัญญาอะไรคะ ? นี่แหละ ถ้าเข้าใจอันนี้แล้ว มันก็ ง่ายที่สุดค่ะ นิดเดียว เข้าใจนิดเดียว คือ ปัญญาที่รู้ว่า อารมณ์นี้ใช่ทาง หรืออารมณ์นี้ไม่ใช่ทาง ปัญญา อันนี้แหละ เป็นความสำคัญอันหนึ่งเหมือนกันนะคะ ถ้ารู้อย่างนี้แล้ว ก็ไปต่อไปอีกได้ความรู้อย่างนี้เท่านั้น แหละที่เข้าถึงวิสุทธิจะต้องรู้ถูกด้วยนะคะ ถ้าไม่รู้ว่า อันไหนถูก อันไหนผิด ก็อาจจะเดินไปในทางที่ผิดได้ ปัญญานี้แหละที่จะเข้าถึงวิสุทธิเพราะรู้อย่างนี้ความรู้ ตรงนี้นิดเดียว ถ้าพูดแค่ความหมายก็เท่านี้เท่านี้แหละ จบแล้ว ใช่ไหมคะ ? วิสุทธินี่แหละ อันนี้เป็นวิสุทธิของ ปัญญา มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิเป็นวิสุทธิที่ ๕ นะคะ ฉะนั้นก็เป็นวิสุทธิของปัญญา ทีนี้เมื่อเป็นวิสุทธิของปัญญาแล้วเป็นชื่อของปัญญาทั้งนั้นนะคะกังขาวิตรณวิสุทธิก็เป็นชื่อของปัญญา แต่ต้องรู้ว่า วิสุทธินั้น ต้องปัญญาอย่างนั้น ต้องปัญญาอย่างนั้น เข้าถึงวิสุทธินั้น ปัญญาขั้นนั้นเข้าถึงวิสุทธินั้น เพราะว่า ปัญญานี่มีหลายขั้นมาก แต่ข้อสำคัญที่เราควรจะเข้าใจ แน่นอนนี้น่ะมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นต่ำจนถึงขั้นสูงสุด แต่ว่าอย่างไรก็ตามเถอะ ตั้งแต่ต่ำไปจนกระทั่งถึงสูงสุด จะต้องเข้าถึงวิสุทธิทุกขั้นไปเลย

      ปัญญามีวิสุทธิ ๕ ชื่อ ตั้งแต่ทิฏฐิวิสุทธิเป็นต้นไป นะคะ ต้องเข้าถึงวิสุทธิทุกขั้นไป ทุกๆ ปัญญาทุกขั้นไป จึงจะบรรลุถึงนิพพานได้เพราะฉะนั้นก็เป็นของที่เรา ควรจะเข้าใจเหมือนกัน

      การเจริญวิปัสสนานี้น่ะถ้าปัญญาของเรารู้อย่างนี้นะ เกิดปัญญาแล้วรู้ขึ้นมาอย่างนี้จะเทียบได้กับวิสุทธิอะไร? วิสุทธิอย่างนี้น่ะ มีความรู้สึกอย่างไร ปัญญาที่รู้เช่นนี้น่ะ เข้าถึงวิสุทธิหรือยัง ? นี้เป็นของที่เราควรจะรู้ถ้าเรารู้ไว้ อย่างนี้นะคะ แล้วเวลาเราปฏิบัติก็ไม่ผิด เราก็รู้ว่า ถ้าปัญญาเรายังไม่เข้าถึงวิสุทธิเพราะเหตุนั้นๆ ทีเดียว ยังมีความรู้สึกอย่างนั้น เกิดขึ้นเป็นบางครั้งบางคราว ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสน่ะ อย่างนี้ละก็ปัญญานั้น ก็ยังไม่เข้าถึงวิสุทธิถ้าเราเข้าใจอย่างนี้แล้วก็จะสบาย ในเวลาปฏิบัติก็ไม่ลำบากนะคะ

      วิสุทธิทุกอย่างต้องมีเหตุผลนะคะ ว่าทำอย่างไร จึงจะรู้ได้จนถึงวิสุทธิอย่างนี้เช่นถ้าว่ามัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินี่น่ะ เราจะได้มาอย่างไร? ก็จะต้องรู้เหตุ ไม่ใช่นึกอยากได้มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิแล้ว ก็จะได้เกิดขึ้นมาเองนั้น ไม่ได้ต้องมีเหตุให้เกิด แต่ว่า พูดเฉพาะตัววิสุทธิแท้ๆ ก็คือรู้อย่างนี้รู้ว่าอย่างนี้ใช่ทาง อย่างนี้ไม่ใช่ทางที่แน่นอนเท่านั้นเอง

      เพราะฉะนั้น ท่านที่จะเรียน หรือฟังธรรมให้เข้าใจ ดีแล้ว ท่านก็ควรจะรู้ว่า ตรงไหนที่ท่านยังไม่เข้าใจดี นี่แหละค่ะ ขอให้ท่านพยายามตรงนี้แหละค่ะ ถ้าท่าน เรียนอย่างนี้น่ะ เร็วมากเร็วทีเดียวปีเดียวแหละสามารถ มีความรู้มากมาย ตรงไหนที่ท่านยังไม่เข้าใจดีหรือยังไม่รู้ ท่านก็จงพยายามในสิ่งที่ท่านไม่รู้พยายามหาความรู้ ของท่านว่าท่านไม่รู้อะไร? ท่านไม่เข้าใจตรงไหน? ถ้าท่านเจอความไม่รู้ของท่าน อย่างนี้มากๆ แล้ว ความไม่รู้ของท่านก็จะหมดไป และความเข้าใจก็จะ เกิดขึ้นมาแทน แปลว่า พบความไม่รู้มากเท่าไร ท่าน ก็จะมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นเพียงนั้น ถ้าไม่เจอเลยก็แปลว่า ไม่รู้เลย ทำไมถึงว่าไม่เจอเลย แปลว่า ไม่รู้ธรรมะที่ สุขุมสูงๆ อย่างนี้เต็มไปด้วยเหตุผลนี่แหละ ที่จะรู้ ทั้งหมด นี่น่ะเป็นไปไม่ได้ใช่ไหมคะ ต้องมีรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง ถ้าเรารู้นิดหน่อย สิ่งที่ไม่รู้น่ะยังมีเยอะ เราก็ไม่รู้ว่า สิ่งที่ไม่รู้ยังเหลืออยู่ เราก็นึกว่าแค่นี้แหละ เท่าที่รู้ แค่นี้แหละ ก็นึกว่าหมดแล้ว ครั้นพอรู้ต่อไปอีกๆ ถึงจะรู้ว่า ที่ไม่รู้ยังมีอีกมาก เพราะฉะนั้น เราจะรู้หมดน่ะ รู้ไม่ได้หรอกค่ะ หรือเข้าใจหมดก็เป็นไปไม่ได้จะต้องมี ส่วนที่ไม่เข้าใจน่ะมีอยู่ แต่ว่าหาไม่เจอ เพราะไม่รู้ว่า อะไรที่ไม่รู้อย่างนี้ก็จะหาความเข้าใจได้ยาก เพราะจะ ต้องรู้เสียก่อนว่า ไม่เข้าใจตรงไหน มัคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิก็จบเพียงเท่านี้นะคะ

      ต่อไปนี้จะขึ้นวิสุทธิที่ ๖ คือ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิใช่ไหมคะ วิสุทธิที่ ๖ นี่ ชื่อว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ

      ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิแปลว่าอย่างไร? หมายความว่าอย่างไร?

      แปลว่า ปัญญานั้น ยกขึ้นสู่ความรู้สึก หรืออารมณ์ ที่ถูกแล้วอันเป็นทางที่บริสุทธิ์นะคะทางที่จะดำเนินไปถึง นิพพานน่ะถูกต้องแล้ว ปัญญานี้น่ะเข้าใจดีแล้ว แล้วก็ ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์นั้น ในระหว่างที่ยกขึ้นสู่อารมณ์นั้น ปัญญานั้นแหละก็รู้ว่าอันนี้แหละที่เรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิรู้ถูกนะคะ ไม่ผิดนะคะ ไม่ใช่ ยกขึ้นผิด ต้องถูกด้วย เป็นทางปฏิบัติที่จะดำเนินไป ให้ถึงพระนิพพานนั้นถูกต้องแล้ว เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ปฏิปทาญาณ ญาณนี้น่ะ ตัวปัญญานะคะ วิสุทธิ คือปัญญาที่เข้าใจหรือตั้งอยู่ในปฏิปทา หนทางที่ถูก และ ปัญญานั้นแหละชื่อปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินี่เป็น ชื่อของปัญญานะคะ ปัญญาที่เข้าใจอย่างนั้น แปลว่า เห็นหนทางจะดำเนินไปที่บริสุทธิ์แล้วในทางนี้หมายถึง อะไร?

           คำว่า ทาง น่ะ หมายถึงอะไร?

      หมายถึงอารมณ์นะคะ คือ อารมณ์ที่จะเป็นเครื่อง นำทางที่จะต้องเดินทางไปตามอารมณ์อารมณ์นี้น่ะ เป็นอารมณ์ของโลภะก็มีเป็นอารมณ์ของโทสะก็มีเป็น อารมณ์ของศีลก็มีเป็นอารมณ์ของสมาธิก็มีเป็นอารมณ์ ของปัญญาก็มีใช่ไหมล่ะคะ จะเป็นเครื่องนำจิตเข้าไป ตั้งอยู่ในความรู้สึกที่ถูก คือ เวลานั้น จิตนั้นก็จะต้องมี อารมณ์ มีอะไรเป็นอารมณ์อารมณ์นั้นมาจากไหน มาจากกิเลส หรือ มาจากศีล มาจากสมาธิมาจากปัญญา อารมณ์ในที่นี้ต้องหมายถึงมาจากปัญญา ปัญญาที่ชื่อว่า วิปัสสนานะคะ ปัญญาในที่นี้ก็ต้องหมายถึงปัญญา วิปัสสนานะ ปัญญาที่ไม่ชื่อว่า วิปัสสนา ก็มีแยะ เหมือนกัน แต่ในที่นี้หมายถึง ปัญญาที่ชื่อว่า วิปัสสนา นั้นแหละ

      อะไรจะเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาปัญญา มีอะไร เป็นอารมณ์นะ? เคยทำวิปัสสนาแล้วใช่ไหมคะ มีอะไร เป็นอารมณ์คะ? อนิจจังใช่ไหมคะ? ไตรลักษณ์ชื่อว่า เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา อันใดอันหนึ่ง อนิจจังหรือ ทุกขัง นะคะ หรืออนัตตาเป็นตัวถูกรู้ปัญญานะ เป็นตัวรู้ แต่ว่าอนิจจังนี้ต้องได้มาจากนามรูป       เพราะฉะนั้นปัญญาที่เรียกว่า วิปัสสนานี่น่ะ ต้องรู้ อย่างนี้เท่านั้น ไม่ใช่ว่ารู้ทำมาหากิน เข้าใจ ฉลาด ร่ำรวย ทำลูกระเบิดปรมาณูไปพระอาทิตย์พระจันทร์ทำจรวดได้ ไม่ใช่นะคะไม่ใช่ชื่อวิปัสสนาปัญญาที่ชื่อว่าวิปัสสนานี่น่ะ เฉพาะรู้นามรูป เป็นอนิจจัง นามรูปเป็นทุกข์นามรูปไม่ใช่ ตัวตน แค่นี้แหละ

      ที่จริง พวกท่านที่มาศึกษาน่ะ รู้แต่เพียงขั้นนี้แหละ พอแล้ว รู้แต่เพียงว่า ปัญญาที่ชื่อว่า วิปัสสนาน่ะ ทุกท่าน ก็เคยได้ยินกันหมดแล้ว วิปัสสนานี่น่ะ ปัญญาที่ชื่อว่า วิปัสสนาน่ะ รู้อะไรก็จับหลักไว้ว่า รู้อนิจจัง รู้นามรูปเป็น อนิจจัง นามรูปเป็นทุกข์นามรูปเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ๓ อย่าง แค่นี้แหละ พอแล้ว ทีนี้เราจะไปศึกษาที่ไหน ก็ถามได้นี่นะว่า ที่เขาทำวิปัสสนานี่น่ะ จะให้รู้อะไร ปัญญา รู้อะไรนั่งไปโน่นไป เห็นพระพุทธเจ้าเห็นพระนางพิมพา เห็นพระราหุลอยู่ในนิพพานโน่น อย่างนี้น่ะใช่ไหม อันนี้ใช่วิปัสสนาไหม? ไม่ใช่ ใช่ไหม? หรือเห็นเทวดา เห็นพระอินทร์ เห็นพระพรหม เห็นพ ร ะพุท ธ รูปหน้า ตั ก ก ว้า ง เท่านั้น เท่านี้ เป็นวิปัสสนาใช่ไหม? ไม่ใช่ ใช่ไหม? นี่น่ะง่ายจะตายไป ขอให้รู้ตรงนี้รู้จริงๆ พร้อมด้วยเหตุผลนี่น่ะ คำเดียว เท่านั้นนะคะ ก็คงจะไม่นำท่านไปในทางที่ผิด ที่ไม่ใช่ วิปัสสนา เท่านี้ก็เป็นเครื่องตัดสินแล้วค่ะ ทางน่ะ หมายถึงอารมณ์นะคะ อารมณ์ที่ถูกนี่น่ะ เป็นปฏิปทา แล้วก็ต้องบริสุทธิ์ด้วย ไม่เจือด้วยกิเลสด้วยวิสุทธิ ในที่นี้หมายถึงว่า อารมณ์นั้นปฏิเสธกิเลสออกไป กิเลสอะไรออกคะ

      คือ ตัณหาและทิฏฐิ ๒ อันนี่เท่านั้น ตามนัยสติปัฏฐาน ท่านก็บอกเหมือนกันสติปัฏฐาน น่ะ ทำให้วิปัสสนาเกิด ใช่ไหมคะ เมื่อเข้าถึงอุทยัพพย ญาณแล้ว ท่านก็บอกว่าตัณหาและทิฏฐิน่ะ ไม่อาศัยแล้ว ไม่อาศัยในปัญญานั่นแล้ว เฉพาะตัณหาและทิฏฐินี่ พอแล้ว ๒ อย่าง นี่แหละ ๒ อันนี่ ไม่อาศัย และชื่อว่า บริสุทธิ์ ตัณหาและทิฏฐิไม่สามารถเข้าจับต้องใน อารมณ์นั้นได้แล้วจิตนั้นจึงยกขึ้นสู่อารมณ์ที่บริสุทธิ์ได้

      ต่อไปนี้ก็ขอย้อนกลับไปถึงวิสุทธิที่พูดมาแล้ว สักหน่อยนะคะ ก็เพื่อจะได้ติดต่อกันกับวิสุทธิที่จะพูด ต่อไปว่า วิสุทธิอันนั้นน่ะ รู้อย่างไร จะได้รู้ว่า วิสุทธิ ที่จะพูดต่อไป มาจากเหตุอันไหน ได้อาศัยปัจจัยอะไรมา จึงขึ้นถึงวิสุทธิอันนี้ได้เพื่อจะได้เป็นเหตุติดต่อกัน ในวิสุทธิที่จะพูดต่อไป

      วิสุทธิที่แล้วมาน่ะ วิสุทธิอะไร นี่ก็เข้าใจแล้วนะคะ คือชื่อ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิชื่อน่ะไม่สำคัญ รู้ว่าอย่างไร ตรงนี้สำคัญ ชื่อจำไม่ได้ไม่เป็นไร แต่ว่า ข้อสำคัญน่ะ เข้าใจและรู้อย่างไร นี่แหละ อันนี้แหละ สำคัญนะคะ หมายความว่า เมื่อถึงวิสุทธินั้นแล้ว ก็ชำระกิเลสหมดไปแล้ว คือ วิสุทธิที่ ๕ หมดแล้ว ชำระกิเลสหมดแล้ว

           เอาปัญญาอะไรมาชำระกิเลส ?

      ปัญญาที่รู้ว่าถูกหรือผิดนั่นแหละเมื่อรู้ว่าอันไหนถูก อันไหนผิดแล้ว ก็ต้องทำให้ผิดนั้นหมดไป ใช่ไหมคะ ก็พยายามมาตั้งในทางที่ถูกได้เมื่อตั้งทางที่ถูกได้แล้ว วิสุทธิอันที่ ๖ นี่น่ะ คือ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิถึงจะ เกิดขึ้นได้

       ในวิสุทธิที่ ๕ ที่พูดมาแล้วนั้นน่ะ อันนั้นน่ะยังมี อุปกิเลสเข้าอาศัยอยู่ได้ในอารมณ์ของวิปัสสนานั้น คือ ที่เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส มี๑๐ อย่างนะคะ มีโอภาส แสงสว่าง เป็นต้น ที่เข้าไปอาศัยอยู่ในที่นั้น และผู้ปฏิบัติ ก็ต้องมีความเข้าใจในอารมณ์ที่ถูกและอารมณ์ที่ไม่ถูกต้อง มีความเข้าใจอย่างนี้เสียก่อนในวิสุทธิที่แล้วมา คือว่า ต้องได้มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิก่อนนะคะ ถ้าหากว่า ไม่ได้วิสุทธิที่แล้วมา ก็ไม่สามารถจะยกขึ้นสู่ปฏิปทาได้ เพราะไม่รู้ว่า อันไหนถูก อันไหนผิด แล้วถึงจะยกขึ้นสู่ หนทางที่ถูกได้เมื่อรู้ว่าอันไหนผิดเสียก่อน ผิดก็คือ ที่เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส ข้อสำคัญที่เราต้องรู้นี่น่ะอะไร? ข้อสำคัญในที่นี้ท่านก็อธิบายไว้หลายอย่างนะคะ คือว่า ความรู้ผิด รู้ถูก นี่เป็นความสำคัญอันหนึ่งของผู้ที่ จะปฏิบัตินะคะ เพราะวิปัสสนูปกิเลสจะอาศัยเกิดขึ้น แก่ผู้จะเจริญวิปัสสนา ในเมื่อปัญญาได้เข้าถึงอุทยัพพยญาณแล้ว วิปัสสนูปกิเลสนี้จะมีได้แต่เมื่อผู้นั้นได้ปฏิบัติ เข้าถึงอุทยัพพยญาณแล้ว แต่กำลังปัญญายังอ่อนอยู่ วิปัสสนูปกิเลสยังเกิดได้ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ก็ยังไม่ได้ก็ยังอยู่ในมัคคามัคคญาณอยู่

      ฉะนั้น ถ้าว่าปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินี้ก็หมายถึง การนำจิต เข้าไปตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญาคืออุทยัพพย- ญาณ ที่ปราศจากวิปัสสนูปกิเลสแล้วนั่นเอง ตอนนี้ วิปัสสนูปกิเลสจะมารบกวนไม่ได้เพราะปัญญามีกำลัง กล้าเกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนา วิปัสสนูปกิเลสนี่นะคะ จะเกิดขึ้นถึงวิปัสสนา หากเมื่อปัญญาไม่เข้าถึงอุทยัพพยญาณแล้ว วิปัสสนูปกิเลสนี้ก็จะมีไม่ได้แต่เมื่อผู้นั้น ได้ปฏิบัติเข้าถึงอุทยัพพยญาณแล้ว แต่ปัญญาในขั้นของ อุทยัพพยญาณนั้นน่ะ เพิ่งจะเข้าถึง แปลว่าปัญญายัง อ่อนอยู่ ทีนี้ก็ยังไม่เข้าใจที่จะปรับปรุงอินทรีย์ให้เสมอกัน ถ้าอินทรีย์ไม่เสมอกัน ผู้ปฏิบัติก็บรรลุถึงความสำเร็จไม่ได้ เหมือนกัน

      ทีนี้วิปัสสนูปกิเลส เมื่ออินทรีย์ไม่เสมอกัน ปัญญาอ่อน สมาธิแก่ สมาธิก็มีกำลังมาก เมื่อสมาธิ มีกำลังมาก อารมณ์ของสมาธิคือ วิปัสสนูปกิเลสนี่น่ะ ก็เกิดขึ้นได้มีแสงสว่าง มีความสุข มีความสงบ อะไรต่างๆ ที่ประณีตมากทีเดียวเกินกว่ากำลังของปัญญา เมื่ออินทรีย์ ไม่เสมอกันก็ย่อมเกิดวิปัสสนูปกิเลสขึ้น ซึ่งเป็นกิเลส ของวิปัสสนานั้น จึงเกิดขึ้นแทรกแซงในอารมณ์ของ ปัญญานั้นได้อยู่

      ฉะนั้น ถ้าโยคีบุคคล ยังไม่มีความเข้าใจพอหรือ แน่นอนว่า อารมณ์อย่างใด เป็นปฏิปทาที่ถูกต้อง และ อารมณ์ใดที่ไม่ใช่ทางที่ถูกแล้ว ปัญญาอันนั้นก็ยังไม่ชื่อว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิถ้ายังไม่รู้นะคะ ก็ยังไม่ชื่อว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือยังไม่เข้าถึงก็ได้ เหมือนกัน ต่อเมื่อใดปัญญาของผู้ปฏิบัตินั้น มีความ เข้าใจถูกต้อง และตัดสินด้วยตัวเองแล้ว ว่าอันใดผิด และอันใดถูก ปัญญาอันนั้นแหละที่ชื่อว่า เข้าถึง มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิเพราะวิสุทธินี้เป็นวิสุทธิ ของปัญญา แต่สิ่งที่เราควรทราบนั้นน่ะ อะไรคืออารมณ์ ที่ถูกนั้นน่ะ คืออะไรนี่แหละ อันนี้แหละ จึงเป็นสิ่งที่ เราควรจะทำความเข้าใจนะคะ และที่ว่า ไม่ใช่ทางที่ถูก นั้นน่ะคืออะไร?

      เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้ว เวลาเราทำจะได้รู้ว่าอันนี้ใช่ หรืออันนี้ไม่ใช่

      ทีนี้ อารมณ์ที่ผิด ที่ถูกน่ะ ได้พูดมาแล้วใน มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิที่แล้วมานะคะ อันนี้แหละ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปฏิบัติควรจะเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจอารมณ์ ดังนี้แล้ว ก็ไม่สามารถจะดำเนินต่อไปได้แต่ว่าที่แล้วมา อาจจะลืมไปเสียแล้ว เพราะฉะนั้น ก็จะพูดนิดหน่อยว่า อารมณ์ที่ไม่ใช่ทางในที่นั้น ได้แก่ อารมณ์ ๑๐ อย่าง ที่เรียกว่าวิปัสสนูปกิเลสนะคะ

         ทีนี้ที่เข้าทางน่ะคืออะไร?

      ที่เข้าทางน่ะ คืออารมณ์ที่ได้จากอุทยัพพยญาณ อันนั้นเป็นทางที่ถูกใช่แน่ค่ะถ้าไม่เข้าใจอารมณ์อันนี้แล้ว ก็ไม่สามารถจะดำเนินต่อไปถึงความสำเร็จได้

      สำหรับอารมณ์ที่ไม่ใช่ทางนั้นก็ได้แก่วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ประการ ตามที่ได้อธิบายมาแล้ว มีแสงสว่าง มีความสุข ความเยือกเย็น เป็นต้น เพราะในอารมณ์อย่างนั้น ยังเป็นที่ อาศัยของตัณหาและทิฏฐิได้อยู่

      ที่ว่าเป็นกิเลสของวิปัสสนาน่ะ คือ ทำให้วิปัสสนา เศร้าหมองไป เศร้าหมองไปในแสงสว่าง ความเยือกเย็น เป็นปัสสัทธิเป็นสุข แล้วทำไมล่ะ ทำให้วิปัสสนา เศร้าหมอง อารมณ์เหล่านี้ล้วนแต่เป็นกุศลดีๆ ทั้งนั้น คนธรรมดามีที่ไหน ทำไมจึงว่าทำให้วิปัสสนาเศร้าหมองไป เพราะอะไร เพราะอารมณ์นั้นดีประณีต มีความเยือกเย็น นั่นเอง ความพอใจคือกิเลส จึงเกิดขึ้นในอารมณ์นั้นได้ อันนี้จึงว่าเป็นข้าศึกของวิปัสสนา ที่รู้สึกเป็นสุข เยือกเย็น นั้น เพราะอารมณ์เหล่านั้นยังเป็นที่อาศัยของตัณหาและ ทิฏฐิได้อยู่ ตัณหาเกิดความพอใจก็อาจเกิดความเห็นผิดว่า ตรงนั้นเป็นธรรมอันประเสริฐแล้ว ได้บรรลุ มรรค ผล นิพพานแล้ว นี่แหละ ที่จริงมันไม่ใช่ เพราะฉะนั้นทิฏฐิ ก็อาจจะเกิดร่วมกับตัณหา ที่เข้าไปพอใจในอารมณ์นั้น มีแสงสว่างเป็นต้น ทำให้เกิดความพอใจในแสงสว่าง หรือ ในความสุขที่เยือกเย็นนั้นได้เพราะเป็นอารมณ์ที่สุขุมมาก ผู้ปฏิบัติอาจจะรู้ความจริงได้ยาก เพราะวิปัสสนูปกิเลสนี้ ไม่ใช่เป็นกิเลสอย่างหยาบซึ่งจะเกิดได้แก่คนธรรมดาทั่วไป วิปัสสนูปกิเลสนี่ไม่ใช่คนธรรมดาจะได้นะ เป็นของสุขุม มากเหมือนกันนะคะ ไม่ใช่เกิดทั่วไปในผู้ที่ยังมีจิตใจไม่สงบ คนที่ยังมีจิตใจไม่สงบน่ะ ยังไม่ได้พบเลย อารมณ์นี้น่ะ เพราะเหตุอย่างนี้เกิดด้วยสมาธิที่มีกำลังมาก เป็นอารมณ์ ของกุศล เพราะกุศลเป็นเหตุแต่ว่ากุศลน่ะ มีหลายชนิด เป็นกุศลเหมือนกัน แต่ว่าที่เราเข้าไปทำวิปัสสนานี่น่ะ กุศลอะไร? เป็นกุศลที่ยังให้อยู่ในวัฏฏะไม่สามารถ จะพ้นไปได้เพราะว่า ยังเป็นที่อาศัยของกิเลสตัณหา ไม่สามารถจะชำระตัณหาและทิฏฐิให้พ้นไปจากที่นั้นได้ เพราะฉะนั้น ถ้าตายในเวลานั้นมีสวรรค์เป็นที่ไปที่เดียว ไม่ต้องสงสัยเลย แต่ว่ากุศลนั้นไม่สามารถจะนำให้พ้นจาก วัฏฏะได้เพราะอะไร เพราะว่ามีอวิชชาเป็นมูล เป็นปัจจัย จึงได้ทำให้เกิดตัณหา ความพอใจ ความสำคัญผิดขึ้น ฉะนั้นจึงไม่มีแก่คนที่จะไปค่ะ ต้องมีแก่ผู้ที่มีจิตสงบแล้ว อารมณ์นี้ก็เป็นของกุศล แต่เป็นข้าศึกกับอารมณ์ของ วิปัสสนาเท่านั้น ไม่ได้เป็นข้าศึกกับอย่างอื่นๆ เป็นข้าศึก ของวิปัสสนาโดยเฉพาะทีเดียว เฉพาะวิปัสสนาอย่างเดียว ไม่ใช่เป็นข้าศึกแก่ศีล ไม่ใช่เป็นข้าศึกแก่สมาธิศีล และสมาธิกับอารมณ์นี้เข้ากันได้นะคะ แต่ว่ากับวิปัสสนา เท่านั้นเข้ากันไม่ได้

      ส่วนอารมณ์ที่ถูกในทางวิปัสสนานั้นน่ะ ต้องเป็น อารมณ์ที่ได้มาจากอุทยัพพยญาณนั้น จึงจะต้องเป็น อารมณ์ที่ถูกและไปนิพพานได้แต่ในการที่ผู้ปฏิบัติจะมี การตัดสินในอารมณ์ที่ถูกต้องในที่นั้นได้ก็จะต้องเป็น ผู้มีโยนิโสมนสิการ คือ จะต้องมีความเข้าใจถูกต้องดีแล้ว จากสติปัญญา คือการศึกษาดีมาแล้วเสียก่อน แล้วก็ เข้าใจถูกต้องด้วย แล้วจึงจะสามารถเข้าใจในอารมณ์ที่ผิด และถูกในที่นั้นได้ถ้ามิฉะนั้นนิพพานของเขาก็คือ อยู่แค่วิปัสสนูปกิเลสนั้นเอง ถ้าไม่เข้าใจว่าอันนี้ผิด อันนี้ถูก ต้องสำคัญว่าในที่นั้นหมดกิเลสแล้ว บรรลุมรรค ผล นิพพานแล้ว ก็สำคัญว่า ในที่นั้นแหละเป็นนิพพาน เพราะว่าสุขุมเยือกเย็นที่สุดเลย บางคนเกิดมาในชีวิต ทั้งชาติยังไม่เคยได้เจอะเลย ถ้าไปเจอะแล้วละก็ ยากเหลือเกินที่จะไม่เกิดความพอใจ

      เพราะฉะนั้น ผู้นั้นจะต้องมีความเข้าใจมาดีแล้ว ก็ต้องถึงอุทยัพพยญาณด้วย ต้องเคยเกิดวิปัสสนา มาแล้ว ตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณ สัมมสนญาณ และอุทยัพพยญาณ ต้องเกิดเสียก่อน แล้ ว จึ ง รู้ได้ ถ้าไม่ เกิด ไม่ เข้าถึ งอุท ยัพพ ยญาณ ก็ไม่สามารถตัดสินว่าอารมณ์นี้ผิดได้ เพราะไม่รู้ว่า อารมณ์นั้นถูก อารมณ์ที่ถูก ยังไม่รู้ก็ไม่รู้ว่าอารมณ์นี้ผิด ใช่ไหมคะเพราะฉะนั้นก็เป็นไปไม่ได้ อีกประการหนึ่ง ผู้ปฏิบัติจะตัดสินผิดถูกได้ก็ต้อง เข้าถึงอารมณ์ของอุทยัพพยญาณเสียก่อน ถ้าไม่งั้นก็ไม่ได้ เพราะวิปัสสนูปกิเลสนี้ เป็นกิเลสที่อาศัยเกิดขึ้นแก่ ผู้เจริญวิปัสสนา ในเมื่อปัญญาได้เข้าถึงอุทยัพพยญาณแล้ว แต่ปัญญาในขั้นนี้ยังไม่มีกำลังพอ หรือยังไม่รู้เท่าทัน หน้าตาของกิเลสในที่นั้น กิเลสในที่นั้นละเอียดเหลือเกิน ไม่อยากได้ในกามคุณ ไม่ใช่พอใจในกามคุณนะคะ ไม่ใช่พอใจในรูป ไม่ใช่พอใจในรส ในกลิ่น ในเสียง ในโผฏฐัพพะ ในอารมณ์ที่ตนปรารถนา ไม่ได้มี ความพอใจอย่างนั้นเลย ถ้ามีความพอใจอย่างนั้นเกิดขึ้น เราก็พอจะรู้ว่า อ้อ! นี่กิเลสเกิดแล้ว เพราะอยาก แต่นี่ไม่ใช่อย่างนั้น พอใจในอารมณ์ที่สงบแล้วจากกามคุณ ไม่เกี่ยวข้องแล้ว ไม่มีความปรารถนาในรูป รส กลิ่น เสียงแล้ว สงบแล้วจิตใจ ไม่ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ แล้ว เมื่ออารมณ์เกิดขึ้น ก็พอใจอยู่ในความสงบที่ เยือกเย็นนั่นแหละ เพราะฉะนั้นจึงยากเหลือเกินที่ เราจะรู้ว่า อารมณ์นั้นเป็นที่อาศัยของกิเลส รู้ได้ยากค่ะ ถ้าหากพระโยคีบุคคลยังไม่มีความเข้าใจในอารมณ์นั้น ได้แน่นอนว่า อารมณ์ใดเป็นปฏิปทาที่ถูกต้องแล้ว หรือ อารมณ์อันใดที่ไม่ถูกทางแล้ว ปัญญานั้นก็ยังไม่ชื่อว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิเพราะฉะนั้นจึงว่าลำบาก เหลือเกิน

      ทีนี้ก็พูดถึงว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องเข้าถึงมัคคามัคคญาณ ทัสสนวิสุทธิเสียก่อน แล้วก็จะต้องเข้าถึงอุทยัพพยญาณ

เสียก่อนด้วย เมื่อได้เข้าถึงอารมณ์อุทยัพพยญาณแล้ว นะคะ แล้วก็กิเลสอันนั้นจึงจะเป็นทางวิปัสสนาด้วย ถ้ายังไม่เกิดวิปัสสนา กิเลสนั้นก็ยังไม่เรียกว่า กิเลส ของวิปัสสนา

      ฉะนั้นในอุทยัพพยญาณนั้นน่ะ จึงมีอารมณ์ได้ ๒ อย่าง ในขณะที่เข้าถึงขั้นปัญญาในอุทยัพพยญาณน่ะ คืออะไรที่ใช่ทางก็ดีอุทยัพพยญาณก็เป็นอารมณ์ได้ แล้วก็วิปัสสนูปกิเลส ความสงบ ความเยือกเย็น ความสุข ก็เกิดได้เหมือนกัน เพราะว่าตัดสินไม่ได้ไม่ใช่ทางก็รู้ ใช่ทางก็รู้เพราะฉะนั้นต้องมีทั้ง ๒ อย่าง

      ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติจึงต้องมีปัญญาและเข้าใจในเหตุผล ที่แน่นอนเสียก่อน แล้วจึงจะเข้าถึงวิสุทธินี้ได้เมื่อเข้าถึง มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิแล้ว ก็ต้องเข้าใจ ไม่ใช่เข้าถึง วิสุทธิแล้วก็พอ แต่จะต้องมีความเข้าใจในการที่จะนำ เอาจิตออกจากอารมณ์ที่เจือด้วยกิเลสนั้น ต้องเข้าใจ อันนี้ใช่ทาง อันนี้ไม่ใช่ทาง ความสงบ เยือกเย็น แสงสว่าง ไม่ใช่ทาง แล้วจะทำอย่างไร เมื่อรู้แล้วไม่ใช่ทาง เพราะจิต มันยังตั้งอยู่ในอารมณ์นั้น จะทำยังไง จึงจะยกจิตพ้นจาก อารมณ์นั้นได้จะยกขึ้นมาหาทางที่ถูก เพื่อจะได้เข้าถึง ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิได้จะทำยังไง นี่ก็ต้องมีความ เข้าใจอีกขั้นหนึ่ง ใช่ไหมคะ ถ้ามีความเข้าใจแล้ว ทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่ใช่ ก็เอาจิตออกจากอารมณ์นั้นไม่ได้ทำอย่างไร ก็ต้องตกอยู่ในอารมณ์นั้น รู้สึกว่า เฉยมาก นิ่งมาก เยือกเย็นมาก สงบมาก เมื่อจะเข้าไปอยู่อย่างนี้ทำยังไง ถึงจะยกจิตออกจากอารมณ์นั้นได้ก็จะต้องมีปัญญาอีก ขั้นหนึ่งเหมือนกันค่ะ ที่จะต้องเข้าใจ ที่จะต้องนำอารมณ์ ที่เจือด้วยกิเลสนั้นออก หรือทำให้พ้นไปหมดเสียก่อน แล้วจึงจะเข้าถึงอุทยัพพยญาณ ที่เป็นปฏิปทาที่ถูกต้อง ได้นะคะ อันนี้ก็ลำบากเหมือนกัน มันยากที่ว่า มันจะต้อง แก้ไขนะคะ อันนี้จะต้องเป็นผู้เข้าใจ ถ้ามีความเข้าใจ ก็แก้ได้เหมือนกัน และตัวก็ต้องเข้าใจด้วย ถ้าอาจารย์บอก แต่ตัวทำไม่ได้อันนี้ก็ช่วยไม่ได้เหมือนกันนะคะ บางที ก็ต้องให้ออกไปพักเสียก่อน เพื่อให้สมาธินั้นถอยกำลัง ลงไปเสมอกันกับปัญญา หรือว่าอ่อนกว่าปัญญาก็ได้ เมื่อสมาธิถอย อารมณ์ของปัญญาจะขึ้นมาทันทีที่ยังขึ้น ไม่ได้ก็เพราะสมาธิมีกำลังมาก อารมณ์ของปัญญา ไม่สามารถจะเกิดได้ต้องแก้ไขได้แล้ว จึงจะยกจิตขึ้นสู่ อารมณ์ของปฏิปทา หรือเป็นหนทางที่ถูกนั้น

      เมื่ออารมณ์ในอุทยัพพยญาณ ได้เข้าถึงความสะอาด หมดจดจากอารมณ์ที่เป็นวิปัสสนูปกิเลสแล้ว อารมณ์ นั้นแหละ ที่ชื่อว่า เข้าถึงปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิคือ ว่าต้องยกขึ้นพ้นจากอารมณ์นั้นก่อน แล้วขึ้นตั้งในอารมณ์ ที่ถูกได้และอารมณ์นั้นหมดไป ไม่สามารถจะรบกวน ได้แล้ว ถึงจะเข้าถึงวิสุทธิที่ชื่อว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิถ้าไม่ยังงั้น ก็ยังไม่ได้นะคะ ก็ยังอยู่ในมัคคามัคคญาณ นั่นเอง

      ฉะนั้น คำว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินี้ก็หมายถึง การนำจิตเข้าไปตั้งในอารมณ์ของปัญญาคืออุทยัพพยญาณ ที่ปราศจากวิปัสสนูปกิเลสแล้วนั่นเอง คราวนี้วิปัสสนูปกิเลสจะมารบกวนไม่ได้อีกแล้ว หรือจะทำให้จิตตกไปจาก อารมณ์ของวิปัสสนาก็ไม่ได้

      ในการนำจิตขึ้นสู่อารมณ์ของปฏิปทาที่ถูกต้องได้ นั้น ก็เพราะเหตุว่า ได้ปัจจัยมาจากปัญญาที่เกิดขึ้นใน มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินั่นเอง เพราะได้มาจากการ รู้ว่าผิด ว่าถูก นั่นแหละ ถึงได้นำจิตขึ้นสู่ทางที่ถูกได้ซึ่ง ได้แก่ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินี้ได้นะคะ วิสุทธิที่จะ เข้าถึงคือปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินี้แหละ

      อนึ่งเรื่องของวิสุทธิทั้ง ๗ นี้น่ะ ขอให้ท่านนักศึกษา จงทำความเข้าใจในเหตุผลของวิสุทธินั้นเสียก่อนนะคะว่า วิสุทธิทั้ง ๗ นี้เป็นผลมาจากวิปัสสนาญาณ ๙ ขอให้รู้ว่า วิสุทธินี้ต้องเกิดวิปัสสนาญาณเสียก่อน แล้วจึงเข้าถึง วิสุทธิได้เพราะฉะนั้น เกิดวิปัสสนาญาณแล้ว แต่ก็ยัง ไม่เข้าถึงสุทธิก็ยังไม่ได้ต้องมาจากวิปัสสนาญาณ ๙ หรือญาณ ๑๖ นั่นเอง ที่เป็นเหตุให้ถึงธรรม คือวิสุทธิได้

      ฉะนั้น เพื่อความเข้าใจดีในวิสุทธินี้ท่านก็ควรจะ เข้าใจในเหตุผล ตามลำดับของญาณ ตามนัยของวิปัสสนา นั้นด้วย เพราะบางทีวิปัสสนาญาณอันหนึ่ง หรือ อย่างหนึ่ง ก็สงเคราะห์ด้วยวิสุทธิอย่างหนึ่ง หรือบางที วิสุทธิอย่างหนึ่ง ก็รวมไว้ด้วยวิปัสสนาญาณหลายๆ อย่าง อย่างนี้ก็มีเพราะฉะนั้นก็เป็นหน้าที่ของท่านที่จะเข้าใจ เช่น อย่างปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินี้ปัญญาอะไรบ้าง ที่เข้ามาอยู่ในนี้เข้ามาอยู่ในวิสุทธินี้นะคะ เช่น ปฏิปทา- ญาณทัสสนวิสุทธิที่กำลังพูดกันอยู่นี้ก็ต้องรวมด้วย วิปัสสนาญาณตั้งหลายอย่าง ที่เข้าอยู่ในวิสุทธินี้คือ ต้องนับตั้งแต่อุทยัพพยญาณที่ปราศจากวิปัสสนูปกิเลส แล้ว ไปจนถึงโคตรภูญาณ ญาณ เหล่านี้สงเคราะห์เข้าอยู่ ในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิทั้งนั้น เพราะฉะนั้นปฏิปทา นี่น่ะสำคัญนะคะ แต่ว่าถ้าเข้าถึงทางที่ถูกแล้ว ก็มีหวัง จะบรรลุถึงพระนิพพาน    ฉะนั้น วิปัสสนาญาณ คือ อุทยัพพยญาณนี้น่ะ จึงเป็นญาณที่สำคัญมาก ในวิปัสสนาข้างต้นของโลกียะ และอุทยัพพยญาณนี้ถ้าเป็นปัญญาที่รวมขั้นต้นทั้ง ๓ นั้นไว้ในญาณนี้ด้วย ถ้าพูดถึงปัญญาที่รวมเข้าในวิสุทธิ ถ้าพูดถึงอารมณ์ที่รวมเข้าในญาณ คือว่าถ้าพูดถึงปัญญา อันนั้นๆ ที่เข้าถึงวิสุทธิอันนั้น หรือปัญญารู้หลายอย่างที่ รวมเข้าไว้ในวิสุทธิอันหนึ่ง นี่ตัวปัญญา ทีนี้ตัวอารมณ์ อารมณ์ของปัญญานะคะ เช่นอย่างว่า ปัจจยปริคคหญาณ หรือนามรูปปริจเฉทญาณนี่ก็ปัญญาอะไรเล่าที่เป็นอารมณ์ ของปัญญาในที่นี้อะไรเป็นอารมณ์ของปัญญาในนามรูป ปริจเฉทญาณอะไรเป็นอารมณ์ของปัจจยปริคคหญาณค่ะ? มีปัจจัยของนามรูป รู้ว่านามรูปนั้น เกิดขึ้นด้วยปัจจัยอะไร ใช่ไหม? นี่แหละมีปัจจยปริคคหญาณนี้ มีปัจจัยของ นามรูป นี่อารมณ์นะ แล้วก็สัมมสนญาณ มีอะไรเป็น อารมณ์มีความไม่เที่ยงความดับของนามรูป เป็นอารมณ์

      อุทยัพพยญาณ มีอะไรเป็นอารมณ์?

      มีความเกิดขึ้น และดับไปของนามรูป เป็นอารมณ์

      ในที่นี้บอกว่าอุทยัพพยญาณรวมอารมณ์ทั้ง๓อย่าง อุทยัพพยญาณถ้าจะนับตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณมาแล้ว ก็ต้องเป็นญาณที่ ๔ ในที่นี้บอกว่า อุทยัพพยญาณน่ะ รวมอารมณ์ของปัญญาทั้ง ๓ คือ ญาณทั้ง ๓ ข้างต้นนั้นไว้ ในอุทยัพพยญาณ เช่นอย่างไรคือว่า นามรูปปริจเฉทญาณ รู้ว่าเป็นนาม เป็นรูป คือได้นามรูปเป็นอารมณ์แล้ว การที่ได้เป็นอารมณ์แล้วนั่นเอง ก็กำหนดนามรูปเรื่อยไป ทีนี้นามรูปที่ตัวตามกำหนดนั้นน่ะ ถูกปรากฏขึ้นเมื่อใด ตัวก็รู้ ทีนี้การที่ตัวรู้ในขณะที่รูปนาม รูปหรือนาม ปรากฏขึ้นนั้นเอง ก็เป็นปัจจัยให้รู้ว่า นามหรือรูปอันนั้น เกิดขึ้นด้วยเหตุอะไรรู้ได้ทันทีเลย

      สมมติอย่างนี้คือ เสียงนาฬิกากำลังตีอยู่ถ้าตัวตาม กำหนดนามรูป พอได้ยินเกิดขึ้น นามก็เกิดขึ้นทีเดียว พอนามเกิดขึ้น ตัวก็มีสติรู้ทันว่านามเกิดขึ้นแล้ว ตัวก็ต้อง รู้ด้วยว่า เพราะมีเสียงใช่ไหม ต้องรู้ด้วยว่า เพราะมีเสียงมา เพราะฉะนั้นนามอันนี้จึงเกิดขึ้น เพราะเหตุที่รู้นามรูป มาตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณแล้ว   ฉะนั้น การที่รู้ปัจจัยของนามรูปนี้น่ะรู้เกิดหรือรู้ดับ รู้ขณะไหน รู้ขณะที่รูปนามเกิด เพราะได้ปัจจัยทำให้ เกิดใช่ไหมล่ะคะ ไม่ได้ทำให้ดับ เข้าใจไหม ปัจจัยไม่ได้ ทำให้ดับนะคะเพราะปัจจัยทำให้เกิดเท่านั้น ขอให้ท่านทำ ความเข้าใจในคำนี้ด้วย

      เพราะฉะนั้นตอนที่เข้าไปรู้ปัจจัยน่ะที่ให้เกิดขึ้นแห่ง นามรูป นี่แปลว่า รู้ความเกิดขึ้นของนามรูป ทีแรกยังไม่รู้ เกิดเมื่อไรก็ยังไม่รู้เกิดแล้วก็กำหนดตามไป ยังไม่รู้ละ นะคะ ตามกำหนดไปจะเกิดหรือดับไปเมื่อไหร่ ก็ยังไม่รู้ ยังรู้ไม่ได้เพราะปัญญายังอ่อนมาก แต่ว่าตามดูไป ทีนี้ ดูหนักๆ เข้า เกิดเมื่อไหร่ก็รู้ทันทีพอเกิดขึ้นปั๊บรู้พอได้ ยินรู้พอเห็นรู้ได้กลิ่นรู้ใจนึกรู้นั่งก็รู้นึกจะนั่งก็รู้ เสียแล้วเมื่อรู้ว่านึกจะนั่งแล้วนั่งก็เกิดขึ้น ตัวก็ต้องรู้ว่านั่ง เกิดจากจิตปรารถนาจะนั่ง เพราะจิตนี่เองเป็นปัจจัย เพราะนามเป็นปัจจัย นี่อย่างนี้ สำหรับที่เราพอจะ กำหนดกันได้นะคะ แต่ที่ท่านรู้ของท่านนะ ท่านรู้ มากมายละ คนที่มีปัญญากว้างขวาง รู้ไปตลอดเข้าถึง ปฏิจสมุปบาท แต่ว่ารู้อย่างไรก็ตาม เราจะรู้มาก รู้น้อย ก็รู้เริ่มมากจากนามรูปปริจเฉทญาณนั่นเอง แล้วก็ตามดู นามรูปไป คนมีปัญญามากก็เห็นมาก คนมีปัญญาน้อย ก็เห็นน้อยแต่ก็ชื่อว่ารู้เหมือนกัน

      ฉะนั้นในปัจจยปริคคหญาณนี่ รู้เกิดนะ รู้ตอน นามรูปเกิด

      ทีนี้เมื่อรู้ว่า นามรูปเกิดแล้ว ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าดับนะ แต่เมื่อเข้าถึงสัมมสนญาณทีนี้พอเข้าถึงสัมมสนญาณนี่นะ เข้าถึงอะไรรู้อะไรรู้นามรูปที่ดับ ตอนนี้ดับแล้วคือนามรูป ที่เกิดนั้นน่ะ ทีนี้ก็รู้นามรูปที่ดับ แต่การรู้นามรูปที่ดับ ในสัมมสนญาณนั้น ยังไม่ชื่อว่าสันตติขาด เพราะว่า รู้ตอนที่รูปใหม่เกิดขึ้นมาแทนรูปเก่าหมดไปแล้ว รูปใหม่ ขึ้นมาแทนแล้ว ถึงรู้ว่ารูปเก่าดับไป ถ้าในระหว่าง ที่รูปใหม่ยังไม่เกิดขึ้นมาแทน ก็ยังไม่เห็นว่า รูปเก่าดับไป เพราะฉะนั้น การรู้ขั้นนี้ยังไม่ถือว่า เข้าถึงอุทยัพพยญาณ รู้ความดับ เห็นความดับไป แต่ว่าดับในที่นี้ยังไม่เข้าถึง ปัจจุบันแท้ยังไม่ใช่ สันตติขาด ดับอย่างสัมมสนญาณ ยังเป็นอดีตอยู่ เพราะว่าต้องเกิดขึ้นมาแทนก่อน เมื่อสันตติขาดแล้ว ไม่ต้องแทน ไม่ต้องเกิดขึ้นมาแทน เราก็รู้ได้ในรูปเก่าอันนั้นเอง   

      ในสัมมสนญาณรู้ดับนะคะปัจจยปริคคหญาณรู้เกิด นามรูปปริจเฉทญาณ รู้นามรูป ปัจจยปริคคหญาณ รู้ปัจจัย ขณะนามรูปที่เกิด สัมมสนญาณ รู้ในขณะนามรูปดับ พอมาถึงอุทยัพพยญาณ รู้ความเกิดขึ้นและดับไปของ นามรูปมารวมที่นี่หมดเลย ในสมมสนญาณนี้รู้นามรูป ด้วยและรู้ทั้งความเกิดและความดับไปของนามรูปด้วย

      ฉะนั้น จึงบอกได้ว่า ในอุทยัพพยญาณนี้รวมอารมณ์ ของญาณทั้ง ๓ เข้ามาอยู่ในที่นี้แล้ว ฉะนั้นโดยมาก วิปัสสนาน่ะบางทีเขาไม่กล่าวถึงเลยนามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณ หรือสัมมสนญาณ เขาไม่กล่าวเลย พอขึ้นต้น เขาก็กล่าวอุทยัพพยญาณทีเดียว เพราะเหตุว่า เมื่อกล่าวถึงอุทยัพพยญาณ ก็ชื่อว่า กล่าวหมดแล้วทั้ง ๓ เมื่อรู้มาทั้ง๓แล้วถึงจะเข้าอุทยัพพยญาณได้เพราะฉะนั้น ญาณทั้ง ๓ รวมอยู่แล้วในอุทยัพพยญาณนี้นี่เข้าใจไว้ ด้วยนะคะ โดยมากทีเดียว วิปัสสนาญาณน่ะ เขาไม่พูดถึง ญาณทั้ง ๓ หรอกเขาเริ่มตั้งแต่อุทยัพพยญาณเลย

      ฉะนั้น เมื่ออารมณ์ขั้นต้นทั้ง ๓ นั้น เป็นปัจจัยให้แก่ อุทยัพพยญาณแล้ว อุทยัพพยญาณที่เห็นในความเกิดขึ้น และความดับไปของสังขารทั้งหลาย คือ นามรูปนั้นแล้ว อารมณ์ของอุทยัพพยญาณนั้นก็เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน นะคะของวิปัสสนาญาณต่อๆ ขึ้นไป

      ทีนี้เมื่อไปเห็นความเกิดขึ้น และความดับไปของ นามรูปในอุทยัพพยญาณ เห็นชนิดขาดอย่างสันตตินะ ไม่ใช่เห็นอย่างสัมมสนญาณ คือเห็นในรูปเดียว ไม่ต้อง เปลี่ยนรูป เห็นรูปนั่นแหละ ไม่เที่ยง รูปนั้นแหละเกิดขึ้น รูปนั้นแหละดับไป ไม่ใช่ต้องมีรูปอื่นมาแล้วจึงเปลี่ยน ในรูปหนึ่งนั้นนะย่อมมีสันตติย่อมมีความสืบต่อมากมาย หลายร้อยหลายพันขณะทีเดียว แต่ว่าเราไม่สามารถที่จะรู้ ได้เท่านั้นเอง ในอุทยัพพยญาณที่เห็นนั้นน่ะ เห็นสันตติที่ สืบต่อในอารมณ์เดียวกันนั่นเอง นี้เห็นความเกิดขึ้นและ ดับไปของอุทยัพพยญาณนะคะ

      ทีนี้เมื่อเห็นอย่างนั้นแล้วในอุทยัพพยญาณ ได้ความ รู้สึกอย่างนั้น ความรู้สึกอย่างนั้นแหละปัญญานั้นแหละ ก็เป็นปัจจัยแก่ญาณขั้นต่อๆ ไป จนกระทั่งถึงโคตรภูญาณ ขอให้รู้ว่า ตั้งแต่อุทยัพพยญาณขึ้นไปจนถึงโคตรภูญาณ นี้น่ะ เป็นอารมณ์อย่างเดียวกันนะคะเว้นโคตรภูญาณนะคะ ถึงอนุโลมญาณ โคตรภูญาณนี่มีนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว ใช่ไหม? ตั้งแต่อุทยัพพยญาณไปจนถึงอนุโลมญาณนั้น มีอารมณ์ไปจากอุทยัพพยญาณนั่นเอง มีความเกิดขึ้นและ ดับไป หรือไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา ตามที่อุทยัพพย- ญาณได้พบแล้ว และได้เกิดขึ้นในอุทยัพพยญาณนั้นแล้ว มีอารมณ์อันเดียวกันตลอดไปจนกระทั่งถึงอนุโลมญาณ

      เพราะฉะนั้น ตั้งแต่อุทยัพพยญาณไปจนถึงอนุโลมญาณหรือโคตรภูญาณ(ถ้าในวิสุทธินะ)อยู่ในปฏิปทาญาณ ทัสสนวิสุทธิทั้งนั้นเลย แปลว่าถูกแล้ว ถูกแล้วตั้งแต่อุทยัพพยญาณถึงอารมณ์นั้นไปจนกระทั่งถึงอนุโลมญาณ ที่สุดของอารมณ์โลกียะทีเดียว

      เพราะฉะนั้น ญาณใดที่มีอุทยัพพยญาณเป็นอารมณ์ เรื่อยมาแล้ว อารมณ์นั้นเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินั้น แล้วแต่เกิดความรู้สึกของญาณน่ะ อีกเรื่องหนึ่งนะคะ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันตลอดไปจนกระทั่งถึงอนุโลมญาณ นะคะถ้าสำหรับสุทธิละก็จนถึงโคตรภูญาณ เป็นลำดับไป

      ฉะนั้น อุทยัพพยญาณนี้ จึงจัดเข้าในปฏิปทาญาณ ทัสสนวิสุทธิซึ่งนับว่าเป็นปัญญาที่จะนำจิตเข้าสู่อารมณ์ ที่จะดำเนินไปถึงพระนิพพานนั้นโดยถูกต้องแล้วถ้าหากว่า ไม่ได้อารมณ์อุทยัพพยญาณไป เช่นอย่างว่า เมื่ออุทยัพพยญาณเกิดขึ้นแล้ว วิปัสสนูปกิเลสยังเกิดขึ้นแทรกแซงในที่ นั้นแล้ววิปัสสนาต่อไปก็จะเกิดไม่ได้เห็นว่าเป็นทุกข์ไม่ได้ เห็นว่าเป็นโทษไม่ได้เกิดความเบื่อหน่ายไม่ได้ในที่นั้น ใช่ไหม เพราะว่ามันสุข มันเยือกเย็น มันสงัด บางทีก็มี แสงสว่าง มีโอภาส แล้วมันจะเป็นเหตุให้เราพอใจ หรือ เป็นเหตุให้เราเกิดความเบื่อหน่าย มันก็ต้องเป็นเหตุให้ เราเกิดความพอใจว่า แหม มันมีความสุข ความสบาย อย่างนั้นน่ะ มันจะเกิดความเบื่อหน่าย มันจะเห็นว่า เป็นทุกข์ เป็นโทษได้อย่างไร คิดดูซิคะ ไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ถ้าหากวิปัสสนูปกิเลสนั้นยังขวางอยู่ละก็ วิปัสสนาญาณต่อไปนี่น่ะ ไม่มีหรอก เกิดไม่ได้เลย เพราะ อารมณ์เป็นข้าศึกกันทั้งนั้น ก็เกิดไม่ได้เมื่อข้าศึกยังอยู่ ความรู้สึกอย่างหนึ่งยังอยู่ ความรู้สึกอีกอย่างหนึ่ง ก็เกิดขึ้นไม่ได้จึงได้ว่า เป็นข้าศึกของวิปัสสนานะคะ นี่แหละ อยู่ในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิทั้งหมดนะคะ ตั้งแต่อุทยัพพยญาณไปจนถึงโคตรภูญาณ ซึ่งนับว่า ปัญญาได้ชี้นำจิตขึ้นไปสู่อารมณ์ที่จะดำเนินไปจนถึง นิพพานโดยถูกต้องแล้ว และด้วยความบริสุทธิ์ที่หมดจด จากกิเลสด้วย

       ฉะนั้น พระโยคีบุคคล ผู้ที่ประกอบด้วยความเพียร ในการเจริญวิปัสสนานั้น เมื่อได้พิจารณาเห็นความจริง ของอารมณ์นั้น ด้วยความเกิดขึ้นและดับไปของอารมณ์ นั้นๆ ด้วยปัญญาในอุทยัพพยญาณนั้นแล้ว ก็สามารถ จะบรรลุมัค ผล ตามลำดับไป จนถึงพระอรหัตผล ก็ได้เพราะพระอรหัตผลน่ะ ปัญญาวิปัสสนาที่จะเข้าถึง โสดามัค ก็ต้องไปตั้งแต่อุทยัพพยญาณ แม้พระโสดาบัน ปรารภเพื่อจะยกขึ้นสู่พระสกิทาคามิมัคนะ ก็ต้องไปตั้งแต่ อุทยัพพยญาณไป หรือเพื่อจะปรารภพระอนาคามิมัคที่จะ ดำเนินจากพระสกิทาคามิผลบุคคล ขึ้นถึงอนาคามิมัค ก็ต้องปรารภตั้งแต่อุทยัพพยญาณไป เมื่อพระอนาคามี บุคคลปรารภจะเข้าถึงพระอรหัตมัคหรืออรหัตผล ก็ต้องจับตั้งแต่อุทยัพพยญาณไป ไม่มีเลยไม่มีทางอื่นเลย   เพราะฉะนั้น ในที่นี้จึงบอกว่า บรรลุมัค ผล ไป ตามลำดับ จนถึงพระอรหัตผล แต่ว่าไม่ใช่ไปรวดเดียว ปรารภอุทยัพพยญาณหนเดียวไปจนถึงอรหัตผล ไม่ใช่ ปรารภอุทยัพพยญาณครั้งแรกนะ ไปสู่โสดาปัตติมัค ครั้งที่ ๒ นำไปสู่สกทาคามิมัค อุทยัพพยญาณครั้งที่ ๓ นำไปสู่อนาคามิมัค ครั้งที่ ๔ ก็นำไปถึงอรหัตมัค แต่ว่า ต้องไปจากอุทยัพพยญาณทั้งนั้น เว้นแต่โสดาเท่านั้นแหละ จะต้องไปตั้งแต่นามรูป ปริจเฉทญาณเพราะว่ายังไม่เคยทำ นามรูป ยังไม่เคยได้เป็นกรรมฐาน ความรู้สึกว่า ตัวตน ยังฝังอยู่ ยังถอนไม่ออก ก็จะต้องมีนามรูปปริจเฉทญาณ เกิดขึ้นเสียก่อนถึงจะได้แต่ว่าเมื่อตัวตนออกแล้ว มิจฉาทิฏฐิออกแล้ว ทิฏฐิวิปลาสผ่านไปแล้ว พอขึ้นถึง สกิทาคา ปรารภวิปัสสนาเพื่อจะเข้าถึงสกิคาทามิมัคนั้น ไม่ต้องแล้ว ท่านเข้าใจแล้ว เพราะว่า สักกายทิฏฐิก็ดับแล้ว ความสำคัญว่าเป็นตัวเป็นตนในเบญจขันธ์หรือมีตัวตน ในเบญจขันธ์นั้นน่ะ โสดามัคประหารแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านก็ไม่ต้องมาปรารภอีกให้ลำบาก ท่านก็ปรารภตั้งแต่ อุทยัพพยญาณขึ้นไปเลยทีเดียว มัคที่ ๒ มัคที่ ๓ มัคที่ ๔ ไม่ต้องปรารภปัจจยปริคคหญาณแล้ว แต่ว่าถึงไม่ต้อง ปรารภแล้ว ก็อยากจะถามว่ามีอยู่ไหม มีอยู่เหมือนกัน ก็ต้องมีเวลาที่อุทยัพพยญาณเกิดขึ้น และดับไปน่ะ ท่านจะว่า อะไรเกิดขึ้น อะไรดับไป ท่านมีนามรูปไหม มีนามรูปหรือเปล่า? มีไหม? มีอยู่ที่ตรงไหน ก็มีอยู่ที่ เวลาเกิดดับใช่ไหม? ก็จะต้องรู้ว่า อะไรเกิด นามเกิด หรือ รูปเกิด นามดับ หรือรูปดับ ก็ต้องมีติดอยู่แล้วใช่ไหมคะ ต้องมีเหมือนกัน ขอให้รู้ว่า ถึงแม้ว่าท่านจะพูดว่า นับตั้งแต่อุทยัพพยญาณไปก็จริงอยู่ แต่ว่านามรูปก็มีแล้ว แต่ไม่ต้องปรารภเหมือนกับตอนที่แรกทำเท่านั้นเองนะคะ เข้าใจอยู่แล้ว

      เอาไว้แค่นี้ก่อนนะคะพูดมากไปก็จะทำให้เลอะเลือน คือว่าพูดไปมากก็ได้ค่ะ แต่ว่า กลัวฟังแล้ว ประเดี๋ยวก็ ลืมหมด ใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้นก็พยายามที่จะเข้าใจ เพราะว่าแต่ละคำๆ ธรรมะที่เรานำมาอธิบายนี่น่ะ เป็น ธรรมะชั้นสูงนะคะ แต่ละคำ แต่ละตอนนี่น่ะ จะต้องมี เหตุผลที่ควรจะต้องเข้าใจอีก เช่น อย่างดิฉันว่าทำไมถึงได้ สามารถบรรลุมรรค ผล ได้ตามลำดับจนถึงอรหัตผล เพราะอุทยัพพยญาณนี่น่ะ อย่างนี้ดิฉันพูดอย่างนี้บอกว่า อุทยัพพยญาณอย่างเดียวน่ะ ไปถึงอรหัตผลได้ใช่ไหม ล่ะคะ ก็คล้ายๆ กับว่า ไม่ต้องผ่านโสดามัคก็ได้ไม่ต้อง ผ่านอนาคาก็ได้ถึงอรหัตได้เลย ไม่ใช่นะคะ ในที่นี้ไม่ใช่ อย่างนั้นนะคะ เพราะที่พูดอย่างนี้คือหมายความว่าต้อง ไปจากอุทยัพพยญาณด้วยกันเท่านั้นน่ะในพระอริยทุกองค์ เพราะว่า ดิฉันพูดแค่นี้ก็ไม่เห็นท่านสงสัยนี่ค่ะ ไม่เห็นมี ท่านผู้ฟังสงสัยเลย หรือว่าพูดน้อยไป ก็เลยไม่สงสัย

          อุทยัพพยญาณเห็นอะไรคะ?

      แล้วพระนิพพานน่ะ เกิด-ดับหรือเปล่าคะ นี่น่ะ ที่จริงท่านรู้นะ พระนิพพานเที่ยง แล้วอุทยัพพยญาณน่ะ ต้องเข้าใจว่า อุทยัพพยญาณน่ะเห็นอะไร เห็นไตรลักษณ์ ใช่ไหม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา ใช่ไหม แล้วทำไมล่ะ มีนิพพานเป็นอารมณ์นิพพานก็เป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา ในที่นี้ด้วยซิไม่ใช่ใช่ไหมละคะ?

      กำลังพูดกันถึงปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหนทาง ปฏิบัติบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส ให้นับตั้งแต่อุทยัพพยญาณ ที่ปราศจากวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่างแล้ว สำหรับ ข้อปฏิบัติที่บริสุทธิ์นั้น นับตั้งแต่อุทยัพพยญาณที่ ปราศจากกิเลสแล้ว ไปจนกระทั่งถึงโคตรภูญาณ ให้นับ ตั้งแต่นั้นไป ทีนี้ เมื่อปัญญาในอุทยัพพยญาณนั่นน่ะ อันนี้แหละ เป็นสำคัญละ อุทยัพพยญาณนี่น่ะ สามารถจะ บรรลุมรรค ผล ไปตามลำดับจนถึงพระอรหัตผล ซึ่งเป็น ผู้จบพรหมจรรย์ได้โดยอาศัยอารมณ์เดียวกันนั่นเอง ข้อปฏิบัติเขาก็จัดตั้งแต่อุทยัพพยญาณไปนะคะ นี่แหละ จัดเข้าปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิถ้าอุทยัพพยญาณยังไม่ บริสุทธิ์ก็จัดเข้าปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ์ไม่ได้ต้องเป็น อุทยัพพยญาณที่ปราศจากวิปัสสนูปกิเลสแล้ว ถึงจะจัด เข้าขั้นนี้ได้ถ้าอุทยัพพยญาณยังมีกิเลสปะปนอยู่ก็จัดไว้ ในมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ

      อุทยัพพยญาณนี่น่ะ มี๒ อย่างคืออุทยัพพยญาณที่ อยู่ในมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิก็มีอุทยัพพยญาณที่อยู่ ในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิก็มีอุทยัพพยญาณ ที่อยู่ใน มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินั้นยังไม่บริสุทธิ์ เพราะว่า ยังมีวิปัสสนูปกิเลสปะปนอยู่ จึงยังไม่จัดเข้าอยู่ในปฏิปทา ที่บริสุทธิ์แล้ว อยู่ในมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิมีอยู่ ๒ อย่างนะคะ

      เมื่อพูดกันถึงเรื่องของวิสุทธิแล้ว ก็อยากจะยกเอา อารมณ์ของวิปัสสนาปัญญา ซึ่งได้เกิดขึ้น แต่ยังเจริญ วิปัสสนากรรมฐานนั้น หรือว่าจะเป็นความรู้ของผู้ปฏิบัติ วิปัสสนา ที่จะต้องได้ความรู้ความเข้าใจ หรือรู้สึก ที่ถูกต้องนั้นน่ะ จะต้องเดินไปตามวิปัสสนาญาณ ซึ่งมี นามรูปปริจเฉทญาณเป็นต้นไป จนถึงโคตรภูญาณ นี่การปฏิบัตินะ ต้องเดินไปอย่างนั้นตั้งแต่นามรูปปริจเฉท ญาณ เป็นต้นไป     การยกเอาวิปัสสนาเข้ามาลำดับไว้ในที่นี้ ใน ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินี้อีก เพราะอะไร เพราะว่า เรื่องวิปัสสนานี่ ก็พูดมาแทบทุกวิสุทธิแต่ว่าที่ยกเอามา ในที่นี้น่ะ เพื่อจะให้ติดต่อกัน เพื่อจะให้รู้ว่าวิปัสสนา แต่ละขั้นๆ นั้นน่ะ เป็นปัจจัยกันอย่างไร ส่งเสริมกัน อย่างไร ที่จะขึ้นไปตามลำดับโดยปัญญาก็ดีโดยอารมณ์ ก็ดีเป็นปัจจัยกันอย่างไรจึงนำเอามา และก็นำเอามา เพื่อจะได้เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันอย่างไร เพราะว่าขาด ก็ไม่ได้นะ เพราะว่าวิปัสสนาธรรมนี้เป็นธรรมที่เนื่องกัน กับวิสุทธิ๗ ด้วย

      ฉะนั้น เมื่อพูดถึงวิสุทธิแล้ว ก็ควรจะเข้าใจ ธรรม ที่เป็นเหตุเนื่องกับวิสุทธิด้วย ถ้าเราพูดวิสุทธิเฉยๆ เราก็อาจจะไม่รู้ว่า วิสุทธินี้นะ มาจากไหน ทำยังไงถึงจะ เข้าถึงวิสุทธินี้ได้เพราะฉะนั้น ต้องให้รู้ว่า วิสุทธินี้ก็ต้อง ประกอบด้วยเหตุผลเหมือนกัน ถ้าไม่ประกอบด้วยเหตุผล แล้ว วิสุทธินี้ก็จะจัดเป็นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ วิสุทธิหนึ่งวิสุทธิใด ก็ไม่ได้ทั้งนั้น แต่ว่าในที่นี้น่ะ ตอนนี้ เราได้พูดถึงปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิฉะนั้นก็จะได้อธิบาย ศัพท์ตั้งแต่อุทยัพพยญาณนะคะ ที่สะอาดแล้วจึงจะจัดเข้า ปฏิปทา ถ้ายังไม่สะอาดอยู่ในมัคคามัคคญาณ ให้เราทำ ความเข้าใจว่าอย่างนี้

      เมื่อได้พูดกันเรื่องวิสุทธิแล้ว ดิฉันก็อยากยกเอา อารมณ์ของวิปัสสนาปัญญาที่เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนา ที่จะต้องได้ความเข้าใจที่ถูกต้องนั้น จะต้องเดินไปตาม วิปัสสนาญาณ ซึ่งมีนามรูปปริจเฉทญาณเป็นต้นไปจนถึง โคตรภูญาณที่สุดของปัญญาที่ปฏิบัติ

      เพราะเหตุที่วิปัสสนาธรรมนี้เป็นธรรมที่เนื่องกับ วิสุทธิทั้ง ๗ นั้น

      ฉะนั้น เมื่อได้พูดถึงวิสุทธิแล้ว ก็ควรจะ เข้าใจธรรมที่เป็นเหตุของวิสุทธิด้วย แต่ในที่นี้จะอธิบาย พอให้เห็นว่า ท่านทั้งหลายที่มีวิปัสสนาเป็นต้นนั้น จะต้อง อาศัยเหตุผลติดต่อกันอย่างไร แต่การอธิบายในที่นี้ก็จะ อธิบายเพียงย่อๆ เฉพาะวิปัสสนากับวิสุทธิที่กำลังพูดกัน อยู่นี้เท่านั้น เพื่อจะได้เป็นความสะดวกในการเข้าใจวิสุทธิ นี้ดีขึ้น ฉะนั้นต่อไปก็ได้โปรดฟังการลำดับของวิปัสสนา ว่าจะมีเหตุผลติดต่อกันอย่างไรเสียก่อนนะคะ แล้วท่าน ก็จะเข้าใจในวิสุทธิที่ ๖ ที่ชื่อว่าปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ที่กำลังจะพูดกัน เวลานี้กำลังพูดอยู่ในวิสุทธิที่ ๖ คือ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิแต่จะแบ่งตามนัยของ โลกียวิสุทธิ

      สำหรับวิสุทธิที่ ๗ นี้นะคะ ถ้าจะแบ่งตามนัยของ โลกียธรรมเข้าไว้ด้วย เพราะเป็นเรื่องที่ท่านนักศึกษาควรรู้ คือ วิสุทธินี้ มีทั้งโลกีย โลกุตตรนะคะ ทีนี้เราเป็น นักศึกษาแล้ว เราควรจะรู้เหมือนกันว่า วิสุทธิอะไร เป็นโลกียะและเป็นโลกุตตร

      ก็ในวิปัสสนาที่นับเนื่องอยู่ในวิสุทธิที่ ๖ นั้นน่ะ วิสุทธิมี๗ ในวิสุทธิทั้ง ๗ นี้แหละค่ะ วิสุทธิทั้ง ๖ นับ ตั้งแต่ ๑ ไปจนถึงที่ ๖ ยังอยู่ในโลกียธรรม ยังเป็นโลกียอยู่ ถึงปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินี้ก็ยังอยู่ในโลกีย วิปัสสนา ทั้งหมดที่เป็นโลกียน่ะ มี๑๓ ประการด้วยกัน นี่ท่านที่เคย ทราบเรื่องของวิปัสสนา ดิฉันคิดว่า ท่านที่นั่งอยู่ในที่นี้ ที่เป็นนักศึกษานี่น่ะ คงเคยได้ยินแล้วว่า วิปัสสนานั้นน่ะ อะไรบ้างนะคะ ๑๓ ญาณด้วยกัน ตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณ ไปจนถึงโคตรภูญาณ ยังอยู่ในวิปัสสนาญาณนะคะ โคตรภูญาณนี่ ท่านที่สงสัย แล้วประเดี๋ยวก็จะทราบกัน เพราะว่า มีนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว ทำไมจึงจัดเข้าไว้ใน วิปัสสนา ยังอยู่ในวิปัสสนาที่เป็นโลกียอันนี้นับโดยจิต ถ้าโดยจิตแล้วละก็โคตรภูจิตนั้นก็ยังเป็นโลกียอยู่ เพราะ เป็นมหากุศล ถ้านับโดยอารมณ์ปัญญาในโคตรภูก็ยังเป็น โลกียอยู่ ยังไม่เป็นโลกุตตร เพราะว่า จิตเป็นโลกียใช่ไหม ปัญญารู้ธรรมอะไรที่เกิดร่วมกับจิตนั้นละก็ธรรมทั้งหมด ในที่นั้นต้องเป็นโลกีย ถ้านับโดยอารมณ์อารมณ์เป็น โลกุตตร ถ้านับโดยอารมณ์ให้นับตั้งแต่อนุโลมญาณโลกีย อารมณ์ที่เป็นโลกียนับโดยจิตละก็ต้องเอาโคตรภูเข้าไปด้วย ถ้านับโดยอารมณ์ที่เป็นโลกีย ก็นับตั้งแต่นามรูปปริจเฉท- ญาณไปจนถึงอนุโลมญาณ ปัญญาเหล่านี้เป็นปัญญาโลกีย ไปจนถึงอนุโลมญาณ ปัญญาเหล่านี้เป็นปัญญาโลกีย เพราะยังมีโลกียธรรมเป็นอารมณ์อยู่

      สำหรับมัคจิตและผลจิตทั้ง ๒ ญาณนั่นน่ะ เป็นโลกุตตร

      สำหรับปัจจเวกนั้น จิตเป็นโลกีย แต่อารมณ์เป็น โลกียบ้าง เป็นโลกุตตรบ้าง เพราะว่า ปัจจเวกนั้น พิจารณา มัค ผล นิพพาน กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่ยังเหลืออยู่ อันนี้แหละต้องเป็นโลกีย จิตดวงนี้เป็นโลกียนะคะ แต่อารมณ์น่ะ เป็นโลกุตตรก็ได้เช่น มีมัค ผล หรือ นิพพานเป็นอารมณ์พิจารณานิพพานเป็นอารมณ์ก็ต้อง เป็นโลกุตตรอารมณ์แต่ว่าจิตดวงนี้น่ะเป็นโลกียจริงแต่ว่า จะเกิดมีขึ้นได้ก็ต้องผ่านมัคผลแล้ว ต้องผ่านมัคผล เสียก่อน จิตที่ชื่อว่า ปัจจเวกขณญาณในที่นี้ถึงจะเกิดได้ ผู้ที่ยังไม่ผ่านมัคผลแล้วจิตดวงนี้ปัญญาอย่างนี้ความรู้ ในปัจจเวกนี้เกิดขึ้นไม่ได้ไม่มีแก่ปุถุชน จะมีก็เฉพาะแก่ พระอริยะตั้งแต่พระโสดาไป ผู้ที่บรรลุมัคผลแล้วเท่านั้น นะคะ เพราะว่าอารมณ์นี้มัคผล คนที่ไม่ได้ผ่าน มัค ผล จะพิจารณามัคผล นิพพานได้อย่างไร พิจารณาไม่ได้นะคะ

      ที่จำแนกมานี้นะคะ สำหรับวิปัสสนา และญาณ ๑๖ เข้าใจคำว่า“วิปัสสนา และญาณ” ไหม

      คำว่า วิปัสสนา มีเพียงแค่อยู่ในโลกียธรรม เท่านั้น ส่วน ญาณ นี้ มีได้ถึงโลกุตตร มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ ใช่ไหม โคตรภูญาณอย่างนี้น่ะ มีได้ แต่เรียกว่า วิปัสสนา ไม่ได้เพราะว่าพ้นจากอารมณ์ของ วิปัสสนาไปแล้ว อารมณ์ของวิปัสสนาก็มีไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แต่ว่าความรู้ ปัญญาในที่นั้น ที่เรียกว่าญาณน่ะ ผ่านไปแล้ว ผ่านอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไปแล้วจึงจะบรรลุเข้าถึงนิพพานได้ใช่ไหมคะเพราะฉะนั้น จึงว่า วิปัสสนา และญาณ ใช่ไหมคะ วิปัสสนาญาณ ๑๖ นี่แหละค่ะ ไม่ได้เพราะญาณบางอย่างไม่มีวิปัสสนา ไม่มีอารมณ์ของวิปัสสนา จึงใช้คำว่าวิปัสสนาและ ญาณ ๑๖ นั้น ต่อไปนี้ก็จะสงเคราะห์ด้วยวิสุทธิทั้ง ๕ เฉพาะวิสุทธิที่นับเนื่องอยู่ในวิปัสสนา และญาณ ๑๖ ที่ได้อธิบายมาแล้วนั้น    สำหรับวิสุทธิทั้ง ๗ นั้นให้นับแต่ศีลวิสุทธิเป็นต้นไป จนถึงปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิเป็นวิสุทธิที่๖นั้นนับเป็น โลกียวิสุทธินี่สำหรับโลกียนะ แบ่งโดยนับของโลกีย และโลกุตตรของวิปัสสนา และของญาณ และก็ของ วิสุทธิของจิต ของอารมณ์หลายอย่างนะ ที่เป็นโลกีย โลกุตตรนี่น่ะ โดยอารมณ์โดยจิต โดยวิปัสสนา โดย วิสุทธิตั้งแต่ ๑ ถึงที่ ๖ วิสุทธินี้เป็นโลกียวิสุทธิส่วน วิสุทธิที่ ๗ นั้น เป็นโลกุตตรวิสุทธิส่วนวิปัสสนาญาณ ใน ๑๖ ญาณนั้น นับตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณเป็นต้นไป จนถึงมัคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณนั้น นี่แหละได้ ๕ วิสุทธิเฉพาะวิสุทธิของปัญญา ท่านให้สงเคราะห์ดังนี้

      สำหรับวิปัสสนา ปัญญาขั้นที่ ๑ สงเคราะห์ด้วย ทิฏฐิวิสุทธิ

      ปัญญาขั้นที่๒ สงเคราะห์ด้วยกังขาวิตรณวิสุทธิ

      ปัญญาขั้นที่ ๓ กับที่ ๔ น่ะ อะไร? สัมมสนญาณ กับอุทยัพพยญาณ    ปัญญาขั้นที่ ๔ จนถึงขั้นที่ ๑๓ สงเคราะห์ด้วย ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ปัญญาขั้นที่ ๑๔ ถึงขั้นที่ ๑๖ ได้แก่ มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ สงเคราะห์อยู่ในญาณทัสสนวิสุทธิ

      อันนี้สงเคราะห์ด้วยญาณ ๑๖ ลงในวิสุทธิของ ปัญญา ๕ วิสุทธิน่ะ มี๗ แต่เป็นศีลวิสุทธิเสีย ๑ เป็นสมาธิ หรือจิตวิสุทธิเสีย ๑ แล้วก็เป็นวิสุทธิของปัญญาเสีย ๕ นี่สงเคราะห์เฉพาะปัญญา ๕ วิสุทธินะ ไม่นับศีลกับจิต นี่แหละ ๕ วิสุทธินี่แหละ มีทิฏฐิวิสุทธิเป็นต้น เพราะ ปัญญาน่ะ ต้องนับแต่ทิฏฐิวิสุทธิเป็นต้นไป

      นี่แสดงให้เห็นว่า ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้าปัญญา นั้นยังไม่เข้าถึงวิสุทธิก็ยังใช้ไม่ได้ปัญญาที่เข้าถึงวิสุทธิ จึงจะใช้ได้ปัญญาที่จะเข้าถึงวิสุทธิได้ปัญญานั้นต้อง แก่กล้า รู้เท่าทันกิเลส และกิเลสนั้น ไม่สามารถเข้าไป

      อาศัยเกิดขึ้นในอารมณ์นั้นได้ปัญญานั้นแหละ จึงจะ เข้าถึงวิสุทธิได้ถ้าปัญญายังอ่อนไม่สามารถจะรู้เท่าทัน กิเลส กิเลสก็เกิดได้ในอารมณ์ของปัญญานั้นนะคะ ปํญญา ๕ วิสุทธิมีทิฏฐิวิสุทธิเป็นต้น

      แต่ที่จะพูดกันอยู่นี่คือในวิสุทธิของปัญญาขั้นที่ ๔ ปัญญาขั้นที่๔ ได้แก่อะไร ได้แก่อุทยัพพยญาณ

      ที่ ๑ ได้แก่ นามรูปปริจเฉทญาณ

      ที่ ๒ ได้แก่ ปัจจยปริคคหญาณ

      ที่ ๓ ได้แก่ สัมมสนญาณ

      ที่ ๔ ได้แก่ อุทยัพพยญาณ

      ทำไมถึงพูดขั้น ที่ ๔ ?

      เพราะว่า เวลานี้ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิต้องจัด ตั้งแต่อุทยัพพยญาณที่๔ คือ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ

      แต่ก่อนที่จะพูด หรือทำความเข้าในวิสุทธิที่ ๖ คือ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินั้น ท่านจะต้องทำความ เข้าใจก่อนว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิซึ่งเป็นวิสุทธิที่๖ นี่น่ะได้มาจากเหตุอะไร?

      เหตุที่จะให้เกิดวิสุทธิที่๖ นั้น ก็สืบมาจากวิสุทธที่๕ นั่นเองถ้าวิสุทธิที่๕ ไม่เกิดขึ้น ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ นี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เหมือนกัน วิสุทธิที่ ๕ ต้องเข้าถึง วิสุทธิแล้ว มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิแล้วก็จะย่างขึ้นสู่ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิได้

      ฉะนั้น วิสุทธิที่ ๖ ก็มาจาก วิสุทธิที่ ๕ นั่นเอง นี่เป็นเหตุนะคะ เพราะฉะนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าวิสุทธิ แต่ละอันนี่ ต้องมีเหตุเกิดพร้อมสมบูรณ์ไม่ใช่เกิดเพียง แต่ลำพัง เพราะบรรดาญาณ หรือวิสุทธิทั้ง ๗ นั้น ก็ดีก็จะ ต้องเป็นปัจจัยกันตามลำดับตลอดมา จึงจะเข้าถึงความ สำเร็จแห่งเหตุผลนั้นๆ ได้ฉะนั้น จึงขอให้ท่านผู้ฟัง จงทำ ความเข้าใจ อย่าลืมว่าธรรมทั้งหลายใดจะเป็นวิปัสสนา หรือจะเป็นวิสุทธิอะไรก็ตาม จะมีแต่อย่างเดียว หรือ อันเดียวโดยเฉพาะ แต่อันใดอันหนึ่งนั้นไม่ได้จะต้อง อาศัยเป็นปัจจัยส่งเสริมกันเป็นลำดับไป จึงจะบรรลุถึง มัคผล นิพพานได้

      โดยเหตุนี้ ผู้ที่จะเจริญวิปัสสนานั้น จึงจำเป็นจะต้อง มีธรรมหลายอย่างนะคะ หรือหลายหมวดที่จะเข้าร่วมใน อารมณ์ของผู้ปฏิบัติไม่ใช่อย่างเดียว นับตั้งแต่ศีลวิสุทธิ ศีล จะวิสุทธิได้ไม่ใช่อยู่ๆ โผล่ขึ้นมา ฉันถือศีลแล้ว ศีลจะวิสุทธิก็ต้องรู้ว่า ศีลวิสุทธิน่ะ มาจากเหตุอะไร ศีลนั้นจึงจะวิสุทธิได้ดังเช่นจะต้องมีโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ คือสติปัฏฐานนี่ จะต้องเข้าร่วมในอารมณ์ปัจจุบันด้วย แล้วโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ซึ่งมีสติปัฏฐาน เป็นต้น และต้องมีวิปัสสนาและญาณ ซึ่งนามรูปปริจเฉทญาณ เป็นต้น ต้องเข้าด้วยและก็ต้อง เข้าถึงวิสุทธิซึ่งมีทิฏฐิวิสุทธิเป็นต้น เข้าถึงวิปัสสนา เข้าถึงญาณ และก็จะต้องเข้าถึงวิสุทธิด้วย เราทำ สติปัฏฐาน เราพิจารณากายก็ดีพิจารณาเวทนาก็ดีจิตก็ดี ธรรมก็ดีใน ๔ อย่างนี้แต่การพิจารณานั้นน่ะ ที่จะเป็นไป ได้ถูกต้อง หรือบรรลุถึง มัค ผล นิพพานจริงๆ น่ะ เมื่อพิจารณาแล้ว เกิดความรู้อะไรขึ้น เวลาที่พิจารณานั้น ความรู้ที่เกิดการพิจารณานั้น ต้องเป็นไปตามวิปัสสนา ต้องเป็นไปตามขั้นของวิปัสสนา รู้อย่างไร เห็นอย่างไร ตรงกันไหมกับทางวิปัสสนา นี่จะต้องมีวิปัสสนาเข้าไป ร่วมด้วยพิจารณากายเวทนาจิต ธรรม แต่ไม่เกิดวิปัสสนา ก็ได้จะถือว่า จะบรรลุมัคผลได้ไหม? ไม่ได้เมื่อเกิด วิปัสสนาแล้ว วิปัสสนานั้นน่ะ ต้องเข้าถึงวิสุทธิด้วย ทั้งๆ ที่เกิดวิปัสสนาแล้ว เข้าถึงวิสุทธิไหม ต้องเข้าถึง วิสุทธิด้วยนะคะ และก็ต้องมีอริยสัจจธรรม ซึ่งมี ทุกขสัจจะ เป็นต้น จะต้องเข้าร่วมอยู่ในการปฏิบัติด้วย จะต้องสงเคราะห์ได้หมดเลย ว่าความรู้สึกอย่างนั้น เข้าในญาณนั้น เข้าในวิปัสสนาขั้นนั้น เข้าในโพธิปักขิยธรรมอันนั้น เข้าในสติปัฏฐานอันนั้น รู้สึกอย่างเดียวนะ มีความรู้สึกเกิดขึ้นอย่างเดียว จะต้องสงเคราะห์ในความ รู้สึกนั้น จะต้องสงเคราะห์เข้าในธรรมทุกหมวดที่ ยกขึ้นมากล่าวนี้นี่อย่างย่อนะ สำหรับท่านที่เคยได้ยิน ได้ฟังมาแล้ว ต้องสงเคราะห์อย่างนี้ต้องเข้าได้หมดเลย เข้าใจอริยสัจได้ไหม ต้องเข้าได้หมดเลย ถ้าเข้าในหมวดใด หมวดหนึ่งได้เข้าได้ในหมวดหนึ่ง หมวดสอง แต่ถ้า เข้าไม่ได้ทุกหมวด สงเคราะห์ไม่ได้ชื่อว่าถูกไม่ได้ความรู้ นั้น ยังถูกไม่ได้และบรรลุมัค ผล นิพพาน ก็ไม่ได้ และมีธรรมหมวดเล็กหมวดน้อย ที่ร่วมไปกับการปฏิบัติ หลายอย่าง เช่นอย่างไร? อย่างสติสัมปชัญญะ ๔ ผู้ปฏิบัติ ต้องมีร่วมเข้าไปด้วยทั้ง ๔ แต่นี่ก็ไม่ได้ยกมานะ ยกมาแต่หมวดใหญ่ๆ ยังมีอีกมากมายหลายอย่างทีเดียว มนสิการต้องเข้ามนสิการที่ถูกนะคะเพราะธรรมทั้งหลาย เหล่านั้นจะต้องเป็นไปเนื่องกัน และเป็นปัจจัยซึ่งกัน และกัน

      ฉะนั้น เมื่อจะยกหมวดใดขึ้นมากล่าว ก็หมายถึงว่า ในที่นั้นต้องมีอยู่แล้วทุกหมวด หมวดนั้นเป็นเหตุ หมวดนี้เป็นผล หมวดนั้นเป็นปัจจัยแก่หมวดนั้นอย่างไร แปลว่า สำเร็จเป็นรูปขึ้นมาจะเป็นอันใดอันหนึ่งธรรมน่ะ เมื่อยกขึ้นมาแล้ว แปลว่า เหตุผลสมบูรณ์แล้ว ธรรมนั้น จึงปรากฏขึ้น เมื่อสมบูรณ์ในหมวดใด ก็ชื่อว่าสมบูรณ์ ทุกๆ หมวด เมื่อหมวดใดไม่สมบูรณ์ก็หมายความว่า ไม่สมบูรณ์ทุกหมวดนะคะ ต้องเข้าใจอย่างนี้นะ ถ้า ไม่สมบูรณ์ก็เข้ากันไม่ได้อันนี้ไม่สมบูรณ์แล้วจะมา เข้ากับคนอื่นก็ไม่ได้ก็ชื่อว่าไม่สมบูรณ์ทุกๆ หมวด เพราะ ธรรมเหล่านี้ก็เหมือนกับเถาวัลย์จะตัดตรงไหนก็ได้ ก็กระเทือนทั้งเถาเลย เราจะตัดต้น เราจะดึงยอดมา ก็ต้องมาถึงต้น มาถึงกลาง มาถึงโคนเหมือนกัน หรือ เราจะตัดโคนดึงออกมา ก็ชื่อว่า ดึงยอดมาด้วย ดึงโคน มาด้วย จะจับเข้าที่ไหน เราจะจับกลางเถาก็เหมือนกัน เราจะจับโคนเถา ก็ชื่อว่า ทั้งเถาต้องออกมาพร้อมทั้งเถา ถ้าไม่อย่างนั้น ไม่ได้ไม่ถูก     นี่นะคะ อุปมานี่น่ะ ธรรมะของพระพุทธเจ้าน่ะ เพราะฉะนั้น ถ้าเราสนใจนะ ถ้าจับแล้วไม่กระเทือน เราจะปฏิบัติหมวดนี้แต่ไม่กระเทือนไปถึงหมวดอื่น คือสงเคราะห์ไม่ได้ในหมวดอื่น ชื่อว่า ไม่ได้จับ หรือ จับไม่ถูกเถาวัลย์นั้น ถ้าถูกแล้วกระเทือนหมดทั้งเถาเลย

            โดยเหตุนี้ถ้าผู้ปฏิบัติปฏิบัติถูกต้องแล้ว ธรรมะ เหล่านั้น จะต้องพร้อมกันทุกหมวด ถ้าสงเคราะห์เข้ากัน ไม่ได้ก็ให้เข้าใจเถอะว่าการปฏิบัตินั้นยังไม่ถูก

      ข้อสำคัญมีอยู่ว่า เราจะสงเคราะห์ให้ถูก หรือไม่ถูก เราจะรู้ได้อย่างไร เราจะต้องเข้าใจธรรมะทุกหมวด วิปัสสนาก็เข้าใจ ญาณก็เข้าใจ สติปัฏฐานก็เข้าใจ อริยสัจ ๔ ก็เข้าใจ วิสุทธิก็เข้าใจ เมื่อเราเข้าใจถูกต้อง แล้ว อารมณ์ของเรา ความรู้สึกของเรา จึงจะเอาไปวัด กับแผนที่นั้นได้ถ้าเราไม่เข้าใจ เราก็ไม่รู้ปฏิบัติไปแล้ว จะเข้าหรือไม่เข้ากันได้เราก็ไม่ทราบ

      เพราะฉะนั้น ทางง่ายที่สุดต้องอาศัยอาจารย์นะคะ แต่ว่าอาศัยอาจารย์นี่น่ะ ตนของตนไม่เป็นที่พึ่งแก่ตน ถ้าอาจารย์เขาบอกถูก ก็ถูก แต่ว่าถ้าอาจารย์เขาบอกผิด เราก็เลยพลอยผิดไปตามด้วย เป็นผู้ไม่มีตนเป็นที่พึ่ง ถ้าเราศึกษาแล้วเราเข้าใจอาจารย์ช่วยได้

      ฉะนั้น การปฏิบัติที่ถูกนั้นน่ะ จึงมีทางเดียวเท่านั้น ไม่ใช่ต่างคนต่างไปคนละทาง ๒ ทาง ดังที่เข้าใจกันว่า มีหลายทาง จะทำอย่างไรก็ได้ไปได้ทั้งนั้น เหตุผลอันนี้ มิได้เป็นไปดังความเข้าใจอันนั้น

       ตามที่ท่านกล่าวว่า เอกายโน มคฺโค ก็หมายถึง ทางเดียวเท่านั้น ทีนี้ก็เมื่อมีทางเดียวแล้ว ก็ทำไมตั้งเป็น กองล่ะ ที่ยกเอามากล่าวเมื่อกี้นี้น่ะ มีตั้งหลายทาง เดี๋ยวก็ทางวิสุทธิเดี๋ยวก็ทางสติปัฏฐาน เดี๋ยวก็มัค อะไรก็แล้วแต่ถึงแม้จะกล่าวว่าทางเดียวก็จริงเพราะอะไร?

      หมายถึงว่า มีทางเดียวก็จริงอยู่ แต่ทางนั้น ต้องประกอบไปด้วย ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด ทางนี้มีทางเดียวจริง แต่ว่า ทางที่เดินไปนั้น จะต้องมี ธรรมเหล่านี้ประกอบด้วย ถึงจะได้ไม่ใช่ว่า ทางเดียวไป ทางไหนก็ได้ ทางเดียวจะไปไหนก็ได้ ฉันไม่เอาละ ฉันจะเอาวิสุทธินี่น่ะ ฉันจะทำให้จิตฉันหมดจดวิสุทธิ แล้วจะทำอย่างไรวิสุทธิน่ะ มันจะต้องประกอบด้วยเหตุผล มันถึงจะวิสุทธิได้ทีนี้เหตุผลก็ยังไม่เข้าใจ แล้วก็ยังไม่มี แล้วผลคือ วิสุทธิจะเกิดอย่างไร มาจากไหน ไม่ได้นะคะ ถึงทางเดียวแต่ว่า ต้องประกอบทั้งหมดในหมวดธรรม ที่กล่าวมานี้       เช่น ถ้าว่ามีมัคองค์๘ ถ้าเราจะเดินทางเพียงมัค ๘ น่ะได้ไหม?

      ได้! แต่ว่า ในระหว่างที่เดินมัค ๘ น่ะ ต้องมี ธรรมเหล่านี้เข้าด้วยนะ ถ้าเดินมัค ๘ จริง เดินไปเถอะ ศีลก็ดีสมาธิก็ดีปัญญาก็ดีแยกออกไป ๓ อย่างศีล สมาธิ ปัญญานั้น จะต้องเข้าถึงวิสุทธิด้วย ไม่อย่างนั้น ก็ไปไม่ได้ จะต้องมีธรรมเหล่านี้เข้าด้วยนะคะ

      ทีนี้พูดถึง มัค นี่น่ะ ท่านกล่าวไว้๘ องค์มี๘ องค์น่ะ มี๘ แต่ว่าไม่ใช่ ๘ ทางนะ มีทางเดียว ถ้าเราจะยกแต่ละ องค์มัคขึ้นมาแต่องค์เดียวเท่านั้นแหละ ทีนี้เราก็ไม่พูดถึง มัค ๘ เท่านั้นก็น้อยอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นธรรมของ พระพุทธเจ้าน่ะเรายกขึ้นมาในมัคทั้ง ๘ นั่นแหละเนื่องอยู่ ด้วยธรรมทั้งหมดเลย ที่กล่าวนี้ ทีนี้ไม่เอาทั้ง ๘ ละ ยกเอาแต่สัมมาทิฏฐิขึ้นมาองค์เดียวเท่านั้นแหละ ในมัค ทั้ง ๘ นั้นน่ะ เลือกเอาแต่องค์สัมมาทิฏฐิขึ้นมาองค์เดียว ยกขึ้นมาตั้งองค์เดียวเท่านั้นแหละไม่ต้องเอาทั้ง ๘ ว่าจะเนื่องด้วยอะไรบ้างเพียงองค์เดียว

      สัมมาทิฏฐิท่านแปลว่าอะไรในองค์มัค ท่านแปลว่า เห็นอริยสัจ ๔ ใช่ไหม องค์เดียวเท่านั้นแหละ เอามัค องค์เดียวน่ะ เห็นอริยสัจ ๔ แล้วคิดดูซิเราจะทำมัคทั้ง ๘ น่ะ เราจะเจริญมัค ๘ น่ะ เอาแต่องค์เดียวเท่านั้นแหละ เห็นอริยสัจ ๔ นี่เอามาจากไหนล่ะกว่าสัมมาทิฏฐิจะเข้าไป เห็นอริยสัจทั้ง ๔ เอามาจากไหน เท่านี้แหละ สัมมาทิฏฐิ เห็นอริยสัจ๔น่ะเอามาจากไหนกันเท่านี้แหละสัมมาทิฏฐิ เห็นอริยสัจ ๔ สัมมาทิฏฐินั้นน่ะ รู้หมดแล้ว ธรรมทั้ง พระไตรปิฎกนั่นอยู่ในสัมมาทิฏฐิหมดแล้ว เพราะว่า ธรรมอะไรล่ะ ที่จะนอกจากอริยสัจ ๔ น่ะ คำสอนของ พระพุทธเจ้า มีไหมล่ะ นอกจากอริยสัจ ๔ ไม่มีเลย

      ฉะนั้น ปัญญาองค์เดียวเท่านั้นแหละ ที่ยกเอาแต่มัค มีองค์เดียวเท่านั้นนะ รวมหมดแล้วพระไตรปิฎก ธรรม ทั้งหมดจะต้องประกอบอยู่ในองค์สัมมาทิฏฐิปัญญานั้น ทั้งหมดเลย เห็นไหม ถูกแล้วละ ชื่อก็ง่ายๆ คือ สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ ทีนี้ทำอย่างไรล่ะ เห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ ๔ แล้วทีนี้ทำอย่างไรล่ะ จะเห็นอริยสัจ ๔ นี่จะต้องประกอบ พร้อมด้วยเหล่านี้ทั้งหมดที่ยกมา สัมมาทิฏฐินั้นจึงจะ เกิดขึ้นได้การเห็นอริยสัจ ๔ หรือรู้แจ้งอริยสัจ ๔ จึงจะ เกิดขึ้น หรือมีขึ้นได้ไม่อย่างนั้น มีไม่ได้เลยเห็นไหม นี่น่ะ

      เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลายนี้น่ะ เนื่องกันอยู่มาก เหลือเกินนะคะ ธรรมะที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกนั่นน่ะ ก็จะ มาอยู่รวมในสัมมาทิฏฐินี่ทั้งหมดแล้ว องค์เดียว ชื่อว่า รู้จบพระไตรปิฎกแล้ว ธรรมทั้ง ๓ ปิฎกต้องมารวมอยู่ใน สัมมาทิฏฐินี้เท่านั้นเอง จะว่าง่ายมันก็ง่ายนิดเดียวนะ ถ้าจะว่ายากมันก็ยาก และสำหรับบุคคลผู้มีปัญญาน่ะ ฟังธรรมเทศนานิดเดียวก็แจ้งอริยสัจ ๔ ที่เป็นดังนี้เพราะ ว่าคำสอนในพระศาสนาที่จัดไว้ในพระไตรปิฎกนั่นน่ะ ไม่มีอะไรที่นอกไปจากอริยสัจ๔อยู่ในอริยสัจ๔นี้ทั้งหมด ไม่มีที่นอกจากนี้ไม่มีจะรวมอยู่ในอริยสัจ ๔ นี้ทั้งหมดเลย เว้นแต่เราจะไม่เข้าใจสงเคราะห์เท่านั้น ว่าธรรมหมวดไหน จะสงเคราะห์เข้าในสัจจะอันไหนเท่านั้น

      ถ้าเราศึกษากันโดยเหตุผลกันแล้ว ก็จะไม่เป็นการ ลำบากอะไรมากนักในการที่เราจะเข้าให้ถูกต้องต่อเหตุผล ในคำสอนของพระพุทธศาสนานี้แต่ถ้าเราศึกษากันแต่ เพียงพูดกันได้ตามพยัญชนะเท่านั้น โดยมิได้มุ่งหมายจะ เข้าใจความหมาย และเหตุผลในพยัญชนะนั้นๆ แล้ว ถ้าเราจะศึกษาโดยนัยอย่างนี้แล้ว แม้เราจะเรียนจน ชีวิตหาไม่ ก็คงจะเรียนรู้ไม่จบในถ้อยคำที่พูดกัน ในโลกนี้น่ะ คำพูดมันมีมากเหลือเกิน เราเพียงแต่จำ หรือ รู้คำพูดพยัญชนะเท่านั้นถ้าเราจะศึกษาให้ได้ประโยชน์แล้ว และก็รู้สึกว่า จะไม่ค่อยยากนัก เวลาจะยกธรรมหมวดใด ขึ้นมาพูด หรือยกขึ้นมาทำความเข้าใจแล้วก็ถ้าเราศึกษา ให้เข้าใจในเนื้อความและเหตุผลของธรรมนั้น หรือ พยัญชนะหมวดนั้นๆ ก็แค่แต่จะจดจำเอาก็ได้พูดได้ เรียกชื่อได้ถูกต้อง ภาษาบาลีพูดได้แต่ว่าไม่เข้าใจ เนื้อความ ความหมายในที่นั้นต้องให้เข้าใจให้ถูกต้อง ให้เข้าใจดีด้วย ถูกต้องด้วย เฉพาะในบทนั้นๆ เพราะ เราก็เคยสวดมนต์กันเสมอ ใช่ไหม สวดทุกวันๆ ว่า พระพุทธองค์ทรงประกาศพรหมจรรย์ สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ ปกาเสสิ สวดได้ ทุกคนไช่ไหม ทำวัตรนี่ ได้กันทุกคนเลย ใช่ไหมล่ะ นี่น่ะ แปลว่าอะไร แปลว่าทรงประกาศพรหมจรรย์คือข้อที่ จะประพฤติปฏิบัตินะคะ ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง เนื้อความและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง แปลว่า สอนออกมาคำใด ทั้งพยัญชนะและอรรถะ ต้องสมบูรณ์ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ ต้องสมบูรณ์และต้องบริสุทธิ์ด้วย ไม่มีผิด ที่จะกล่าวออกมานั้น และไม่เกี่ยวข้องอยู่ด้วย ลาภ และยศเป็นต้น ไม่มีนี่บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

      นี่เป็นลักษณะ ที่เป็นไปในคำสอนของพระพุทธศาสนา ฉะนั้น พวกเราศึกษาพระพุทธศาสนานั้นน่ะ ก็น่าภูมิใจ ที่เราได้ศึกษานะคะ ควรจะพยายามให้ไป ตามแผนที่ที่ทรงวางไว้แก่พุทธบริษัท ที่ต้องการปฏิบัติ เพื่อการดำเนินออกจากทุกข์ที่ท่านต้องการจะพ้น โดย ไม่หลงทางไป เพราะถ้าหลงทางไปแล้ว ก็ยากที่จะกลับ มาหาทางที่ถูกได้เพราะว่าคำสอนแต่ละคำนั้น ต้องมี เหตุผลประกอบพร้อมไปด้วยทุกๆ อย่าง ดังเช่นคำว่า วิสุทธิที่เราพูดกันอยู่นี้ก็เหมือนกัน จะต้องประกอบ พร้อมด้วยเหตุ ที่ถูกต้องแล้ว จึงจะเข้าถึงวิสุทธิได้ ถ้าว่า เราจะเข้าถึงวิสุทธิธรรมที่บริสุทธิ์นั้นได้ด้วย ความต้องการของเรานั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะท่าน เทศนาไว้ว่า ธรรมทั้งหลายย่อมไหลมาจากเหตุ ต้องมี เหตุเป็นแดนเกิดทั้งสิ้น เว้นไว้แต่พระนิพพานเท่านั้น

      ฉะนั้น ในวิสุทธิทั้ง ๗ นี้ก็เช่นเดียวกัน จะต้องอาศัย เหตุเกิดขึ้นทุกๆ วิสุทธิไป วิสุทธิอันหนึ่งก็อาศัยเหตุ อย่างหนึ่ง ไม่ใช่อันเดียวกันแล้วก็ได้วิสุทธิทั้ง ๗ ไม่ใช่ อย่างนั้น และตัวของวิสุทธิที่เป็นผลนั้น แต่ละวิสุทธินั้น ก็ต้องเป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เป็นลำดับไปทั้ง ๗ วิสุทธินั้น เป็นผลของเหตุนี้แต่ตัวเองก็จะต้องเป็นเหตุ ของอีกอย่างหนึ่ง

      เช่น วิสุทธิที่ ๖ ที่ชื่อว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินี้ ก็จะต้องได้มาจากวิปัสสนาปัญญา ที่มีความเข้าใจ ในข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางที่ถูกต้องดีแล้ว ปัญญานั้น จึงจะได้นำจิตให้ดำเนินไปในทางปฏิบัติที่ถูกต้อง โดย ปราศจากภัย ซึ่งได้แก่ตัณหาและทิฏฐินี่แหละเป็นภัยละ ถึงเวลาปฏิบัติที่เราปฏิบัติกันไม่สำเร็จ ไม่ได้ผล ก็เพราะ เหตุว่า ตัณหาและทิฏฐินี่แหละ เป็นอุปสรรคขัดขวาง แทรกซึมเข้าไปในอารมณ์ต่างๆ ไม่ทำให้เข้าถึงวิสุทธิได้ เพราะตัณหาและทิฏฐินั่นละเอียดมาก ขอให้รู้สึกเถอะว่า ปัญญาของเรานี้น่ะ ไม่ได้รู้เท่ากิเลสเลย เพราะเหตุนี้แหละ จึงยังเป็นทาสกิเลสอยู่ เราจึงหลงอยู่ กิเลสมันเฉลียว ฉลาดกว่าปัญญาของเรา มันจึงขี่คอเราอยู่ มันจึงลากถู เราให้เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ในสังสารวัฏฏ์นี่แหละ ไม่มี ที่สิ้นสุด ให้เราอยู่ในทุกข์ประกอบไปด้วยทุกข์ด้วย อำนาจของกิเลส เราไม่รู้เท่าทัน ปัญญาของเราต้องรู้ เท่าทัน ถึงจะประหัตประหารมันได้

      เพราะฉะนั้น ผู้จะปฏิบัติเพื่อทางหมดจด หรือเพื่อ ทางที่จะบรรลุถึงวิสุทธิที่จะดำเนินไปถึงพระนิพพาน นั่นน่ะ จะต้องรู้เท่าทันกิเลสตัณหา เมื่อเกิดปัญญาขึ้น แล้วนะก็ปฏิบัติไป พอเกิดปัญญาขึ้นแล้ว ทิฏฐิและตัณหา ที่เป็นไปอย่างหยาบๆ ก็รู้ตามเป็นขั้นๆ ไป ก็ทำลาย เป็นขั้นๆ ไป ทีนี้ปัญญาละเอียดเข้าจึงจะรู้หน้าตาของ กิเลสที่ละเอียด กิเลสละเอียดเท่าไร เราจะรู้หน้าตาของ กิเลสละเอียดได้ปัญญาของเรา ก็ต้องเฉียบแหลมคมกล้า ขึ้นเท่านั้น ไม่อย่างนั้นจะจับหน้าตาของกิเลสไม่ได้ ฆ่ากิเลสก็ไม่ตาย และก็ถูกกิเลสหลอก ถึงแม้จะเข้า วิปัสสนาแล้ว ก็ยังถูกกิเลสตามเข้าหลอกหลอนอีก ไม่ใช่ปลอดภัยนะคะ   เพราะฉะนั้น ภัยก็คือตัณหาและทิฏฐินี่แหละ เป็น มูลละกิเลสทั้งหลายก็มีตัณหาเป็นมูลเมื่อเราจะสงเคราะห์ เข้าอริยสัจแล้ว ตัณหาก็เป็นสมุทัย กิเลสนอกจากนั้น อยู่ในทุกขสัจจะทั้งหมด

      นี่แหละ ๒ อันนี่เป็นความสำคัญนะคะ

      คนที่จะเข้าถึงความบริสุทธิ์โดยปราศจากภัยคือ กิเลส ตัณหาและทิฏฐิน่ะ ไม่สามารถจะเกิดขึ้นทำอันตราย แก่ปัญญาได้อีกแล้ว ปัญญานั้นแหละ จึงได้ชื่อว่าเข้าถึง วิสุทธิหรือเข้าถึงปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิได้และ วิปัสสนาที่เป็นเหตุให้เข้าถึงปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินั้น ก็ให้นับตั้งแต่อุทยัพพยญาณ ที่ปราศจากวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ นั้น เป็นต้นไป

      เห็นไหมคะ เข้าถึงอุทยัพพยญาณนี่ ปัญญาขั้นที่ ๔ แล้วนะไม่ใช่ปัญญาเล็กน้อยแล้วนะคะ ผ่านนามรูป ปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณ สัมมสนญาณผ่านไป แล้วจึงเข้าถึงอุทยัพพยญาณนะ แต่อย่างนั้น ยังไม่รู้เท่าทัน กิเลสนะ ปัญญาในที่นั้น ยังปกครองไม่ได้ยังให้วิปัสสนูป กิเลสเข้าไปเจือในที่นั้นได้และนับประสาอะไรกับปัญญา ของเราที่หยาบ ยังไม่เข้าถึงนั้นนะหรือ กิเลสตัวโตๆ บางทีก็ยังไม่รู้เลยว่า กิเลสอะไรที่เราเป็นอย่างนี้ ต้องผ่านไปแล้วนะคะ วิปัสสนูปกิเลสนี่ ไปจนถึงโคตรภูญาณ เหล่านี้นี่เอง ที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิเกิดขึ้นได้แต่วิสุทธิที่ ๖ นี้เป็นผลได้มาจาก วิสุทธิที่ ๕ ใช่ไหม และวิสุทธิเหล่านั้นก็ได้มาจากวิปัสสนาญาณ เหล่านั้นเอง แต่ในวิปัสสนาญาณเหล่านั้น จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันอย่างไร ก็จะได้อธิบายตั้งแต่อุทยัพพยญาณญาณ เป็นต้นไป พร้อมทั้งปัญญาที่เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง อุทยัพพยญาณนั้นด้วยนะคะ

      อุทยัพพยญาณนี้ได้มาจากไหน อุทยัพพยญาณมีเหตุ มาจากไหนบ้าง?

      ก็มีความหมาย คำว่า อุทยัพพยญาณนี้หมายถึงว่า เป็นชื่อของปัญญาอันหนึ่ง ที่เข้าไปเห็นว่า สังขารทั้งหลาย คือ นามรูปนั้นน่ะ มีการเกิดขึ้นและมีการดับไป แหละ ความรู้อย่างนี้แหละ ชื่อว่าอุทยัพพยญาณนะคะอุทยัพพยญาณ หรือวิปัสสนาก็ได้มีการเกิดขึ้นและดับไป ซึ่งปัญญา นี้ก็เป็นผลเนื่องมาจากไหน ที่เห็นอย่างนี้น่ะ

      ปัญญาที่ได้ความรู้อย่างนี้น่ะเนื่องมาจากเหตุอะไร?

      ปัญญาอุทยัพพยญาณนี้เป็นผล เป็นผลมาจาก นามรูปปริจเฉทญาณนั่นแหละ เป็นเหตุละ เพราะว่า ได้นามรูปแล้ว อุทยัพพยญาณ จึงมาเห็นว่านามรูปไม่เที่ยง ถ้านามรูปปริจเฉทญาณยังไม่เกิดขึ้น อุทยัพพยญาณ จะเห็นนามรูปไม่เที่ยงไม่ได้เกิดขึ้นดับไปไม่ได้นะคะ ซึ่งปัญญานี้ก็จะเป็นผลนะคะ อุทยัพพยญาณนี่ก็เป็นผล เป็นผลมาจากปัญญาคือ นามรูปปริจเฉทญาณ

      นามรูปปริจเฉทญาณนั่นแหละเป็นเหตุละ

      เพราะว่าได้นามรูปแล้ว อุทยัพพยญาณจึงมาเห็นว่า นามรูปไม่เที่ยง ถ้านามรูปปริจเฉทญาณยังไม่เกิดขึ้น อุทยัพพยญาณเห็นนามรูปไม่เที่ยงไม่ได้เกิดขึ้นดับไป ไม่ได้ก็ได้จากนามรูปปริจเฉทญาณนั่นเอง ที่เห็นว่า นามรูปนั้น มีอยู่

      ในนามรูปปริจเฉทญาณเห็นอย่างไร?

      เห็นว่า นามรูปนี้มีอยู่แต่ไม่ใช่สัตว์บุคคลใช่ไหมคะ สัตว์บุคคลนั้นไม่มีและตัวตนที่นอกจากนามรูปนั้นก็ไม่มี นี่นามรูปปริจเฉทญาณเห็นอย่างนี้น่ะ และเป็นความรู้ ที่แน่ใจ เพราะเหตุว่า ความรู้อันนี้ ไม่ใช่ได้มาจาก สุตตาปัญญา ไม่ใช่ได้มาจากจินตาปัญญา ความรู้นี้ ไม่ใช่รู้ด้วยสุตตาปัญญา หรือด้วยจินตปัญญา หากแต่ เป็นความรู้ที่ได้มาจากภาวนาปัญญา ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้ มาจากการเข้าไปพิสูจน์ด้วยตนเองแล้ว หาใช่เชื่อมาจาก ครูอาจารย์ที่เป็นผู้บอกเล่าไม่ เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นแก่ตัว ที่ประกอบพร้อมด้วยเหตุผลที่ถูกต้องเกิดแก่ตัวของตัวเอง เหตุผลอันนี้หมายถึงธรรมที่ประกอบในที่นั้นนะคะ และ ก็รู้เหตุผลนี้ด้วย แต่ว่า อุทยัพพยญาณนี้หมายถึงความรู้ ในอุทยัพพยญาณนั้นน่ะ ไม่ใช่ความรู้จากการได้ยินได้ฟัง จากการคิดนึก เป็นความรู้ที่ได้มาจากการพิสูจน์มาแล้ว ได้มาจากวัตถุที่ถูกพิสูจน์นั้นได้ความจริงมาจากวัตถุนั้นแล้ว

      แต่ว่าถึงเช่นนั้นก็ตาม ก็ต้องอาศัยสุตตา และ จินตาปัญญา เป็นเหตุเหมือนกัน ถ้าไม่มีสุตตาหรือ จินตาปัญญา แล้ว อุทยัพพยญาณ หรือนามรูปปริจเฉท ญาณก็เกิดไม่ได้เหมือนกัน แม้แต่เพียงนามรูปปริจเฉท ญาณก็เกิดไม่ได้ ฉะนั้น นามรูปปริจเฉทญาณนี่น่ะ จะต้องได้เหตุ มาจากสุตตาและจินตา มนสิการเข้าใจถูกนะคะ นี่นามรูป ปริจเฉทญาณ จึงได้

      ทีนี้เมื่อได้นามรูปปริจเฉทญาณแล้ว ส่วนต่อไปนั้น นามรูปก็ไม่ใช่ได้มาจากจินตาละทีนี้ต่อไปนั้นก็เป็นหน้าที่ ตั้งแต่ปัจจยปริคคหญาณ สัมมสนญาณ อุทยัพพยญาณ เรื่อยไป ก็ต้องมีนามรูป ความรู้สึกในนามรูป จนถึง ตลอดไป แต่ว่านามรูปในที่นั้นไม่ใช่ได้มาจากสุตตา ไม่ใช่ได้มาจากจินตาไม่เหมือนนามรูปในนามรูปปริจเฉท- ญาณ ซึ่งเป็นปัญญาขั้นต้นนั้นยังต้องอาศัย แต่อันนี้ ไม่ต้องแล้ว ตั้งแต่ถึงอุทยัพพยญาณไม่ต้องอาศัยแล้ว อาศัยตัวภาวนาปัญญาได้จากภาวนาปัญญา วิปัสสนา เกิดแล้ว นามรูปเกิดในที่นั้น มาจากภาวนา ไม่ใช่มาจาก สุตตาและจินตาแล้ว มาจากนามรูปปริจเฉทญาณ ที่รู้ ด้วยภาวนาปัญญานะคะ

      นี่ อันนี้ขอให้พยายามฟัง แล้วก็ลำบากเหมือนกัน ดิฉันก็เห็นใจนะคะ เป็นปัญญาที่รู้มาด้วยการพิสูจน์ ด้วยตนเองแล้วนะคะ ไม่ใช่รู้มาจากอาจารย์บอก นามรูป ที่เห็นในอุทยัพพยญาณนั้นน่ะ ด้วยเหตุนี้และก็รู้พร้อม ประกอบด้วยเหตุด้วย

      ฉะนั้น ความรู้อันนี้หรือปัญญาอันนี้จึงจะเข้าถึง วิสุทธิได้ชื่อว่า วิสุทธิเฉพาะนามรูปปริจเฉทญาณ เท่านั้นน่ะ การเข้าไปเห็นนามรูป การเข้าไปรู้ว่าเป็นนาม เป็นรูปเท่านั้นแหละ ยังต้องเข้าถึงวิสุทธิด้วยนะ เห็นไหม รู้นามรูปได้อย่างไรไม่ถึงวิสุทธิรู้นามรู้อย่างไร เข้าถึงวิสุทธินี่ยังไม่เห็นนะ ไตรลักษณ์ยังไม่มีนะ ยังไม่เคยเห็นเลยการเกิดขึ้น ดับไป เพียงแต่รู้เฉพาะว่า อันนี้เป็นนามและเป็นรูป แต่ว่า รู้ด้วยจะต้องเข้าถึงวิสุทธิ รู้เท่านี้ยังไม่เข้าถึงวิสุทธิเลย นี่น่ะ

      รู้อย่างไร?

      เรารู้ว่า เป็นนาม เป็นรูป เรารู้กัน เข้าถึงวิสุทธิไหม?

      ไม่เข้า! ต้องรู้เข้าถึงขั้นนามรูปปริจเฉทญาณ นั่นแหละ ความรู้อันนั้น จึงจะเข้าถึงทิฏฐิวิสุทธิได้

      เห็นไหมคะ นี่น่ะ แต่ละขั้นๆ นี่นะ ละเอียดลออ อย่างลึกลับ

      ฉะนั้น นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณที่รู้นามรูปนี้น่ะ สำคัญ ดิฉันถึงบอกแล้วว่า ผู้ทำวิปัสสนาไม่ต้องไปสนใจ ไตรลักษณ์ไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรืออะไรน่ะ จะรู้หรือไม่นี่ ไม่สำคัญเลย ขั้นต้น ขั้นแรกทีเดียวนะ ท่านรู้จักนามรูป เสียก่อน รู้นาม รู้รูป ที่ต้องรู้ถึงนามรูปปริจเฉทญาณนะ เข้าถึงวิสุทธินะ แหม เท่านี้แหละก็ประเสริฐมากแล้ว นี่ขั้นปัญญานะ ปัญญาอยู่ในวิปัสสนาด้วย ให้รู้ด้วย วิปัสสนาจริงๆ เถอะ เท่านี้ก็ประเสริฐมากแล้ว รู้สึกว่า ถ้าได้เข้าไปเห็นจริงๆ แล้วก็ชื่อว่า เห็นพระพุทธเจ้า ก็ได้นะ ผู้ใดเห็นธรรมน่ะผู้นั้นเห็นเราตถาคต ขอให้ เห็นจริงๆ เถอะ เข้าในเขตนามรูปปริจเฉทญาณน่ะ จะได้เห็นพระพุทธเจ้าทันทีทีเดียว

      นี่นะ แม้เพียงขั้นนั้น ยังต้องเข้าถึงวิสุทธิแล้วเข้าถึง ไหม? ถ้าเราไม่เข้าถึงวิสุทธิแล้ว นามรูปอันนั้น วิสุทธิ อันนั้น ยังใช้ไม่ได้เมื่อยังใช้ไม่ได้แล้วจะเป็นปัจจัยต่อ วิปัสสนาต่อไปก็ไม่ได้เมื่อวิปัสสนาต่อไปเกิดขึ้นไม่ได้ แล้ว วิสุทธิต่อไปก็เกิดขึ้นไม่ได้ทีนี้เราก็จะต้องศึกษานะ ศึกษาว่า เห็นอย่างไร?

      นามรูปปริจเฉทญาณนี่น่ะเห็นอย่างไรถึงจะเรียกว่า อย่างนั้น จะบอกอย่างไรๆ ก็เห็นไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่ ผู้ปฏิบัติจะต้องเห็นเอง มันเผ็ดอย่างไร มันเปรี้ยวอย่างไร มันหวาน มันเค็มอย่างไร ดิฉันจะบอกอย่างไรๆ คุณก็ หวานไม่ได้ ปัญญาอันนี้ได้มาจากรสหวานที่เกิดขึ้น แก่ตัวเอง มันจะต้องเกิดรสหวานขึ้นเสียก่อน แล้ว คุณถึงจะรู้ว่า มันหวานอย่างไร ใช่ไหม? ฉะนั้นดิฉัน จะบอกอย่างไรๆ คุณก็ไม่หวาน ถ้าดิฉันบอกได้แล้ว คุณก็หวานขึ้นมาได้ เปรี้ยวขึ้นมาได้ เผ็ดขึ้นมาได้ ขมขึ้นมาได้ก็ได้ซิจะเป็นไรไป คุณไม่ต้องไปทำกันก็ได้ เพราะว่าอาจารย์บอก อันนั้นเป็นอย่างนั้นนะ เราก็เห็น ไปอย่างนั้น อาจารย์บอกจึงเห็นได้แล้วจะต้องไป ทำทำไมให้ลำบาก ก็อาจารย์ช่วยบอกให้เห็นกัน ก็ได้ใช่ไหม? นี่ไม่ใช่อย่างนั้น นามรูปปริจเฉทญาณ เห็นอย่างไร แต่ว่าพวกคุณเข้าไปเห็นเมื่อไหร่ละก็รู้ทันที ทีเดียวว่า เห็นแล้วนี่น่ะ อย่างนี้บอกได้สุตตาบอกได้ รู้แค่สุตตาได้รู้แค่จินตาได้แต่ว่ารู้ถึงภาวนานี่ บอกไม่ได้ ฉะนั้น จะนับประสาอะไรธรรมที่สูงยิ่งกว่านี้น่ะ คือ พระนิพพานนี่น่ะ จะบอกกันได้อย่างไรว่า นิพพานน่ะ เป็นอย่างไร บอกได้ไหม แล้วจิตใจของเราหยาบคายด้วยกิเลส ใช่ไหม แล้วก็ธรรมอันนั้น ต้องรู้เมื่อจิตนั้นวิสุทธิ บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสแล้ว ญาณทัสสนวิสุทธิทีนี้ จิตเราน่ะ ยังไม่วิสุทธิเราจะบอกยังไงล่ะ ถึงจะเข้าไปรู้ได้ แต่ว่า รู้เรื่องไว้ได้รู้ไว้ก่อน ดูแผนที่ไว้ก่อน แต่ว่าจะให้รู้ ตัวจริงๆ น่ะ ไม่ได้เข้ามาอยู่ในแผนที่หรอก แต่ว่าเรียนไว้ ก่อน เราเรียนดูแผนที่ไว้ก่อน ทีนี้เวลาเราเดินทาง เรามี แผนที่ไปด้วย คนที่เข้าใจดูแผนที่ก็ต้องมีแผนที่ไปด้วย คือว่า การที่รู้การที่เรียนศึกษาในปริยัติน่ะ ความเข้าใจ นั้นน่ะ ต้องเอาไป ต้องใช้ด้วย เพื่อเทียบเคียง ถูกไม่ถูก ก็ต้องกางแผนที่ดูจากที่ตรงนั้นไปถึงตรงนั้น มีกี่กิโล และมีอะไรบ้าง ดูแผนที่ไปอย่างนี้ใช่ไหม แล้วมันก็มีหวัง ที่จะเดินถูก ไม่หลงทาง แต่ว่าธรรมะจริงๆ ไม่ได้มาอยู่ ในแผนที่ต้องไปดูที่จริงๆ นั้น

      นี่แหละค่ะ ขอให้เข้าใจอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงขอร้องว่า พอเข้าไปถึงนามรูปปริจเฉทญาณ แปลว่า ได้เครื่องมือแล้วละ นั่นแหละ เดินทางละ จะเข้าใจทางแล้ว แต่ว่าในระหว่างเดินไปน่ะ มันจะ มีทางแยกไปทางไหนๆ อีก ก็มีอยู่ แต่ว่าเรามีแผนที่ ไปแล้วละก็ เราไม่หลง ไม่แยกไปตามทางที่ไม่ใช่ หรือไม่มีอยู่ในแผนที่นั้น เพราะฉะนั้น ปริยัตินี่ก็ต้องเป็นความสำคัญอันหนึ่งนะคะ แต่เราเรียนกันปริยัตินี่ ก็แหมยังเข้าใจก็แสนยากแสนลำบากใช่ไหมเล่า ทีนี้ ยิ่งพูดถึงเรื่องปฏิบัติน่ะ เป็นเรื่องที่เรายังไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน ได้ฟัง มันก็ยิ่งลำบากใหญ่ แต่ว่า ท่าน ที่เคยปฏิบัติมาแล้ว สมัยเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าน่ะ ท่านเคยปฏิบัติมาแล้วหลายชาติน่ะ ทำมาแล้วหลายชาติ เป็นร้อยชาติพันชาติเคยเจริญวิปัสสนา พบพระพุทธเจ้า อยู่ในสำนักพระพุทธเจ้า อะไรอย่างนี้น่ะ ท่านเคยทำ มาแล้วเยอะ แต่ว่า พอท่านมาฟังปริยัติพอมาฟัง ปริยัติเข้านิดหน่อย โดยสังเขป หรือโดยปริยายก็สำเร็จ นี่ไม่เอาถึงขั้นนั้นหรอก เราเอาแต่เพียงว่า ฟังแล้วให้เข้าใจ ให้ได้สุตตาปัญญาเท่านั้นแหละ การศึกษาของเรานี่น่ะ ไม่ใช่ศึกษาให้สำเร็จมัคผลนะ เพราะมัคผลต้องเข้า ขั้นภาวนา การศึกษา การฟังน่ะ ขอให้ได้เพียงแค่ สุตตาปัญญาเท่านั้นแหละพอแล้วประเสริฐแล้ว

      การศึกษานี่น่ะ พระพุทธเจ้าแสดงถึง อุปมาเท่ากับ พระอาทิตย์ปัญญาทำแสงสว่าง ศึกษาเพื่อให้รู้เหตุผล ในธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า สิ่งใดที่ลี้ลับอยู่ สุตตา ปัญญาก็สามารถส่องให้เราเห็นสิ่งที่ปิดบังอยู่ก็ได้ เหมือนกับพระอาทิตย์พอสว่างขึ้นมาทำโลกทั้งหมด ได้รับแสงสว่าง สิ่งใดที่มืดมัวพระอาทิตย์ก็กำจัดไป ถ้าพระอาทิตย์ไม่ขึ้น โลกก็มืด ไม่สามารถจะรู้ว่า อะไรอยู่ที่ไหนได้เลย ถ้าเราไม่ศึกษา เราก็ไม่สามารถจะรู้ เหมือนกัน อะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผล อยู่ที่ไหน อยู่ยังไง เกิดขึ้นยังไง ความรู้สึกเกิดขึ้นที่ไหน ระหว่างไหน เราก็รู้ไม่ได้เหมือนกัน ท่านถึงบอกว่า ถ้าปฏิบัติไม่ดี ก็ เป รี ยบ เหมื อนพ ร ะ อาทิ ต ย์ ดับไป จา กโ ล ก แ ล้ ว ไม่เห็นหรอก เรื่องในศาสนาของท่านก็เลิกทันที แล้วสมัยนี้ เขากำลังจะไม่ศึกษากัน เขาจะสำเร็จ โดยไม่ต้องศึกษา

      เรื่องของปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินี่ ต้องพูดกัน นานหน่อย เพราะว่า รวมญาณเข้าไว้ตั้ง ๙ ญาณ ๑๐ ญาณ อยู่ในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิทั้งนั้น

      เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะพูดถึงเรื่องปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิเราก็จะต้องรู้ว่า ข้อปฏิบัติอะไรบ้าง ปัญญาอะไรบ้า งที่อยู่ในข้อปฏิบัติที่ถูกต้อ ง และ นับว่าถูกปัญญานั้นใช้ได้ เป็นปัญญาที่จะนำไปถึง พระนิพพาน มีหลายอย่างด้วยกัน ไม่ใช่มีอันเดียวนะคะ ไม่ใช่หมือนอย่างนามรูปปริจเฉทญาณ มีอันเดียว ปัจจยปริคคหญาณ แล้วก็ปัญญาที่เป็นญาณทัสสนวิสุทธิ เราพูดกันมาแล้วนะคะ นั่นน่ะก็หมายถึงว่า ไม่ใช่เป็น ปัญญาที่เกิดจากสุตตาญาณ หรือจินตาญาณ ต้องเป็น ความรู้ที่ได้มาจากภาวนาปัญญา ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้มาจาก การเข้าไปพิสูจน์ด้วยตนเองแล้ว หาใช่ความรู้ที่ได้มาจาก ครูอาจารย์เป็นผู้บอกเล่าไม่ เป็นความรู้ที่ได้เกิดขึ้นแก่ตัว ที่ประกาศพร้อมด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง และตัวเองก็รู้ใน เหตุผลนั้นด้วย

      ฉะนั้น ความรู้นี้ หรือปัญญาอันนี้จึงเข้าถึงวิสุทธิได้ ที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธินี่อธิบายเป็นลำดับมา ตั้งแต่ทิฏฐิวิสุทธิ แล้วนะคะ เพราะว่า ตั้งต้นเรื่องที่ดิฉันจะพูดถึงวิปัสสนา นี้พูดเพื่อจะให้รู้ว่าวิปัสสนานั้นน่ะ เป็นปัจจัยอย่างไร ทำไมวิปัสสนาต้องมีหลายอย่าง ที่มีหลายอย่างนั้นน่ะ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันอย่างไร ตั้งแต่ต้นมา วิปัสสนา ขั้นต้น วิปัสสนาขั้นที่ ๑ เป็นปัจจัยแก่ขั้นที่ ๒ อย่างไร ต้องการจะให้ทราบอย่างนี้นะคะ เพราะว่าทุกอย่าง ก็ต้องมีเหตุ มาจากเหตุที่ถูกต้องแล้ว ผลนั้นถึงจะถูกต้อง ถ้าเหตุไม่ถูกผลนั้นก็ไม่ถูกเหมือนกัน       เพราะฉะนั้นชื่อว่าวิสุทธิซึ่งเป็นความเห็นที่บริสุทธิ์ เพราะปราศจากความเห็นผิด หรือความเข้าใจผิดว่า นามรูปนั้น เป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือเป็นตัวตน ที่เคยรู้สึก มาก่อนที่ตนยังไม่ได้เข้าพิจารณา เห็นตามความเป็นจริง ของนามรูปนั้น      เมื่อเข้าถึงวิสุทธินี้แล้ว อารมณ์ที่เคยรู้สึก ความ เห็นผิดที่ยังไม่เคยพิจารณา ว่าอันนี้เป็นนาม เป็นรูป รู้สึกว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเรา เป็นของเราอะไรอย่างนี้น่ะ ก็มีอยู่ก่อนที่จะได้เข้าไปปฏิบัติวิปัสสนา ก่อนที่จะวิสุทธิ ถึงจะเข้าวิปัสสนา แต่ถ้าทิฏฐิวิสุทธิยังไม่เข้าถึงวิสุทธิแล้ว ก็ไม่ได้ความเห็นอันนั้นยังไม่แน่นอน ใช่ไหมคะ

      ทีนี้เมื่อความเห็นว่า เป็นนาม เป็นรูป แน่นอน ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล นี่น่ะ ความเห็นอันนี้จะต้องเข้าถึง วิสุทธิด้วย เป็นความเห็นที่หมดจด ต้องเข้าถึงทิฏฐิ- วิสุทธิด้วย เมื่อเข้าถึงทิฏฐิวิสุทธิแล้วเป็นความเห็น ที่ถูกต้องแน่นอน ทีนี้ความรู้สึกที่ผิดก็ต้องหายไป และ ก็จะมาเกิดในปัญญา ที่เห็นว่า มีแต่นามแต่รูป ไม่ใช่ สัตว์บุคคล จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยในที่นั้น จึงถือว่า ในที่นั้น เป็นความเห็นที่บริสุทธิ์ไม่เจือปนด้วยความเห็นผิดเลย นะคะ

      ฉะนั้นวิปัสสนา หรือปัญญา ที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธินี่น่ะ ปัญญาวิปัสสนาอันนี้นับเป็นวิปัสสนาขั้นที่ ๑ ที่ ดิฉัน อธิบายนี่ คล้ายๆ กับว่า ดิฉันลำดับญาณให้ท่านฟังนะ เพราะว่า คนที่เขาเข้าปฏิบัติกันมาแล้ว เขาคงเคยฟังการ ลำดับญาณมาแล้ว ก็เคยมีนะคะ แต่ว่า จะเหมือนหรือ ไม่เหมือนดิฉันไม่ทราบนะคะแต่นี่ก็ลำดับญาณเหมือนกัน ตั้งแต่ญาณที่ ๑ มาเลย ฉะนั้น ปัญญาวิปัสสนาอันนี้ นับเป็นวิปัสสนาขั้นที่๑

      ก็ทำไม ดิฉันนำเอาปัญญา ที่รู้นามรูปปริจเฉทญาณ มาพูดในโอกาสนี้อีก ก็เพราะบอกไว้ว่าจะอธิบายเรื่อง ของอุทยัพพยญาณ ที่บอกเมื่อคราวก่อนนี้ที่อธิบายใน ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิขอให้นับตั้งแต่อุทยัพพยญาณ ที่หมดจดจากกิเลสแล้ว แต่ทำไมเล่า ตอนนี้ถึงได้เอา นามรูปปริจเฉทญาณ หรือปัจจยปริคคหญาณที่ไม่ได้ เกี่ยวเนื่องกันกับอุทยัพพยญาณมาอีก

      เป็นดังนี้ก็เพราะเหตุว่า เพื่อจะให้รู้ว่าอุทยัพพยญาณน่ะ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เอามาจากไหน มาจากเหตุอะไร เพราะฉะนั้น จึงได้ไปดึงเอาญาณต้นมา เพื่อจะได้มาติดต่อกันกับอุทยัพพยญาณ และเป็นเหตุ เป็นผลกันนะคะ มิฉะนั้นก็ไม่รู้ว่าอุทยัพพยญาณนี่น่ะ มาจากไหน ฉะนั้น เวลาที่เราเข้าปฏิบัติจะได้รู้ว่า อุทยัพพยญาณเกิดมาจากเหตุอะไร เหตุนั้นเรามีแล้ว หรือยังนะคะ จะเกิดขึ้นเพราะเหตุอะไร คือว่าธรรม ทั้งหลายนั้นน่ะ ต้องมีเหตุเป็นแดนเกิด จะต้องประกอบ พร้อมไปด้วยเหตุ ไม่ใช่จะเกิดขึ้นมาเองโดยปราศจาก ผลนั้น ถ้าหากว่า ความรู้ความเห็นอันใดเกิดขึ้นมา โดยปราศจากผล ไม่รู้เหตุผลนั้น ก็จะเรียกว่า ความรู้ และรู้จริงไม่ได้นะคะ นอกจากจะคิดเอาเองเท่านั้น

      โดยเหตุนี้จึงยกเอาปัญญาขั้นต้น ที่เป็นเหตุให้ เข้าถึงอุทยัพพยญาณเสียก่อน เพราะว่าความเข้าใจที่ถูกน่ะ จะไม่รู้ไม่ได้นี่โดยเหตุผลทีเดียวก็ถึงว่าทั้งที่รู้แต่ไม่รู้ว่า มาจากเหตุผลอะไร นี่อย่างนี้ก็ได้

      สมมุติว่า เราทำอะไรไปสักอย่างหนึ่ง ทำขนมก็ได้ ทำกับข้าวก็ได้เราเป็นคนทำเป็นใช่ไหม? แต่ว่า ทำด้วย อะไร บอกว่า ไม่รู้ได้ไหม ไม่รู้ละ ทำด้วยอะไรบ้าง ก็ไม่รู้ จะทำขนมด้วยตะไลสักอย่างหนึ่ง อย่างนี้น่ะ หรือทำ ขนมฝรั่งอะไร ก็ตามเถอะ ทำได้แล้วนะ สมมุติว่า เป็นขนมทำได้จนเป็นขนมแล้วนะ แล้วถ้าเขาจะถามว่า จะทำอย่างไร แล้วแป้งนี่ใส่แป้งอะไร ใส่ไข่อะไร ไข่เป็ด หรือไข่ไก่ น้ำตาลอะไร น้ำตาลหม้อ หรือน้ำตาลทราย ทำเป็นแล้วบอกว่า ไม่รู้น่ะ มีไหม มีได้ไหมคะ? ไม่ได้ ใช่ไหมล่ะ? ต้องทำเป็นแล้วซิถึงจะเป็นขนมฝรั่ง ถ้าทำ ไม่เป็น จะเป็นได้อย่างไรล่ะ ใช่ไหม?ขนมอะไรก็ตามเถอะ ถ้าทำเป็นแล้วละก็ต้องรู้ว่าทำด้วยอะไร และทำอย่างไร ต้องรู้ด้วย จะบอกว่าเป็นขนมฝรั่งขึ้นมาเฉยๆ น่ะ ไม่รู้ว่า ทำด้วยอะไร จะเรียกว่าทำเป็นได้ไหม แล้วมันเป็นไม่ได้ ด้วยค่ะ ไม่รู้แล้วจะเป็นขนมฝรั่งไม่ได้ตอนนี้ตัวอาจจะ ไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่า ขนมฝรั่งมันเป็นอย่างไร ก็เลยเป็นขนม อะไรก็ไม่รู้แล้วละ

      นี่แหละ    โดยเหตุผลแล้ว มันเป็นอย่างนี้ใช่ไหมคะ จึงได้บอกว่าถ้ารู้จริงแล้วนะคะ แล้วก็จะต้องรู้นี่โดย เหตุผลนะคะ เพราะฉะนั้น จึงยกเอาญาณต้นที่ว่า ญาณนี้ จะมาจากไหน ขนมนี้จะทำด้วยแป้งอะไร ก็ต้องยกเอามา เล่าให้ฟังว่า ที่จะเป็นขนมนี่ได้น่ะ เป็นเพราะอะไร ฉะนั้น อุทยัพพยญาณ จะเกิดขึ้นได้นี่น่ะ เกิดขึ้นเพราะเหตุอะไร เพราะปัญญาอะไร ไม่ใช่อุทยัพพยญาณ อยู่ๆ จะโผล่ขึ้น มาเฉยๆ ไม่ได้นะคะ นี่แหละอะไรที่จะให้อุทยัพพยญาณ เกิด ต้องการจะให้รู้เพราะฉะนั้นด้วยเหตุนี้แหละ จึงจะเป็นการสะดวกในการที่จะอธิบายถึงอุทยัพพยญาณนั้น นะคะ

      และอีกประการหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อจะ เป็นประโยชน์แก่ผู้จะเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่มีความเข้าใจว่า ตนนั้นน่ะ ได้นำปัญญาเข้าสู่อุทยัพพยญาณ แล้ว จะได้เป็นเครื่องมือพิสูจน์ว่า อุทยัพพยญาณ ที่ตนเข้าใจว่าได้หรือว่าถึงนั้นน่ะได้ประกอบพร้อมด้วย เหตุผลสมบูรณ์แล้วหรือยัง มาจากเหตุอะไร เหตุอย่างนั้น เรามีหรือเปล่า เราได้ทำแล้วหรือยัง อันนี้เป็นเครื่องวัดว่า อุทยัพพยญาณนั้น ใช่แน่หรือไม่ใช่ ที่ตัวเห็นน่ะ พร้อม หรือยัง สมบูรณ์หรือยังด้วยเหตุถ้าหากว่า พร้อมสมบูรณ์ แล้วด้วยเหตุอันนั้นเป็นการรู้แน่นอนว่า ปัญญาที่เห็น นั้นถูกแล้ว และปัญญาที่รู้ถูก เห็นถูก นั่นแหละ จะเป็น ปัจจัย นำท่านเข้าถึงนิพพานได้ถ้าความรู้ความเข้าใจนั้น ยังไม่ประกอบด้วยเหตุผลที่ถูกต้องแล้ว ก็ไม่มีหวังเลย ที่จะบรรลุความสำเร็จผลที่ตนต้องการนั้นได้เพราะ เหตุว่าความเข้าใจผิดนั้น เป็นกิเลสชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้น ในที่นั้น จึงถือว่าบริสุทธิ์ไม่ได้ความเข้าใจผิดนะ แปลว่า เพราะกิเลสใช่ไหม ที่ทำให้ผิด เพราะความหลง เพราะ ความรู้ไม่เท่าทัน เพราะปัญญายังเข้าไปรู้เหตุผลที่ถูกต้อง ไม่ได้เพราะว่า ความเข้าใจผิดนั้นน่ะ เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในที่นั้น จึงทำให้เราเข้าใจผิด เพราะฉะนั้น จะถือว่า ในที่นั้นบริสุทธิ์ไม่ได้ เมื่อความรู้อย่างนั้นไม่เข้า ถึงความบริสุทธิ์แล้ว ความรู้ก็จะเข้าถึงนิพพานไม่ได้ฉะนั้นดิฉันจึงนำเอาปัญญาต้นๆ ที่เป็นเหตุให้ถึงอุทยัพพยญาณมาให้ท่านฟัง แต่เพียงย่อๆ เสียก่อน

      ก็ในญาณ หรือปัญญาขั้นต้น ที่เป็นเหตุให้เกิด อุทยัพพยญาณนั้น มีอยู่ ๓ อย่างด้วยกัน มีนามรูป ปริจเฉทญาณ เป็นต้น อย่าลืมว่า ทุกญาณต้องเป็นปัจจัย ซึ่งกันและกันนะคะ มีนามรูปปริจเฉทญาณ เป็นต้น ตามที่ ได้อธิบายมาแล้ว ก็เมื่อผู้ปฏิบัตินั้นได้เข้าถึงปัญญาที่รู้เห็น ตามความเป็นจริง ที่ตนได้เข้าไปกำหนดนามรูปนั้นแล้ว ผู้นั้นก็ยังไม่ละความเพียรนั้นเสียด้วยอำนาจของศรัทธา และฉันทะที่ประกอบไปด้วยปัญญาของโยคีบุคคล ผู้ประกอบความเพียรนั้น เมื่อเข้าถึงญาณนี้แล้ว เป็นเหตุ ให้เกิดศรัทธา เป็นเหตุให้เกิดปัญญา น้อยคนที่จะ ไม่อยากทำความเพียรต่อไป หรือไม่อยากได้ผลต่อไปน่ะ น้อยนัก เพราะว่าในที่นั้น ยังไม่มีกิเลสอันใดที่จะเกิดขึ้น มาทำลายปัญญาอันนั้นได้ส่วนที่มันไม่ทำ หรือไม่ได้ทำ หรือต้องออกนั้นน่ะ เพราะกิเลสมันเป็นผู้ทำลายให้ ออกมา แต่ว่าขั้นนี้น่ะ เข้าถึงวิสุทธินะ เพราะฉะนั้นไม่มี กิเลสอันใดที่มีอำนาจมีกำลังที่จะมาทำลายศรัทธา ที่เป็นไปในญาณสัมปยุตโดยเหตุนั้น จึงไม่เป็นเหตุให้ ผู้นั้นละความเพียร เสียศรัทธาอันนั้น ปัญญาอันนั้น ก็มี ฉันทะเกิดขึ้นด้วยต้องการให้มีความรู้ยิ่งๆ ขึ้นนะคะ ไม่มีกิเลสอันใดที่จะให้ตกไปจากความเพียร หรือละ ความเพียรนั้นเสีย เพราะว่ากิเลสไม่มีกำลังพอจะลากเรา ออกจากกรรมฐานได้ถ้ากิเลสมีกำลังพอมันก็ลากเรา ออกจากกรรมฐาน ไม่มีคนอื่นลากเราออกหรอก ผู้ปฏิบัติ นั้นยังคงพิจารณานามและรูปต่อไป ด้วยปัญญาที่ชื่อว่า นามรูปปริจเฉทญาณนั้นเอง ไม่ใช่อื่น พิจารณานามรูป นั่นแหละต่อไป และปัญญานั้นก็เจริญว่องไวมากขึ้น ก็เป็นปัจจัยให้เข้าถึงปัญญา ที่ชื่อว่าปัจจยปริคคหญาณนี้ เพราะว่า เมื่อพิจารณานามรูปนะคะ ชื่อว่าเป็นชื่อของ ปัญญา เพราะปัจจยปริคคหญาณนี้เป็นชื่อของปัญญา ที่เข้าไปรู้เหตุปัจจัย ที่ทำให้เกิดแห่งนามรูป ที่ตนพิจารณา อยู่นั้นเอง เพราะกำลังดูนามรูปอยู่ จนแน่ใจว่า นามรูปนี้ หามีผู้หนึ่งผู้ใด มีพระอิศวร พระอินทร์พรหม เป็นต้น มาเป็นผู้บันดาลให้เกิดขึ้น จนสิ้นความสงสัยว่า จะต้องมี คนบันดาลขึ้น ความจริงนั้นน่ะ โลกคือนามรูปนี่น่ะ เกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัยนั้นๆ เอง

      เหตุที่เข้าไปรู้ดังนั้น ทำไมถึงรู้ปัจจยปริคคหญาณ ที่จะเป็นไปดังนั้น ก็ต้องมีเหตุนะ อะไรเป็นเหตุของ ปัจจยปริคคหญาณ

      นามรูปปริจเฉทญาณนั้นแหละ เป็นเหตุของ ปัจจยปริคคหญาณ เหตุที่เข้าไปรู้ดังนั้นน่ะ ก็เพราะปัญญา ที่เข้าไปรู้นามและรูปนั้น เข้าไปรู้นามและรูปนะคะ และ ก็ติดตามดูนามและรูปอยู่ เมื่อนามหรือรูปที่ตนกำลังดู อยู่นั้นน่ะ เกิดขึ้นเมื่อใด หรือขณะใด ซึ่งเป็นอารมณ์ กำลังดูอยู่นะคะ ปรากฏเฉพาะหน้านั้น เวลานั้น จิตของ ผู้นั้นก็ต้องตามดูอยู่ในอารมณ์ที่กำลังเกิดอยู่เฉพาะหน้านั้น หรือกำลังดูอยู่นั้น จึงเป็นปัจจัยให้เข้าไปรู้ทัน ในขณะที่ รูปนามเกิดขึ้น คือว่า ตัวกำลังตามดูอยู่ ที่นี้เมื่อนามรูป อะไรเกิดขึ้น ตัวก็รู้ทันว่าเกิดขึ้น เพราะเหตุอะไร ทีแรกรู้ แต่เพียงว่า เป็นนาม เป็นรูปเท่านั้น ไม่สามารถรู้ว่า นามรูปนี้เกิดจากปัจจัยอะไรได้ ต้องดูติดตามไปจน ชำนิชำนาญ พอเกิดขึ้นก็รู้ปรากฏอารมณ์เฉพาะหน้า อยู่เสมอ ไม่ใช่ว่าตกไปอดีตบ้าง อนาคตบ้าง ดูแล้ว ก็ไม่ดูไป ไม่ใช่อย่างนี้น่ะ ตอนนี้ดูอยู่แล้ว ติดต่อกันอยู่แล้ว ก็เหตุที่เข้าไปดูในขณะที่เกิดขึ้นของรูป เราเข้าไปดูอยู่นี้ แล้วก็ในขณะที่รูปหรือนามนั้นเองเกิดขึ้น ในขณะนั้น ก็จึงเป็นปัจจัยให้รู้ว่า เกิดขึ้นเพราะเหตุอะไร ก็เลยรู้ขึ้นว่า เกิดขึ้นเพราะเหตุอะไร ก็ปัญญาที่เข้าไปรู้เหตุและปัจจัย ที่ให้เกิดขึ้นของนามรูปนี้เอง จึงสิ้นสงสัยว่านามรูปนี้ เกิดขึ้นเพราะมีเหตุบันดาล เพราะฉะนั้น หมดความสงสัย ก็ต้องมีเหตุ

          อะไรทำให้หมด?

      ปัญญาที่เข้าไปรู้ว่า นามรูปนี้เกิดจากเหตุปัจจัย คือปัญญาที่เข้าไปรู้ว่า นามรูปนี้เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยนั้นๆ ก็เมื่อรู้ว่า มันเกิดเพราะเหตุนั้นละก็การที่เข้าใจว่าจะมี ผู้บันดาลกระมัง? หรือที่เคยยึดถือกันอยู่ ซึ่งมีบางลัทธิน่ะ ต้องมีผู้บันดาลขึ้นอย่างนี้มันจะปรากฏขึ้นอย่างไรความรู้ สึกนั้นก็จะต้องหายไป ก็ต้องรู้ชัดว่าเกิดขึ้นได้เพราะ เหตุปัจจัย มีผู้บันดาลเกิดขึ้น อันนี้ก็ไม่มีละ หมดสิ้นแล้ว

      ในปัญญาที่หมดจดจากความสงสัยนี้เอง จึงชื่อว่า เข้าถึงความบริสุทธิ์ บริสุทธิ์หมดจดจากความสงสัย ที่ชื่อว่า กังขาวิตรณวิสุทธิและวิสุทธินี้ก็เป็นวิสุทธิ ขั้นที่ ๒ ต่อจาก ทิฏฐิวิสุทธิเป็นขั้นที่ ๒ ของปัญญา ปัญญาก็ขั้นที่ ๒ วิสุทธิก็ขั้นที่ ๒ ปัญญาบางอันก็เข้าถึง วิสุทธิอันเดียวเฉพาะตัวก็มีหลายๆ อัน เข้าอยู่วิสุทธิหนึ่ง ก็มีเป็นขั้นที่ ๒ ของปัญญาวิสุทธิอันนี้เป็นวิสุทธิของ ปัญญาไม่ใช่วิสุทธิของศีล หรือสมาธินะคะ ขั้นที่ ๒ นี้ ก็ได้มาจากวิสุทธิขั้นที่ ๑ คือ ทิฏฐิวิสุทธินั้นเอง และ แต่ละวิสุทธิก็ต้องเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน อารมณ์ความรู้สึกของวิปัสสนา แต่ละขั้น แต่ละอย่าง ก็ต้องเป็น ปัจจัยแก่อารมณ์ด้วยกันของญาณนั้นเหมือนกัน

      นี่แหละวิสุทธิที่ ๒ ที่เป็นผลมาจากปัจจยปริคคหญาณ เป็นวิปัสสนาขั้นที่ ๒ อันเป็นผลได้มาจากเหตุ คือ วิปัสสนาขั้นที่ ๑ คือนามรูปปริจเฉทญาณนั่นเอง เมื่อ ปัญญาได้ไปเห็นความเกิดขึ้นพร้อมทั้งเหตุและปัจจัย เช่นนั้นแล้ว ก็ยังมิได้ละความเพียรนั้นเสีย ยังคงทำความ เพียรต่อไปและปัญญาที่ชื่อว่า ปัจจยปริคคหญาณนั้นเอง ทำความเพียรในปัจจยปริคคหญาณ แล้วถามว่า นามรูป ปริจเฉทญาณน่ะ มาร่วมอยู่ในนี้หรือเปล่า มารวมอยู่ใน ปัจจยปริคคหญาณหรือเปล่า อันนี้เห็นเหตุและปัจจัยที่ให้ เกิดขึ้นของนามรูป มีนามรูปด้วยนะ ในที่นี้ต้องมีใช่ไหม ปัจจัยของนามรูปก็ต้องมีนามรูปด้วย แล้วก็มีปัจจัยของ นามรูปด้วย ในญาณนี้น่ะ อารมณ์๒ อย่างนี้หรือปัญญา ๒ อย่างนี้อารมณ์นั้นก็ต้องมาร่วมอยู่ในปัจจยปริคคห- ญาณนี้แล้วด้วย

      ทีนี้เมื่อปัจจยปริคคหญาณนี้น่ะ มีกำลังกล้าขึ้นคือว่า เมื่อเกิดขึ้นขณะใด ก็รู้รูปอะไรเกิดขึ้นเพราะเหตุอะไร นามอะไร เกิดขึ้น เพราะเหตุอะไร ก็รู้ในระหว่างที่ดู นี่น่ะ รู้แคล่วคล่องว่องไวทีเดียว ก็เป็นปัจจัยให้เข้าถึงสัมมสนญาณ นี่รู้เกิดนะคะ รู้นามรูปเกิดนะคะ ตอนนี้ เพราะรู้ปัจจัย ปัจจัยนี่เป็นเหตุให้เกิดใช่ไหมคะ รู้การเกิด ด้วยแล้วก็รู้ปัจจัยด้วย ก็ต้องเข้าถึงสัมมสนญาณ ปัญญา ที่ชื่อว่าสัมมสนญาณนี้นี่เป็นชื่อของปัญญาที่เข้าไปเห็น ความดับของนามรูป ในปัจจยปริคคหญาณน่ะเห็นเกิดนะ อย่าลืม แล้วไม่อย่างนั้น การติดต่อกันนี่ มันจะไม่ติดกัน พอมาถึงสัมมสนญาณนี่ เห็นดับนะ ต้องติดต่อกันนะคะ เวลานั้นสังเกต เข้าไปเห็นความดับของนามรูปที่ไม่เที่ยง นั้น เพราะในปัญญาขั้นที่ ๒ หรือวิสุทธิที่ ๒ นั้น ยังไม่เห็นดับนะคะ ก็อาศัยปัญญาที่รู้ในความเกิดขึ้น ของนามรูปนั่นเอง เมื่อรู้การเกิดแล้ว จึงเป็นปัจจัยให้ เข้าไปรู้ความดับของนามรูปที่ดูอยู่นั้น ในเมื่อรูปนามใหม่ เกิดขึ้น เข้าไปเห็นความดับของนามรูปใหม่เกิดขึ้น เข้าไป เห็นความดับของนามรูปที่ตนกำลังดูอยู่นั่นเอง กำลัง พิจารณาอยู่นั้น ในเมื่อรูปนามใหม่เกิดขึ้นเข้าไปเห็น ความดับของนามรูปที่ตนกำลังดูอยู่นั่นน่ะ กำลังพิจารณา อยู่นั่นน่ะ เข้าไปเห็นความดับ ในเวลาไหน เข้าไปเห็น ความดับในเวลาที่นามรูปใหม่เกิดขึ้นนี่จำด้วยนะคะ ขอให้พยายามเข้าใจเหตุผลทีเดียว คุณจำไม่ได้แน่ละ ขอให้เข้าใจก็แล้วกันนะคะ เข้าไปรู้ความดับเวลาไหน รู้ความดับของสัมมสนญาณนี่ รู้เวลาไหน รู้ในเวลาที่ นามรูปใหม่เกิดขึ้นนะคะ แล้วจึงรู้ว่า นามรูปที่เกิดขึ้น นั้นดับไป

      การเห็นรูปนามดับในปัญญาขั้นนี้ยังไม่ใช่ปัจจุบันแท้ ยังเป็นอดีตกาลอยู่ เพราะจะรู้ว่าดับไปได้ก็ต่อเมื่อรูปนาม ใหม่เกิดขึ้นมาแทนเสียก่อน ถ้ารูปนามใหม่ยังไม่เกิดขึ้นมา แทน ก็ยังไม่เห็นว่ารูปนามเก่านั้นดับไป คือรูปนามเก่านั้น มันยังมีอยู่เรื่อย ยังไม่เห็น ยังไม่เห็นนะคะ ถ้ารูปนามใหม่ ยังไม่เกิดขึ้นแทน เพราะฉะนั้น จะรู้ดับในที่นี้น่ะ รู้ต่อเมื่อ รูปนามใหม่เกิดขึ้นมาแทนเสียก่อน แล้วจึงรู้ว่า รูปนาม ก่อนนั้นดับไป การเห็นดับอย่างนี้ยังไม่ใช่ดับอย่างชนิด สันตติขาด ทำไมถึงไม่ขาดเพราะว่ารูปนามใหม่เกิดขึ้นมา แทนรูปนามเก่าอยู่ นี่ยังไม่เรียกว่า สันตติขาดนะคะ แต่ปัญญาที่ปรากฏขึ้นในอารมณ์นั้นว่า ไม่เที่ยง เป็นต้น ก็เกิดขึ้นแล้วเหมือนกัน พอเห็นนามรูปเก่าดับไป ความไม่เที่ยงก็รู้สึกเหมือนกัน แต่ว่ารู้สึกความไม่เที่ยงนั้น ไม่ใช่ชนิดสันตติขาด คนละนัยกันนะคะ แต่ว่าความ ไม่เที่ยงน่ะ เกิดขึ้นแล้วละ ไม่เที่ยง เป็นต้น แต่ก็ยังอยู่ ในขีดของสัมมสนญาณ แต่ท่านก็สงเคราะห์เข้าไว้ใน ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินี้ด้วยเหมือนกัน คือสงเคราะห์เข้าในอุทยัพพยญาณด้วยเหมือนกัน แต่ว่าสงเคราะห์เข้านี้ สงเคราะห์โดยอารมณ์นะคะ เพราะอารมณ์ได้เข้าไป อยู่ในเขตของไตรลักษณ์แล้ว จะเป็นอันใดอันหนึ่งก็แล้ว แต่ถ้าจะว่ากันโดยเหตุผลแล้ว ก็จะต้องเห็นไม่เที่ยงก่อน สำหรับในญาณนี้จะต้องเห็นไม่เที่ยงก่อน เพราะความ เห็นดับนี่ ในที่นี้น่ะ ก็จะต้องไม่เที่ยงก่อน ใช่ไหมล่ะ ทุกข์น่ะอาจจะยังไม่ปรากฏก็ได้ต้องเห็นไม่เที่ยงก่อน นะคะเพราะความหมายของคำว่า ไม่เที่ยง นั้นน่ะอยู่ที่ดับ ไม่ได้อยู่ที่เกิดน่ะเข้าใจไหม อยู่ที่ดับนะไม่ใช่อยู่ที่เกิด

      ถึงแม้ว่า จะเห็นความดับในอารมณ์ก็จริงอยู่ แต่ก็ ไม่รู้ว่าความเกิดนั้นเป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์ยังไม่รู้ถึงเหตุ ของความดับ รู้แต่ว่านามรูปนี่ดับไป ใช่ไหม แต่ว่าปัญญา นั้น ยังไม่หยั่งถึงเหตุว่าที่นามรูปดับไปนี่น่ะ มันมาจาก เหตุอะไร ปัญญาในที่นั้น ยังเฉียบแหลมไม่พอ และ ยังไม่รู้ว่าความเกิดนั้นเป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์เพราะยัง ไม่ปรากฏผลว่า ความดับนั้นนำมาซึ่งทุกข์จึงยังไม่รู้สึกว่า ความเกิดนั้นเป็นทุกข์ยังไม่เห็นความเกิดนั้นเป็นทุกข์ เพราะว่ามาเห็นตอนนี้ เห็นตอนดับ ใช่ไหมล่ะคะ เห็นตอนดับนั่นเอง เมื่อยังไม่ปรากฏเช่นนั้นก็จริงอยู่ แต่ก็ความเกิดนั้นน่ะ ยังไม่รู้สึกเป็นทุกข์ในญาณนั้น ในสัมมสนญาณน่ะ แล้วต่อมาจึงเห็นความเกิด ใช่ไหมคะ จึงเห็นในสัมมสนญาณ พิจารณาอยู่ในสัมมสนญาณน่ะ ที่ดับไป เห็นนามรูปเกิดดับไปในเมื่อนามรูปใหม่เกิดมา นั้นน่ะ ยังพิจารณาอยู่เรื่อยๆ นะคะ แต่ความเกิดและ ความดับนั้นน่ะ ยังไม่ติดต่อกันในอารมณ์เดียวกัน คือว่า ความเกิดขึ้นอารมณ์หนึ่ง และอารมณ์เก่านั้นดับไป ความเกิดและความดับในที่นี้น่ะ ไม่ใช่ติดต่อกันอยู่ ในอารมณ์เดียวกัน ยังอยู่กันคนละอารมณ์อยู่นะคะ เพราะสันตติยังปิดบังอยู่ อำนาจของสันตติยังปิดบังอยู่ แต่ถึงแม้เช่นนั้น ในสัมมสนญาณนั้น จะยังไม่เห็นสมบูรณ์ ด้วยเหตุผลในอารมณ์เดียวกันก็จริงอยู่ แต่ก็ต้องอาศัย ปัญญาความรู้ในสัมมสนญาณนั้นเองที่เป็นปัจจัยส่งเสริม ให้เข้าถึงอุทยัพพยญาณได้

                                                                                                                อ่านต่อตอนที่ ๒ ฉบับหน้า