**ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ตอนที่ ๒)
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ตอนที่ ๒)
โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
ก่อนอื่นที่ท่านจะได้ศึกษาต่อไปนั้น ในสำหรับวิปัสสนา หรือญาณ ๑๖ นั้น ท่านจัดไว้ด้วยปริญญา ๓ ขั้นด้วยกัน นี่น่ะ ข้อสำคัญนี้น่ะ สัมมสนญาณนะ ให้เข้าถึงอุทยัพพยญาณได้อย่างไร สัมมสนญาณนี่เห็นความดับ ก็การที่เห็นความดับในสัมมสนญาณนั่นเอง ตอนนั้นน่ะ ที่จริงความเกิดก็มีใช่ไหม ถ้าเกิดไม่มีแล้วดับจะมีได้อย่างไร แต่ว่า เกิดกับดับน่ะ ยังไม่ติดต่อกัน ไม่ใช่อารมณ์เดียวกัน มันเป็นคนละอารมณ์ไปเท่านั้นเอง ในญาณทั้งหมดมี ๑๖ ญาณด้วยกัน แต่ว่าใน ๑๖ ญาณนั้นน่ะ ท่านจัดโดยปริญญาไว้ ๓ ขั้น ด้วยกัน คล้ายๆ กับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ท่านจัดไว้ในวิปัสสนานี้ค่ะ ท่านจัดปริญญาไว้ ๓ ขั้นด้วยกัน คือ ท่านนับตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณไปถึงสัมมสนญาณ ๓ ญาณนี่ เป็น ปริญญาขั้นหนึ่ง ท่านเรียกว่า ญาตปริญญานี่ ๓ อันนี่นะคะ คล้ายๆ กับว่า ๓ อันนี่ เป็นปริญญาตรี เป็นปริญญาขั้นต้นนะคะ เฉพาะอุทยัพพยญาณ ญาณเดียวนั้นน่ะ ให้ปริญญาหนึ่ง เฉพาะอุทยัพพยญาณอันเดียว ให้ปริญญาอีกปริญญาหนึ่ง ชื่อว่าตีรณปริญญา นี่สมมุติเป็นปริญญาโท ทีนี้ปริญญาเอก นับตั้งแต่ภังคญาณที่ต่อจากอุทยัพพยญาณไปจนถึงปัจจเวกขณญาณ นี่ปริญญาเอก ต้องได้มาอย่างนั้นสิ ชื่อว่า ปหานปริญญา ๓ ขั้นด้วยกัน
ฉะนั้น ในปริญญาทั้ง ๓ นี้ ก็ต้องเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันเหมือนกัน ปริญญาโท จะได้ก็ต้องอาศัยมาจากปริญญาตรี ใช่ไหม ถ้าไม่ได้ปริญญาตรีมาก่อนแล้ว ปริญญาโทก็ไม่ได้ ต้องได้ปริญญาโทก่อนแล้ว ถึงจะได้ปริญญาเอก เหมือนกันกับวิปัสสนาสภาวะ หรือธรรมะ ก็อย่างเดียวกัน ถ้าโลกนี้เป็นไปด้วยธรรมะขอให้นึกอย่างนั้นนะคะ ในปริญญาทั้ง ๓ นี้ ก็ต้องเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ดังเช่นปัญญาในสัมมสนญาณก็ต้องเป็นปัจจัยให้อุทยัพพยญาณ ก็ปัญญาที่ชื่อว่าอุทยัพพยญาณนี้ เป็นชื่อของปัญญาที่ เห็นความเกิดขึ้นและดับไปของ นามรูป ในสัมมสนญาณนั่น เห็นความดับ แต่ว่าเห็นในเมื่อมีรูปใหม่เกิดแทนนะคะ ไม่เที่ยงก็เห็นเหมือนกัน แต่ไม่ใช่อย่างชนิดสัมมสนญาณ
ตอนนี้ พอถึงสัมมสนญาณ เห็นทั้งเกิดและทั้งดับนะคะ
ขั้นที่ ๑ รู้ว่า เป็นนามเป็นรูป
ขั้นที่ ๒ รู้ว่า นามรูปเกิด
ขั้นที่ ๓ รู้ว่า นามรูปดับ
ขั้นที่ ๔ รู้ว่า รู้นามรูปทั้งเกิดทั้งดับ
ในอุทยัพพยญาณ เห็นไหมว่าเนื่องกัน เห็นไหมว่า ปัจจัยนี้เนื่องกันอารมณ์ก็เนื่องกัน นี่แหละ
ปัญญาที่ชื่อว่า อุทยัพพยญาณนี้ เป็นชื่อของปัญญาที่เห็นความเกิดขึ้นและดับไปของนามและรูป ที่ได้พิจารณามาแล้วตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณเป็นต้น นามรูปนั้นถึงมาทีเดียว ถึงมาตั้งแต่ได้มาจากนามรูปปริจเฉทญาณ ก็เอามาใช้เรื่อยมาตลอดจนกระทั่งถึงอนุโลมญาณเป็นที่สุด ใช้นามรูปนับตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณมา
ฉะนั้น ในอุทยัพพยญาณนี้ ก็เป็นการเกิดขึ้นและดับไปของนามรูป ที่ได้มาจากนามรูปปริเฉทญาณนั่นแหละ เป็นต้นมาทีเดียว แต่ปัญญาที่เห็นการเกิดขึ้นและดับไปในอุทยัพพยญาณนี้ ต่างกันกับการเห็นความเกิดขึ้นและดับไป ของในญาณที่ ๒ และ ๓ ใช่ไหม
ทำไมถึงพูดว่าญาณที่ ๒ และญาณที่ ๓
ญาณที่ ๒ รู้การเกิดขึ้นของนามรูปพร้อมด้วยเหตุปัจจัย
ญาณที่ ๓ รู้ความดับของนามรูป ในเมื่อรูปใหม่เกิดขึ้นแทน เห็นไหม ทั้งเกิดทั้งดับ ใช่ไหม ญาณที่ ๒ และ ญาณที่ ๓ นี่ เห็นเกิดและดับ
ทีนี้ พอมาถึงอุทยัพพยญาณอีก อารมณ์ของญาณทั้ง ๒ นั้น ก็มาอยู่ในอุทยัพพยญาณ ทั้งเกิดและดับ ทั้งนามรูปที่ได้มาจากนามรูปปริจเฉทญาณ ทั้งความเกิดขึ้น ที่ได้มาจากปัจจยปริคคหญาณ ทั้งความดับไป ที่เห็นในสัมมสนญาณนะคะ พยายามฟังเพื่อเหตุผลหน่อยค่ะ มันสุขุมหน่อย มันละเอียดมาก เพราะฉะนั้น ที่มารวมกันอยู่ในอุทยัพพยญาณนี่ ทั้งหมดเลย ตั้งแต่ญาณที่ ๑ มาจนถึงอุทยัพพยญาณนี่ น่ะ รวมหมดแล้ว เพราะเห็นการเกิดและดับในที่นี้ เป็นการเห็นที่พร้อมทั้งนามและรูป แต่ก่อนนี้ความเกิดขึ้นและดับไป รูปที่เกิดขึ้น อันนี้รู้ว่า
อ้อ! เกิดจากปัจจัยนั้น นามนั้นเกิดขึ้นมาก็รู้ว่า เกิดจากปัจจัยนั้น แต่ว่าในอุทยัพพยญาณนี่ ไม่ใช่อย่ างนั้น เห็นพร้อมกันทั้งนามและรูป เกิดและดับด้วยกัน และเป็นการที่เห็นเฉพาะในอารมณ์ปัจจุบัน โดยไม่ต้องอาศัยอดีตและอนาคต และเป็นการเห็นในอารมณ์อันเดียวกันทั้ง เกิดและดับ ไม่ต้องมีรูปอื่นมาแทน แล้วจึงเห็น อย่างในสัมมสนญาณน่ะ เมื่อมีรูปใหม่เกิดขึ้นมาแล้วจึงเห็นว่า รูปเก่านั้นดับไป ส่วนในอุทยัพพยญาณไม่ใช่อย่างนั้น เห็นทั้งรูปเกิดขึ้นและรูปนั้นดับไป โดยไม่ต้องมีรูปใหม่ เกิดขึ้นมาแทนเลยนะคะ นี่ ต่างกัน ขอให้สังเกตนะ ท่านฟังและขอให้พยายามเข้าใจว่าญาณนี้ต่างกันที่ตรงไหน เป็นปัจจัยกันที่ ตรงไหนมารวมกันสงเคราะห์ได้ที่ ตรงไหน อันนี้แหละ สำคัญมากนะคะ เป็นการรวม เห็นโดยปัญญาในอุทยัพพยญาณนี้นะคะ โดยอารมณ์ของปัญญาในอุทยัพพยญาณนี้น่ะ เป็นการรวมอารมณ์ของปัญญาทั้ง ๓ ขั้นต้นนั้น ให้อยู่ในอารมณ์ของปัญญาในอุทยัพพยญาณนี้ด้วย และยังเป็นปัจจัยให้แก่ อารมณ์ข้างหน้าอีกด้วย ตามที่ได้สงเคราะห์ไว้ในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เขาจัดตั้งต้นตั้งแต่ อุทยัพพยญาณที่สงเคราะห์เข้าในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินะคะ ก็เป็นปัจจัยต่อไปแก่ญาณ ที่อยู่ในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิด้วยกันนี่แหละ
โดยเหตุนี้ ท่านจึงจัดอุทยัพพย ญาณเข้าไว้ในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ อุทยัพพย-ญาณที่ ยังไม่ สงเคราะห์เข้าในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิก็มี ใช่ไหมคะ และที่สงเคราะห์เข้าไปในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินี้ก็มี ต่างกันอย่างไร? ต่างกันเพราะอะไรนะคะ อุทยัพพยญาณที่สงเคราะห์เข้าในญาณทัสสนวิสุทธินั้นน่ะอยู่ในวิสุทธิอันไหน? มีทั้ง ๒ อย่างนะ พอเรียนถึงวิสุทธินี้ วิสุทธิอันเก่า คุณก็ลืมเสียแล้ว มัคคามัคคญาณก็เรียนมาแล้ว เวลานี้ กำลังขึ้นปฏิปทาญาณทัสสนวิสทธิ ทีนี้มัคคามัคคญาณก็ชักจะลืมไปเสียอีกแล้ว
อุทยัพพยญาณ ที่ยังไม่สงเคราะห์เข้าปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิน่ะ เพราะมีวิปัสสนูปกิเลสเจือปนอยู่เพราะฉะนั้น อุทยัพพยญาณอันนั้นสงเคราะห์เข้าอยู่ในมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ แต่ว่าอุทยัพพยญาณที่ปราศจากวิปัสสนูปกิเลสแล้วนี่ เขาสงเคราะห์ไว้ในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินะคะ
โดยเหตุนี้แหละ ท่านจึงได้จัดเอาอุทยัพพยญาณ ญาณเดียวนี่แหละ เข้าไว้ในตีรณปริญญา อุทยัพพยญาณอันเดียวเท่านั้น เป็นปริญญาขั้นหนึ่ง
อีกประการหนึ่ง การเห็นการเกิดดับในอุทยัพพยญาณนี้ ไม่ต้องเห็นโดยมีรูปใหม่เกิดมาแทนอย่างสัมมสน-ญาณนี้ เพราะการเห็นความไม่เที่ยงในที่นี้ เป็นการเห็น เพราะความขาดของสันตติ แต่สัมมสนญาณไม่ใช่ขาดจาก สันตติ แต่ว่าในอุทยัพพยญาณนี่ เป็นการเห็นที่ขาดจากสันตติ ถ้าหากพระโยคีบุคคลที่ยังไม่เคยเห็น เมื่อเข้าไปเห็นครั้งแรกๆ มักจะรู้สึกน่าหวาดเสียวมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ในความดับที่น่าหวาดเสียวน่ะ มันมีเห็น ทั้งเกิดทั้งดับ ใช่ไหม ในอุทยัพพยญาณนี่ แต่ว่า ที่น่ากลัวและน่าตกใจนี่ เฉพาะความดับ เพราะดับชนิดขาดจากสันตติ ไม่ใช่ดับอย่างในสัมมสนญาณ
ในสัมมสนญาณนั้น ดับก็จริง แต่ว่ายังมีรูปใหม่ เกิดมาแทน คล้ายๆ กับว่ายังมีคนมาแทนอยู่ แต่ในอุทยัพพยญาณนี่ ดับแล้วขาด ไม่มีใครแทนเลย ตัวคนเดียว โดดเดี่ยวเลยในที่นั้นนะคะ
เพราะฉะนั้น ในขณะที่ดับนี่น่ะ คนที่ไม่เคยเห็นแล้ว จะรู้สึกน่ากลัว หรือตกใจ หรือรู้สึกน่าหวาดเสียว
เมื่อพระโยคีบุคคล นำปัญญาเข้าถึงความเกิดขึ้นและ ดับไปในอุทยัพพยญาณ ซึ่งเป็นปัญญาที่ได้มา หรือเกิดขึ้น จากภาวนาโดยแท้จริง มิใช่ได้อาศัยมาจากสุตตมยปัญญา และจินตามยปัญญา ปัญญานี้ เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้น เฉพาะหน้า ในอารมณ์ปัจจุบันที่ ตนกำลังพิจารณาอยู่ นั้นเอง จึงเป็นธรรมดาอยู่ เองที่ ไม่ เคยนึก หรือไม่ เคยรู้สึกว่าจะเห็น จะเข้าไปเห็นอะไร หรือเข้าไปเห็นอย่างนั้น ไม่เคยนึกเลย เพราะตัวไม่เคยเห็น ตัวจะไปนึกอย่างไร แต่เมื่อเห็นเข้าแล้วก็ทำความประหลาดใจให้แก่ผู้นั้น และก็ย่อมตื่นในความรู้ ที่เคยเข้าใจผิดไว้ เมื่อยังไม่ ได้พิจารณาเห็น พอเห็นปั๊บ ก็มีความรู้สึกว่าตื่นในที่นั้นเลย แต่เมื่อมีความประหลาดใจขึ้นความประหลาดใจที่เกิดขึ้น นี้มี ๒ อย่างนะคะ ในที่นั้นเกิดความประหลาดใจที่ไม่เคยนึกเลยว่า จะเห็นทำไมเข้าไปเห็นได้ ไม่เคยนึกเลยว่า จะมีอย่างนี้ ไม่เคยนึกเลยว่า จะรู้อย่างนี้ เหมือนคำประกาศ ที่ว่าอัศจรรย์จริงพระเจ้าค่ะ สิ่งที่ไม่เคยจะรู้ก็รู้ขึ้น สิ่งที่ไม่ เคยจะเห็นก็เห็นขึ้นเขาประกาศในคำเทศนาของพระองค์ เหมือนอย่างกับดวงไฟที่ จุดขึ้นให้สว่าง
คนที่อยู่ในที่มืดนั้น มองเห็นทาง คำเทศนาของพระพุทธเจ้าน่ะ เหมือนอย่างนี้ เหมือนกับชี้ทางให้คนหลงทาง เขาประกาศขึ้นมาทีเดียว สิ่งที่เขาไม่เคยนึกไม่เคยเห็น อัศจรรย์จริงสิ่งนั้น ไม่เคยนึกว่าจะมีก็มีขึ้น ไม่เคยนึกจะรู้ก็รู้ขึ้น เขาประกาศความอัศจรรย์ทีเดียว เพราะไม่เคยเห็น เพราะว่า เราไม่เคยเข้าถึงอุทยัพพยญาณ ใช่ไหม เราจะไปรู้ได้อย่างไร ในที่ นั้นน่ะ ก็ทำความประหลาดใจให้แก่ผู้นั้น แต่ความประหลาดใจที่เกิดขึ้นน่ะ ความประหลาดใจนี่มันมี ๒ อย่างนะ คือประหลาดใจนั้นน่ะ เกิดขึ้นด้วยกิเลสก็ได้ พอความประหลาดใจเกิดขึ้น กิเลสก็เข้าเลยนะคะ เกิดขึ้นด้วยกิเลสเป็นเหตุ หรือปัญญาเป็นเหตุ
ถ้าความประหลาดใจนั้นเกิดขึ้นในอารมณ์ที่มีกิเลสเป็นเหตุ ความประหลาดใจนั้น ก็เป็นปัจจัยแก่ กิเลสเข้าอาศัยให้ความประหลาดใจนั้นเกิดต่อไป เกิดต่อไปเราไปเห็นอะไรเข้า โอ้โฮ! แหม ไม่เคยเห็นเลย ไม่นึกเลยว่า มันจะสวยงามอย่างนี้ ทีนี้กิเลสนั้นน่ะ อะไรล่ะ ก็โลภะน่ะซิ ความไม่พอใจเกิดตามขึ้นมา หรือไปเห็นคนที่เขามีจิตใจร้ายกาจฆ่ากัน แหม! มันไม่เคยนึกเลยว่า มันจะฆ่ากันร้ายแรงถึงอย่างนี้ ความประหลาดใจอย่างนี้ โทสะกิเลสก็ไปกับความประหลาดใจนั้น เป็นปัจจัยลากเอาโทสะเกิดขึ้น เป็นปัจจัยลากเอาโลภะเกิดขึ้นก็ได้เหมือนกันมี ๒ อย่างนะคะ แล้วแต่มันประหลาดใจด้วยอะไร ถ้าด้วยกิเลส ก็เป็นปัจจัยแก่กิเลส ถ้าด้วยปัญญา มันก็เป็นปัจจัยแก่อารมณ์ของปัญญา กุศลต่างๆ ปัญญาต่างๆ ก็เกิดขึ้นนะคะ
ถ้าหากว่า ความประหลาดใจนั้น เกิดขึ้นด้วยปัญญา จะเป็นเหตุให้ความประหลาดใจนั้น เป็นปัจจัยแก่ปัญญา ให้ปัญญานั้นเกิดขึ้นต่อไปตามลำดับกัน เมื่อมันเข้าไปเห็นด้วยปัญญา ว่าความไม่เที่ยงนี่ เป็นถึงแค่นี้เชียวนะนี่ สมมุตติว่าอย่างนี้นะ เพราะมันเข้าไปเห็นความไม่เที่ยงน่ะ ต้องเห็นด้วยปัญญา เมื่อปัญญาเข้าไปเห็นอย่างนั้น แหม! มันเป็นถึงแค่นี้ มันเป็นถึงอย่างนี้ทีเดียวนะ ทีนี้ก็เป็นปัจจัยแก่ปัญญาต่อไปละ โธ่เอ๋ย! ไม่ควรจะยินดีใช่ไหม ไม่ควรจะยินดีเลย เป็นที่ควรจะน่าเบื่อหน่าย ก็เกิดเป็นอารมณ์ของปัญญา ที่ จะกำจัดให้กิเลสนั้นหมดไป นี่ แหละ ปัญญานี่น่ะ ไปประหลาดใจด้วยปัญญาเป็นเหตุ และก็นำไป ปัญญาก็เข้าอาศัยอันนั้นต่อไปอีก เป็นเหตุ เป็นปัจจัยกันนะคะ ก็แล้วแต่ว่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุอะไร ดังเช่น ความประหลาดใจนี้เกิดขึ้นแก่ปัญญาในอุทยัพพยญาณ ก็เป็นปัจจัยให้เข้าถึงปัญญาในภังคญาณ ภังคญาณนั้นก็เป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาขั้นต่อๆ ไป จนบรรลุนิพพาน
ในตอนนี้ จะขอย้อนกลับมาทำความเข้าใจ ในคำว่า ปัญญาในอุทอัพพยญาณนั้นจะเป็นปัจจัยแก่ ปัญญาในภังคญาณได้อย่างไร? เพราะในเวลานี้ เรากำลังพูดกันอยู่ในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ซึ่งได้แก่อุทยัพพยญาณที่ มีกำลังกำจัดวิปัสสนูปกิเลสแล้ว เป็นต้นไป จนถึงโคตรภูญาณ แต่ในเวลานี้กำลังอยู่ในอุทยัพพยญาณ ที่มีกำลังพูดกันอยู่นี้นะคะ ก็ควรทราบ หรือควรรู้ด้วยว่าอุทยัพพยญาณนั้น เป็นปัจจัยแก่ภังคญาณอย่างไร ที่อธิบายมาแล้วนั้นเฉพาะเหตุให้เกิดอุทยัพพยญาณใช่ไหมคะ ว่าอันนั้นเป็นปัจจัยอย่างไรอุทยัพพยญาณมาได้อย่างไร เกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเหตุอะไรที่แล้วมานะคะต่อไปนี้ จะอธิบายว่า อุทยัพพยญาณ จะเป็นปัจจัยแก่ญาณต่อไปได้อย่างไร ทีนี้ต่อไปอุทยัพพยญาณจะเป็นปัจจัยแก่ ญาณต่ อไปได้อย่างไรจึง ย้อนกลับมาหาอุทยัพพยญาณนั้นอีกทีนะคะ
เมื่อตะกี้ดิฉันได้อธิบายแล้วว่า อุทยัพพยญาณนั้นน่ะ เป็นชื่อของปัญญาที่ เข้าไปรู้ความเกิดขึ้นและดับไปซึ่งเป็นปัญญาที่เกิดขึ้น หรือได้มาจากการภาวนาอันแท้จริงโดยเฉพาะ มิได้อาศัยจากสุตตมยปัญญาหรือจินตามยปัญญานั้นเลย หากแต่เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในอารมณ์ปัจจุบัน ที่ตนกำลังพิจารณาอยู่นั้นเองโดยยังมิได้ทำความรู้สึกว่า จะรู้อะไร หรือจะเห็นอะไรในสิ่งที่ตนยังไม่เคยรู้ หรือไม่เคยเห็น จึงเป็นธรรมดาอยู่เอง ที่เมื่อเข้าไปรู้หรือเห็นในสิ่งที่ตนไม่ เคยนึกว่า จะรู้อย่างนั้น จะเห็นอย่างนั้น เมื่อได้เข้าไปพบไปเห็นเข้าด้วยปัญญาแล้ว ก็ย่อมทำความประหลาดใจให้เกิดขึ้นในที่นั้น หรือแก่ผู้นั้น ที่เข้าไปเห็นนั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือ ในความดับ เพราะเหตุที่ว่าความดับในที่นั้นเป็นความดับที่ขาดจากสันตติ คือไปเห็น เพราะว่า เมื่อมีอะไรดับไป ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาแทนเสียก่อนแล้ว จึงดับไป คล้ายๆ กับว่า คนจะจากไปนั้น บอกว่าฉันจะไปละ ก็ไม่เป็นไรหรอก คนนี้เขามาแทนแล้ว ฉันจะไปก็ได้ไม่เป็นอะไรหรอก เพราะฉะนั้น การไปของคนนั้นน่ ะดูไม่ ค่ อยหนักหนาอะไรเท่าไรหรอก เพราะว่า มีคนใหม่มาแทนแล้ว เราก็อุ่นใจ ถึงคนนั้น จะไปแล้วก็ไม่ เป็นไร แต่ ทีนี้ ในที่ นี้ ไม่ ใช่อย่ างนั้นน่ ะ ถ้าฉันอยู่ คนเดียว แล้วแกไปเสียอีกคน ฉันก็เลยอยู่ คนเดียวเท่ านั้นเอง ไม่ มีใครมาแทนเลย ความรู้สึกในการไปของคนนั้นน่ะ จะเป็นอย่างไรคะ รู้สึกเสียอกเสียใจ รำพึงรำพันว่า ฉันอยู่คนเดียวยังกล้าทิ้งฉันไปได้นะ อย่างนั้น อย่างนี้น่ะ อะไรต่ออะไร มันไปโดยไม่มีใครแทนเลย เมื่อคนนั้นเขาไปแล้ว ฉันอยู่คนเดียวอย่างหว้าเหว่
นี่นะคะ ความรู้สึกในอุทยัพพยญาณที่เห็นดับไปโดยไม่มีรูปนามเกิดขึ้นมาแทนเลยนะคะ เกิดขึ้นมาแทนเสียก่อน แล้วจึงดับไป อย่างที่เห็นในสัมมสนญาณ ซึ่งปัญญานั้นยังอ่อนอยู่ แต่ตอนเห็นความดับในอุทยัพพยญาณ เป็นการเห็นด้วยปัญญาแก่กล้าและแหลมคมมาก ว่องไวมากด้วย เพราะปัญญาในขั้นนี้เป็นปัญญาที่สงเคราะห์อยู่ในวิสุทธิแล้ว ซึ่งไม่มีกิเลสมาปิดบัง ที่จะไม่ให้เห็นความจริงในที่นั้นได้ เพราะปราศจากกิเลสแล้ว เข้าถึงวิสุทธิแล้ว ใช่ไหมคะ ปัญญานั้นบริสุทธิ์ ใสสะอาด คมไวที่จะเห็น เหมือนกระจกที่ใสแล้วน่ะ มีอะไรผ่านไป แม้แต่เพียงเล็กน้อยก็สามารถจะเห็นได้ก็กระจกนั้นมันยังขุ่นมัวอยู่ ปัญญานั้นยังขุ่นมัวอยู่ ยังอ่อนอยู่ อาจจะไม่แลเห็นในความจริงชัดเจนในเงาที่ผ่านไป ในกระจกที่ ยังไม่ ใสสะอาด แต่ อุทยัพพยญาณนี่ แหลมคมมาก เข้าถึงวิสุทธิแล้ว กิเลสซึ่ งจะมาทำให้ปัญญาในที่ นั้นมัวหมองไป ไม่ มีแล้วนะคะ ปัญญานั้น จึงว่ องไว จึงสามารถเข้าไปเห็นความขาดของสันตติได้ ฉะนั้น ความดับไปในที่นี้ จึงเป็นที่สนใจของผู้ที่ยังไม่เคยเห็น สนใจในลักษณะที่ดับ ใช่ไหมคะ และปัญญาที่บริสุทธิ์จากการปิดบังของกิเลสในที่นั้นเอง จึงสามารถจะตัดสินได้เด็ดขาด ตัดสินได้เด็ดขาดว่า ธรรมที่ตนได้เข้าไปรู้ไปเห็นในที่นั้นน่ะ เป็นของจริง ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน และไม่มีอำนาจอะไรที่จะเปลี่ยนแปลง ที่ไม่ให้เป็นไปอย่างนั้นได้ และเพราะอาศัยปัญญาที่แน่นอน และเด็ดขาดในที่นั้นเอง ก็จึงได้ทำการตัดสินลงไปว่า ไม่เที่ยง อันนี้ก็ว่าไม่เที่ยงเหมือนกัน แต่ว่า ในที่นี้มันแน่นอนกว่าในสัมมสนญาณ เห็นเหมือนกันแหละแต่ว่ามันไม่ชัดเจนเหมือนในที่ นี้ ในที่ นั้นเป็นของเก่า แต่ในที่นี้ เห็นที่กำลังเป็นอยู่ด้วยกันอย่างนี้น่ะ ถ้าจากกันไปแล้วนานๆ แล้ว รู้ข่าวว่า ตายแล้วก็ไม่เป็นไรใช่ไหม ? ก็เห็นกันอยู่เมื่อตะกี้ เมื่อเช้านี้เอง พอประเดี๋ยว ได้ข่าวว่า ตายแล้ว ความรู้สึกอย่างนี้น่ะ ต้องแก่กว่า ต้องแรงกว่าที่เขาหายไปนาน แล้วเขาจะเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ น่ากลัว ตายแล้วกระมัง ถึงรู้ข่าวว่าตาย ก็ไม่เป็นไร แต่ว่า พึ่งเห็นอยู่เมื่อตะกี้นี้เอง แล้วก็รู้ข่าวว่า เขาตายนี่น่ะ เหมือนอย่างคนอยู่ในที่นี้น่ะ พอเดินออกไปถึงข้างนอก ไปถูกรถชนตาย พอคนเขาวิ่งเข้ามาบอก แหม! เราจะประหลาดใจ เราจะตื่นเต้น ใช่ไหม ในอุทยัพพยญาณก็เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเห็นเฉพาะ เมื่อดับไปแล้ว คนอื่นเข้ามาแทนแล้ว ไม่ใช่อย่างนั้นนะคะ ในอุทยัพพยญาณไม่ใช่อย่างนั้นนะคะ
เพราะฉะนั้น การตัดสินใจเด็ดขาดลงไปว่าไม่เที่ยงเป็นต้น ไม่ใช่นึกเอา ก็ปัญญาที่ปรารถนาความไม่เที่ยง ที่ เกิดขึ้นในที่ นั้น หรือในขณะนั้นเอง เห็นปุ๊บลงไปในขณะนั้น ก็ตัดสินลงไป ก็เกิดขึ้นในขณะนั้นทีเดียว ในขณะที่เห็นนั้นเองแหละ ก็ทำการฉุดถอน หรือกระชากความรู้สึกที่ เกิดขึ้นจากความเห็นผิด หรือเข้าใจผิด ที่สำคัญว่าเที่ยง เป็นต้น หรือเป็นตัวเป็นตน มีตัว มีตน ในที่นั้น ฉุดออก กระชากออกมาเลยทีเดียว แต่จะเป็นสมุจเฉทหรือไม่นั้น จะพูดกันอีกตอนหนึ่ง แต่ขณะนี้ จะพูดกันแต่การงานของอุทยัพพยญาณในที่นั้นนะคะ อีกตอนหนึ่ง แต่ขณะนี้ก็จะพูดแต่เพียงว่า การงานขณะที่ความรู้สึกของ ปัญญาที่ปรากฏอยู่ ในที่ นั้นเท่านั้น โดยเฉพาะในอุทยัพพยญาณน่ะ กระชากความรู้สึกนะคะ ที่ความเห็นผิด หรือความเข้าใจผิดว่า เที่ยง หรือว่าเป็นตัวตนที่ หมักดองอยู่ ในสันดานของตน ที่ เป็นไปในสังสารวัฏฏ์นั้น ถูกถอนออกไปหรือตัดออกไปในขณะนั้นเอง ความรู้สึกด้วยอำนาจของความเห็นผิดนั้น จะปรากฏขึ้นไม่ได้ในขณะนั้นเลย นี่อุทยัพพยญาณ
ตอนนี้ยังอยู่ในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ แล้วก็ภังคญาณ เป็นญาณที่ ๕ นะคะ แต่ยังอยู่ในวิสุทธิที่ ๖ เรื่ องปฏิบัตินี่ ก็ยังไม่จบนะคะ เพราะว่า ค้างมาตั้งแต่คราวก่อน แล้วผู้ที่มาฟังใหม่นี่ก็ยังอาจจะไม่ติดต่อกัน คราวที่ แล้วมาก็ยังอยู่ ในภังคญาณนะคะ ภังคญาณน่ะ ก็ปัญญาที่ แลเห็นความดับของนามรูป เป็นปัญญาที่ มีความรู้แน่นอน และเด็ดขาดในที่นั้น ก็ได้ทำการตัดสินลงไปว่า ไม่เที่ยง เป็นต้น นี่ในภังคญาณนะคะ ความไม่เที่ยงที่ได้มาจากภังคญาณน่ะ เป็นความไม่เที่ยงที่ได้มาจากวัตถุที่ แสดงให้เห็น ไม่ใช่นึกเอา ก็ปัญญาที่ ปรารภความไม่เที่ยงที่เกิดขึ้นในที่นั้น หรือขณะนั้นเอง ที่หมักดองอยู่ในจิตใจ ที่เป็นไปกับสังสารวัฏฏ์ คือนานมาแล้ว หลายชาติ หลายภพ ความเข้าใจผิดที่ ติดอยู่ ในจิตใจน่ะ เรียกว่า หมักดองอยู่ในสันดาน อยู่ในจิตใจ ที่เป็นไปกับสังสารวัฏฏ์นั้น เมื่อเข้าถึงภังคญาณแล้ว เข้าถึงปัญญาอันนี้แล้ว ก็หลุดถอนความเข้าใจผิดนั่นแหละ ถอนความเข้าใจผิดออก ถอนออกไป หรือดับไปในขณะนั้นเอง ดับไปในขณะที่ปัญญาเข้าไปเห็นความดับของนามรูปนั่นแหละ ความเข้าใจผิดที่ดองอยู่ในสันดาน ที่ยังไม่เกิดปัญญาก็ดับไป ดับไปกับขณะที่ปัญญาเห็นความดับของนามรูปนั้นเอง ความไม่เที่ยงก็ปรากฏขึ้นมา ความเข้าใจที่ว่าเที่ยง หรือเข้าใจว่า เป็นตัวตนในที่นั้นน่ะ หลุดไปด้วย ก็ดับไปด้วย ในขณะที่ปัญญาเห็นความดับในที่นั้นเหมือนกัน เป็นความรู้สึกด้วยอำนาจของความเห็นที่ผิดนั้นน่ะ ก็ปรากฏขึ้น ไม่ได้เลย ในขณะนั้น ในปัญญานั้น ฉะนั้น ความดับ หรือความไม่เที่ยง เป็นต้น ที่เห็นในอุทยัพพยญาณ ที่สงเคราะห์ด้วยปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินี้ จึงเป็นความดับที่น่าสะเทือนใจ หรือน่าสนใจมาก จึงเป็นธรรมดาอยู่ เองที่จะต้องสนใจกับความดับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยพบ เมื่อไปสนใจกับความดับซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยพบ เมื่อไปสนใจกับความดับมาก ก็ต้องเห็นแต่ความดับนั้นมากขึ้น แต่ไม่ใช่ว่า ในที่นั้นจะไม่มีความเกิด หากแต่ไม่ไปสนใจเท่านั้นเอง คือไม่ไปสนใจกับความเกิด ความเกิดนี่น่ะ คล้ายๆ ว่าเป็นของที่เคยเห็นมาแล้ว ตั้งแต่ในปัจจยปริคคหญาณ ปัญญาที่ไปสนใจในความดับ หรือความรู้สึก ในความแตกความทำลายไปของสังขารหรือรูปนามในที่นี้เอง ท่านเรียกปัญญา ที่เห็นความดับในที่นี้ว่า ภังคานุปัสสนาญาณ หรือ ภังคญาณก็เรียก ภังคญาณนี้ เป็นปัญญาที่ได้รับต่อมาจากปัญญาที่ เข้าไปเห็นความดับในอุทยัพพยญาณ ที่ ทำลายความรู้สึกที่ เกิดขึ้นจากความเห็นผิดที่ มีในใจ ที่ว่าเที่ยง เป็นต้น หรือที่หมักดองอยู่ในสันดานนั้นก็ได้ ถูกทำลายไปแล้วในปัญญาของอุทยัพพยญาณนั้นแล้ว
ฉะนั้น อารมณ์ของความเห็นผิดมีนิจจัง เป็นต้น จะเกิดขึ้นในภังคญาณนี้ไม่ ได้เลย เพราะปัญญาในที่ นี้เห็นความแตก ความทำลายในสังขารนั้นอยู่ เสมอไป ในเวลาที่มีการพิจารณาอยู่นั้น ก็เห็นความแตก ความทำลายไป ท่านอุปมาเหมือนกับน้ำฝน เรามองดูน้ำฝนนี่ ตกลงมา นี่ น่ะพอตกลงมาแล้วก็แตกไปทำลายไป เราก็จะเห็นความแตก ความทำลายของน้ำฝน อุปมาเหมือนกับเห็นน้ำฝนที่แตกทำลายไปในภังคญาณ เพราะปัญญาในที่นี้เห็นความแตกความทำลายของสังขารนั้นอยู่เสมอไป ในเวลาที่มีการพิจารณาอยู่นั้น และใช่แต่จะเห็นความไม่ เที่ยง หรือความไม่ มีสาระแต่ เฉพาะในความดับเท่านั้น ที่ จริงก็เห็นในความเกิดเหมือนกัน ใช่ แต่ จะเห็นในความดับเท่านั้นก็หาไม่ ปัญญานั้น ก็ยังจะต้องแล่นไป แล่นไปเห็นโทษคือ เหตุแห่งความดับนั้น ที่ไปเห็นโทษว่า ความดับที่เราเห็นในภังคญาณนี้น่ะ มาจากเหตุอะไร ก็ไปเห็นเหตุแห่งการดับนั้น คืออะไร คือความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ทีนี้ก็เข้าไปเห็นว่า สังขารทั้งหลาย ที่ต้องแตกทำลายนั้นน่ะ เป็นของไม่มีสาระเลย ไม่เป็นไปเพื่อความสุข ที่เห็นอย่างนี้น่ะ ก็ไปเห็นว่า ธรรมทั้งหลายนี่ ต้องมีเหตุมาจากไหน ความแตก ความทำลายนี่น่ะ ถึงจะไม่มี ก็ไปเห็นว่า มาจากความเกิด นั่นเอง ถ้าไม่มีความเกิดแล้ว ความแตกความทำลายของสังขารก็ไม่มี
ท่านพิจารณาอย่างนี้ ก็ไปเห็นโทษของความเกิดว่า เป็นเหตุ ฉะนั้น จึงมีความแตกความทำลายเหมือนกับว่า เราไม่เกิด เราก็ไม่ตาย ความตายนี่ก็เห็นเป็นโทษ แต่ว่า ความตายนี่ มาจากไหน ตามนัยของปฏิจจสมุปบาท ท่านแสดงไว้ ความตายนั้นมาจากไหน มันมาจากความเกิดขึ้น และความเกิดขึ้นก็ต้องมีเหตุเหมือนกัน ไม่ ใช่ เกิดมาโดยไม่ มีเหตุ ก็เพราะความดับเป็นเหตุนั้น ก็สืบเนื่องมาจากผล บางทีท่านไปเห็นผล ท่านก็สาวไปหาเหตุ ก็รู้ว่า เหตุนี่มาจากอะไร คือความแตก ความทำลายนี่ เป็นผลเนื่องมาจากความเกิด ความตายนี่เป็นผลมาจากความแก่ ความแก่มาจากไหน มาจากความเกิด ถ้าไม่เกิด ก็ไม่มีแก่ ไม่มีความเสื่อม ไม่มีความสิ้นไป ความตายก็ไม่มี อันนี้ก็เป็นของธรรมดา เมื่อไม่พอใจในผลแล้ว ก็ย่อมไม่พอใจในเหตุ ที่จะให้เกิดผลนั้น ไม่ต้องการที่จะให้มีเหตุอย่างนั้น คือไม่ต้องการที่จะให้มีความเกิดขึ้น เห็นโทษของเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นแห่งผลนั้นๆ เมื่อโทษแห่งความเกิดขึ้นของสังขาร คือ นามรูปในภพนั้นๆ ก็ต้องหมดความยินดีในภพต่างๆ ฉะนั้น ความเกิดขึ้นในที่ไหน ในภพใดก็ตาม จะเป็นทุคติหรือสุคติ เทวดาหรือพรหมก็ตามเถอะ ถ้ามีความเกิดขึ้นในที่ ใด ในที่ นั้น จะต้องมีความแตกทำลายด้วย ทีนี้ ท่านก็ไม่ยินดีในสภาพที่แตกทำลาย นี่น่ะ ไม่ยินดี เลยเห็นว่า สิ่งนั้นธรรมสิ่งนั้นไม่ใช่เป็นของมีสาระเลย ไม่มั่นคง ไม่เป็นสรณะอันแท้จริงเลย
ฉะนั้น แม้จะมีความเกิด ไปตั้งในที่ใดก็ตาม ที่นั้นจะมีการแตกทำลายในภพนั้นๆ จะเป็นเทวดาหรือพรหมที่ไหนก็ตามเถอะ ก็จะต้องมีการแตกทำลายอยู่ในภพนั้น
โดยเหตุนี้ ท่านจึงไม่ยินดีในความเกิด เมื่อไม่ยินดีในความเกิด แม้ในภพใดๆ ก็ตาม ไม่ยินดีในภพต่างๆ เพราะเห็นโทษของความเกิดขึ้น ซึ่งเป็นความเกิดขึ้นของสังขารเหล่านั้น ไม่ว่าจะดีหรือเลว ความยินดีหรือพอใจนั้น จะเกิดไม่ได้ในปัญญาของภังคญาณนี้ เพราะอารมณ์ของปัญญาในที่นั้น จะมีอยู่แต่ความรู้สึกว่า ธรรมสิ่งนั้นเกิดขึ้นหรือปรากฏในขณะนั้น ก็จะต้องปรากฏว่าธรรมสิ่งนั้น ต้องดับไป สิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นจะต้องดับไปเป็นธรรมดา มีความรู้สึกในใจอย่างนี้เสมอ เพราะฉะนั้น จะไปเกิดในที่ใดก็ตามเถอะไม่รู้สึกพอใจในความเกิดในที่นั้นๆ จะเป็นสุคติหรือทุคติก็ไม่ปรารภละ เป็นแต่ว่าไม่พอใจในความเกิดทุกภพ ทุกแห่ง ถ้าเกิดขึ้นแล้ว ก็จะต้องมีความดับไปในที่นั้น โดยเหตุนี้ ท่านจึงไม่พอใจในความเกิด เมื่อไม่พอใจในความเกิดแล้ว ความไม่ต้องการในความอยากเกิด ไม่อยากได้สังขารทั้งหลาย ก็จะต้องติดตามมาในความรู้สึกอันนั้น
โดยเหตุนี้ ท่านจึงแสดงไว้ว่า ผู้ที่เข้าถึงภังคญาณนี้ ย่อมจะต้องได้รับอานิสงส์ถึง ๘ ประการ ด้วยกันคือ
๑. ละความใคร่ในภพต่างๆ เมื่อเข้าไปถึงภังคญาณ ปัญญาในที่ นั้นจะทำลายกิเลส อารมณ์ของความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากกิเลส คือ ความยินดีในภพต่างๆ และยังได้เข้าไปปรากฏความแตก ความทำลาย สลายสิ้นไป และดับไปในสังขารเหล่านั้น ก็ละความยินดีในภพต่างๆ เพราะเห็นว่า ไม่ใช่เป็นความสุข ไม่ใช่เป็นของควรจะยินดี
๒. ละความใคร่ในชีวิต เพราะเห็นว่า เป็นไปเพื่อทุกข์ ตามธรรมดาของเรา ชีวิตนี่รักที่สุดเลย ทำไมถึงรัก เพราะเข้าใจว่า ชีวิตนี่ เป็นไปเพื่อความสุข ชีวิตนี่ เป็นสรณะอันแท้จริง จะอย่างไรๆ ก็ตามเถอะ ถึงแม้จะต้องทำบาป ทำกรรมอย่างไรก็ตามเถอะ ยอมเพื่อชีวิต นี่ธรรมดาของคนเราเป็นอย่างนี้ แต่ท่านผู้มีปัญญาเข้าถึงความจริงในที่นี้แล้ว ก็ละความใครในชีวิต คือความยินดีที่ว่า ชีวิตนี่ต้องการให้ดี อยู่ดำรงยืดยาวนาน อะไรอย่างนี้น่ะ จะไม่มีในที่นั้น เพราะเห็นว่า ชีวิตนี่น่ะ ตั้งอยู่เป็นไปเพื่อความทุกข์ ตั้งอยู่ ในความทุกข์แท้ๆ ความเป็นไปของชีวิต วันหนึ่งๆ รอบล้อมไปด้วยความทุกข์ ทุกอย่างเลย ไม่มีอะไรเลยที่จะเห็นว่า น่าจะเป็นสุข เพราะว่า เราก็ต้องมีการแก้ไขปรุงแต่งกันอยู่เสมอส่งเสริมเพื่อให้ชีวิตเป็นไป สิ่งใดเสื่อมไปในสังขารร่างกาย จะมีความเสื่อมสิ้นอยู่ ทุกๆ นาที หรือทุกขณะที่ ลมหายใจเข้าออก เพราะฉะนั้นเมื่อความเสื่อมสิ้นนี้ มีอยู่เสมอแล้ว การแก้ไขเพื่อชีวิตเป็นอยู่ ก็ต้องมีอยู่ เรื่อย ก็ต้องติดตามความเสื่อมสิ้นนั้น อยู่เรื่อยทีเดียว ท่านที่เข้าไปเห็นอย่างนี้ ท่านจึงไม่ยินดีในชีวิตที่ตั้งอยู่ ยังตั้งอยู่ในที่นั้นตราบใด ก็ชื่อว่าทุกข์ก็ยังตั้งอยู่ ในที่นั้น เห็นว่า เป็นไปเพื่อทุกข์ ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความสุข ความจริงทุกๆ วันนี้ ก็เป็นอยู่อย่างนี้หากแต่ว่าเราไม่ได้เข้าไปดู ทำอะไรทุกอย่างเราทำเพื่อแก้ทุกข์ทั้งนั้น ทุกวันนี้น่ะ ตลอดจนกระทั่งเปลี่ยนอิริยาบถหรือลมหายใจเข้าออก ถ้าไม่ออกเป็นทุกข์ ถ้าไม่เข้าเป็นทุกข์ นี่เราแก้กันอยู่อย่างนี้เสมอๆ แต่ว่าเราไม่เข้าใจเองว่า เราแก้ทุกข์ เราเข้าใจว่า เราทำอย่างนั้น เป็นไปเพื่อความสุข ถ้าเราได้ทำอย่างนี้ ก็เป็นไปเพื่อความสุข แต่ที่จริงเราทำเพื่อแก้ทุกข์ เราไม่ได้เข้าไปเห็น เพราะเราไม่ได้พิจารณาถึงเหตุผล แห่งความเป็นจริงของสิ่งธรรมดานั้นๆ เราจึงเข้าใจอย่างนั้น เมื่อเราเข้าใจอย่างนั้น เราก็ต้องเสียดายชีวิต ฉะนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายจึงไม่ยินดีในชีวิต ไม่เห็นชีวิตเป็นของมีสาระ ชีวิตจะเป็นอยู่ หรือไม่เป็นอยู่ ท่านไม่ถือเป็นความสำคัญ ถ้าเป็นที่สุดด้วยละก็ ธรรมวินัยนี่เป็นของสำคัญยิ่งกว่าชีวิต เพราะว่า ชีวิตนี้มีอยู่เสมอแหละ ในภพ ในชาตินี้น่ะ กิเลสตัณหายังมีอยู่ ตราบใด ชีวิตก็มีอยู่ จะเป็นสัตว์เดรัจฉาน มดดำ มดแดง ชีวิตก็มีอยู่ มีชีวิต ได้ชีวิตเหมือนกัน ไม่ ใช่ เป็นของหาได้ยากเลย สิ่งที่เป็นไปเพื่อทุกข์นี่น่ะ แต่ว่าธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ที่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์นี่สิ หายากเหลือเกินในโลกแต่ละกัป จะเกิดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมา มาแสดงให้เราเห็นอย่างนี้ แต่ละครั้งละคราวนี่แสนจะยาก แสนที่จะลำบาก ธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่เป็นไปเพื่อสาระ เป็นไปเพื่อออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเสียดายธรรมวินัยนี้ยิ่งกว่าชีวิต จึงได้ปฏิบัติธรรมวินัยได้บริสุทธิ์ไม่เป็นของเหนื่อยยาก ไม่เป็นของลำบากเลย ในการที่จะปฏิบัติธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ เพราะมีศรัทธา เต็มใจ และท่านเองก็ต้องการบวชบรรพชา เพื่อจะพ้นจากทุกข์ ด้วยเหตุนี้ การที่จะปฏิบัติทำการงานเพื่อพ้นจากทุกข์ จึงไม่เป็นของยากแก่ท่าน ไม่ลำบากเลย ผู้ที่มีความรู้สึกอย่างนี้ และตั้งใจอย่างนี้ เราเชื่อแน่ด้วยตถาคตโพธิศรัทธา เชื่อแน่ว่า ในความตรัสรู้ของพระตถาคตนั้น เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้จริง เพราะธรรมที่สั่งสอนนั้น เชื่อแน่ อย่างนั้น เชื่อแน่ว่า ในความตรัสรู้ของพระตถาคตนั้นเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้จริง เพราะธรรมที่สั่งสอนนั้น เชื่อแน่อย่างนั้นจึงได้พยายามตั้งอยู่ในธรรมวินัย ถึงแม้ชีวิตท่านจะเสียไป เพราะเรื่องต้องการปฏิบัติธรรมวินัย เพื่อไม่ให้บกพร่อง ท่านก็ยอมเสียชีวิตแต่ไม่ยอมเสียธรรมวินัย นี่เห็นมั๊ยคะ ศรัทธานี่ ศรัทธาที่มั่นคง และประกอบไปด้วยปัญญา ที่เข้าถึงเหตุผลด้วยศรัทธาที่ ประกอบไปด้วยปัญญา ในความตรัสรู้ของพระตถาคตนี่แหละ จึงเป็นของมั่นคงนัก ไม่ลำบากเลย พระพุทธเจ้าแสดงแล้ว ธรรมใดที่ ทำไม่ ได้ พระองค์จะไม่ สอน ฉะนั้นที่ ประกาศธรรมวินัยนี่ น่ะ ถึงจะละเอียดลอออย่างไร ก็ไม่เป็นการลำบากแก่ผู้มีศรัทธา ท่านจึงบอกว่า ธรรมวินัยปาฏิโมกข์นี้ จะบริสุทธิ์ได้ด้วยศรัทธา นี่อันนี้ เราก็เห็นว่าเป็นของแน่นอน ที่จะเป็นอย่างนั้นนะคะ
๓. หมั่นประกอบความเพียรเพื่อพ้นทุกข์ ไม่ท้อถอยเลย แล้วก็ไม่มีอุปสรรคอะไร กิเลสที่จะมาทำลายข้อปฏิบัติของท่าน มีกำลังถึงกับจะมาทำลายข้อปฏิบัติให้หยุดพัก หรือไม่ให้ปฏิบัติ ในตอนนี้น่ะ ไม่มี ก็ทำความเพียรประกอบความเพียร เพื่อจะพ้นทุกข์
๔. เลี้ยงชีพด้วยความบริสุทธิ์ เพราะท่านเห็นแล้วว่า ชีวิตไม่มีสาระ เป็นไปเพื่อทุกข์ ก็เหตุใดเล่า เราจะไปทำบาปกรรมขึ้น เพื่อชีวิตอันไม่เป็นสาระนี้ ท่านเห็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ไม่เลี้ยงชีพด้วยทุจริตเลย อาชีพของท่านสัมมาอาชีวะบริสุทธิ์ ถ้ายิ่งเป็นพระภิกษุด้วยแล้ว อาชีพของท่านที่เป็นไปน่ะ ต้องวิสุทธิ ต้องเป็นไปตามธรรม ธรรมวินัยเท่านั้น ต้องถูกต้องตามธรรมวินัย
๕. ไม่ ขวนขวายในทางที่ ผิดจากธรรมวินัย นี่อานิสงส์นะคะ ทำให้กำลังใจน่ะ เป็นอย่างนี้
๖. ไม่ เกรงกลัวต่อสิ่งที่ จะมาทำให้เสื่ อมเสียศีลธรรม “แกไม่พูดอย่างนี้ แกไม่ทำอย่างนี้ ฉันจะฆ่าแก” ท่านก็ยอม เพราะว่าบาปกรรมนี่น่ะ ท่านเห็นสำคัญ ยิ่งกว่าชีวิต มันเป็นปัจจัยที่จะทำให้ชีวิตเกิดขึ้น ถ้าชีวิตเกิดขึ้นด้วยบาปกรรมแล้ว มันจะเป็นอย่างไร ฉะนั้น อย่างไรก็ไม่ยอมเสียศีลธรรม อย่าว่าแต่จะเสียสมบัติ หรือทรัพย์สินอย่างอื่นเลย แม้แต่ชีวิตก็ยอม ไม่เกรงกลัวเลย นี่แหละ จิตใจของผู้ที่จะดำเนินไปเพื่อบรรลุพระนิพพานหรือเพื่อความพ้นทุกข์ มีกำลังกล้าอย่างไร นี่น่ะ ถ้าเข้าถึงภังคญาณแล้ว อานิสงส์อย่างนี้จะเกิดขึ้นในจิตใจ
๗. มีขันติอดทน ไม่เป็นไปกับกิเลสของคนอื่น คือกิเลสของคนอื่นจะมาทำอย่างไร จะมายั่วเย้าอย่างไร ให้ท่านต้องเสียศีลธรรม หรือต้องเสียทางปฏิบัติ ไม่ได้เลย ฉะนั้น ผู้ที่เข้าถึงพระพุทธศาสนาโดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรจะมาทำลายได้เลยทีเดียว ใครก็จะมาทำลายไม่ได้ อาวุธยุทธภัณฑ์ อำนาจ วาสนา เงินทอง ลาภยศ ไม่สามารถจะทำลายได้เลย ถ้าเข้าถึงศาสนาจริงๆ แล้ว ไม่ต้องกลัวอะไร ไม่ต้องการอะไร ปัญญานั้นเองนั่นแหละ ที่เข้าถึงศีลธรรม และป้องกันพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว คนที่จิตใจอย่างนี้ละก็ แน่นอน พระพุทธศาสนาจะต้องตั้งอยู่ในจิตของคนอย่างนี้ ตั้งอยู่ไม่มีที่จะเสื่อมทำลายหรอก (ถ้าคนยังไม่เข้าถึงอย่างนี้ก็ยากนะ) กิเลสคนอื่น ก็ไม่กลัว อดทน และว่าง่าย เลี้ยงง่าย ไม่ดื้อ เพราะเชื่อแล้วว่า คำสอนในธรรมวินัยนี้ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์จริงๆ ท่านก็พยายามทำตาม และก็เลี้ยงง่าย พระ ภิกษุ ในพระพุทธศาสนานี้ พระพุทธเจ้า ท่านก็ต้องการเป็นคนเลี้ยงง่าย เพราะว่ามีอาชีพ ชีวิตเป็นอยู่ด้วยคนอื่น เลี้ยงยากไม่ได้ ต้องแล้วแต่จะได้ แล้วแต่ศรัทธาของคนอื่น จะได้อย่างไร แค่ไหนเท่าที่ได้ เขากระทำให้ชีวิตของท่านเป็นไปด้วยปัจจัยอย่างนั้น ไม่ต้องดิ้นรน
ไม่ต้องหา ไม่ต้องเดือดร้อน ฉะนั้น ที่ดิฉันเคยบอกเสมอว่า ผู้มีธรรมะ ไม่ มีความจำเป็นหรอก ความจำเป็นนี่น่ะเป็นของกิเลส กิเลสมันบังคับจิตใจว่ามันจำเป็นต้องทำอย่างนั้น มันจำเป็นต้องทำอย่างนี้ ไม่ทำอย่างนั้นก็ไม่ได้ ไม่ได้อย่างไร? ใครจะลงโทษก็ไม่ได้นะ เปล่าเลย มันเป็น ความจำเป็นของกิเลส ที่บังคับจิตใจให้มีความจำเป็นอย่างนั้น ถ้าผู้ที่มีธรรมแล้ว เข้าถึงธรรมแล้ว ไม่มีความจำเป็นอะไร เพราะอะไร เพราะว่า กิเลสมาบังคับไม่ได้ ท่านได้อย่างไร ท่านก็สบายอย่างนั้น แม้แต่ อาหารจะมีแต่ข้าวเปล่าๆ ฉัน ไปบิณฑบาตมา ท่านก็สบายใจ ถ้ามีความจำเป็นว่าอย่างนี้ กินไม่ได้ จะต้องกินอย่างนั้น กิเลสมันก็ว่าอย่างนี้ แล้วก็เป็นอย่างไร เดือดร้อนพอกินไม่ได้ ก็ต้องเดือดร้อน ก็ต้องกระวนกระวาย ก็ต้องหา มันก็บังคับตัวเราให้เดือดร้อน แล้วยังทำให้คนอื่นเดือดร้อนอีก ถ้าตัวเลี้ยงง่าย อะไรก็ได้ คนอื่นก็ไม่เดือดร้อน ตัวเองก็ไม่เดือดร้อน เพราะต้องการแต่เพียงว่า อะไรก็ได้อิ่มแล้วก็แล้วกัน เหมือนกันหมดนี่ อย่างนี้ ก็คืออานิสงส์ทำให้สะดวกแก่ตัว แล้วอย่านึกว่าการเลี้ยงง่ายนี่ ไม่เป็นการสะดวกแก่ ตัว มันเป็นความสุขแก่ตัวเองด้วย แต่ว่าไม่เข้าใจคิดว่า กินของที่ไม่ดีอย่างนี้ มันจะมีความสุขได้อย่างไร มันต้องกินของดีๆ ซิ กว่าจะได้มาสักมื้อ ถ้ายิ่งวุ่นวายมาก ก็รู้สึกว่า มันจะมีความสุขมาก ไปเที่ยวตลาดนี้ ตลาดนี้ไม่มี ก็ไปเที่ยวตลาดนั้น ยิ่งคนมีรถยนต์ก็เที่ยวหาตามตลาดต่างๆ กว่าจะได้มากินสักมื้อหนึ่ง เขากลับเห็นว่า เป็นความสบายไป แล้วตัวเองก็ไม่ สบาย เพราะอย่างนี้ เพราะอย่างนั้น ตัวเองก็กินไม่ ได้ เวลาที่ กินไม่ได้น่ะ จิตใจก็ไม่สบายเดือดร้อน แต่เขาไม่เห็น เขากลับเห็นว่า ทำอะไรให้มันยุ่งมากๆ นั่นแหละ จะเป็นความสุข แต่ที่จริงน่ะ ไม่ใช่ หรอกค่ะ เขาไม่ รู้เองแหละ แต่ คนที่ ท่านเข้าถึงเหตุผลแล้ว ท่านมีตนเป็นที่พึ่ง เพราะท่านหาความสุขได้ด้วยตัวท่านเองทุกอย่าง โดยไม่ต้องอาศัยอารมณ์ต่างๆ ถ้าคนยังไม่ มีตัวเองเป็นที่ พึ่ง อาศัยอารมณ์ต่างๆ ต้องได้อย่างนี้ ฉันจึงสบาย ถ้าไม่ ได้อย่างนี้ ฉันก็ไม่สบาย ไม่สามารถทำจิตใจของตนเองให้สบายได้ ให้ความสุขได้ทำไม่ ได้ต้องอาศัยอารมณ์ต่างๆ ต้องอาศัยคนอื่นเขา ถ้าคนอื่นเขาทำไม่ดี ก็ไม่มีความสะดวกแล้ว เพราะว่า ตัวเองไม่ เป็นที่ พึ่งของตัวเองเลย คนที่ ท่านมีตนเป็นที่พึ่งน่ะ ใครทำดี ท่านก็สบายใจ ใครทำไม่ดีท่านก็สบาย กินข้าวกับเกลือ ท่านก็สบาย กินข้าวเปล่าๆ ท่านก็สบาย ท่านหาความสุขได้ด้วยตัวท่านเอง ของเราวันไหน กินข้าวกับเกลือสักมื้อหนึ่ง ก็แทบจะร้องให้น้ำตาหยดเสียใจว่า ต้องกินข้าวกับเกลือ ทนไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าหากว่า คนที่เข้าถึงการเลี้ยงง่ายอย่างนี้แล้ว คนนี้ไม่ต้องกลัวเลย เศรษฐกิจไม่มีตกต่ำเลย เขาดีทุกเมื่อ เขาสบายทุกเมื่อ ความจริงเป็นอย่างนี้จริงๆ ค่ะ แต่ว่า ทั้งๆ ที่เรารู้นะ นึกหรือว่า เราจะทำได้ เปล่าเลย เพราะว่ากิเลสของเรามันไม่ ยอม นี่ กิเลสของท่านอ่อนแล้ว ด้วยอำนาจของปัญญาที่เข้าไปประหาร อย่างอื่นน่ะ ประหารกิเลสไม่ได้เลย ปัญญาเท่านั้นประหารได้ ปัญญาของท่านน่ะ ไปทรมาน ไปฆ่ากิเลสให้อ่อนลงไป จนกระทั่งไม่สามารถจะเกิดขึ้น ข่มเหงจิตใจท่านในเวลานั้นได้ ท่านจึงได้รับอานิสงส์อย่างนี้ พระภิกษุน่ะ ท่านมีผ้า ๓ ผืน ท่านสบายแล้ว พระภิกษุที่ จิตใจยังไม่ เป็นไปตามธรรมวินัย ก็เดือดร้อน ลำบากอย่างนี้ไม่ได้หรอก ต้องหาเลี้ยงชีพ บางทีถึงแม้จะผิดธรรมวินัยก็ยอม ใครจะไปทนได้อย่างนั้น ก็มันไม่มีอย่างนี้ ก็จำเป็นจะต้องหา ความจำเป็นก็เข้าบีบคั้น แต่ ความจำเป็นก็บีบคั้นน่ะ ตัวไม่รู้หรอกว่า ตัวนะเดือดร้อนไม่รู้ ไม่เข้าใจ เข้าใจว่ามันเป็นไปเอง นี่ข้อที่ ๗ นะคะ อดทน ไม่เป็นไปตามกิเลสของคนอื่น และเลี้ยงง่าย ว่าง่าย ไม่ดื้อ
๘. อดทนต่อกิเลสของตนเอง แม้ว่ ากิเลสของคนอื่นมายั่วไม่เป็นไร แต่ว่า กิเลสของตนเองที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยกิเลสของคนอื่นนี่แหละ ความยินดียินร้าย ความต้องการในอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่ตัวเองนี่แหละ ท่านอดทนไม่ให้เป็นไปตามใจกิเลสที่มันเกิดขึ้นแก่ท่านเลย นี่เป็นอานิสงส์ของภังคญาณ อดทนต่อกิเลสของตนเอง คือความยินดียินร้ายในอารมณ์ต่างๆ เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะหมดกิเลสได้น่ะ ไม่ใช่ว่านึกเอาได้
ทั้ง ๘ ข้อนี้เป็นอานิสงส์ที่ได้มาจากปัญญา ของผู้ที่ ได้เข้าถึงภังคญาณ ภังคานุปัสสนา หรือภังคญาณอันเดียวกัน อันนี้ท่านก็ได้วางไว้เป็นแผนที่ ของจิตใจ ไม่ใช่เป็นแผนที่ของร่างกายที่เราจะเดินเป็นทางเดินไป ไม่ใช่อย่างนั้น นี่เป็นแผนที่ของจิตใจว่า ผู้ที่จะทำกิเลสให้หมดสิ้นไปได้น่ะ จิตใจจะต้องเป็นไปอย่างนี้ จะต้องเดินไปตามนี้ จะต้องมีความรู้สึกอย่างนี้ นี่ก็เป็นเครื่องวัดจิตใจของเราว่า เราเป็นไปได้อย่างนี้ไหม นี่ท่านก็วางไว้ให้รู้ ถ้าจิตใจของเราไม่เป็นอย่างนี้ เราก็อยากสงบ อยากเป็นอริยะ แต่ว่า จิตใจมันไม่เป็นไปอย่างนี้แล้ว มันจะเป็นไปได้อย่างไร เป็นไปไม่ได้เพราะอะไร เพราะกิเลสมันแรงกล้า มันคุกคามอยู่ ยังไม่ มีปัญญาที่ จะเข้าไปภาวนาให้มันกลัวเกรง นี่ เป็นแผนที่ ของจิตใจของผู้ปฏิบัติว่า เมื่อเข้าถึงปัญญาความรู้ หรือความเข้าใจอย่างนั้นแล้ว จิตใจจะต้องเดินไปตามความรู้สึกตามแผนที่ ดังที่ได้อธิบายมานี้ ทางนี้เป็นเครื่องวัดจิตใจนะ
ก็เป็นอันว่าถ้าเมื่อจิตใจเดินออกมาอย่างนี้แล้ว เราได้เข้าถูกทางแล้ว ซึ่งเป็นทางที่จะให้บรรลุพระนิพพาน อันเป็นธรรมที่สุดแห่งทุกข์นั้นได้ ถ้าหากว่าจิตใจหรือความรู้สึกของเราไม่เป็นไปตามแผนที่นั้นแล้ว ก็ขอให้เข้าใจเถอะว่า เรายังไม่เข้าถึงธรรม หรือยังไม่เข้าถึงเหตุของธรรมนั้น เราจึงนำจิตของเราไปยังทางที่ถูกนั้นไม่ได้ ข้อนี้อุปมาเหมือนผู้เดินทาง ถ้ามีแผนที่ และเข้าใจดูแผนที่แล้ว จะต้องไม่หลงทางเป็นแน่ ฉะนั้น ผู้เดินทางถูกต้องโดยไม่หลงทางนั้น จะต้องประกอบไปด้วยเหตุ
๓ ประการ คือ :-
๑. ต้องมีแผนที่
๒. ต้องเข้าใจดูแผนที่ด้วย ถ้ามีแผนที่ แต่ดูไม่เป็นแผนที่นั้นก็ทำประโยชน์อะไรไม่ได้ แต่ในการที่จะเข้าดูแผนที่นั้น เราต้องศึกษาถ้าไม่ศึกษาก็ดูไม่เป็นเหมือนกัน เราจะต้องศึกษาดูเครื่องหมายในแผนที่ ต้องเข้าใจว่า จากตรงนี้ไปถึงตรงนั้น มีกี่กิโล เส้นทางยาวเท่าไร สั้นเท่าไร อันนี้เราต้องเข้าใจดูด้วย เราจะต้องศึกษาจากผู้ที่เข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจก็อาจจะพาเราหลงทางเข้าป่าทึบ ที่เรียกว่า ดงดิบไปเลย โดยไม่รู้ตัว กลับออกมาก็ไม่ได้ด้วย หลงไปยึดถือ หรือเชื่อในสิ่งที่ผิดไป เพราะเราไม่รู้นี่ แผนที่เดินไปอย่างไร เราก็ไม่รู้ เพราะเราเข้าใจ ไปเจออาจารย์สอนอย่างนี้น่ะ ก็เข้าดงไปเลย ไปยึดถืออยู่เลย เรียกก็ไม่ กลับ ตามหาก็ไม่ เจอะแล้ว ไม่ สามารถที่ จะกลับมาเองได้เลย ถึงแม้คนจะไปฉุดลากเท่าไร บางทีก็ไม่ ยอมออกมา ไม่ ยอมกลับความเห็นความเข้าใจ อันนี้ก็ลำบากเหมือนกันค่ะ แล้วจะกลับออกมาจากป่าก็ไม่ได้ด้วย
๓. จะต้องมีการเดินทาง แผนที่ ก็มี ดูแผนที่ก็เข้าใจแล้ว แต่ยังไม่ลงมือเดินไม่ได้อีก จะไปถึงจุดหมายหรือเปล่า แผนที่นั้นก็ยังไม่ทำประโยชน์ให้ความเข้าใจนั้น ก็ยังไม่นำไปถึงที่สุดได้ ต้องมีการกระทำ ต้องมีการลงมือ ฉะนั้นจึงต้องมีการลงมือปฏิบัติ มีปริยัติแล้ว ต้องมีปฏิบัติด้วย ถึงจะสำเร็จผลที่ เราต้องการนั้นได้ ถ้าไม่เดินทางแล้ว จะตัดสินว่าถูก ว่าผิด ก็ไม่ได้ แล้วก็ไม่ถึงด้วย
ดังนั้น จึงต้องมีทั้ง ๓ คือ ปริยัติ ปฏิบัติ และ ปฏิเวธ ทั้ง ๓ อันต้องถูกต้องหมด ปริยัติก็ต้องเข้าใจดี ปฏิบัติก็ต้องถูกด้วย ถ้า ๒ อันถูกดี ปฏิเวธก็มีหวังไม่ผิด บางทีปฏิเวธผิดก็มี บางทีนึกว่า ตัวเองถึงปฏิเวธ ฉันถึงโสดาแล้ว บรรลุโสดาแล้ว หรือบรรลุสกิทาคาแล้ว ผู้ที่จะบรรลุโสดา หรือสกิทาคา ผู้นั้นต้องบรรลุธรรม แต่ว่าที่จริงน่ะ ไม่ได้ถึง แต่เข้าใจว่าตัวถึง อย่างนี้เพราะอะไร ทีนี้ตัวก็ไม่มีอะไรเป็นเครื่องวัด ว่าปฏิเวธที่ถึงนั้น มาอย่างไร เราปฏิบัติถูกหรือเปล่า ก็ไม่รู้ ไม่รู้ทั้งนั้นเลย ทีนี้เมื่ อบอกว่า ถึงปฏิเวธน่ะ ท่านถึงแล้วบรรลุแล้ว ก็บรรลุไป ใช่ หรือไม่ใช่ ก็ไม่รู้ละ เข้าใจอย่างนี้ก็มีค่ะ ก็ตัดสินว่าผิด ว่าถูกไม่ได้ เพราะการเดินทางนั้น เครื่องทดสอบแผนที่ของตัวสถานที่ ว่าจะต้องตรงกันหรือไม่ แต่ในการที่ผู้นั้นเดินทางไปตามแผนที่ ได้ถูกต้องนั้น จะต้องมีแผนที่ และมีความเข้าใจในแผนที่นั้นประกอบไปด้วยกับการเดินทาง ไม่ใช่ว่า ฉันเรียนแล้ว ฉันเข้าใจแล้ว ท่านบอกว่า ทำวิปัสสนานี่น่ะ ต้องเห็นนามรูปไม่ เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วก็ต้องพิจารณานามรูป แต่ว่าเวลาทำ ต้องเอาความเข้าใจนี่น่ะ ไปประกอบด้วยกับการทำงานด้วย ไม่ใช่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านบอกไว้ในหนังสือ หรือว่ากำหนดนามรูป ท่านก็บอกไว้ในหนังสือเท่านั้น แล้วก็ที่ตัวเองล่ะ นามรูปอยู่ที่ไหนล่ะ ไม่รู้ ไม่มีนามรูป เวลาทำงานไม่มีนามรูป แต่ว่า นามรูปนี่บอกไว้ในหนังสือ บอกไว้ในแผนที่ ถ้าอย่างนี้ก็ไม่ได้เหมือนกันค่ะ จะต้องประกอบไปด้วยกันกับผู้ปฏิบัติ หรือผู้เดินทางนั้นด้วย เราต้องดูแผนที่ก่อนที่จะเดินไป นี่น่ะถูกไหม ถูกตรงกับแผนที่หรือเปล่า แต่ถ้าเราไม่ได้ศึกษาหรือไม่มีแผนที่ ก็ไม่รู้หรอก ไม่รู้ว่าผิดหรือถูก เพราะไม่มีเครื่องตรวจสอบ ใช่ไหมคะ
ถ้าผู้ใดประกอบพร้อมสมบูรณ์ด้วย ๓ ประการ ดังกล่าวมาแล้ว ก็มีหวังสำเร็จแห่งผลที่เราหวังนั้นได้ แต่ความสมบูรณ์ในธรรมทั้ง ๓ หรือจะไม่สมบูรณ์ในธรรมทั้ง ๓ น่ะ มีความสำคัญที่สุดอยู่ข้อเดียวเท่านั้นแหละ นี่แหละ ข้อนี้แหละสำคัญที่สุด ที่จะนำให้เราเข้าใจถูก หรือปฏิบัติถูก หรือไม่ถูก มีอยู่ข้อเดียว
ข้อที่ว่า สำคัญนั้น คืออะไร?
คือว่า ถ้าตัวยังไม่รู้ ขอให้เข้าใจว่า ตัวยังไม่รู้
ข้อนี้อันเดียวแหละค่ะ มีหวังที่จะให้เข้าใจถูกต้องได้ ถ้าไม่รู้อย่างนี้ เอาล่ะ เรียนก็เรียนไปเถอะ เข้าใจ หรือไม่ เข้าใจ ก็ไม่ รู้ แล้วอย่ างนี้จะได้ผลไหม เวลาไปทำการงาน ก็ไม่ได้ผล ใช่ไหมคะ
นี่แหละ อันนี้แหละสำคัญ ถ้ายังไม่รู้ ยังไม่เข้าใจ ก็ขอให้รู้ว่า อันนั้นยังไม่รู้ ยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้งดี ถ้ามีอันนี้แล้ว มีหวังที่ จะให้เข้าใจถูกต้องในธรรมทั้งปวง ตามคำสอนของพระบรมศาสดาได้ ถ้าหากว่ าตนยังไม่ รู้หรือยังไม่เข้าใจ แต่ก็ไม่รู้ว่ายังไม่เข้าใจ นักปราชญ์ท่านกล่าวไว้ว่าคนนั้น เป็นคนพาล ถ้ายังไม่รู้ว่าตัวยังไม่รู้ หรือยังไม่ เข้าใจ ถือว่า เป็นคนพาล คนพาลในที่ นี้ก็หมายถึงคนโง่นั่นเอง เพราะมีพุทธภาษิตทรงกล่าวไว้ว่า
โย พาโล มญฺญตี พาลฺยํ ปณฺฑิโต วาปี เตนโส แปลว่า คนโง่ รู้สึกตัวว่าโง่ รู้สึกตัวว่ายังไม่รู้ จะเป็นผู้ฉลาด มีหวังจะเป็นบัณฑิต เพราะเหตุนั้น เพราะว่ า ตัวรู้ ไม่ รู้นั่ นแหละ และตัวไปทำความรู้ให้เกิดขึ้นในที่ นั้น ก็มีหวังว่า จะเป็นบัณฑิตได้เพราะเหตุนั้น
ฉะนั้น จึงว่ า เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็อยู่ที่ตรงรู้ว่า เรายังไม่รู้นี่แหละ อันนี้แหละ จะทำให้เรามีความรู้สมบูรณ์ได้
ถ้าความเข้าใจอย่างนี้ไม่มี การศึกษาของเราก็จะเป็นไปด้วยความลำบากที่ จะเข้าใจได้ดี เพราะการศึกษาในพระพุทธศาสนา ที่จะเข้าใจได้ดีและไม่ผิดนั้น หาใช่เพียงแค่การอ่าน หรือการฟังเท่านั้นไม่ เพราะต้องเข้าถึงพร้อมด้วยปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธด้วย ถ้าการอ่านหรือการเรียนนั้นเข้าใจดีแล้ว ท่านเถระที่เรียนจบพระไตรปิฎกพระพุทธเจ้าคงไม่ว่าอาจารย์นี้ใบลานเปล่า ใช่ไหม
ด้วยเหตุนี้แหละ ไม่ใช่แต่เพียงการเข้าใจได้ดี ด้วยการเรียน หรือการฟัง ไม่ใช่เพียงแค่นั้นค่ะ แต่เราจะหาที่ไหนในเวลานี้ สมมุติว่าเราจะหาอาจารย์ที่พร้อมด้วยปริยัติเข้าใจดี ปฏิบัติก็ดี และปฏิเวธก็เข้าใจ อย่างนี้น่ะ เวลานี้จะหาได้ที่ไหน เพราะตามพุทธภาษิตที่ทรงกล่าวไว้ ในขุททกนิกายว่า “ผู้ถึงพร้อมด้วยองค์คุณทั้งสองนั้นหาได้ยาก”
พระพุทธเจ้าท่านทรงกล่าวไว้อย่างนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยองค์คุณนั้นหาได้ยาก เพราะฉะนั้น มาสมัยนี้ ยิ่งหาได้ยากใหญ่ สมัยก่อนนั้นยังมีพระอรหันต์กันเยอะ ใช่ไหมคะ เวลานี้ก็ยิ่งลำบากใหญ่ ถึงแม้จะมีอยู่ ก็ยังเป็นการยาก เราจะรู้หรือเราจะพบ เราจะพบหรือเราจะพอใจ มีอยู่ก็ลำบากที่เราจะพบ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ที่เราจะพบ หรือเราจะพอใจ มีอยู่ก็ลำบากที่เราจะพบ หรือเราจะพอใจแต่เฉพาะผู้เหมือนกับเราเท่านั้น บางทีน่ะ บัณฑิตท่านพูดแล้ว เราไม่เข้าใจ เราก็ว่า ไม่เห็นรู้เรื่องเลย ฟังแล้วไม่เห็นรู้เรื่องเลย เพราะว่าปัญญาเรายังไม่เข้าถึงเหตุผล ความเห็นผิดของเราน่ะ ตั้งไว้อย่างนี้ พอบัณฑิตพูดไปอีกอย่างเราก็ไม่ เข้าใจ ไม่ พอใจ ถ้าฟังอะไรที่ มันพอจะเข้าใจเขาพูดตรงกัน เขาเห็นผิดเหมือนกับตัวนี่ แหม พอใจเหลือเกิน อาจารย์คนนี้รู้มาก เก่งมาก เพราะมันเห็นผิดเหมือนกันกับตัว แต่โดยมากที่เราจะไปพบหรือพอใจน่ะ เราก็พอใจอาจารย์ที่ มีความเห็นเหมือนกับตัว คือว่าตัวนี่น่ะ เห็นผิด แต่ไม่รู้ใช่ไหม ก็นึกว่าเห็นถูกพอไปพบที่ เห็นผิดเหมือนกัน ก็นึกว่าอาจารย์คนนี่เก่ง ถูกคือเห็นผิดเหมือนกับตัวนั่นแหละ พอใจกับที่เหมือนกันกับเรานั่นแหละ ถ้าความเห็นหรือความเข้าใจ เหมือนกับเรา เราก็อยากสมาคมด้วย อยากพูดคุยด้วย ส่วนเหตุผลจะมีหรือไม่ เราไม่คำนึงถึงเลย เพราะเราไม่ได้สนใจในเรื่องเหตุผลเลย ปัญญาเท่านั้นแหละถึงจะสนใจ ในเรื่องเหตุผล ถ้าคนที่ ไม่ มีปัญญาที่ ยังยึดถือความเห็นผิดจากเหตุผลแล้ว ก็แปลว่าคนนั้นไม่สนใจในเหตุผล ถ้าคนที่มีความเข้าใจถูกแล้ว ก็คือเข้าใจตรงต่อเหตุผล คนที่ จะเข้าใจตรงต่อเหตุผล คนนั้นต้องมีความสนใจในเหตุผล ทีนี้ เมื่อเขาไม่ มีความสนใจในเหตุผลแล้ว เขาก็เกิดความเห็นผิดต่อเหตุผล เพราะเขายินดีในความเห็นนั้นแล้ว เรื่องเหตุผลเขาไม่คำนึงกันหรอก เขาคิดเอาตามความชอบใจเขาก็แล้วกัน ถ้าเป็นไปอย่างนี้แล้ว ก็คงจะไม่มีหวังที่จะได้พบท่านผู้รู้ และท่านผู้รู้ ท่านก็ไม่ประกาศตัวด้วย ว่าฉันรู้ฉันเป็นบัณฑิต เป็นโสดาบัน สกิทาคา ไม่มีประกาศตัวอย่างนี้เลย จึงเป็นการลำบากที่เราจะได้พบ โดยเหตุนี้ ท่านจึงบอกว่า ถ้าใครเป็นโสดาบันก็จะได้พบโสดาบัน ถ้าใครเป็นสกิทาคา ก็จะได้พบสกิทาคา ใครเป็นพระอรหันต์ ก็จะได้พบพระอรหันต์ ถ้าเราไม่ได้เป็นละก็ ยากที่จะมีหวังได้พบนะคะ เชื่อกันตามเขาว่า คนนี้แหละ มีความรู้ดี เขาว่า คนนี้แหละเข้าใจดี เขาว่า คนนี้แหละ เก่งปฏิบัติดี ก็เชื่อตามๆ กันไป เพราะว่า คนเขานับถือกัน ตั้งร้อยตั้งพันนี่ ต้องดีแน่ นี่น่ะ เหตุของเราน่ะ มันอาศัยอย่างนี้
ฉะนั้น ดิฉันจึงคิดว่ามันมีอยู่ทางเดียวเท่านั้น ที่ง่ายที่สุด และดีที่สุด ในการที่เราจะได้พบกับนักปราชญ์ ในทางพุทธศาสนา คือพวกเราที่ เป็นนักศึกษานี้ทุกคน เอาตัวของเรานี่แหละ แต่ละคน เอาตนของตนนี้แหละ เข้าไปให้ถึงพร้อมด้วยปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ นี่ถึงแน่ เราได้พบแน่ นี่แหละ ไม่เป็นทางยากหรอก ไม่ต้องไต่สวนคาดคะเน คนนี้ คนนั้น ใช่ไหมคะ ให้ถึงพร้อมด้วย ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ อันนี้แหละ ดิฉันรับรองว่า เป็นได้พบแน่ๆ ทีเดียวฉะนั้น พวกเราที่จะพบกับนักปราชญ์ในทางพุทธศาสนาแล้ว ก็จงพากันปฏิบัติให้เข้าถึงปฏิเวธเถิด อย่างน้อย ก็จงเข้าถึงภังคญาณที่เราได้พูดกันมานี้ ถึงแม้ว่า จะไม่เข้าถึงมรรค ผล นิพพาน เข้าถึงภังคญาณนี่ ก็พอจะเข้าถึงเหตุผลแล้ว มีเครื่องวัดแล้วว่า จิตใจเราเข้าถูกแล้ว แต่ยังไม่ถึงก็ยังดีนะคะ อย่างน้อยก็ให้เข้าถึงภังคญาณที่ถูกต้องตามแผนที่ ที่ได้นำมาอธิบายกันอยู่นี้ นั่นแหละ เราจะได้รับอานิสงส์ ๘ ประการ ที่ ได้อธิบายไปแล้ว เมื่อตะกี้นี้ค่ะ และเมื่อได้เข้าถึงอานิสงส์ของภังคญาณแล้ว ก็คงจะไม่เป็นการลำบากอะไรนัก ในการที่จะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้นต่อๆ ขึ้นไป เข้าถึงตรงนี้แล้วก็ไม่ ลำบาก เพราะกิเลสอ่อนแล้วนะคะ การที่ จะทำลายกิเลสต่อไป ก็คงไม่เป็นของยาก มันอ่อนกำลังไปแล้ว การต่อสู้ก็คงไม่ต้องใช้อะไรรุนแรง ไม่ลำบากอะไรนัก ในการที่จะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดวิปัสสนาญาณที่เกิดขึ้นต่อๆ ไป จนบรรลุ มรรค ผล นิพพาน นั้นได้
ข้อสำคัญนั้น เราต้องไม่ลืมว่า การที่เราจะเข้าถึงภังคญาณได้โดยสะดวกนั้น จะต้องได้นามรูปปริจเฉท-ญาณเสียก่อน อันนี้ลืมไม่ ได้นะคะ เพราะภังคญาณก็ต้องเกิดจากเหตุเหมือนกัน เหตุอะไรเป็นปัจจัยให้เกิดภังคญาณ จะต้องเข้าถึงนามรูปปริจเฉทญาณเสียก่อน เมื่อได้นามรูปปริจเฉทญาณแล้ว ก็จะไม่เป็นการลำบากที่จะเข้าถึงปัจจยปริคคหญาณ เมื่อได้ปัจจัยจากปัจจย-ปริคคหญาณแล้ว ก็ไม่ เป็นการลำบากที่ จะเข้าถึงสัมมสนญาณ ต่อไป ภังคญาณนี้ มันเป็นญาณที่ ๕ แล้ว ก็ต้องรู้ว่า มาจากเหตุอะไร เหตุเหล่านั้นแหละ ก็คือ ตั้งแต่วิปัสสนาญาณเป็นต้นมา เป็นเหตุส่ งเสริมให้เข้าถึงภังคญาณ ก็ไม่เป็นการลำบากที่จะเข้าถึงสัมมสนญาณแล้ว เมื่อเข้าถึงสัมมสนญาณแล้ว ก็จะไม่เป็นการลำบากที่จะเข้าถึงอุทยัพพยญาณ เมื่อเข้าถึงอุทยัพพยญาณแล้ว ก็ไม่ ลำบากที่จะให้เข้าถึงภังคญาณ เพราะภังคญาณก็ได้ปัจจัยมาจากอุทยัพพยญาณนั้นเอง ถ้ายังไม่เข้าถึงอุทยัพพยญาณ ภังคญาณก็ยังมีไม่ได้ เมื่อเข้าถึงภังคานุปัสสนาญาณ ก็จะต้องได้รับอานิสงส์ ๘ ประการ ตามที่ได้กล่าวมานั้น อานิสงส์นี้ เป็นผลของภังคญาณ ซึ่งมิได้เกี่ยวกับลาภ ยศ เห็นไหมคะ อานิสงส์ที่ได้กล่าวมาแล้วในภังคญาณน่ะ ละความยินดี ละความใคร่ในภพในชีวิต ทำความเพียร เพื่อความพ้นทุกข์ อานิสงส์ที่ ได้จากภังคญาณนั้นน่ะ ไม่ ได้เกี่ยวกับลาภและยศที่ เป็นผลของกิเลสเลย เช่นอย่างเวลาที่เราทำบุญน่ะ เราก็ยังปรารถนาความสุขเพื่อลาภ เพื่อยศ เกิดชาติหน้าจะได้มั่งมี ไม่ยากจนอานิสงส์นี่น่ะ ต้องการให้เป็นไป เพื่ออย่างนั้น แต่อานิสงส์ในภังคญาณนี้ ไม่มีเลย ไม่มีเกี่ยวด้วย ลาภ ยศ และผลของกิเลสเลย ตลอดจนกระทั่งเราศึกษา เรียนปริยัติธรรม ก็เหมือนกัน บางทีเรียนนี่น่ะ ไม่ใช่เรียนเพื่อเอาอานิสงส์ภังคญาณนี่น่ะ เรียนเพื่อจะได้มีลาภ ยศ เป็นปัจจัย เป็นมหาเปรียญ อะไรก็แล้วแต่ ใหญ่โตขึ้นไป เพราะฉะนั้นน่ะ การเรียนก็มีหลายอย่าง ใช่ไหมคะ อันนี้วิสุทธิ อานิสงส์อันนี้ วิสุทธิไม่ได้เจือด้วยเลย อานิสงส์อันนี้ เป็นปัจจัย ที่จะพ้นจากทุกข์เท่านั้นเอง ใช่ไหมคะ ไม่เกี่ยวกับผลของกิเลสเลย และก็เป็นผู้ตัดสินว่าเราได้เข้าถึงเหตุ คือ ภังคญาณนั้นจริงหรือเปล่า นี่เป็นเครื่องรู้ว่า ถ้าเข้าถึงตรงนี้ก็สบายแล้ว ผู้ทำวิปัสสนาน่ะ ก็ขอให้เข้าถึงอุทยัพพยญาณก็แล้วกัน
เมื่อเราได้เข้าถึงภังคญาณ พร้อมด้วยอานิสงส์แล้ว ก็ไม่เป็นการยากหรือลำบากอะไร ที่ภังคญาณนั้นจะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เข้าถึงวิปัสสนาต่อขึ้นไป ที่ชื่อว่า ภยญาณ ภยญาณในที่นี้ แปลว่าภัย รู้สึกในภัยก็ลำบากนะคะ ที่จะเข้าถึงภยญาณที่ดิฉันย้อนกลับไปญาณต้น เอาญาณต้นขึ้นมาอีกนั้นก็เพราะเหตุว่า เพื่อที่ จะนำเอาเหตุกับผลนั้นให้มาติดต่อกัน ถ้าหากว่าพูดแต่ผลอย่างเดียวเท่านั้นแหละ พูดถึงความสำเร็จ พูดถึงมรรค ผล นิพพาน พูดถึงวิปัสสนาญาณอะไรก็ได้ เห็นเกิด เห็นดับ ก็พูดได้เพียงผล แต่ว่า เหตุที่ให้เกิดผลนี้น่ะ อยู่ที่ไหน เอามาจากไหนกัน ทำเหตุอย่างไร ถึงจะได้ผลอย่างนี้ ก็อาจจะนำเหตุผลนั้นมาติดต่อกันไม่ได้ ถ้านำเหตุผลติดต่อกันไม่ได้ ก็ยังชื่อว่าความเข้าใจนั้น ถูกต้องโดยแท้จริงไม่ได้ ได้รับผล ก็อาจจะทำเหตุไม่ถูกก็ได้ มุ่งแต่ในผลอย่างนั้น แต่ว่าเหตุไม่ถูก พอเหตุไม่ถูก ผลก็ไม่มีหวังที่จะถูกเหมือนกัน ถ้าคิดว่าได้ผล นั่นเป็นความเข้าใจผิดต่างหากนะคะ ที่เข้าใจว่าได้ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงได้นำเอาญาณต้นๆ เข้ามาเป็นเครื่องวัดว่า อันนี้แหละ ภังคญาณก็ดี ภยญาณก็ดี มาจากไหน ก็มาจากเหตุ คือญาณต้นๆ บางทีน่ะ พูดกันถึงเรื่อง มรรค ผล นิพพาน พูดกันอริยสัจ พูดกันถึงอริยบุคคล โสดาบันไปจนถึงอรหันต์ก็มี แต่ถามว่า ทำเหตุอย่างไร ถึงได้เป็นอย่างนั้น ตอบไม่ได้ แต่ว่า เป็นเฉยๆ ขึ้นมาโดยไม่ มีเหตุหรอก นึกเป็นขึ้นมาเอง โดยไม่ ได้อาศัยเหตุผลตามความเป็นจริง เวลานี้ก็ไม่ใช่น้อยเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ก็เพื่อจะนำเหตุผลน่ะ มาติดต่อกันทั้งนี้ก็เพื่อจะได้พิสูจน์ให้เห็นชัด ในความจริงของคำสอนที่ว่า ธรรมทั้งหลาย ต้องไหลมาจากเหตุ ไม่ ใช่ เกิดขึ้นเองโดยปราศจากเหตุและต้องมีเหตุเป็นแดนเกิด มิใช่ จะเกิดขึ้นเองตามความนึกเข้าใจของตนนั้น เป็นไปไม่ได้ จึงได้นำเอา เหตุผลมาติดต่อกัน เพื่อจะได้เป็นการพิสูจน์ให้เห็นด้วยปัญญาของตนเอง และจะเป็นการง่ายต่อการพิสูจน์ด้วย แต่ดิฉันก็เชื่อว่า ท่านที่นับถือพุทธศาสนาด้วยกัน หรือบรรดาท่านที่นั่งศึกษาอยู่ด้วยกัน ณ ที่นี้ หรือโอกาสนี้ ก็คงจะเข้าใจด้วยกันทั้งนั้นนะคะ ก็คงจะเคยได้ยินได้ฟังด้วยกันทั้งนั้น ในคำที่ว่า ธรรมทั้งหลายไหลมาแต่เหตุ มีเหตุเป็นแดนเกิด ทุกท่านที่นั่งอยู่ในที่นี้ก็เคยรู้ และเคยเชื่อด้วย แต่ว่า การงานที่ทำหรือความเข้าใจที่ทำนั้นน่ะ เป็นไปตามอันนี้หรือเปล่า มีเหตุมีผลเหมือนอย่างนี้หรือเปล่า คำพูดก็ดี การกระทำและผลที่ตัวเข้าใจว่าได้ก็ดีไม่ได้เป็นไปอย่างนี้ ถ้าใครไม่เชื่อเหตุผล คนนั้นก็ไม่ใช่ชาวพุทธ ทุกคนชาวพุทธต้องเชื่อทั้งนั้น หรือจะเป็นพุทธก็เป็นเพียงสำมะโนครัวเท่านั้น ไม่ใช่เป็นพุทธด้วยความเข้าใจ ถ้าเป็นพุทธด้วยศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญาแล้ว ทุกคนต้องเชื่อเหตุผล เว้นแต่บางท่านไม่เชื่อก็จริงอยู่ แต่ก็ยังไม่ สามารถเอาเหตุผลในคำสอน ที่วางไว้ในตำรา เรานั้นมาติดต่อกันยังไม่ได้ เชื่อเหมือนกัน เชื่อว่าจะต้องมีเหตุผลแน่ แต่ว่า เหตุนี้มันอยู่ที่ไหนเล่า เกิดขึ้นด้วยอะไรเล่า และก็จะนำเอาเหตุผลนั้นมาติดต่ อกันไม่ ได้ เชื่อ อันนี้ก็เชื่อ มีเหตุ แต่ว่า ยังไม่สามารถจะนำเอาเหตุผลนั้นมาติดต่อกันนะคะ ยังไม่ได้ ก็ยังมีอยู่
อันนี้ก็ให้ถือว่าเป็นธรรมดาของปุถุชนที่ยังอ่อนด้วยการศึกษา ก็เป็นการยากที่ จะเข้าถึงเหตุผลในพระพุทธศาสนาได้ เพราะเหตุผลในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่เป็นของธรรมดาของปุถุชน หรือสามัญชนที่จะรู้ได้ทั่วไป เพราะเราก็ต้องคิดดูว่าเหตุผลที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นำเอามาประกาศสั่งสอนให้พวกเรารู้นั้น ไม่ใช่เป็นของที่จะเกิดขึ้นง่ายๆ ดูซิ พระพุทธเจ้าเกิดมา ๒,๕๐๐ กว่าปีแล้ว เดี๋ยวนี้ก็ยังไม่ มีใคร เกิดมาเป็นพระพุทธเจ้าอีกเลยสักองค์เดียว ไม่ใช่เกิดง่ายๆ
ฉะนั้น ปัญญาที่เข้าไปรู้เหตุผลนี้ จึงไม่ใช่เป็นของสามัญชนทั่วไปนะคะ เพราะเหตุผลในพระพุทธศาสนานี้น่ะ เป็นเหตุผลที่สุขุมลุ่มลึกมากนัก จะต้องประกอบไปด้วยปัญญาบารมี และจะต้องศึกษาด้วยความบริสุทธิ์ใจด้วยนะคะ
การศึกษาด้วยความบริสุทธิ์ใจนี้น่ะ อย่างไร
มนสิการอย่างไร การศึกษานั่นถึงจะบริสุทธิ์ใจมนสิการว่า การศึกษานี้เข้าใจแล้ว จะได้ไปทำงานเพื่อให้พ้นจากทุกข์ได้ อย่างนี้ การศึกษาถึงจะบริสุทธิ์ ถ้าหากว่า ไม่มีมนสิการอย่างนี้ การศึกษานั้นไม่บริสุทธิ์ ศึกษาเพื่อจะได้มีความรู้ตั้งใจจะเป็นครู เป็นอาจารย์ มีความรู้มากๆ คนจะได้นับหน้าถือตา พูดเก่งๆ ฉันรู้ภาษามากๆ นี่ อย่างนี้ เพื่อจะนำไปเทศนา ท่านจะไปเทศน์ที่ไหนล่ะ อย่างนี้ การศึกษาอย่างนี้แล้วไม่เป็นการศึกษาที่บริสุทธิ์ใจ
ฉะนั้น ผู้ที่จะถึงเหตุผลอย่างนี้น่ะ มาศึกษาเพื่อจะให้เข้าใจเหตุผลอย่างนี้ ต้องศึกษาด้วยความบริสุทธิ์ใจ ด้วยการพินิจพิเคราะห์จริงๆ เท่านั้น จึงจะเข้าถึงเหตุผลนั้นๆ ได้ ในเรื่องนี้ ก็ได้ให้หัวข้อตามพุทธประสงค์นะคะ มีอยู่ในพุทธประวัติที่พระองค์ได้แสดงธรรมในหมู่ที่ประชุมใดๆ นั้นก็ดี หรือโดยเฉพาะตัวก็ดี เพราะการเทศนาของพระพุทธเจ้าน่ะ บางทีก็เทศนาด้วยพุทธบริษัทมากในที่ ประชุม บางทีก็เทศนาเฉพาะบุคคล ก็จะต้องทรงทราบด้วยพระญาณเสียก่อนแล้วว่า จะพูดกันรู้เรื่องหรือเปล่า ในหมู่นี้น่ะ ในบริษัทนี้น่ะ จะมีคนรู้เรื่องไหม สักคนหนึ่งก็เอาเถอะ ต้องรู้ด้วยพระญาณเสียก่อนนะคะ ว่าจะมีคนรู้เรื่องหรือเปล่า ถ้ารู้จึงแสดง อันพอจะเป็นเครื่องพิสูจน์ให้รู้ว่าไม่ได้รู้ทุกคน
ฉะนั้น คนที่ จะเข้าใจในเหตุ ผล หรือเข้าถึงพระพุทธศาสนา ไม่ใช่จะได้ทุกคน ถ้าเข้าใจทุกคนแล้ว พระพุทธเจ้าจะเทศนา หรือสั่งสอนที่ไหนไม่จำเป็นจะต้องมีพระญาณ ถ้าทุกคนรู้ได้ นี่ไม่ใช่อย่างนั้นนะคะ จะต้องเป็นคนมีบารมี ศึกษาแล้วถึงจะพอใจด้วย ถ้าเป็นคนไม่ เคยมีบารมีมาแล้ว ถึงจะพบพระพุทธศาสนา ก็ไม่ พอใจ ไม่ พอใจที่ จะศึกษา ไม่ พอใจที่ จะเข้าใจ หรือเห็นเป็นของธรรมดา โอ๊ะ! พระพุทธศาสนานี่น่ะ เป็นของธรรมดา ไม่เห็นจะแปลกอะไรเลย เราไม่ต้องเรียนรู้ พระพุทธศาสนาก็ไม่ต่างอะไรกับเราหรอก อย่างนี้ก็มีเยอะค่ะ เวลานี้น่ะ
เท่าที่ศึกษานั้น ก็รู้สึกว่า คนที่เข้าถึงเหตุผลจริงๆ ก็จะต้องเป็นคนที่ มีปัญญาบารมี มีปัจจัยมาแล้ว ในชาติก่อนได้สร้างมาแล้ว ต้องมีปัญญาบารมีที่จะให้บรรลุเป็นพระโสดาบันบุคคล ไม่ใช่คนธรรมดาอย่างเรา ก็ในการที่พระโสดาบันบุคคลบรรลุมรรค ผลได้นั้น ก็หาใช่เป็นการบันดาลด้วยอำนาจของพุทธองค์ไม่ หากแต่เป็นการบรรลุด้วยอำนาจปัญญาบารมีของท่าน ที่เข้าใจในเหตุผล และเข้าถึงเหตุผลนั้นเอง
โดยเหตุนี้ ดิฉันจึงเห็นว่า การรู้ในเหตุผลที่ถูกต้องนั้น เป็นสิ่งสำคัญในการศึกษาในพระพุทธศาสนา เพราะถ้าหากว่า ไม่ได้ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการเข้าใจในเหตุผลมาเป็นสรณะ อันแท้จริงแล้ว ก็เป็นการยากนักหนา ที่จะป้องกันความเข้าใจของเรา มิให้ตกไปในมิฉาทิฏฐิ เพราะไม่มีปัญญาที่รู้เหตุผลมาเป็นสรณะ มาเป็นเครื่องป้องกัน หรือจะไม่ให้ยินดีในมิจฉาทิฏฐิก็ยากนักหนา เพราะไม่มีปัญญาอะไร ที่จะเป็นเครื่องห้ามปราม หรือจะไม่ให้มิจฉาทิฏฐินั้นเข้าจับต้องได้ เพราะมิจฉาทิฏฐิจะจับต้องได้ หรืออาศัยในความเข้าใจนั้นได้ ไม่ใช่ปัญญาธรรมดานี่ ทำลูกระเบิดปรมาณู สร้างรถยนต์ สร้างเรือบิน ปัญญาอย่างนี้มิจฉาทิฏฐิกิเลส ก็เข้าอาศัยได้ ไม่ ใช่ ปัญญาธรรมดานะคะ จะต้องเป็นปัญญาในวิปัสสนาที่เข้าถึงวิสุทธิด้วยนี่ ยังอยู่ ในภังคญาณใช่ ไหมคะ คือเรื่องวิสุทธิ
นั้นแหละ ยังอยู่ในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ แต่ว่าในปฏิปทาญาณนั้นน่ะ มีญาณหลายอย่างทีเดียว ที่รวมอยู่ในปฏิปทาญาณ ภังคญาณนี่ ก็ยังรวมอยู่ในปฏิปทาญาณเหมือนกันนะคะ และก็ได้พูดมาถึงภังคญาณนี้น่ะ พูดมาแล้ว แต่ว่ายังไม่จบนะคะ ฉะนั้น ต่อไปนี้ ก็ยังอยู่ ในภังคญาณนะคะ เป็นปัญญาในวิปัสสนาที่เข้าถึงขั้นวิสุทธิด้วย
ตามที่เราได้กำลังศึกษากันอยู่นี้ ก็ขอให้เข้าใจกันโดยแน่นอนทีเดียวว่า ปัญญาที่จะเข้าถึงเหตุผลเท่านั้น ที่สามารถจะทำลาย หรือกันมิจฉาทิฏฐิคือ ความเห็นผิดนั้นได้ ฉะนั้น ดิฉันจึงขอย้ำกับท่านนักศึกษาอีกครั้งหนึ่งว่า อย่าพึ่งมีความสำคัญว่าเรานั้น เข้าใจดีแล้ว อันนี้แหละสำคัญนะคะ เพราะบางทีความเข้าใจอันนี้ อาจจะเป็นที่อาศัยของมิจฉาทิฏฐิ แต่เราไม่รู้เท่านั้นเอง เพราะคนที่ เขารู้ หรือรู้จบแล้วนั้น ก็ขอให้เข้าใจว่า มีแต่เฉพาะอเสกขบุคคล คือพระอรหันต์เท่านั้น คนที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ จะชื่อว่ารู้จบแล้ว ยังไม่ได้ ยังต้องศึกษา แม้แต่พระอนาคามีบุคคล ก็ยังจัดอยู่ในจำพวกที่ยังต้องศึกษาอยู่ พระอรหันต์เท่านั้นแหละไม่ ต้องศึกษาแล้ว เพราะว่า กิเลสท่านหมดแล้ว นอกจากพระอรหันต์ ไม่มี