**ศีลวิสุทธิ

วิสุทธิ ๗
ตอน ศีลวิสุทธิ

โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

สวัสดีค่ะท่านที่เคารพ   

********วันนี้เราจะได้พูดกันถึงเรื่องวิสุทธิ ๗ เริ่มตั้งแต่ ศีลวิสุทธิเป็นต้นไป

********ก่อนที่ท่านจะได้ฟังเรื่องของวิสุทธินี้เราก็ควรเข้าใจในความหมายของคำว่า วิสุทธิเสียก่อนว่า หมายความว่ากระไร?

*******ในความหมายของคำว่า วิสุทธินั้น ก็หมายถึง ความบริสุทธิ์หรือหมดจดจากกิเลสหรืออีกนัยหนึ่ง

*******คำว่า วิสุทธิ นี้ จะหมายถึงความบริสุทธิ์จากกิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง และตลอดถึงอย่างละเอียดด้วย จะหมายความอย่างนี้ก็ได้เหมือนกันก็เป็นอันเดียวกัน

*******วิสุทธินี้ เป็นข้อปฏิบัติที่จะทำให้ดำเนินไปสู่พระนิิพพาน คือให้บรรลุพระนิพพาน หรือเป็นทางที่จะให้บรรลุอริยสัจธรรมทั้ง ๔ ก็อันเดียวกันนะคะ

*******ตามหลักฐานที่มีอยู่นั้น วิสุทธินี้มีอยู่ ๗ ประการ ด้วยกัน คือ :-

*******๑.ศีลวิสุทธิ

*******๒.จิตตวิสุทธิ

*******๓.ทิฏฐิวิสุทธิ

*******๔.กังขาวิตรณวิสุทธิ

*******๕.มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ

*******๖.ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ

*******๗.ญาณทัสสนวิสุทธิ

*******รวมเป็นวิสุทธิ ๗ ประการนี้ เป็นหนทางที่จะให้บรรลุถึงพระนิพพาน

*******อันนี้เป็นสิ่งที่พุทธบริษัททุกคนควรจะทราบ โดยแน่นอนด้วยที่ว่าทุกท่านที่ได้บรรลุถึงพระนิพพานนั้น จะต้องเข้าถึงวิสุทธิทั้ง ๗ นี้ จะผ่านไปเสียไม่ได้เลย

*******อนึ่ง การที่จะเข้าถึงวิสุทธิได้นั้น ก็จะต้องอาศัยธรรมที่เป็นเหตุนั้น ยังมีอีกหลายประการ เช่น มีสติปัฏฐานเป็นต้น และวิปัสสนาญาณ ๑๐ หรือ ญาณ ๑๖ ซึ่งมี อุทยัพพยญาณ หรือนามรูปปริจเฉทญาณ เป็นต้น

*******ฉะนั้น วิสุทธิทั้ง ๗ ประการนี้  จึงเป็นธรรมอันกว้างขวางมาก และจะต้องเนื่องอยู่ด้วยธรรมหลาย ๆ หมวดที่จะต้องประกอบอยู่ในวิสุทธินี้ ถ้าจะสรุปเอาแต่โดยย่อแล้วก็ได้แก่ ธรรม ๓ ประการ คือ ศีล, สมาธิ, และปัญญา ซึ่งตรงกันกับที่ได้อธิบายมาเมื่อกี้นี้แล้วว่ากำจัดกิเลสอย่างหยาบ, อย่างกลาง และอย่างละเอียด

*******ศีลวิสุทธิ ได้แก่ ศีล

*******จิตตวิสุทธิ ได้แก่ สมาธิ

*******อีก ๕ วิสุทธิที่เหลือ คือ ทิฏฐิวิสุทธิ  กังขาวิตรณวิสุทธิ  มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ  ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ  และญาณทัสสนวิสุทธิ รวมทั้ง ๕ วิสุทธินี้ เป็นวิสุทธิของปัญญา

*******ปัญญา ที่จะวิสุทธินี้ มี ๕ ข้อ ก็รวมเป็น วิสุทธิ ๗ ประกอบด้วยกัน ซึ่งเมื่อย่อลงแล้ว ก็ได้แก่ ศีล, สมาธิ, ปัญญา ทั้ง ๓ นั้นเอง

*******ศีลวิสุทธิ เป็นความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสอย่างหยาบ

*******จิตตวิสุทธิ เป็นความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสอย่างกลาง

*******ปัญญาวิสุทธิ นั้น ก็ทำให้หมดจดจากกิเลสอย่างละเอียด

*******โดยเฉพาะกิเลสนั้นมี ๓ ประการดังนี้ จึงต้อง ทรงจำแนกหน้าที่ของข้อปฏิบัติที่เป็นเครื่องมือสำหรับชำระกิเลสไว้ ๓ ประการ ที่วาง ศีล สมาธิ ปัญญา ไว้นี่ เพื่อชำระกิเลส ๓ ขั้น คือ อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด นี่ต้องเข้าใจเหตุผลด้วย

*******ในข้อนี้ จะทำให้เราพอมองเห็นเหตุผลได้ว่า ธรรมที่เรียกว่า วิสุทธิ นั้น มิใช่จะเกิดขึ้นมาเองเฉยๆ ตามความต้องการของใครๆ โดยไม่มีเหตุผลนั้นไม่ได้ เพราะธรรมทั้งหลายนั้นต้องไหลมาจากเหตุ จะต้องมี เหตุเป็นแดนเกิด สำหรับในสังขตธรรมทั้งหลาย จะต้องมีเหตุมีปัจจัยทั้งนั้น

*******ขึ้นชื่อว่าสังขตธรรมแล้ว จะเกิดขึ้นเองโดยไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัยนี้ไม่มีเลย

*******ฉะนั้น วิสุทธิทั้ง ๗ นี้ก็เป็น สังขตธรรม จึงจะต้องมีเหตุให้เกิด หรือจะต้องอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ดังเช่น ศีลวิสุทธิ เป็นต้น

*******ทีนี้ วิสุทธิทั้ง ๗ นั้น เป็นสังขตธรรม ไม่ได้มีอสังขตธรรม คือ พระนิพพานอยู่ในวิสุทธินี้ด้วยเลย เพราะอะไร? เพราะอันนี้เป็นทางที่จะให้ถึงพระนิพพาน

*******ส่วน อสังขตธรรม นั้นเป็นอารมณ์ของญาณทัสสนวิสุทธิ แต่ไม่เกี่ยวกับตัววิสุทธิ  เฉพาะวิสุทธินี่เป็นข้อปฏิบัติที่จะให้ถึงพระนิพพานเท่านั้น และเป็นสังขตธรรมด้วย

*******โปรดเข้าใจอีกสักนิดด้วยว่าในคำว่า สังขตะ นั้น สังขตะกับโลกุตระนี้ มีความหมายไม่เหมือนกัน ต่างกันนิดหน่อย เพราะคำว่า สังขตะนี่ กินความหมดไปถึงมัคจิตและผลจิตด้วยและเจตสิกที่ประกอบนั้นเป็นสังขตะทั้งนั้น

*******เฉพาะพระนิพพานอันเดียวที่เป็น อสังขตธรรม ส่วนคำ โลกุตระ เป็นสังขตก็มี เป็นอสังขตก็มี เช่นถามว่า โลกุตรธรรมมีเท่าไร? ต้องตอบว่ามี ๙ ประการ คือ นวโลกุตรธรรม ได้แก่ มรรค ๔,ผล ๔, นิพพาน ๑

*******ในธรรม ๙ ประการนั้นนะ เป็นโลกุตรก็จริงอยู่แต่ว่า มัคจิต ๔ ผลจิต ๔ กับเจตสิก ๓๖ ที่ประกอบในโลกุตรจิต ๘ ดวงนั้น เป็นสังขตธรรมคือเป็นโลกุตรก็จริง แต่เป็นสังขตธรรม ไม่ใช่อสังขตธรรม

*******ฉะนั้นสังขตธรรมกับโลกุตรธรรมนี้ ก็มีความหมายต่างกันอยู่เล็กน้อยนี่ ขอให้เข้าใจด้วยนะคะ

*******ฉะนั้น วิสุทธิทั้ง ๗ นี้ก็เป็นสังขตธรรม จึงต้องอาศัยเหตุปัจจัยเหมือนกัน คือ ต้องอาศัยศีลเกิดขึ้น อาศัยสมาธิ คือ จิตตวิสุทธิ หมายความว่า จิตตวิสุทธิอันนี้จะต้องอาศัยสมาธิเกิดขึ้น หรือว่าเป็นวิสุทธิของสมาธิ

*******ส่วนวิสุทธิอีก ๕ ประการนั้น ก็ต้องอาศัยปัญญาเกิดขึ้น ไม่ใช่เกิดขึ้นเองเฉยๆนะคะ นี้นะต้องเข้าใจเหตุผลด้วยคะ

*******ฉะนั้น วิสุทธิทั้ง ๗ นั้น จึงต้องอาศัยธรรม ๓ ประการนี้ แล้วจึงจะเข้าถึง วิสุทธิ ได้

*******ถ้าเราไม่มีศีล ศีลวิสุทธิก็มีไม่ได้ ก็เราไม่มีศีลนี่ ศีลที่จะละกิเลสอย่างหยาบทางกาย ทางวาจา ก็ละไม่ได้ จะวิสุทธิได้อย่างไร? เพราะไม่มีศีล

*******ฉะนั้น วิสุทธิ ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีศีล สมาธิ ปัญญา นี่ต้องอาศัยธรรม ๓ ประการนี้นะคะ

*******ก็โดยเหตุผลดังได้อธิบายมานี้ เราจึงไม่ควร ที่จะทำความเข้าใจว่า จิตนั้นบริสุทธิ์อยู่แล้วแต่เดิมอันนี้ท่านคงจะได้ยิน ได้อ่านกันมามากแล้วใช่ไหมคะว่า จิตเดิมแท้นั้นบริสุทธิ์ หากแต่กิเลสมาเกิดขึ้นต่อภายหลัง จึงทำให้จิตนั้นเศร้าหมองไปนี่ก็ผิดไปจากเหตุผล

*******ตามเหตุผลแล้ว วิสุทธิจะต้องเกิดมาจากเหตุไม่ใช่มีอยู่เองนะคะ ต้องอาศัยศีล อาศัยสมาธิ อาศัยปัญญา จึงจะเกิดเป็น วิสุทธิขึ้นได้

*******ถ้าหากเขาบอกว่า จิตเดิมแท้นั้นบริสุทธิ์หากแต่กิเลสมาเกิดขึ้นต่อภายหลัง จึงทำให้จิตนั้นเศร้าหมองไปท่านคงจะเคยได้ยินใช่ไหมคะ

*******ถ้ามีความเข้าใจดังนี้แล้ว ก็เป็นความเข้าใจที่ยังไม่ถูกต้องด้วยเหตุผลอีกหลายประการทีเดียว เช่น

********ข้อที่ ๑ เมื่อจิตของเราบริสุทธิ์หรือหมดจดจากกิเลสแล้ว คือเดิมเข้าใจว่า จิตนั้นบริสุทธิ์ไม่มีกิเลสแล้วก็เหตุไฉนเล่าจึงต้องมาเกิดอีก? ใช่ไหมคะ! และที่ต้องมาเกิดอีกนี่เพราะอะไร เพราะจิตบริสุทธิ์หรือเหตุไฉนจึงต้องมาเกิดอีก จะต้องมามีภพชาติอีกล่ะ?

********เพราะตามธรรมดานั้น เราก็ทราบกันอยู่แล้วว่าในการที่เราจะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏฏ์ก็เพราะ กิเลสวัฏฏ์นั้นเป็นปัจจัย เพราะจิตยังมีกิเลสอยู่ไม่ใช่บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลส จึงเป็นเหตุให้กระทำกรรมแล้วกรรมนั้นก็ส่งผลให้เราเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏฏ์นี้ เพราะกิเลสนั้นเองเป็นตัววัฏฏะ เราจึงตามกิเลสเรื่อยมา

*******เมื่อกิเลสยังไม่หมด กิเลสจึงเป็นปัจจัย ซึ่งเรียกว่า กิเลสวัฏฏ์ เป็นเหตุให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏฏ์

*******ก็ถ้าผู้ใดเข้าถึงความหมดจดจากกิเลสทั้งปวงแล้ว กิเลสไม่มีแล้ว คือดับหมดแล้ว ดังเช่นพระอรหันต์เป็นต้น ที่เป็นผู้บริสุทธิ์แล้วนะคะ ก็เป็นอันว่าไม่ต้องเข้าถึงความเกิดอีก และท่านจึงถึงความพ้นแล้วจากภพชาติโดยประการทั้งปวง

********ข้อที่ ๒ ที่ว่าจิตเดิมนั้นบริสุทธิ์ หากแต่ว่ากิเลสนั้นจรมาผสมเข้าจึงไม่บริสุทธิ์ อันนี้ก็ยังไม่สมด้วยเหตุผลอีกเหมือนกัน เพราะตามเหตุผลนั้น กิเลสไม่ได้อยู่ที่อื่นนอกจากจิตใจ ก็เหตุไฉนเล่าเมื่ออยู่กับจิตใจแล้ว จะต้องวิ่งมาหาจิตใจในภายหลังอีกทำไมล่ะคะ? เพราะบอกว่า หากแต่กิเลสจรมาผสมเข้าต่างหากจิตจึงไม่บริสุทธิ์ก็แปลว่าในจิตนั้นบริสุทธิ์ กิเลสนี่มันไม่ได้อยู่ในจิตใจนั้นใช่ไหมล่ะ หากแต่มาผสม ทีหลัง?

*******ถ้าเข้าใจดังนี้แล้ว ก็คล้ายกับว่ากิเลสนั้นมันมีบ้านเมืองอยู่ต่างหากจากจิตใจของเรา

*******ถ้าเช่นนั้นก็จะตั้งคำถามว่า เมื่อกิเลสมันไม่ได้อยู่ในจิตใจของเราแล้ว ก่อนที่มันจะเข้ามาอาศัยในจิตใจของเรานั้น มันมีที่อยู่  ที่อาศัย ที่ไหนเล่า? ถ้าตั้งคำถามอย่างนี้แล้ว ดิฉันคิดว่าคนที่มีความเข้าใจอย่างนั้นก็คงตอบไม่ได้แน่นอนทีเดียวว่าที่อยู่ของกิเลสมันอยู่ที่ไหน? ทั้งๆ ที่เขาเข้าใจว่ากิเลสมันไม่ได้อยู่ในจิตใจนั่นแหละ แต่พอถามว่าอยู่ที่ไหนก็คงตอบไม่ได้ว่ามันอยู่ที่ไหน? ที่นอกไปจากจิตนั้น

*******เพราะตามเหตุผลและหลักฐานนั้นกิเลสไม่ได้อยู่ที่อื่น กิเลสนั้นก็อยู่ที่จิตใจของเรานั่นเอง เพราะท่านบอกไว้แล้วว่าจิตใจนี้น่ะ เป็นธรรมชาติที่สั่งสมกิเลสสั่งสมกรรม และกิเลสใช่ไหมคะ? ที่เราได้ศึกษากันมาแล้วว่ากิเลสเป็นอกุศลเจตสิกที่จะต้องประกอบกับจิต

*******ฉะนั้น กิเลสจึงหาได้อยู่ที่อื่นไม่ กิเลสก็อยู่ในจิตใจของเรานั่นเอง ก็หากว่ากิเลสอยู่ที่อื่นแล้วทำไมล่ะ เราจะยากเย็นอะไรต้องมานั่งทำความเพียรให้เกิดศีล เกิดสมาธิ เกิดปัญญาขึ้นมาทำไม? จะต้องมาคอยชำระกิเลสที่มันจรเข้ามาเรื่องอะไร? ถ้ามันมีกิเลสอยู่ที่อื่นอย่างนั้นเราก็ไปเผาบ้าน เผาเมืองมันเสียให้หมด ก็จะสบายดีไม่ต้องมานั่งทำศีล สมาธิ ปัญญา กันอีกละ เพราะว่ากิเลสมันถูกเผาตายหมดแล้ว มันก็จะไม่ทำให้จิตเราเศร้าหมองอีก

*******นี่ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้ ก็รู้สึกว่าสบายดีเหมือนกันไม่ต้องชำระกิเลสละ เพราะว่าของเดิมนี่เขาบริสุทธิ์อยู่แล้ว ใช่ไหมคะ

*******แต่นี่กิเลสไม่ได้อยู่ที่อื่น อยู่ในจิตใจของเรานี้เอง ทั้งอย่างหยาบ, อย่างกลาง และอย่างละเอียด ไม่ได้อยู่ ที่อื่นเลย อยู่ที่จิตใจนี่เอง

*******ตามที่เข้าใจว่าศีลนี่รักษากาย วาจา ให้บริสุทธิ์นั้น แต่ความจริง กายและวาจานั้นไม่ใช่เป็นผู้รักษาศีลหรอก! จิตใจนั้นเองรักษาศีล จิตใจนั้นเองห้ามปรามไม่ให้กิเลสที่จะล่วงไหลออกมาทางกาย วาจา มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น หรือว่า มุสา ส่อเสียด นี่อย่างนี้นะ นี่ด้วยอำนาจของจิตใจต่างหาก ไม่ใช่มีลำพังแต่กายกับวาจาเท่านั้น การทุจริตไม่มีเลย ในกาย วาจานั้นไม่เกี่ยวด้วย แต่เพราะจิตใจเกิดกิเลสขึ้น แต่ว่า ถ้ากิเลสนั้นถูกระงับไว้ได้ ระงับไว้ที่ใจ ยังไม่สามารถ แสดงออกมาทางกาย วาจา ก็ชื่อว่า ศีลยังไม่ขาด ใช่ไหมคะ กิเลสนั้นก็ชื่อว่า กิเลสอย่างกลาง ถ้าไม่ออกมาถึงกาย วาจา เพียงแต่อยู่ในจิตใจเท่านั้น แต่ไม่ล่วง ออกมาถึงกาย วาจา คือกิเลสยังไม่แรงถึงกับผลักดันให้ล่วงออกมาบังคับให้พูด หรือบังคับให้กายทำได้ละก็ กิเลสอย่างนั้นก็เรียกว่า กิเลสอย่างกลาง ไม่เรียกว่ากิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างหยาบนั้น หมายถึงว่ากิเลสนั้นแรงมาก ถึงได้ออกมาทางกายและทางวาจา แต่ว่าถ้าจิตใจรักษากิเลสนั้นไว้ได้ให้อยู่เพียงในจิตใจเท่านั้น อย่าให้ล่วงออกมาถึงกาย วาจา ศีลที่สำหรับ ทำหน้าที่ห้ามปรามไม่ให้กายทุจริต วจีทุจริตเกิดขึ้น ศีลนั้นก็ยังไม่ขาดและตั้งอยู่ได้

*******ฉะนั้นกิเลสทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด มันอยู่ที่ใจทั้งนั้น อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ

********เพราะฉะนั้น จิตใจของเรานี่สำคัญมาก เมื่อเกิดกิเลสขึ้นเข้ามาแล้ว ไม่ใช่จะไปละที่อื่น ละออกจากจิตใจนี่เอง จะต้องละด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ก็ใครเล่าที่เป็นผู้ทำศีล ทำสมาธิ ทำปัญญาให้เกิดขึ้น ก็จิตใจนั่นเอง ไม่ใช่คนอื่นเหมือนกัน ต้องทำให้จิตใจนั่นแหละตั้งอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา จึงจะทำให้กิเลสอย่างหยาบ อย่างกลางและอย่างละเอียดนั้นหมดไปได้

*******นี่แสดงว่า กิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด อยู่ในจิตใจของเรา ฉะนั้น เราจะเอาจิตเดิมที่บริสุทธิ์นั้นน่ะ มาจากไหนกัน? ลองคิดดูถึง เหตุผลซิคะ! เอามาจากไหน?

*******หากแต่ว่า กิเลสที่เป็นส่วนหยาบที่จะต้องละด้วยศีลนั้น และกิเลสที่เป็นอย่างกลางที่ต้องละด้วยสมาธินั้น กิเลสทั้ง ๒ อย่างนี้ ที่ท่านใช้คำว่า “จรมาเพราะเหตุว่า กิเลสทั้ง ๒ อย่างนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเสมอเป็นประจำในจิตใจ เพราะบางทีจิตก็เป็นกุศลบ้าง บางทีจิตก็เป็นอกุศลบ้าง โลภก็ไม่ใช่เป็นของประจำอยู่ในจิตใจ โกรธก็ไม่ใช่เป็นของประจำอยู่ในจิตใจ คล้ายๆ กับว่า ไม่ใช่คนอยู่ในบ้านนี้ เป็นแขกที่มาชั่วครั้ง ชั่วคราวอะไรอย่างนั้น ท่านจึงใช้คำว่า จรมา

*******ทีนี้จรมาในที่นี้นะ หมายถึงว่าเกิดขึ้นเป็นครั้งเป็นคราว ไม่ใช่จรมาจากที่อื่น แล้ววิ่งเข้ามาในจิตไม่ใช่อย่างนั้นนะคะ ท่านหมายถึงว่าไม่ได้เกิดอยู่เสมอเป็นประจำ แต่เมื่อได้อาศัยประสบเข้ากับเหตุปัจจัยมีอารมณ์ เป็นต้นนั้นแล้ว กิเลสนั้นจึงปรากฏขึ้นมาในจิตใจ เพราะประสบกับอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ความไม่พอใจจึงเกิดขึ้น ถ้าไม่ได้ประสบกับอารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจก็อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่เมื่อได้ปัจจัยแล้ว จึงเกิดขึ้นนะคะ

*******ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่า กิเลสอย่างละเอียดที่ดองอยู่ในสันดาน ที่ยังละไม่ได้นั้นเองมาเป็นปัจจัยทำให้เกิดกิเลสอย่างกลางกับอย่างหยาบขึ้น เมื่อประสบกับอารมณ์แล้ว เพราะเหตุว่า กิเลสอย่างละเอียดนั้นเองเป็นปัจจัย กิเลสอย่างละเอียดนี้ ดองอยู่ในจิตสันดานของบุคคลที่ยังละไม่ได้ จึงมาเป็นปัจจัยให้เกิดขึ้นอีก

*******แต่ถ้าหากว่า ท่านที่ละกิเลสอย่างละเอียดที่ดองอยู่ในสันดานนั้นได้หมดแล้ว เช่นพระอรหันต์เป็นต้น ถึงแม้จะได้ประสบกับอารมณ์ที่เป็นเหตุให้รัก หรือให้โกรธ ให้หลง แต่ว่าความรัก ความโกรธ ความหลงที่เป็นอย่างกลางหรืออย่างหยาบนั้น จะเกิดขึ้นประกอบกับจิตของท่านไม่ได้เลยเป็นอันขาด เพราะเหตุว่ากิเลสอย่างละเอียดละได้หมดแล้ว อย่างกลางจะเอามาแต่ไหน? เมื่ออย่างกลางไม่เกิดขึ้นอย่างหยาบจะมาจากไหน?

*******เพราะฉะนั้น ข้อสำคัญก็อยู่ที่กิเลสอย่างละเอียดนี่ล่ะค่ะ อย่างละเอียดนี้ จึงต้องละด้วยปัญญา อย่างกลางละด้วยสมาธิ อย่างหยาบละด้วยศีล

*******โดยเหตุนี้ เราจะละกิเลสอย่างไร แค่ไหนอย่างละเอียดหรืออย่างกลางนี้นะ เราไม่สามารถจะรู้ได้ ถ้าอย่างละเอียดอันไหนหมดไป อย่างกลางอันนั้น อย่างหยาบอันนั้นก็หมดไปด้วย เราไม่สามารถจะรู้ได้เรารู้ได้แต่อย่างหยาบเท่านั้น คือ เมื่อเกิดขึ้นกับกาย วาจา, เกิดกับใคร เราก็สามารถจะรู้ได้ว่า อ้อ! คนนี้เขาไม่มีกิเลสแต่ที่จริงที่เข้าใจว่าเขาไม่มีกิเลสนั้นน่ะ คือเขาไม่มีกิเลสอย่างหยาบเท่านั้น

*******โดยเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า“ปุถุชนจะสรรเสริญคุณของท่าน ได้ก็เพียงแค่ศีลเท่านั้น คือเห็นด้วยอาศัยทางกาย ทางวาจา เมื่อมองดูกาย วาจาของท่านเรียบร้อยดี กิริยา วาจาไม่เป็นไปด้วยทุจริตทั้ง ๗ อันนี้เท่านั้นเอง ก็สรรเสริญพระคุณท่านได้ว่าเป็นผู้เรียบร้อยเป็นผู้สันโดษอะไรอย่างนี้ เป็นผู้สำรวมด้วยดี เหล่านี้เป็นคุณธรรมของศีลทั้งนั้น

*******แต่ส่วนใจเขา จะมีรัก หรือมีโกรธ หรือไม่มี อย่างนี้ถ้าเขาไม่แสดงออกมาทางกาย ทางวาจา เราก็ไม่รู้เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามี  หรือไม่มีกิเลส

*******แล้วยิ่งกิเลสอย่างละเอียดด้วยแล้ว จะต้องละด้วยปัญญาด้วยแล้ว เราจะรู้ไหมว่าปัญญาของเขานั้นสามารถจะละกิเลสได้แค่ไหน เขาจะถึงปัญญาอันไหนที่จะละกิเลสอย่างละเอียด อันไหนเราก็รู้ไม่ได้

*******ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงรับสั่งว่า “การที่เราจะรู้ว่าใครมีปัญญา หรือไม่มีนี่  ต้องสนทนากันเสียก่อน”

*******ทีนี้ ในการสนทนากันนั้นน่ะ มีเหตุผลไหม คำพูด นั้นพูดเป็นไปด้วยเหตุผลหรือเปล่า ถ้าพูดเป็นไปด้วยเหตุผลละก็ ถือว่าคนนั้นเขามีปัญญาเข้าถึงเหตุผลที่ถูกต้อง

*******ถ้าคำพูดนั้นไม่ได้เป็นไปด้วยเหตุผล คำพูดนั้นก็เป็นไปด้วยโมหะหรือด้วยมิจฉาทิฎฐิ เป็นความเข้าใจผิดนั้นเองที่ไหลออกมาทางกายและวาจา ตามความเข้าใจผิดของตนนั้น

*******อย่างพระอรหันต์นี่ท่านละได้แล้ว ถึงจะประสบอารมณ์ก็ไม่มีแล้ว ความโลภ ความโกรธ ความหลงนี่ ไม่เกิดขึ้นแล้ว ทั้งอย่างหยาบ  อย่างกลาง อย่างละเอียด ไม่เกิดขึ้นแม้แต่จิตใจก็ไม่เคยมีเกิดขึ้น

*******แต่ถึงกระนั้น เวลานี้ก็ยังมีคนพูดกันว่า “พระอรหันต์น่ะ ความโลภ ความโกรธ ท่านก็มี!” เขาบอกว่าอย่างนั้น ท่านยังมีแต่ว่าท่านไม่ใช้เท่านั้นเอง ไม่ใช่ว่าท่านไม่มี นี่แหละ คำพูดถึงอย่างนี้ก็ยังมีได้นะคะ

********ที่จริงการเข้าถึงความเป็นพระอรหันต์ได้นั้น ท่านละกิเลสที่ดองอยู่ในจิตสันดานนั้นได้แล้ว ละได้หมดสิ้นเชิงทีเดียว จิตของท่านจึงถึงความบริสุทธิ์แล้ว เข้าถึงความบริสุทธิ์ได้ด้วยอะไร? ท่านต้องอาศัยวิสุทธิ ทั้ง ๗ ประการนี้เอง จึงทำให้จิตเข้าถึงความบริสุทธิ์  หมดจดจากกิเลสได้

*******นี่ก็เป็นการชี้ธรรมที่ประกอบด้วยศีล ด้วยสมาธิ และด้วยปัญญา ทั้ง ๓ นั่นเอง ไม่รู้ละ  ใครจะเข้าถึงความหมดจดจากกิเลสได้   ก็ต้องเข้าถึงวิสุทธิ ๗ นี้

*******ฉะนั้น วิสุทธินี้น่ะ เป็นธรรมที่สำคัญมากและการ ที่จะเข้าถึงวิสุทธิแต่ละอันๆ ได้ก็จะต้องเข้าใจเหตุผล ที่ถูกต้องเหมือนกัน

*******โดยเหตุนี้ จิตที่จะมีความบริสุทธิ์อยู่เดิมนั้นจึงไม่มี เหตุผลที่จะเป็นไปได้อย่างที่เข้าใจนั้นเลย

*******เพราะถ้าจะพูดกันโดยเหตุผลแล้ว สำหรับปุถุชนนั้น จิตที่ยังไม่ถูกชำระสะสางให้หมดนั้นจะต้องเป็นจิตที่ สกปรกอยู่ด้วยกิเลส เพราะว่าสะสมหมักหมมมาด้วยกิเลส ที่เป็นไปในสังสารวัฎฎ์จนนับไม่ถ้วน

*******เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราจะต้องชำระกิเลสให้หมดจด เสียก่อน และการที่จะชำระกิเลสนั้นก็ต้องเอาศีลวิสุทธิ สมาธิวิสุทธิ ปัญญาวิสุทธิ นั้นเอง ต้องอาศัยธรรมทั้ง ๓ ประการนี้แหละ ชำระกิเลสเสียก่อน แล้วจึงเข้าถึงความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสได้

*******อนึ่ง เราก็ควรที่จะทำความเข้าใจไว้อีกอย่างหนึ่ง ด้วยว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๓  ประการนี้ที่บริสุทธิ์ก็มี ไม่บริสุทธิ์ก็มี มีอยู่ ๒ อย่าง

********แต่ที่จะให้บรรลุถึงพระนิพพานอันเป็นธรรมที่ดับทุกข์หรือดับเสียซึ่งสังสารวัฎฎ์นั้น ต้องศีลที่เป็นวิสุทธิสมาธิ เป็นวิสุทธิ  และปัญญาเป็นวิสุทธิ ถึงจะไปได้

*******เพราะฉะนั้น ทั้งศีล สมาธิ ปัญญานี้ ก็ให้เข้าใจด้วยว่าที่เป็นวิสุทธิก็มี ที่ไม่เป็นวิสุทธิก็มี อันนี้พวกเราที่เป็นชาวพุทธนับถือพระพุทธศาสนา ก็ควรจะต้องทราบไว้ ด้วยว่า ศีล สมาธิ ปัญญาที่จัดไว้เป็นวิสุทธิจะต่างกันอย่างไรกับที่ไม่เป็นวิสุทธิ ฉะนั้น ต่อไปนี้เราก็จะได้พูดกันถึงศีลวิสุทธิ ซึ่งเป็นวิสุทธิขั้นต้น ว่า ศีล ที่จัดเป็นวิสุทธินั้น หมายความว่าอย่างไร? และต่างกับที่ไม่วิสุทธิอย่างไร?

*******คำว่า ศีลวิสุทธิหมายถึงการรักษาศีลหรือพรตที่มิได้เจตนา จะรักษาศีลเพื่อต้องการบุญกุศล เพื่ออย่างอื่นอย่างใดทั้งสิ้น เพื่อความร่ำรวย เพื่อรูปสวย เพื่อไปเกิดบนสวรรค์ หรือเพื่อได้อารมณ์ที่ตนปรารถนา การถือศีลไม่ได้เจตนาอย่างนี้ มิใช่เพื่อจะต้องการอานิสงส์ของศีลนั้นน่ะ ไปทำประโยชน์อย่างอื่นตามที่ตนต้องการนั้น

*******นอกจากจะรักษาศีลเพื่อไปนิพพาน หรือเพื่อละกิเลส ต้องการพ้นทุกข์อย่างเดียวเท่านั้น ต้องมีเจตนาอย่างนี้ในการรักษาศีลนั้น และอีกประการหนึ่งนั้น ศีลวิสุทธินี้ จะมีได้ก็ต้องเกิดขึ้นเพราะปัญญาเป็นต้น ศีลนี้น่ะ มีเหตุให้เกิดได้ ๒ อย่าง คือเกิดด้วยปัญญาก็ได้ หรือเกิดด้วย กิเลส ก็ได้ ศีลที่จะวิสุทธิได้จะต้องเกิดขึ้นเพราะปัญญาเป็นเหตุจึงเป็นวิสุทธิได้

*******ถ้าหากว่าศีลนั้นเกิดขึ้นเพราะตัณหาเป็นเหตุ ด้วยความปรารถนาที่จะต้องการบุญกุศล และอานิสงส์ต่างๆ ตามที่ตนปรารถนาไว้ อันเป็นเหตุที่จะให้เป็นไปในวัฏฏะนั้น ถ้ามีเจตนาเป็นไปอย่างนั้นแล้ว ศีลนั้นก็จะเป็นที่อาศัยของกิเลสได้ เป็นที่อาศัยอย่างไร? กิเลสนั้นต้องการอยากจะได้บุญ หรือต้องการอยากจะร่ำรวย หรืออยากจะไปสวรรค์ นี่เป็นความต้องการของกิเลส มีอวิชชาและตัณหา เป็นต้น มันเลยอาศัยศีลนั้น จึงรักษาศีล ทำบุญกุศลต่างๆ เพื่อจะอาศัยกุศลนั้นแหละ เพราะเป็นปัจจัยที่จะทำให้เขาได้สมความปรารถนา

*******เพราะฉะนั้น การถือศีลอันนี้ก็ถือว่า เพราะตัณหา เป็นเหตุนะคะ หรือกิเลสเป็นเหตุ ศีลอันนี้ก็จะพ้นจากวัฏฏะไม่ได้ เพราะกิเลสวัฏฏ์นั้นเป็นเหตุ ศีลนั้นจึงเป็นที่อาศัยของกิเลสได้ ก็เพราะเหตุว่ากิเลสนั้นเป็นปัจจัยให้ถือศีล และศีลอย่างนั้นจะเข้าถึงวิสุทธิไม่ได้

*******ฉะนั้น ศีลอย่างนี้จึงไม่จัดเป็นศีลวิสุทธิ เพราะเหตุว่าศีลนั้นจะต้องเป็นไปด้วยอำนาจของกิเลส ศีลนั้นจึงไม่สามารถชำระกิเลส คือความเศร้าหมองจากกิเลสได้ มีกิเลสอย่างหยาบ เป็นต้น

********ส่วนศีลที่จะชำระกิเลสได้นั้น หรือที่กิเลสจะอาศัยไม่ได้ แปลว่า ถือศีลแล้วกิเลสจะอาศัยอารมณ์นั้นไม่ได้ เพราะกิเลสนี้นะคะ อาศัยสมาธิก็ได้ อาศัยศีลก็ได้ อาศัยปัญญาก็ได้ โดยเหตุนี้อำนาจของสมาธิที่ทำให้ไปเกิดเป็นพรหมน่ะ เพราะอะไร? ถ้าหากว่าไม่มีกิเลสแล้วก็ไม่ไปเกิดอีก เป็นพรหมก็ไม่ไปเกิด ที่ไปเกิดนั่นก็เพราะกิเลส คือกิเลสมันต้องการเป็นพรหม มันก็อาศัยสมาธิให้ทำสมาธิ สมาธินั้นก็พาไปเกิดเป็นพรหม กิเลสก็ติดตามไปเป็นพรหมด้วยได้ เพราะสมาธินั้นอาศัยทำขึ้นด้วยอำนาจของกิเลสนี่คะ ศีลก็เช่นเดียวกัน ถ้าชำระกิเลสไม่ได้  ศีลนั้นก็เป็นวิสุทธิไม่ได้

*******ส่วนศีลที่ชำระกิเลสได้นั้น จะต้องเกิดจากปัญญาเป็นเหตุ เพราะปัญญาเท่านั้นที่จะประหารกิเลสให้หมดจดได้ นอกจากนั้นไม่มีอาวุธอันใดเลยที่จะประหารกิเลสได้ มีแต่ปัญญาอันเดียวเท่านั้น ศีลก็ไม่ได้ สมาธิก็ไม่ได้ เพราะว่าได้แต่อย่างหยาบ อย่างกลาง แต่อย่างละเอียดนี่ไม่ได้ กิเลสที่จะหมดจดได้อย่างแน่นอนต้องหมดจดอย่างละเอียด ถึงจะนับว่ากิเลสนั้นหมดอย่างแน่นอนได้

*******ฉะนั้น ในเรื่องของศีลนี้ จึงได้มีประเภทมากมายมิใช่น้อยเลย ถ้าจะกล่าวตามนัยของวิสุทธิมรรคนั้นแล้ว ศีลนี้มีประเภททั้งหมดถึง ๕๔ อย่างด้วยกัน ในวิสุทธิมรรค ศีลนิเทศ แต่ศีลที่ท่านจัดเป็นวิสุทธินั้นมี ๔ อย่าง เรียกว่า จตุปาริสุทธิศีล

*******จตุปาริสุทธิศีล

*******ศีลบริสุทธิ์ ที่จัดไว้ ๔ อย่าง คือ

*******๑. ปาฏิโมกข์สังวรศีล

*******๒.อินทรียสังวรศีล

*******๓. อาชีวปาริสุทธิศีล

*******๔. ปัจจยสันนิสสิตศีล

*******รวมศีล ๔ อย่างนี้ ท่านจัดเป็นศีลที่บริสุทธิ์ เรียกว่าจตุปาริสุทธิศีล คือ เป็นศีลที่ไม่เจือด้วยกิเลส และกิเลสอาศัยศีลนั้นไม่ได้ด้วย เพราะศีลทั้ง ๔ นี้ ไม่เป็นที่อาศัยของกิเลสได้ และเป็นศีลที่จะทำลายกิเลสให้สิ้นไปด้วย

*******ฉะนั้น ศีลอย่างนี้ จึงจัดเป็นปาริสุทธิศีลได้ ต่อไปนี้ จะได้อธิบายในเรื่องของจตุปาริสุทธิศีล ๔ อย่างนี้ว่ามีความหมายต่างกันอย่างไร เป็นข้อ ๆ ไปตามลำดับทั้ง ๔ นั้น

*******๑. ปาฏิโมกข์สังวรศีล เป็นศีลบริสุทธิ์ ไม่เจือปนด้วยกิเลสตัณหา ปาฏิโมกข์นี่ ได้แก่ พระวินัยนะคะ คือศีล ๒๒๗ ของพระภิกษุ

*******ทำไมจึงว่าศีลอันนี้บริสุทธิ์?

*******เพราะว่าในสมัยนั้น ภิกษุที่เข้ามาบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เพื่อจะมาประพฤติปฏิบัติรักษาพระธรรมวินัยนั้น ไม่ใช่มาบวชเพื่อลาภ เพื่อยศ หรือเพื่อแสวงหาเป็นประโยชน์แก่อาชีพ สมัยนั้นไม่ใช่อย่างนั้น ท่านมาบวชเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ให้พ้นจากทุกข์ พ้นจากสังสารวัฏฏ์ คือ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เท่านั้น ไม่ใช่มาบวชเพื่ออย่างอื่นเลย เพราะในสมัยนั้น ก่อนบวชเขานับถือลัทธิอื่น ๆ อยู่ก่อน แต่เมื่อเขาได้ฟังธรรมเข้า ก็มีปัญญาเข้าใจว่าเหตุผลในคำสอนนี้ ถูกต้องแล้ว เขาก็มีศรัทธาเชื่อว่าคำสอนพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้านี้แหละจะเป็นเหตุที่จะนำออกจากทุกข์ได้จริง ให้พ้นจากสังสารวัฏฏ์ได้จริง

*******เมื่อเขามีความเลื่อมใสในเหตุนี้ เขาจึงยอมเต็มใจ สมัครเข้ามาบรรพชา เพื่อปฏิบัติธรรมวินัยเพื่อจะให้พ้นทุกข์ นำออกซึ่งกิเลสเท่านั้นเอง

*******เพราะฉะนั้น ศีลอันนี้จึงบริสุทธิ์ ไม่ได้เจือด้วยกิเลส คือ ไม่ได้ทำเพื่ออย่างอื่น มีลาภ ยศ และชื่อเสียง เกียรติคุณอะไรต่าง ๆ ไม่มีเลย การเข้ามาปฏิบัติบริสุทธิ์ มิได้มาเพื่ออย่างอื่นนั้นเลย

*******ฉะนั้น กิเลส จึงไม่เข้าไปเจือในจิตใจ หรือในเจตนา หรือในศรัทธาของเขาให้มัวหมองไปได้

*******บางองค์เป็นเศรษฐี เป็นกษัตริย์ บางองค์เป็นอาจารย์ มีลูกศิษย์นับร้อย นับพัน ที่กลับมาเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า แต่ท่านยังทิ้งสมบัติ ลาภ ยศ และลัทธิเดิมของท่านมา แล้วเหตุใดเล่าสมบัติทั้งหลาย เหล่านั้นคือ ลาภ ยศ ทั้งหลายจะมาครอบงำอยู่ในจิตใจของท่านได้ จนกระทั่งทำให้ท่านเสียธรรมวินัยใน ข้อที่พระพุทธเจ้าบัญญัติได้ อันนี้ ลาภ ยศ และชื่อเสียง ไม่ทำลายธรรมวินัยที่ท่านรับไว้ปฏิบัตินั้นเลย เพราะว่า ท่านทิ้งมาแล้ว ลาภ ยศ ไม่ใช่ไม่มี ถ้าคนไม่มีแล้ว พึ่งเข้ามา มาได้รับลาภยศ ในเมื่อบรรพชาแล้วอย่างนี้ละก็ จะไม่ติดลาภยศนี่ไม่ได้เลยทีเดียว อันนี้ลำบากสักหน่อย แต่อันนั้นท่านมาด้วยปัญญาและศรัทธาค่ะ จึงมาประพฤติพรหมจรรย์  เพื่อให้พ้นทุกข์เท่านั้น

*******เพราะฉะนั้นพรหมจรรย์ หรือธรรมวินัยของท่าน ที่ประพฤตินั้น จึงเป็นสิ่งที่สมบูรณ์ได้ เพราะมีศรัทธาเพื่อจะพ้นทุกข์เท่านั้น ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น  ก็ทำให้บริสุทธิ์ได้

*******ฉะนั้น ปาฏิโมกข์สังวรศีลไม่ได้เป็นไปเพื่ออย่างอื่นเลย ไม่ได้เป็นไปเพื่อลาภยศ เป็นต้น แม้ลำบากลำบนต้องยอมอดมื้อ กินมื้อ อย่างไร ท่านก็ย่อมไม่เดือดร้อน แม้แต่ข้าวไม่มีจะฉัน คือบางวันไม่ได้ฉันข้าว ก็ไม่เดือดร้อนเลย ก็ไม่สามารถที่จะทำให้ท่านหมดศรัทธาในธรรมวินัย หรือให้ล่วงธรรมวินัยนั้นได้ ไม่ยอมทำเลย ท่านก็ไม่เดือดร้อน ท่านทำเพื่อพระพุทธศาสนาจริง ๆ ในสมัยนั้นก็มีปริยัติ การศึกษา พระพุทธศาสนา ไม่ใช่ว่าจะศึกษาน้อยกว่าสมัยนี้ ท่านถือว่าการศึกษาเป็นส่วนสำคัญของพระศาสนาทีเดียว เพราะฉะนั้นธุระนี้แหละ คันถธุระและวิปัสสนาธุระนี้แหละถือว่าเป็นงานสำคัญในพระศาสนาทีเดียว การศึกษาปริยัติก็เป็นความสำคัญอันหนึ่ง แต่ไม่ใช่เป็นการศึกษาเพื่อประโยชน์ในทางโลกีย์ ไม่ใช่ศึกษาเพื่อออกมาแล้ว มาได้รับลาภ ยศ กินเงินดาวเงินเดือน เป็นต้น ไม่ใช่อย่างนั้นนะ ศึกษาเพื่อจะได้ไปปฏิบัติขูดเกลากิเลสได้ถูกต้องโดยสะดวก

*******ท่านศึกษาเพื่อจะนำไปปฏิบัติในการขูดเกลากิเลส ได้ถูกต้องเท่านั้น

*******ฉะนั้น ปาฏิโมกข์สังวรนี้ จึงจัดว่าเป็นศีลที่บริสุทธิ์ เพราะบริสุทธิ์มาตั้งแต่มีศรัทธาแรกทีเดียวที่จะมารับ ธรรมวินัยนี้ก็บริสุทธิ์มาแล้วว่าจะมาเพื่ออะไร? ท่านจึงบอกว่าปาฏิโมกข์สังวรนี้จะบริสุทธิ์ได้ หรือจะหมดจดได้ก็ด้วยศรัทธา ศรัทธาอะไร? ตถาคตโพธิศรัทธา! คือ ศรัทธาในความตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ในคำสอนในธรรมวินัยของพระพุทธองค์นี้ สามารถจะนำให้เราออกจากจากทุกข์ได้จริง  นี่ศรัทธาอย่างนี้ค่ะ

*******เพราะฉะนั้น ศีลจะหมดจดได้ก็ด้วยกำลังของศรัทธา ถ้าหมดศรัทธาแล้ว ไม่เลื่อมใสแล้วนะ ในเรื่องที่จะพ้นทุกข์แล้วละก็ ปาฏิโมกข์นี้จะบริสุทธิ์ไม่ได้เลย คือถือสิกขาบทที่พระพุทธองค์บัญญัติไว้ไม่ไหวเลย ถือว่าเป็นการหนักเหลือเกิน การรักษาธรรมวินัยนี้เป็นของยากที่สุด เพราะต้องมีศรัทธาที่จะพ้นทุกข์ได้จริง ๆ จึงจะสามารถรักษาได้โดยถูกต้อง และไม่เป็นการลำบากด้วย นี่ปาฏิโมกข์สังวรศีลนะคะ ที่ท่านจัดเป็นวิสุทธิหนึ่ง คือ ศีลวิสุทธิ

 
*******๒.อินทรียสังวรศีล ศีลข้อนี้เป็นศีลบริสุทธิ์ในจตุปาริสุทธิศีลเหมือนกัน

********ศีลข้อนี้เป็นศีลบริสุทธิ์อย่างไร? คือมีการสำรวมในทวารทั้ง ๖ ในขณะที่ตาเห็นรูป, หูได้ยินเสียง, จมูกได้กลิ่น, ลิ้นรู้รส, กายถูกต้อง, ใจรู้ธรรมารมณ์ ต่าง ๆ เหล่านี้ ต้องมีการสำรวม เพราะว่าโดยมาก กิเลสที่จะไหลเข้ามาเพราะอาศัยตาเห็นรูป, หูได้ยินเสียง, จมูกได้กลิ่น, ลิ้นรู้รส, กายถูกต้อง, ใจรู้เรื่องอะไรต่างๆ อย่างนี้แหละ ถ้าไม่มีการสำรวมก็เป็นปัจจัยให้กิเลสนั้นเกิดขึ้น อภิชฌาและโทมนัสนั้นก็เกิดขึ้นได้ หรือไหลเข้าไปสู่จิตใจจากอารมณ์นั้น ที่จิตใจรับอารมณ์นั้นได้

*******ฉะนั้น ศีลนี้ จึงถือว่าเป็นศีลที่บริสุทธิ์ เมื่อเรามีความสำรวมแล้ว มีสติสัมปชัญญะอยู่แล้ว อภิชฌาและโทมนัสก็จะเกิดขึ้นในเวลาที่ประสบอารมณ์นั้นไม่ได้

*******เมื่ออภิชฌาและโทมนัส คือ ความยินดียินร้ายเกิดไม่ได้ ความโลภ โกรธ หลง เกิดไม่ได้ ขณะนั้นมีสติ สำรวมอยู่อย่างนี้แล้ว กิเลสก็จะเกิดขึ้นอาศัยการสำรวมนั้นไม่ได้  ใช่ไหมคะ

*******ฉะนั้น ศีลนี้ จึงถือว่าเป็นศีลบริสุทธิ์ เป็นศีลวิสุทธิ เพราะว่าขณะเห็น, ขณะได้ยิน เป็นต้น กิเลสคือความรัก ความโกรธ หรือความหลงนั้น ครอบงำไม่ได้ ดังนั้นกิเลสจะอาศัยเกิดขึ้นในที่นั้นไม่ได้เลย

*******อันนี้ จึงเป็นศีลที่สำคัญมาก ศีลอันนี้มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้นนะคะ ปาฏิโมกข์สังวร  อินทรียสังวรก็เหมือนกันนะคะ มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ก่อนนั้นไม่มีใครบัญญัติ ไม่มีใครจะเข้าใจประพฤติปฏิบัติได้

*******ปาฏิโมกข์สังวร  อินทรียสังวรก็เหมือนกันนะคะ มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น 

*******การสำรวมอินทรีย์ข้อปฏิบัตินี้ ทำไมจึงกล่าวว่ามีในพระพุทธศาสนาเท่านั้น นอกพระพุทธศาสนาไม่มีเลย เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้แก่พราหมณ์ว่าศาสนาและพรหมจรรย์เหล่าอื่น ไม่มีความสำรวม อินทรีย์ และไม่สรรเสริญการสำรวมอินทรีย์ และ ยังติเตียนการสำรวมอินทรีย์นี่พระพุทธเจ้ารับสั่งกับ พราหมณ์ว่าอย่างนี้ หาว่าไม่จำเป็นเพราะมีตาก็มีหน้าที่ จะเห็น มีไว้สำหรับเพื่อเห็น มีหูก็มีหน้าที่สำหรับได้ยิน เพื่อสำหรับจะให้ได้ยินเสียงต่างๆ เหล่านี้

*******ฉะนั้น การเห็น การได้ยินเหล่านี้ ก็มิได้มีกิเลสอะไรเลย กิเลสก็มิได้เกิดขึ้นกับการเห็น การได้ยินนั้น เพราะฉะนั้น จะต้องไปสำรวมการเห็น การได้ยินด้วย เรื่องอะไร นี่สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ลัทธิอื่น เขาถือ กันว่าอย่างนี้

*******เพราะฉะนั้น เขาจึงไม่มีการสำรวมตา สำรวมหู เพราะเห็น เพราะได้ยิน เขามีอยู่แต่เฉพาะการสำรวมคือทำสมาธินะคะ เขาถือว่า การสำรวมใจอันเดียวก็พอ แปลว่า การสำรวมอินทรีย์นี้นะ มีในศาสนาพระองค์ นี่พระพุทธเจ้ารับสั่งว่าพรหมจรรย์ของตถาคตนั้น สรรเสริญความสำรวมอินทรีย์เป็นธรรมอันดี เป็นธรรมให้สำเร็จประโยชน์ และทรงติเตียนการไม่สำรวมอินทรีย์ว่าเป็นธรรมอันไม่ดี เป็นธรรมที่ไม่ให้เป็นไปเพื่อความสำเร็จประโยชน์

*******นี่เป็นข้อยืนยันได้ว่าข้อปฏิบัติอันนี้ มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้นนะคะ

*******ความเห็นในเรื่องสำรวมระวังอินทรีย์ที่ว่าไม่จำเป็นนั้น ความจริงเวลานี้ประเทศไทยเราก็มีมาไม่ใช่น้อยที่เห็นว่า “ไม่ต้องระวังหรอก ทางหู ทางตาน่ะ นั่งทำสมาธิกันอย่างเดียวก็พอแล้ว จะต้องไปสำรวมระวังอะไร ทำสมาธิเสีย กิเลสมันก็เกิดไม่ได้อยู่แล้วนี่ อย่างนี้ก็มีอยู่มากเหมือนกัน ท่านเห็นว่าไม่จำเป็น, ไม่เห็นจำเป็นอะไรเลยจะต้องไปสำรวมระวังอินทรีย์ สำรวมใจอันเดียวก็เชื่อว่าคลุมไปหมดแล้ว เขาว่าอย่างนั้น

*******อันนี้พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงไว้อีกว่า พวกที่ไม่สำรวมอินทรีย์น่ะ เหมือนกับเรือนที่มุงหลังคาไม่ดี เวลาฝนตกลงมา ก็ย่อมไหลหยดรดถูกตัวได้เสมอ ขณะเห็น ขณะได้ยิน ก็เช่นกัน กิเลสย่อมเกิดที่ใจได้เสมอ สำหรับท่านที่สำรวมที่ใจอยู่แล้ว ตาก็ไม่เห็น หูก็ไม่ได้ยิน เพราะฉะนั้น กิเลสที่จะอาศัยเกิดจากตาที่เห็น หูที่ได้ยิน ก็เกิดไม่ได้

*******แต่ถ้าเวลาเห็น เวลาได้ยิน เกิดมาสำรวมแต่ที่ใจอันเดียว ไม่มีสติสำรวมในอารมณ์ที่จะเกิดขึ้นในทางทวารทั้ง ๖ ไม่สำรวมจิตที่รับในอารมณ์เหล่านี้ ท่านตรัสว่า เหมือนกับเรือนที่มุงหลังคาไม่ดีฝนตกก็จะ ต้องรั่วรดได้เสมอ แล้วทีนี้ ตัวก็จะต้องทำใจตัวเสมอเวลาโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้นมา ก็ทำใจให้มันเฉยๆ ห้ามอย่าให้มันมีความยินดียิน ร้ายเกิดขึ้น อย่างนี้ก็ต้องทำใจไว้ด้วย

*******แต่ประเดี๋ยวมันก็ต้องมาอีก แล้วก็ต้องทำใจกันอีก อย่างนี้เรื่อยไปเหมือนฝนตก ถ้าหลังคารั่วก็ต้องคอย เช็ดกันอยู่เรื่อย

*******เพราะเหตุนี้ ท่านจึงอุปมาเหมือนกับเรือนที่มุงหลังคาไม่ดี เวลาฝนตกลงมาก็ย่อมจะหยดรดตัวเสมอ คล้ายกับกิเลสที่รั่วไหลเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กายนี้  ก็จะมารั่วรดจิตใจอยู่เสมอ คือจะเกิดเป็นความยินดีบ้าง ยินร้ายบ้างขึ้นเสมอ และตนจะต้องตามเช็ดน้ำฝนนั้น เรื่อยๆ ไป

*******ถ้าหากว่า ผู้ที่มีความสำรวมระวังอินทรีย์ดีแล้ว ก็เหมือนกับเรือนที่มุงหลังคาไว้ดีแล้ว นั่งอยู่ในเรือนแล้ว ไม่ต้องคอยเช็ดน้ำฝน เพราะว่าน้ำฝนนั้น ไม่รั่วรดเข้ามาในบ้านเรือนได้ คือกิเลสไม่รั่วรดจิตใจ

*******เพราะฉะนั้น จิตใจนั้นก็ไม่เกิด อภิชฌาและโทมนัสในทางจิตใจได้ เพราะว่าเมื่อตาเห็นรูปก็สำรวมไว้แล้ว ตาก็ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสได้ หูได้ยินแล้วก็มีการสำรวมไว้ หูก็ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสได้ ใช่ไหมคะ

*******นี่เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ใจก็ปลอดจากกิเลส ที่จริงใจ นั่นแหละเป็นผู้สำรวมอยู่แล้ว ฝนก็ไม่รั่วรดลงมาถูกตัวได้ เราก็ไม่ต้องคอยเช็ดน้ำฝน

*******นี่ก็เช่นเดียวกัน คือ ถ้ามีการสำรวมระวังอินทรีย์ดีแล้ว กิเลสก็ไม่เข้าไปรั่วรดจิตใจ แม้การเห็น การได้ยิน เหล่านี้กิเลสก็ไม่เข้าไปรั่วรดจิตใจ แม้การเห็น การได้ยินเหล่านี้ กิเลสก็เข้าไม่ได้ อภิชฌาและโทมนัสก็เข้าไม่ได้ ถูกทำลายไป ทีนี้ เมื่อการเห็นการได้ยินนั้น มีการสำรวมอินทรีย์ ความโลภ โกรธ หลง ถูกทำลายไป ในขณะเห็น ขณะได้ยินนั้นแล้ว กิเลสก็อาศัยการสำรวม นี้เกิดขึ้นไม่ได้

*******ความโลภ ความโกรธ ความหลง จะมาอาศัยความสำรวมอินทรีย์เกิดขึ้นไม่ได้นั่นเอง

*******ฉะนั้นการสำรวมอินทรีย์นั้นเรียกว่า อินทรียสังวรศีล ศีลที่เกิดจากการสำรวมอินทรีย์นี้ ศีลนี้ไม่เป็นที่อาศัยของกิเลสได้ ฉะนั้น ศีลนี้ จึงจัดว่าเป็นศีลที่บริสุทธิ์หมดจด เรียกว่า ศีลวิสุทธิ และการศึกษา ศีลวิสุทธินี้ จะต้องให้รู้การสำรวมอินทรียสังวรศีลนี้น่ะ เป็นตัวสติปัญญาด้วยอันเดียวกัน เพราะสติปัญญานั้น ท่านก็บอกว่าเป็นตัวทำลายอภิชฌา และโทมนัสให้พินาศ ใช่ไหมคะ สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌา โทมนสฺสํ ถ้าผู้ปฏิบัติสติปัฎฐานแล้ว ก็จะทำลาย อภิชฌาและโทมนัสให้หมดไป

*******เพราะฉะนั้น อภิชฌาและโทมนัส ความโลภ ความโกรธนี้ เป็นเรื่องที่อาศัยไม่ได้เลย อันเดียวกัน สติปัฎฐานกับอินทรีย์สังวรก็เช่นเดียวกัน ทำลายอภิชฌาและโทมนัส หรือทำลายความโลภ ความโกรธ ความหลงในขณะที่ประสบอารมณ์เช่นเดียวกัน

*******ฉะนั้น ตัวกิเลสจึงอาศัยศีลนี้ไม่ได้ เรียกว่า ศีลวิสุทธินะคะ การสำรวมนี้น่ะ ให้มีสติเท่ากับการสำรวมกาย สำรวมเวทนา สำรวมจิต สำรวมในธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็อันเดียวกัน

*******อันนี้ก็ต้องแล้วแต่ว่า ท่านจะแสดงโดยนัยอย่างไร ด้วยอำนาจของสัพพัญญุตญาณ จะแสดงโดยความสำรวมอินทรีย์ หรือแสดงโดยสติปัฎฐานก็ได้ สงเคราะห์ตามอัธยาศัยของผู้ที่ฟังธรรม

*******๓. อาชีวปาริสุทธิศีล การรักษาศีลข้อนี้ ท่านจัดเป็นศีลที่บริสุทธิ์ คืออาชีวปาริสุทธิศีลนี่ถึงแม้ว่าชีวิตของท่านจะตกล่วงไป ท่านก็ยอม คือยอมให้ชีวิตตกไป ไม่ยอมให้ศีลตกไป หรือไม่ยอมให้ศีลขาด แต่คนธรรมดาอย่างเราๆ นี้ยังมีกิเลสก็ต้องเสียดายชีวิต ต้องกลัวตาย ด้วยอำนาจของกิเลส การกลัวตายนี้เป็นอำนาจของกิเลสอันหนึ่งนะคะ แต่สำหรับท่านผู้รักษาศีลนี้ไม่กลัวตาย คืออะไร? อะไรที่ไม่ถูกต้องตามธรรมวินัยแล้ว ท่านจะไม่ล่วงธรรมอันนั้นเลย อย่างเช่น ท่านไม่ได้ ฉันอาหารเลย แต่อาหารที่จะฉันมีอยู่เฉพาะหน้าที่จะฉันก็ได้ แต่ว่าไม่ถูกต้องด้วยธรรมวินัย  อย่างห้ามเนื้อสัตว์หรือวัตถุอะไรที่ภิกษุไม่ควรจะฉันนั้นมีอยู่ เกิดความสงสัยขึ้นมาว่าที่เรามาในตำบลนี้ ไม่มีตลาดค้าขาย เลย ฉะนั้น ที่เขาแกงไก่มาถวายเรานี่ สงสัยว่าเขาจะต้องฆ่าเพื่อนำมาปรุงเป็นอาหาร มาทำบุญแก่เรา ถ้ารู้สึกอย่างนี้แล้ว ไม่ฉันเลย เพราะถ้าฉันแล้วล่วงวินัยจะต้องเป็นอาบัติ ท่านยอมเลย แม้จะอดตายก็ไม่ฉัน ท่านยอมอดตายเลยในขณะนั้น แต่ไม่ยอมล่วงศีล

*******ฉะนั้น ศีลนี้จึงเป็นวิสุทธิ แปลว่า กิเลสมีความกลัวตาย เป็นต้น จะจับไม่ได้เลย ไม่เป็นที่อาศัยให้เกิดขึ้นได้เลย แม้ชีวิตของท่านจะตกล่วงไปด้วยการไม่ฉัน ท่านก็ยอม อันนี้เป็นศีลบริสุทธิ์ไม่ได้เจือด้วยกิเลสเลย แล้วท่านอุปมาไว้อีกอย่างหนึ่งว่า ศีลมีประเภท มีที่สุด และไม่มีที่สุด

*******ศีลมีที่สุดนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า มี ๓ อย่างด้วยกัน หมายความว่า ศีลมีที่สุดนี้ หมายถึง ศีลที่ตนรักษาอยู่นั้นหมดไป หรือศีลมีที่สุดเพียงแค่นั้นและปัจจัยที่จะให้ศีลมีที่สุด มี ๓ อย่าง คือ มีลาภเป็นที่สุด มีญาติเป็นที่สุด และมีชีวิตเป็นที่สุด

*******ถ้าเห็นว่า ลาภอันควรจะได้แล้ว แหม! ลาภอันนี้ ก้อนใหญ่สำคัญ ถ้าเราจะไปมัวรักษาศีลอยู่ละก็เป็นต้องไม่ได้แน่ สูญลาภอันนี้ไป เพราะฉะนั้นไม่เอาละศีล เอาลาภดีกว่า ศีลจึงมีที่สิ้นสุดเพียงแค่นั้น คือ ลาภทำให้ศีลมีที่สุด หรือหมดไป

*******อีกประการหนึ่ง ศีลมีญาติเป็นที่สุด ถ้าอะไรที่ เกี่ยวข้องกับญาติของเรา เราจะต้องช่วยเหลือปิดบัง เพราะว่าเป็นญาติกันไม่ใช่คนอื่น เป็นโจรเป็นผู้ร้ายมาอาศัยอยู่ หรือจะต้องเป็นพยานที่โรงที่ศาลอย่างนี้ ถ้าเราพูดไปตามความจริงแล้ว ญาติของเราจะต้อง ติดคุกติดตะราง หรืออาจจะถูกประหารชีวิตก็ได้ ฉะนั้น ก็พูดไม่ได้ จะรักษาศีลไว้ญาติก็จะต้องวิบัติไป อย่างนี้แล้ว ก็ไม่เอาละ ยอมให้ศีลหมดไป เพราะรักษาญาติไว้  ศีลก็หมดไปเพียงแค่นั้นเอง เพราะมีญาติเป็นที่สุด

*******อีกประการหนึ่ง ก็มีชีวิตเป็นที่สุด ถ้าถึงจะตายแล้ว ไม่มีใครยอมละ จะเอาศีลไว้ไม่ได้แล้ว ไม่เอาละ เราต้องเอาชีวิตเราไว้ก่อน อย่างเช่นคนเข้ามาจะฆ่าเราอย่างนี้ เราจะยอมให้ผู้ร้ายยิงหรือเราจะยิงผู้ร้ายเสียก็ได้ แต่เราไม่ยิงเพราะเรารักษาศีลอย่างนี้นะ แหม! ก็ลำบากเต็มที แต่ถ้าศีลไม่มีที่สุดก็ต้องทำอย่างนั้นนะ

*******ถ้าศีลมีที่สุดไม่ได้ เราไม่ยิงเขา เขาก็ยิงเรา เพราะฉะนั้น ไม่ได้ เราต้องยิงไว้ก่อน แล้วก็เสี่ยงด้วยนะ ว่าไม่ได้ ต้องเอาชีวิตไว้ก่อน ไว้ทำบุญทำกุศลนี่ ทำอะไร ที่ยังไม่สิ้นทุกข์ ก็จะได้เอาไว้ทำให้สิ้นทุกข์ อ้างอันนี้ ขึ้นมาบังหน้า แต่ที่จริงน่ะเปล่า ไม่ใช่เป็นอย่างนั้น เพราะว่าเราก็ไม่ยอมที่จะให้ชีวิตตกไป พอถึงชีวิตแล้ว เอาศีลนั้นไว้ไม่ได้ ต้องรักษาชีวิตไว้ก่อน ศีลนั้นก็จะมีที่สุดหมดไป อันนี้ก็เรียกว่า ศีลมีที่สุด เพราะมีชีวิตเป็นที่สุด

*******ศีลมีที่สุดนี้ ท่านเรียกว่า สปริยันตศีล ถ้าศีลไม่มีที่สิ้นสุดเรียกว่า อปริยันตศีล คือไม่มีที่สุด  เมื่อชีวิตจะตาย  ก็ตายไป  ศีลนั้นก็ยังอยู่ ไม่รู้ละเมื่อไม่ได้ลาภก็ไม่ได้ไป แต่ศีลนั้นยังอยู่ ญาติพี่น้องทั้งนั้น ทุกอย่างจะวิบัติไป แต่ท่านก็รักษาศีลของท่านไว้ได้ไม่หมด ไม่สิ้นสุด อย่างนี้ เรียกว่า ศีลไม่มีที่สุด

*******อาชีวปาริสุทธิศีลนี้นะ เป็นศีลที่ไม่มีที่สุด เพราะว่า ยอมตายแม้จะไม่ได้ฉัน ชีวิตจะต้องตายก็ยอม เพราะถ้าฉันแล้วจะเอาชีวิตไว้ต้องผิดวินัย ศีลและวินัยก็หมดลงไปแค่นั้น ไม่สามารถจะรักษาไว้ได้ ของท่านไม่ใช่อย่างนั้น อาชีวปาริสุทธิศีลนี่เป็นศีลที่ไม่มีที่สุด ชีวิตจะตกไป ก็ไม่เป็นไร

*******ทั้งนี้ เพราะพระอริยเจ้าทั้งหลายท่านไม่ได้ถือเลย ว่าชีวิตของท่านมีความสำคัญ หรือเป็นสรณะอะไร ก็ต้องถือว่าชีวิตของท่านนี้ ไม่มีความสำคัญเลย ชีวิตนี้เป็นไปเพื่อทุกข์ ท่านเห็นว่าอย่างนี้ไม่ใช่เป็นไปเพื่อสรณะ อื่นใดอันแท้จริงเลย ชีวิตจะช่วยไม่ให้ตกนรกหรือ จะให้ไปขึ้นสวรรค์ก็ไม่ได้ ไม่ใช่ไปด้วยชีวิต แต่ชีวิตเป็นไปเพื่อทุกข์ ชีวิตนี้ดำรงอยู่ได้ จะต้องอาศัยหลายสิ่ง หลายอย่างที่ค้ำจุนอุดหนุนอยู่ ชีวิตจึงจะเป็นไปได้ ต้องแก้ไขปรนปรือกันอยู่เสมอ

*******ท่านจึงไม่เห็นว่า ชีวิตนี้มีสาระสำคัญ แต่คำสอนของ พระพุทธเจ้า พระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ เป็นประโยชน์แก่สัตว์โลกทั้งหลายมากมายนัก แต่ชีวิตนี้ ไม่ใช่เป็นประโยชน์และเป็นการยากนักหนาทีเดียว ที่จะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแต่ละกัปๆ แต่ละองค์ๆ ที่จะมาบัญญัติธรรมวินัย ให้เป็นไปเพื่อความสุข ความเจริญของสัตว์โลกทั้งหลาย มีการออกจากทุกข์เป็นต้น อย่างนี้ ลำบากมากเหลือเกิน ไม่ใช่เป็นของหาได้ง่ายๆ เลยและเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่

*******อันนี้แหละ สำคัญมากกว่าชีวิตของท่าน เพราะฉะนั้น ท่านรักษาธรรมวินัยดีกว่าจะรักษาชีวิต เห็นไหมคะว่าจิตใจของผู้ที่หมดจดจากกิเลส เพื่อจะออกจากทุกข์นี่นะคะ ชีวิตของท่านนั้นน่ะ ถือว่าไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์ แต่ธรรมวินัยที่ พระพุทธเจ้าแสดงไว้แล้วนั้นน่ะ เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่สัตว์โลก

*******เพราะฉะนั้น อันนี้จึงเป็นศีลบริสุทธิ์อีกข้อหนึ่ง

*******๔. ปัจจยสันนิสสิตศีล เป็นความบริสุทธิ์ด้วยการ รับปัจจัย คือว่า ภิกษุท่านทำปาฏิโมกข์สังวรศีลจะบริสุทธิ์ได้ก็ด้วยศรัทธา อินทรีย์สังวรจะบริสุทธิ์ได้ด้วยสติ อาชีวปาริสุทธิศีลจะบริสุทธิ์ได้ด้วยวิริยะ ความกล้าหาญไม่กลัวตาย ปัจจยสันนิสสิตศีลนี้ จะบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญาที่พิจารณาการรับปัจจัยว่า อันนี้ถูกต้องกับพระธรรมวินัยหรือไม่  ต้องรู้อย่างนี้เสียก่อนแล้ว จะรับปัจจัยนั้นๆ จึงจะบริสุทธิ์ได้

*******ปัจจัยสันนิสสิตศีลนี้ ภิกษุทั้งหลายจะรับปัจจัย ทั้ง ๔ ก็ต้องพิจารณาเสียก่อนว่า ควรแก่สมณะหรือไม่ ถ้าไม่ควรแก่สมณะก็ไม่ต้องพิจารณาด้วยปัญญา ถ้ารับแล้วศีลก็ไม่บริสุทธิ์ วินัยก็บกพร่อง เพราะฉะนั้น ไม่ว่าอะไร จะเป็นอาหารก็ดี, บิณฑบาต, สนาสนะ, ยา จีวรเครื่องนุ่งห่ม ทุกอย่างในปัจจัย ๔ นั้น ต้องพิจารณาเสียก่อนแล้วจึงจะรับ ถ้าพิจารณา แล้วตามสมควรก็รับได้ ถ้าไม่สมควรก็ไม่รับ ฉะนั้น ศีล อันนี้ ท่านจึงบอกว่าจะบริสุทธิ์ได้ก็ต้องด้วยปัญญา

*******แต่สำหรับเวลานี้ท่านยังใช้กันอยู่หรือเปล่า ก็ไม่ทราบ เวลารับปัจจัยนี่น่ะ พระแต่ก่อนครั้งโบราณนั้น การรับบิณฑบาต และก่อนที่จะเสพปัจจัยนี้จะต้องพิจารณาเสียก่อน โบราณท่านเรียกว่า ปฏิสังขาโย เวลาจะฉันอะไรต่ออะไรนี่ ต้องมีปฏิสังขาโยเสียก่อน พิจารณาเสียก่อน จะรับอะไรต้องพิจารณาเสียก่อนว่า ควรไหม? และพิจารณาว่ารับมาเพื่ออะไร? ทั้ง ๔ อย่าง นั่นแหละ รับมาเสร็จแล้ว เวลาจะฉันก็ต้องพิจารณาอีกเหมือนกันว่าจะฉันเพื่ออะไร? ถ้ามิฉะนั้นก็ไม่บริสุทธิ์จะต้องอาบัติ

*******ท่านบอกว่า พิจาณาเวลารับแต่ไม่ได้พิจารณา เวลาฉันนั้น เวลาฉันนั้นก็เป็นอาบัติ

*******ถ้าพิจารณาเวลาฉัน แต่ไม่ได้พิจารณาเวลารับก็คุ้มอาบัติ ที่ไม่ได้พิจารณาในเวลารับได้ ก็ถือว่าเวลารับนั้นก็ไม่ต้องอาบัติด้วย เป็นการบริสุทธิ์ด้วย ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เพราะเวลาฉันนี่สำคัญ, สำคัญกว่า เวลารับ เพราะว่าในเวลาที่ลิ้นกระทบรสนี่น่ะ เป็นของระวังยาก การรับนี่ยังไม่สำคัญ โอกาสที่กิเลสจะเกิดอยู่ ระหว่างที่ลิ้นกับรสกระทบกันใกล้กันมากเหลือเกิน

*******เพราะฉะนั้น ก่อนจะฉันจะต้องพิจารณาเสียก่อน และการใช้บาตร จีวร จะต้องมีปฏิสังขาโย  การห่มผ้า ครองจีวร ใช้สังฆาฏิก็จะต้องมีปฏิสังขาโยทั้งนั้น เพราะอะไร? เพราะจะต้องพิจารณาว่าจะห่มเพื่ออะไร ไม่ใช่ห่มเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่ห่มจีวรอย่างนั้นอย่างนี้ เพื่อความสวยความงาม ถ้าทำอย่างนี้ก็ไม่บริสุทธิ์ อยู่ที่การพิจารณาให้ถูกต้องหรือพิจารณาไม่ถูกต้องนะคะ

*******การห่มจีวรเพื่อกันหนาว กันยุง เหลือบ ริ้น ไร จะมากัดหรือไต่ตอม ถ้าหากมียุงเหลือบมากัดแล้ว ก็จะไม่สะดวกในการเจริญสมณธรรม จะเป็นเครื่องขัดขวางแก่การรู้แจ้งแทงตลอดในธรรมที่ยังไม่บรรลุถึง

*******เพราะฉะนั้น จะต้องพิจารณาอย่างนี้ตลอดไปทั้งหมด หรือพิจารณาการฉันยา ฉันข้าว เพื่ออะไร? ก็เพื่อจะให้มีกำลัง ให้มีชีวิตนั้นตั้งอยู่ เพื่อจะมีกำลังวังชาต่อสู้กับกิเลส หรือความเจ็บไข้ ถ้าถามว่า “เพื่อให้มีกำลังนั้น เมื่อมีกำลังแล้ว จะเอากำลังนั้นไปทำไม? เพื่อให้พิจารณาต่อไปอีก”

*******ก็เพื่อจะได้ปฏิบัติธรรม ที่ยังไม่บรรลุนั้นให้บรรลุเพื่ออย่างนี้แล้วก็ถึงสิ่งที่ยังทำไม่เสร็จ ก็จะได้ทำให้เสร็จไป คือ จุดที่จะละกิเลส และการล่วงทุกข์นี่ ยังไม่เสร็จ

*******ฉันข้าวหรือห่มผ้า ที่ให้พิจารณาน่ะ ก็เพื่ออย่างนี้ เพื่อเอาชีวิตไว้ เอากำลังไว้ เพื่อจะได้ทำกิจที่ยังไม่เสร็จนั้น ให้เสร็จไป ให้คิดเท่านี้ ไม่ใช่เพื่อเหตุอย่างอื่นเลย ฉะนั้น ศีลนี้จึงเป็นศีลที่บริสุทธิ์ กิเลสก็จับไม่ได้เหมือนกัน  ขอให้คิดดูเถิดว่า การจะทรมาน หรือต่อต้านกิเลส ที่จะเป็นไปเพื่อพระนิพพานนั้นลำบากยากเข็ญแค่ไหน?

*******แม้แต่เพียงศีลเท่านั้น ก็ยังไม่ใช่ของง่ายแล้ว เรานึกถึงจิตใจของเราที่มีกิเลส ก็รู้สึกว่าทรมานยากลำบากเหลือเกิน ถ้ากิเลสหนา ๆ แล้ว ก็คงไม่ไหวแน่  เพราะอะไร? เพราะว่ากิเลสที่จะหมดไปได้นั้น มี ๓ อย่าง คือ:-

*******๑.ความโลภ ความโกรธ ความหลง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็หมดไปเอง ไม่ต้องไปละ เพราะตามธรรมดาของมันเป็นสังขตธรรม สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา ที่จะตั้งอยู่ยั่งยืนตลอดไปนั้น เป็นไปไม่ได้ มันก็จะต้องหมดไปเอง อันนี้ กิเลสก็หมดไปได้เหมือนกัน เพราะหมดไปตามธรรมชาติของมันเอง

*******๒.ไม่ต้องทำการละกิเลส เพราะไม่มีกิเลสจะละ อย่างพระอรหันต์ ไม่มีกิเลสจะละแล้ว ท่านก็ไม่ต้องมีการละกิเลส เพราะไม่มีกิเลสจะให้ละ

*******๓.มีกิเลสเกิดขึ้นแล้วจึงละ อันนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องอยู่นัยที่ ๓ จึงเรียกว่า ผู้ปฏิบัติ

*******ผู้ปฏิบัตินี่ทำอะไร? กิเลสที่เกิดขึ้นทำให้หมดนะ ทำให้กิเลสหมดไป จึงเรียกว่า ผู้ปฏิบัติ

*******เพราะฉะนั้น กิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว แทนที่จะทำให้หมดไป ไม่ใช่อย่างนั้น กลับไปปฏิบัติไปตามกิเลสนั้น กิเลสมันบอกให้โกรธคนนั้น ก็โกรธตามมันเรื่อยไปจนกว่ามันจะสั่งเลิกเมื่อไรนั่นแหละถึงจะเลิก ถ้ามันยังไม่เลิกสั่ง ต่อให้จนตายก็ยังไม่พูดกัน นี่อันนี้ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ

*******ผู้ปฏิบัตินั้น เมื่อกิเลสเกิดขึ้นแล้ว ต้องละให้หมดไป หรือทำให้น้อยลง นี่อย่างนี้จึงเรียกว่าผู้ปฏิบัติ

*******เพราะฉะนั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า คนนี้มีข้อปฏิบัติไหม หรือว่ามีธรรมหรือเปล่า, เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าคนนี้มีธรรมหรือเปล่า? เราก็รู้ได้ในเวลาเขาใช้ธรรมะ เหมือนกับคนมีเงิน ทำไมเราจึงรู้ว่าเขามีเงินล่ะ, เรารู้ได้อย่างไร? เออ! ถ้าเขามีเงินแล้ว เขาเก็บฝังไว้ เขาไม่ใช้เงิน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนนั้นมีเงินได้หรือเปล่า? ที่เรารู้ว่าเขามีเงิน เพราะเขาใช้เงิน  เราจึงรู้ว่าเขามีเงินใช่ไหมล่ะ

*******เพราะฉะนั้น คนที่มีธรรมะก็เหมือนกัน ต้องใช้ธรรมะ คนที่มีธรรมะก็ต้องใช้ธรรมะนั้นแหละ จึงเรียกว่าเขามีธรรมะ มีธรรมะและไม่ใช้ธรรมะจะมีประโยชน์อะไร? ที่อุตส่าห์พากเพียรมาปฏิบัติ

*******จะมีประโยชน์อะไร? ก็ไม่มีประโยชน์อะไร! แล้วจะชื่อว่ามีธรรมะหรือ? แล้วการมีธรรมะก็ไม่มีประโยชน์อะไร เหมือนการมีเงินแล้ว ไม่ได้ใช้จะมีประโยชน์ไหมล่ะ! เงินนั้นจะทำประโยชน์อะไรให้เรา ทำไม่ได้เลย!

*******เพราะฉะนั้น การที่ใครจะมีอะไร เวลาแสดงออกมาเราก็รู้ ข้อปฏิบัติเหมือนกัน มีข้อปฏิบัติไหม  ถ้ามีข้อปฏิบัติเมื่อกิเลสเกิดขึ้น  ก็ต้องละกิเลสของตนที่เกิดขึ้น เดี๋ยวนี้กิเลสของตัวไม่ละ จะไปละกิเลสของเขานี่ซิสำคัญมาก ตอนนี้แหละที่ทำให้เกิดเรื่องราวทะเลาะวิวาทกัน อะไรต่ออะไรก็หาวิธีที่จะไปละกิเลสของคนอื่นเขา คราวนี้กิเลสของตนมันก็ยิ่งแรงกล้าขึ้นทุกที ๆ

*******แต่พระพุทธเจ้าท่านสอนให้ละกิเลสของตัว ไม่ใช่ให้ละกิเลสของคนอื่น

*******เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีธรรมะจริง ๆ แล้ว จะต่อต้านกิเลสได้ละก็ยากมาก การที่จะทำกุศลได้แต่ละอย่าง ๆ นั้น มันคอยเบียดเบียนอยู่ที่จิตใจ แล้วมันมีกำลังมากด้วย กุศลไม่มีกำลังก็สู้ไม่ได้ ทำกุศลก็ไม่สำเร็จหรอก

*******แต่ว่าในสมัยนี้น่ะ รู้สึกว่าการถึงนิพพานหรือการเป็นพระอรหันต์ก็ดี รู้สึกไม่สู้ยากเย็นนัก แม้อยู่ในบ้านในเรือนก็เป็นพระอรหันต์กันได้ กิเลสหมดได้ อะไรอย่างนี้ ได้ฌาน ได้สมาบัติ มีด้วยนี้ก็รู้สึกว่าไม่ค่อยจะยากนัก ได้นิพพานกันก็สะดวกเพราะอะไร? แต่ก่อนนี้ละก็จริงท่านได้นิพพานสะดวก เพราะว่าบารมีของท่านที่เกิดมาในสมัยนั้นกิเลสก็น้อย เพราะมีปัจจัยที่คอยจะให้บรรลุอรหันต์ได้ไม่ยากเย็นอะไร การปฏิบัตินั้นก็สะดวก แต่เวลานี้กิเลสหนา ปัญญาก็น้อย ทำไมว่ากิเลสหนา? ถ้ากิเลสไม่หนา มันก็ไม่ลากเราให้มีภพมีชาตินั่งกันอยู่เดี๋ยวนี้ ถ้ากิเลสเราบาง เราก็พ้นไปแล้ว คนที่กิเลสหยาบอย่างเรานี่ ไปไม่ได้ใช่ไหม? จึงต้องมานั่งอยู่จนกระทั่งเดี๋ยวนี้น่ะ! นี่น่ะขอให้รู้สึกตัวเถอะว่า นั่นไม่ใช่ใครเลย คือกิเลสนั่นเอง มันไม่ยอมให้เราไป แล้วมันมีอำนาจอยู่เหนือเรา  มีกำลังมากอยู่  เราจึงยังไปไม่ได้

*******เพราะฉะนั้น เราจึงประมาทไม่ได้  นี่ถึงได้ว่าสมัยนี้น่ะ ที่เหลือตกมาอยู่จนป่านนี้ไปไม่พ้น ก็เพราะว่ากิเลสหนาปัญญาหยาบ ปัญญาอ่อนจึงได้อยู่

*******ฉะนั้น ธรรมวินัยก็รู้สึกว่าปฏิบัติยากขึ้นทุกที รู้สึกลำบากเหลือกำลังของศรัทธาที่จะปฏิบัติให้ถี่ถ้วนได้ ศรัทธาก็หมดลงไปเพราะกิเลสมันแรงกล้าขึ้น จึงรู้สึกปฏิบัติยากขึ้นทุกทีแหละค่ะ นี่ก็เรื่องของศีลวิสุทธิได้มันก็ไม่ใช่ของง่าย

*******การปฏิบัติก็ปฏิบัติเพื่อวิสุทธิ ไม่ใช่ว่าวิสุทธินี้ จะเกิดขึ้นมาได้เอง เราก็จะต้องมีความเพียร มีสติมีปัญญาทุกอย่าง

*******วิสุทธินี้น่ะ จะได้มาจากไหนก็ทราบอยู่แล้วว่าจะต้องมีเหตุมาจาก ศีล สมาธิ และปัญญา อันนี้เราก็จะต้องเข้าใจนะคะ ศีลวิสุทธินี้น่ะ

*******เมื่อเข้าใจถูกแล้ว เราจะได้ทำใจป้องกันไว้ไม่ให้กิเลสเข้าได้ ศีลนั้นก็ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส ตัณหาก็เข้าอาศัยไม่ได้ นี่เพราะศีลวิสุทธิมีอานิสงส์มิใช่น้อยนะคะ

*******ถ้าพูดถึงฆราวาสล่ะ ฆราวาสที่ไม่มีวินัย นี่จะไม่เข้าถึงหรือ, ศีลวิสุทธิ? ถูกแล้ว ปาฏิโมกข์นี่ ไม่ใช่หน้าที่ของฆราวาส แต่อินทรีย์สังวรนั้น ฆราวาสปฏิบัติได้ หรือศีล ๕ ก็ได้ ก็สามารถจะวิสุทธิได้เหมือนกัน อินทรีย์สังวรก็ใช้ได้ เพราะฆราวาสไม่ได้ตั้งอยู่ในธรรมวินัย ถ้าอย่างนั้นเราจะประพฤติหรือเข้าถึงศีลวิสุทธิได้ก็ต้องอาศัยอินทรีย์สังวรศีล คือขณะที่เห็น ขณะได้ยิน ทำให้บริสุทธิ์ได้โดยไม่ต้องเกี่ยวข้องกับทางวินัย หรือว่าศีล ๕ ศีล ๘ นี่ก็ได้ แต่ว่าขอให้เจตนาให้ถูกต้องเถอะ ถ้ากิเลสไม่อาศัยในเจตนานั้นได้แล้ว หรือไม่มีเป็นปัจจัยเกิดขึ้นจากกิเลสแล้ว  ก็ศีลนั้นก็บริสุทธิ์ได้ ศีล ๕ ก็ได้เช่น อย่างศีล ๘ นี่ ก็ไม่ได้ห้ามนี่ ศีลในองค์มรรคไม่ให้กินข้าวกินปลาอะไรในยามวิกาล ท่านไม่ได้ห้ามนี่ ใช่ไหม แต่ว่าสำคัญอยู่ที่เจตนาที่รักษาศีลนั้นน่ะบริสุทธิ์หรือเปล่า

*******คราวนี้จะต้องเข้าใจว่า ปาฏิโมกข์สังวรกับอินทรีย์สังวร ๒ อย่างนี้น่ะ มันต่างกันอย่างไร วิสุทธิด้วยกันนั้นแหละ แต่ว่าวิธีประพฤตินี่ต่างกันอย่างไร? อันนี้ก็ควรทราบ มีปาฏิโมกข์สังวรแล้ว จะไม่ต้องมีอินทรีย์สังวรจะได้ไหม? หรือจะต้องมีอินทรีย์สังวรด้วย? เมื่อมีปาฏิโมกข์สังวรแล้ว อินทรีย์สังวรก็มีเอง ความเข้าใจอย่างนี้จะถูกต้องไหม? เพราะปาฏิโมกข์สังวรก็อยู่ในจตุปาริสุทธิศีล, เพราะอะไร อินทรีย์สังวรก็อยู่ในจตุปาริสุทธิศีลอีก?

*******อินทรีย์สังวร เป็นการสังวรในขณะเห็น, ขณะได้ยินส่วนปาฏิโมกข์สังวรนั้น พระวินัยห้ามไม่ให้เห็น ไม่ให้ดูในสิ่งที่ไม่ควรเห็น  ไม่ควรดู เช่น อย่างหนัง ละคร น้ำอบน้ำหอม หรือเครื่องประดับอะไรต่าง ๆ นี่ปาฏิโมกข์สังวรท่านห้ามไม่ให้ฟัง ไม่ให้ดู ไม่ให้ดม ไม่ให้ฉันอาหารล่วงเวลาตั้งอยู่ในข้อห้ามนะ เรียกว่าปาฏิโมกข์สังวร ก็ถือว่าสำรวมได้ แต่ในขณะเห็น ขณะได้ยินนั้น ทางปาฏิโมกข์นี่ไม่ต้องสำรวม เพราะห้ามไม่ให้เห็นแล้วใช่ไหมคะไม่ให้เห็น ไม่ให้ดู

*******ส่วนอินทรีย์สังวรนั้น ต้องสังวรในเวลาดู ในเวลาเห็น ในเวลาได้ยิน เวลาได้กลิ่น เวลารู้รส

*******ถ้าไม่เห็น ไม่ได้ยินแล้ว อินทรีย์สังวรไม่มี ปฏิบัติไม่ได้ อินทรีย์สังวรเกิดไม่ได้ จะต้องเกิดขึ้นในขณะเห็น เพราะฉะนั้นไม่ได้ห้ามว่าไม่ให้เห็นในสิ่งที่ไม่ควรเห็นอะไรเช่นนี้น่ะ อินทรีย์สังวรไม่มีการห้ามอย่างนั้น ให้เห็นอะไรก็เห็นได้ แต่เวลาเห็นนั้นจะต้องสำรวมสังวรให้มีสติ

********แต่ส่วนปาฏิโมกข์สังวรนั้นไม่ให้เห็น, สังวรในการไม่ให้เห็น, ไม่ให้ได้ยิน, ไม่ควรดู ไม่ควรฟัง,ไม่ควรดม, ไม่ควรลิ้มรส, ไม่ควรถูกต้อง อย่างนี้นี่ ปาฏิโมกข์สังวร ในอินทรีย์สังวรนั้นไม่ห้าม แต่ทว่าเวลาเห็นต้องการสำรวมใช่ไหมคะ นี่ต่างกันอย่างนี้นะคะ สำรวมเวลาเห็นนี่ กิเลสก็เข้าไม่ได้เหมือนกัน

*******เมื่อไม่เห็นกิเลสก็เข้าไม่ได้เหมือนกัน แต่ว่าต่างกันที่ว่า เวลาเห็นนี่น่ะ กิเลสเข้าไม่ได้นี้มีกำลังมากกว่าแต่ถ้าห้ามไม่ให้เห็น กิเลสก็เข้าไม่ได้เพราะไม่ได้เห็น ก็ไม่มีอินทรีย์สังวร แต่กิเลสก็เข้าไม่ได้ แต่เวลาเห็นกิเลสก็เข้าไม่ได้อีก อินทรีย์สังวรนี้ก็มีกำลัง จึงต้องเป็นความสำคัญอันหนึ่งเหมือนกัน ลองคิดดูซิว่ากิเลสที่จะเข้าในเวลาเห็น กับเวลาที่ไม่เห็น  อันไหนจะสำคัญกว่าเวลาไม่เห็น เช่น เวลาไม่ได้ยินนี่ ใครจะด่าว่าอย่างไรก็ไม่เป็นไร เพราะไม่ได้ยิน กิเลสมันก็ไม่เกิดไม่เป็นไร เพราะไม่ได้ยิน ทีนี้สำคัญตรงเวลาได้ยินนี่ซิ กิเลสต้องเกิดแน่

*******แต่เมื่อมีอินทรีย์สังวรแล้ว ก็จะสามารถประหาณกิเลสไม่ให้เกิดขึ้นได้ ในขณะได้ยิน  ฉะนั้นอันนี้ก็สำคัญกว่านะคะ

********เมื่อทำอินทรีย์สังวรแล้ว ปาฏิโมกข์สังวรก็เป็นอันง่ายที่สุด  สะดวกที่สุด เพราะว่าอินทรีย์สังวรทำลายกิเลสในขณะที่เห็น ขณะที่ได้ยินอยู่แล้วและเวลาไม่เห็น ก็ไม่เป็นไร

********ทีนี้ ลาภ ยศ สรรเสริญ หรืออารมณ์อะไรต่าง ๆ ที่ยังไม่เห็นนั้นน่ะ ยังไม่ประสบก็ยังไม่มีความสำคัญอะไรนัก ความยินดียินร้ายก็เกิดไม่ได้โดยสังวรไว้ก่อน

*******เมื่อเรายังไม่กินก็ไม่เป็นไร แต่เมื่อกินเข้าไปแล้วรสกับลิ้นกระทบกัน ตอนนี้สำคัญมากที่จะกันกิเลสในเวลากินไม่ให้เกิดขึ้นได้

*******ฉะนั้นอินทรีย์สังวร จึงไม่เหมือนกันกับปาฏิโมกข์สังวร คือถ้าเรามีปาฏิโมกข์สังวร แต่ไม่มีอินทรีย์สังวรก็จะทำลายอภิชฌาโทมนัสไม่ได้ในขณะที่เห็น ส่วนอินทรีย์สังวรนั้นมีทั้งกายบริสุทธิ์ วาจาบริสุทธิ์และใจก็บริสุทธิ์ด้วย ใจก็บริสุทธิ์ด้วยนะ  อินทรีย์สังวรนี่ทำลายอภิชฌาโทมนัสที่เกิดขึ้นในใจ เพราะว่าอินทรีย์สังวรนี้ในขณะนั้นมีอารมณ์ปัจจุบัน

********ในขณะที่มีอารมณ์ปัจจุบันนั้น สมาธิก็ต้องมีในขณะนั้น นิวรณ์ก็เข้าไม่ได้ เพราะเมื่อจิตที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ปัจจุบันแล้ว เป็นการปิดกั้นนิวรณ์เกิดขึ้นไม่ได้ เป็นกิจของการสังวรนั้น ท่ามกลางกิเลส คือ ความยินดียินร้ายจะเกิดขึ้นในจิตใจไม่ได้ อันนี้ก็เป็นสมาธิอยู่แล้ว อินทรีย์สังวรนี้มีสมาธิอยู่ด้วย กายก็บริสุทธิ์ ใจก็บริสุทธิ์ เมื่อใจบริสุทธิ์ ไม่มีความยินดียินร้ายเกิดขึ้นในใจแล้วละก็ กายเราไม่ต้องพูดถึงละ ใครที่จะไปฆ่าสัตว์  ลักทรัพย์นะ เป็นไปไม่ได้แน่เลย ทุจริตทั้งกายและวาจาก็เป็นไปไม่ได้ เพราะใจทุจริตมันไม่เกิดขึ้นแล้วใช่ไหมล่ะ ใจมันไม่ต้องการแล้ว ใจมันก็ต้องไม่ทำอยู่แล้ว

*******เพราะฉะนั้น กิเลสอย่างหยาบก็เป็นอันเกิดขึ้นไม่ได้แล้ว และอภิชฌาและโทมนัสก็เกิดไม่ได้ดังกล่าวแล้ว

*******จึงพูดกันว่า อินทรีย์สังวรนี้มีทั้งศีล สมาธิ และปัญญาด้วย มีปัญญาด้วยนะ พร้อมกันเลยทั้งศีล สมาธิปัญญา เพราะขณะที่เราสำรวมในการเห็นน่ะ เราจะต้องมีสติและปัญญา พิจารณาในการเห็น โดยกำหนดรู้ในการเห็นนั้นนะ เราจะต้องมีสติและปัญญาพิจารณาในการเห็น โดยกำหนดรู้ในการเห็นนั้น และในระหว่างที่กำหนดการเห็นนั้นนะ เราอาจจะเห็นวิญญาณที่ทำหน้าที่เห็นนะ แสดงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาด้วย ขณะที่เราดูนั้นนะ เพราะธรรมชาติของมันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ เพราะฉะนั้น เราตามดูขณะเห็นขณะได้ยินนี้นะ วิญญาณเหล่านี้ก็มีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่

********ฉะนั้น ในระหว่างที่เราพิจารณาอยู่นี้ เราอาจจะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขณะที่สำรวมทางตา ทางหูอยู่นั่นเอง

*******เพราะฉะนั้น การสำรวมอินทรีย์นี้ท่านจึงบอกว่า อันเดียวกันกับสติปัฏฐาน ศีลก็มี สมาธิก็มี ปัญญาก็มีในขณะเดียวกันนั้น เจริญทั้งมรรคมีองค์ ๘ อยู่ในขณะนั้น เพราะฉะนั้น อินทรีย์สังวรศีลนี้จึงสำคัญมากนะคะ และไม่มีภายนอกพระพุทธศาสนาไม่มี

*******อินทรีย์สังวรนี้ สามารถชำระกิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง มีอภิชฌาและโทมนัสในจิตใจได้ สามารถจะชำระกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน มีทิฏฐิ เป็นต้นก็ได้ เพราะเกิดปัญญาได้ เมื่อเห็นว่านามรูปนั้นไม่ใช่ตัวตนก็สามารถทำลายกิเลสทั้ง ๓ อย่าง ส่วนปาฏิโมกข์สังวรศีลนั้น ทำลายได้แต่กิเลสอย่างหยาบ คือ วีติกมกิเลส ที่ออกมาทางกาย วาจาเท่านั้น ทางใจนั้นทำลายไม่ได้ แต่ว่ากันไว้เพื่อจะได้ไม่ให้ความยินดียินร้ายเกิดขึ้นทางใจได้ นี่วิสุทธิ ๒ อย่าง ก็ต่างกันอย่างนี้

********ฉะนั้น ผู้ที่ยังไม่เคยสำรวมอินทรีย์ ก็เท่ากับผู้นั้น ยังไม่เคยเจริญสติปัฏฐาน ก็ชื่อว่า ยังไม่เคยปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเลย ที่เรานับถืออยู่นั้นไม่เคยเลย กุศลในพุทธศาสนานี่ ยังไม่เคยปฏิบัติเลยก็น่าเสียดายนะคะ ประมาทนะ  เอาไว้ปีหน้าเถอะ เผื่อเราตายปีนี้ล่ะ

*******เท่าที่ได้อธิบายมาแล้วในเรื่องศีลวิสุทธินี้ ก็คิดว่าท่านนักศึกษาก็พอจะเข้าใจแล้วใช่ไหมคะว่า

*******คำว่า วิสุทธิหมายความถึง ความบริสุทธิ์ ทีนี้คำว่า ศีลวิสุทธิก็หมายความว่า ศีลไม่เป็นที่อาศัยของกิเลส คำว่า วิสุทธิ ในที่นี้หมายถึงว่าไม่มีกิเลสเจืออยู่ในที่นั้น คือ บริสุทธิ์จากกิเลสนั่นเอง

*******ศีลวิสุทธิ ก็หมายถึงว่า ศีลที่กิเลสอาศัยไม่ได้หรือว่าไม่ได้รักษาศีลด้วยอำนาจของกิเลส การรักษาศีลนี่ด้วยอำนาจของกิเลสก็ได้ เช่นเราอยากได้บุญ อยากได้ความสุข หรืออยากได้อานิสงส์ของศีลเพื่อจะได้ไปเกิดที่ดีในชาติหน้า หรือในชาตินี้ก็ตาม เพื่อจะได้มีความสุขเป็นคนร่ำรวย จะได้ไปเกิดในสวรรค์ ไม่ต้องไปอบายอย่างนี้เป็นต้น เพราะเราต้องการอย่างนี้ เราจึงรักษาศีลใช่ไหม? เพราะว่ากิเลสมันจะไปสวรรค์มันไปไม่ได้ไปพรหมก็ไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นที่จะไปได้ต้องอาศัยกุศลก็เมื่อกิเลสต้องการอย่างนั้น มันก็เลยใช้ให้ทำกุศลเพื่อจะอาศัยกุศลนั้น เป็นปัจจัยไปให้เขาสมปรารถนาในสิ่งที่ต้องการในโลกนี้

********นี่แหละ ศีลอันนี้ก็เกิดขึ้นเพราะกิเลสเป็นปัจจัยใช่ไหมคะ เพราะอกุศลเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลได้ แต่ทีนี้ศีลวิสุทธินี่ไม่ใช่เกิดด้วยอำนาจของกิเลส แต่ต้องเกิดขึ้นด้วยอำนาจของปัญญา เพราะปัญญาเท่านั้นแหละ ที่จะทำลายกิเลสได้ อาวุธอย่างอื่นไม่สามารถจะทำลายได้ ศีลนั้นต้องเกิดจากปัญญา เป็นเหตุที่จะให้เกิดการรักษาศีลนั้น  ศีลอันนั้นแหละถึงจะเป็น วิสุทธิ ได้เมื่อกิเลสไม่อาศัย กิเลสไม่จับ ไม่อาศัยในอารมณ์ของศีลนั้นได้ ศีลนี้ก็วิสุทธิ จะเป็นศีล ๕ หรือศีล ๘ ก็ตามดังที่ได้อธิบายมาแล้ว

*******สำหรับศีลวิสุทธินั้นน่ะ ยกเอา จตุปาริสุทธิศีล ขึ้นมาเป็นประธานให้เห็นว่า ศีลที่กิเลสอาศัยไม่ได้น่ะ มีเหตุผลอย่างไร? ตั้งใจอย่างไร? มนสิการอย่างไร? ถือศีลเพราะเหตุอะไร? อย่างนี้ละก็กิเลสก็จับไม่ได้ ข้อใหญ่ ๆ ที่ยกเอาขึ้นมาก็มี จตุปาริสุทธิศีล ๔ อย่าง คือว่า ปาฏิโมกข์สังวร, อินทรีย์สังวร, อาชีวปาริสุทธิศีล, ปัจจยสันนิสสิตศีล ๔ อย่างนี้เอาขึ้นมาเป็นประธาน ผู้ที่ปฏิบัติในศีลเหล่านี้ไม่ได้อาศัยกิเลส แต่อาศัยปัญญา อาศัยสติ พวกนี้

********ในจตุปาริสุทธิศีลนั้น มีอะไรเป็นเหตุ อันนี้ก็อธิบายแล้ว และเป็นสิ่งที่ท่านควรเข้าใจเหมือนกันว่าในศีลทั้ง ๔ นั้น

*******ปาฏิโมกข์สังวร จะสมบูรณ์ได้ บริสุทธิ์หมดจดได้ก็เพราะว่าศรัทธา ซึ่งในที่นั้นหมายถึง ตถาคตโพธิศรัทธา คือการเชื่อในความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คำสั่งสอนของพระองค์ เป็นเหตุที่จะนำให้ออกจากทุกข์ได้ เพราะฉะนั้นจึงพยายามมีศรัทธาปฏิบัติในธรรมวินัย มีปาฏิโมกข์เป็นต้น ให้บริสุทธิ์ได้ เพราะเชื่อว่า ถ้าเราทำปาฏิโมกข์ให้บริสุทธิ์แล้ว เชื่อมั่นคงทีเดียวว่า จะเป็นปัจจัยให้เราพ้นทุกข์ หรือออกจากสังสารทุกข์ได้

*******นี่ศรัทธาอันนี้ เชื่อในความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเพราะฉะนั้น ก็ทำปาฏิโมกข์นี้ให้สมบูรณ์ได้

*******ส่วน อินทรีย์สังวร นั้น จะสมบูรณ์ได้ด้วยสติ เพราะอินทรีย์สังวรนี่ ต้องใช้สติ เวลาเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส ถูกต้อง ใจรู้อารมณ์ ทั้ง ๖ นี้ละก็มีสติสัมปชัญญะ ในขณะอารมณ์ที่กำลังเห็น กำลังได้ยินนั้น ก็เป็นการทำลายกิเลสอยู่ในตัว เพราะฉะนั้น กิเลสจึงอาศัยจับศีลนั้นไม่ได้ เพราะศีลนั้นเป็นตัวทำลายกิเลส ทำลายอภิชฌาและโทมนัส หรือโลภ โกรธ หลง สตินั้นเป็นตัวทำลายความหลงอยู่นะคะ เมื่อความหลงเกิดขึ้นไม่ได้ ความยินดียินร้ายก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะเหตุไม่มีแล้วผล ก็จะปรากฏไม่ได้

*******อาชีวปาริสุทธิศีลนั่น ยอมเสียชีวิตโดยไม่ยอมให้ศีลตกไป หรือขาดไป นี่อันนี้จะบริสุทธิ์สมบูรณ์ได้ด้วยวิริยะ ความกล้าหาญมีการไม่กลัวตาย เป็นต้น

*******ส่วนปัจจยสันนิสสิตศีลนั้น จะสมบูรณ์ได้ก็ด้วยปัญญา เพราะพระภิกษุที่เสพปัจจัย ๔ นั้น ต้องมีปัญญารู้ในธรรมวินัยว่า อันนี้ถูกต้องกับธรรมวินัย ในปัจจัยที่ได้มานี้ ก็เป็นไม่รับ จะใช้ปัจจัยอะไรก็ตาม ท่านจะต้องให้ถูกต้องกับธรรมวินัย

*******เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะรู้ได้ว่าถูกต้องกับธรรมวินัยหรือไม่ ขั้นนี้ต้องศึกษาและเข้าใจในธรรมวินัยดี ศีลอันนี้จะบริสุทธิ์ได้ ก็ต้องด้วยปัญญาที่มีความรู้ ได้ศึกษาเล่าเรียนในธรรมวินัยมาเข้าใจดีแล้ว ทั้งหมดนี้นะคะ เป็นสิ่งที่ท่านควรเข้าใจ และก็ได้อธิบายไปแล้วว่า ปาฏิโมกข์สังวรกับอินทรีย์สังวร มีลักษณะต่างกันอย่างไร? ก็สรุปย่อ ๆ ว่า ปาฏิโมกข์สังวรนั้นเป็นข้อห้ามไม่ให้ได้เห็น, ไม่ให้ได้ยิน, ไม่ให้ได้กลิ่น, ไม่ให้รู้รส, ไม่ให้ถูกต้อง เป็นข้อความไม่ให้ปฏิบัติตามธรรมวินัย อันนี้เป็นศีลปาฏิโมกข์

*******ส่วนอินทรีย์สังวรนั้น ไม่ได้ห้ามไม่ให้เห็น, ไม่ให้ได้ยิน, แต่ให้สังวรในเวลาเห็น เวลาได้ยิน เป็นต้น

*******เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีการเห็น การได้ยินแล้ว อินทรีย์สังวรก็เกิดขึ้นไม่ได้ ทำงานไม่ได้ การสำรวมในเวลาที่เห็นก็ทำไม่ได้ อันนี้เป็นอินทรีย์สังวรต่างกันนะคะ และก็เข้าใจด้วยว่า อินทรีย์สังวรนี่ เป็นความสำคัญในพระพุทธศาสนา ซึ่งปฏิบัติได้ทั่วไป ถึงแม้จะเป็นภิกษุ หรือฆราวาสก็ปฏิบัติได้

*******แต่ส่วนปาฏิโมกข์นั้น ก็เฉพาะผู้ที่เป็นพระภิกษุที่อยู่ในธรรมวินัย เมื่อเป็นเช่นนี้ละก็ ถ้าหากว่าผู้ที่ไม่มีปาฏิโมกข์นี่ จะทำอย่างไร? ศีลไม่บริสุทธิ์หรือ? แต่ที่จริงแล้วบริสุทธิ์ได้ ถึงแม้ศีล ๕ ศีล ๘ ก็ได้ หรืออินทรีย์สังวรนี่เราก็ปฏิบัติได้ เพราะว่าความบริสุทธิ์ หรือไม่บริสุทธิ์นี่อยู่ที่เจตนา หรือเหตุที่ให้รักษาศีล ดังที่ได้เรียนมาให้ทราบไว้แล้ว รักษาศีลด้วยเจตนา เพื่ออะไร? ถ้าเจตนาเพื่อความพ้นทุกข์ละก็ ศีลอะไรก็ตามเถอะ ศีลนั้นต้องบริสุทธิ์ ไม่ใช่เพื่อต้องการอะไร นั่นแหละศีลนั้น จึงบริสุทธิ์ได้ ศีลที่บริสุทธิ์นี้ จึงจัดเป็นวิสุทธิศีล มี ๔ อย่าง วิสุทธิศีลนี้เรียกว่า อธิศีลคือมี อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา

*******ศีลที่ไม่บริสุทธิ์ไม่เรียกว่า อธิศีล, สมาธิที่ไม่บริสุทธิ์ก็ไม่เรียกว่า อธิจิต, ปัญญาที่ไม่บริสุทธิ์ คือมีกิเลสเจือปนด้วย ก็ไม่เรียกว่า อธิปัญญา และขอให้เข้าใจอีกด้วยว่า อธิศีลคือมี อธิศีล อธิจิต อธิปัญญานี้เกิดร่วมกันในจิตดวงเดียว ในจิตดวงไหน? ในวิปัสสนาจิตเพราะวิปัสสนานี่เป็นตัวประหาณกิเลส ถ้าศีลใด สมาธิใด เกิดในวิปัสสนาจิตนั้นละก็ ศีลนั้นก็เป็นอธิศีล สมาธินั้นก็เป็น อธิจิต ปัญญานั้นก็เป็น อธิปัญญา

********อันนี้ตามที่ในบาลีปฏิสัมภิทามรรค ท่านกล่าวยืนยันไว้ทีเดียวว่า

********โย จ ตตฺถ สํวรตฺโถ                อยํ อธิสีลสิกฺขา

********โย จ ตตฺถ อวิกฺเขปตฺโถ        อยํ อธิจิตฺตสิกฺขา

********โย จ ตตฺถ ทสฺสนตฺโถ           อยํ อธิปญฺญาสิกฺขา ในวิปัสสนาจิตุปปาทอันเดียวนั้น สภาวธรรมใดมีสภาพเป็นการสำรวม สภาวธรรมนั้น ชื่อว่า อธิศีลสิกขา สภาวธรรมใดมีสภาพไม่ฟุ้งซ่าน สภาวธรรมนั้นชื่อว่าอธิจิตตสิกขา  สภาวธรรมใดมีสภาพรู้เห็นซึ่งปรมัตถอารมณ์ สภาวธรรมนั้นชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา

*******นี่มีวิปัสสานาจิตทุกอันเลย ศีลใดที่เกิดในวิปัสสนา คือศีลที่เว้น หรือห้ามกิเลสอย่างหยาบไม่ให้เกิดขึ้นได้ที่ในวิปัสสนาจิตนั้น ก็ชื่อว่า อธิศีล, สมาธิก็เหมือนกัน ต้องเป็นสมาธิในวิปัสสนาจิต จึงชื่อว่า อธิจิต ปัญญาก็เหมือนกัน ต้องเกิดในวิปัสสนาจิตนั้นเอง จึงเรียกว่าอธิปัญญา

*******ฉะนั้น ในวิปัสสนาจิตนั้น ก็มีพร้อมทั้ง ศีล สมาธิและปัญญา เข้าร่วมในวิปัสสนาจิตนั้น

*******อันนี้เราก็ทราบกันอยู่แล้วในมรรค ๘ ใช่ไหมคะในมรรคทั้ง ๘ นั้นน่ะ ไม่ใช่ต่างคนต่างเกิดกันคนละจิตมรรค ทั้ง ๘นั้น เมื่อย่อลงเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา

*******ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ต้องเกิดร่วมกันในจิตดวงเดียวกัน เป็นไปร่วมกันในขณะที่ปฏิบัติวิปัสสนา

*******อธิศีล ได้แก่อะไร? ก็ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ในองค์มรรคนั่นเอง เป็นอธิศีลแล้ว

*******อธิจิต ได้แก่อะไร? ก็ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็น อธิจิต

*******อธิปัญญา ได้แก่อะไร? ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ กับสัมมาสังกัปปะ

*******เพราะฉะนั้น มรรคทั้ง ๘ นั้น ก็มีพร้อมแล้วทั้งศีล ทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา

*******ทีนี้ การที่ผู้เจริญนั้น ไม่ใช่เจริญทีละอย่าง ก็เจริญวิปัสสนาไป ในระหว่างที่เจริญวิปัสสนานั่นแหละ ศีลก็มี สมาธิก็มี ปัญญาก็มี

*******ปัญญาในที่นี้หมายถึงวิปัสสนานะคะ ก็มีไปด้วยกันพร้อมกันนั้นเอง นั่นแหละเป็นหนทาง, หนทางนั้นแหละมีองค์มัค ๘ เมื่อสงเคราะห์ลงไปแล้ว ก็มีทั้งศีล สมาธิและปัญญา ไม่ใช่อยู่ต่างกัน อธิศีล, อธิจิต ก็หมายถึงศีลที่เป็นบาทให้เกิดวิปัสสนา, สมาธิ ที่เป็นบาทให้เกิดวิปัสสนา ก็เรียกว่า อธิจิต, ถ้าสมาธิใดไม่เป็นบาทให้เกิดวิปัสสนา ก็ไม่เรียกว่า อธิจิต หรือสมาธิที่ยิ่งกว่านั้นไม่เรียก, เรียกว่า จิตเฉย ๆ หรือ ศีลเฉยๆ สมาธิเฉยๆ  ปัญญาเฉยๆ ก็มีค่ะ

*******เพราะอะไรเล่า อธิศีล, อธิจิต, อธิปัญญา นี่จึงเป็นบาทกัน เพราะว่าเกิดร่วมกัน นี่เข้าใจด้วยนะคะ ถ้าเวลาย่อลงไป จะสงเคราะห์ลงในที่ไหน และเมื่อขยายออกไป ลักษณะของศีล ลักษณะของสมาธิ ลักษณะของปัญญา  มีมากมายจบพระไตรปิฎก

*******อินทรีย์สังวรกับสติปัฏฐาน นี่ก็เคยเรียนให้ทราบแล้วว่าเป็นอันเดียวกัน เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติอินทรีย์สังวรกับสติปัฏฐานนี่ก็เหมือนกัน ผู้ปฏิบัติสติปัฏฐาน ก็ชื่อว่า เป็นการเจริญอินทรีย์สังวร หรือการปฏิบัติอินทรีย์สังวร ก็ชื่อว่าปฏิบัติสติปัฏฐานด้วยเหมือนกัน ในพระบาลีมหาวรรคสังยุตต์ท่านบอกว่า

******** อินทรีย์สังวร อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์  สุจริต ๓ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้สมบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ 

*******นี่ถือว่าเป็นอันเดียวกันนะคะ อันนี้ก็จะต้องเข้าใจ เพราะฉะนั้น ข้อปฏิบัติบางทีอาจเรียกชื่อได้หลายอย่าง แต่ว่าในหลายอย่างนั้น ก็จะต้องสงเคราะห์ร่วมกันได้  สำหรับ ศีลวิสุทธิ  ก็คิดว่าพอแล้วนะคะ

                                                                         

✾✾✾✾✾ ✾✾✾✾✾ ✾✾✾✾✾ ✾✾✾✾✾ ✾✾✾✾✾ ✾✾✾✾✾