Feb
1
2018
อาจารย์ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์
นายไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์ เป็นคนฝักใฝ่ในการศึกษาพระธรรม โดยการอ่านหนังสือธรรมะเรื่องต่างๆ ที่บรรดาผู้รู้แต่งขึ้นมา และโดยการอ่านจากตำราทางศาสนา (ส่วนที่อ่านรู้เรื่อง) อยู่เสมอๆ ตั้งแต่ครั้งยังเป็นนิสิตมหาวิทยาลัย เมื่อได้เรียนจบมาถึงปีสุดท้าย ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลานั้นมีอายุประมาณ ๒๔ ปี ก็สนใจเรียนอภิธรรมจากคำแนะนำชักชวนของนิสิตรุ่นพี่คนหนึ่ง ที่สมาคมศูนย์ค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา วัดสระเกศ ได้พบท่านอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ ที่นั่น ท่านเป็นนายกสมาคม จึงได้เรียนจากท่านที่นั่น
พอตอนบ่ายก็ได้เรียนจากท่านอาจารย์พระมหาแสวง โชติปาโล ติดต่อกันมาหลายปี เมื่อท่านอาจารย์แนบฯ แนะนำให้เรียนภาษาบาลี ก็ได้เรียนจากท่านอาจารย์พระมหาแสวงฯ นั่นแหละ ที่วัดของท่าน ทั้งเรียนอภิธรรมทั้งเรียนภาษาบาลี ติดต่อกันมาได้ ๓-๔ ปี ท่านอาจารย์แนบฯ ก็ขอร้องให้สอนพระอภิธรรมที่ศูนย์ค้นคว้านั่นแหละแทนท่าน
เมื่อจบการบรรยายอภิธรรม (อภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริจเฉท) แล้วก็บรรยายอภิธัมมาวตาร วิสุทธิมรรค พระสูตร และมิลินทปัญหา ต่อๆ กันมา จบการบรรยายปกรณ์เหล่านี้แล้ว ก็มีการโยกย้ายสถานที่เรียนธรรมไปที่อื่น คือ กรมชลประทาน บริษัทบุญถาวร เป็นต้น ติดต่อกันอยู่หลายปี ตำราที่ใช้สอนใช้บรรยาย ล้วนแปลจากต้นฉบับภาษาบาลีด้วยตนเองทั้งสิ้น ไม่ได้ใช้ฉบับแปลที่มีผู้แปลไว้ก่อนแล้ว เพื่อแสดงความรับผิดชอบเองทั้งหมด
มีการติดตามท่านอาจารย์แนบฯ ไปฟังท่านที่นั่นที่นี่บ่อยๆ แม้แต่ต่างจังหวัด บางทีก็จำต้องนอนค้างคืน เพราะไปกลับในวันเดียวไม่ทัน หรือไม่คนเขาก็ขอร้องให้อยู่ต่ออีก เมื่อสิ้นบุญท่านอาจารย์แนบฯ แล้ว คนเหล่านั้น ก็ยังอยากให้นายไชยวัฒน์ฯ ไปเยี่ยมบ้าง สนทนาธรรมกันบ้างเป็นครั้งคราว ในที่สุดก็เกิดล้มไป เพราะคนเชิญตายบ้าง เจ็บป่วยบ้าง แก่เกินไปแล้วบ้าง ก็ต้องชะงักไว้เพียงเท่านี้ แม้สถานที่ทั้งหลายในกรุงเทพฯ ก็ว่าต้องงดไปหลายแห่งทีเดียว เพราะทำงานมากอย่างแต่ก่อนไม่ไหว เช่นว่ากรมตำรวจ (สมัยนั้นยังไม่เป็นสำนักงานตำรวจ) คณสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ วัดบูรณสิริ เป็นต้น นอกเหนือจากบริษัทปูนซีเมนต์ไทยแล้ว ก็มีอยู่ที่เดียว ที่ยังต้องไปบ้าง คือ ธรรมสถานจุฬาฯ ทั้งนี้ เพื่อจะได้มีโอกาสปฏิบัติมากขึ้น
ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์
๓๑ มกราคม ๒๕๖๑
By ผู้ดูแลระบบ •
Uncategorized •
Feb 1 2018
อาจารย์ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์
อาจารย์ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์
นายไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์ เป็นคนฝักใฝ่ในการศึกษาพระธรรม โดยการอ่านหนังสือธรรมะเรื่องต่างๆ ที่บรรดาผู้รู้แต่งขึ้นมา และโดยการอ่านจากตำราทางศาสนา (ส่วนที่อ่านรู้เรื่อง) อยู่เสมอๆ ตั้งแต่ครั้งยังเป็นนิสิตมหาวิทยาลัย เมื่อได้เรียนจบมาถึงปีสุดท้าย ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลานั้นมีอายุประมาณ ๒๔ ปี ก็สนใจเรียนอภิธรรมจากคำแนะนำชักชวนของนิสิตรุ่นพี่คนหนึ่ง ที่สมาคมศูนย์ค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา วัดสระเกศ ได้พบท่านอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ ที่นั่น ท่านเป็นนายกสมาคม จึงได้เรียนจากท่านที่นั่น
พอตอนบ่ายก็ได้เรียนจากท่านอาจารย์พระมหาแสวง โชติปาโล ติดต่อกันมาหลายปี เมื่อท่านอาจารย์แนบฯ แนะนำให้เรียนภาษาบาลี ก็ได้เรียนจากท่านอาจารย์พระมหาแสวงฯ นั่นแหละ ที่วัดของท่าน ทั้งเรียนอภิธรรมทั้งเรียนภาษาบาลี ติดต่อกันมาได้ ๓-๔ ปี ท่านอาจารย์แนบฯ ก็ขอร้องให้สอนพระอภิธรรมที่ศูนย์ค้นคว้านั่นแหละแทนท่าน
เมื่อจบการบรรยายอภิธรรม (อภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริจเฉท) แล้วก็บรรยายอภิธัมมาวตาร วิสุทธิมรรค พระสูตร และมิลินทปัญหา ต่อๆ กันมา จบการบรรยายปกรณ์เหล่านี้แล้ว ก็มีการโยกย้ายสถานที่เรียนธรรมไปที่อื่น คือ กรมชลประทาน บริษัทบุญถาวร เป็นต้น ติดต่อกันอยู่หลายปี ตำราที่ใช้สอนใช้บรรยาย ล้วนแปลจากต้นฉบับภาษาบาลีด้วยตนเองทั้งสิ้น ไม่ได้ใช้ฉบับแปลที่มีผู้แปลไว้ก่อนแล้ว เพื่อแสดงความรับผิดชอบเองทั้งหมด
มีการติดตามท่านอาจารย์แนบฯ ไปฟังท่านที่นั่นที่นี่บ่อยๆ แม้แต่ต่างจังหวัด บางทีก็จำต้องนอนค้างคืน เพราะไปกลับในวันเดียวไม่ทัน หรือไม่คนเขาก็ขอร้องให้อยู่ต่ออีก เมื่อสิ้นบุญท่านอาจารย์แนบฯ แล้ว คนเหล่านั้น ก็ยังอยากให้นายไชยวัฒน์ฯ ไปเยี่ยมบ้าง สนทนาธรรมกันบ้างเป็นครั้งคราว ในที่สุดก็เกิดล้มไป เพราะคนเชิญตายบ้าง เจ็บป่วยบ้าง แก่เกินไปแล้วบ้าง ก็ต้องชะงักไว้เพียงเท่านี้ แม้สถานที่ทั้งหลายในกรุงเทพฯ ก็ว่าต้องงดไปหลายแห่งทีเดียว เพราะทำงานมากอย่างแต่ก่อนไม่ไหว เช่นว่ากรมตำรวจ (สมัยนั้นยังไม่เป็นสำนักงานตำรวจ) คณสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ วัดบูรณสิริ เป็นต้น นอกเหนือจากบริษัทปูนซีเมนต์ไทยแล้ว ก็มีอยู่ที่เดียว ที่ยังต้องไปบ้าง คือ ธรรมสถานจุฬาฯ ทั้งนี้ เพื่อจะได้มีโอกาสปฏิบัติมากขึ้น
ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์
๓๑ มกราคม ๒๕๖๑
By ผู้ดูแลระบบ • Uncategorized •