- Home
- ภาพกิจกรรม
- **กฐินกาล 2560
- **งาน 120 ปี ภัททันตะวิลาสะและอาจารย์แนบ มหานีรานนท์
- **ทอดผ้าป่า วันวิสาขบูชา 2560
- **วันมาฆบุชา 2560
- **เชิญชวนร่วมทำบุญถวายภัตตาหารที่มูลนิธิแนบมหานีรานนท์
- **กฐินกาล 2561
- **ถวายผ้ากฐินสามัคคี ๒๕๕๙
- **อุโบสถ
- **วันอาสาฬหบูชา ๒๕๕๙
- **วันวิสาขบูชา พ.ศ.๒๕๕๙
- **วันมาฆบูชา พ.ศ.๒๕๕๙
- **วันมาฆบูชา พ.ศ. ๒๕๕๘
- **วันวิสาขบูชา 2558
- **วันอาสาฬหบูชา 2558
- **วันวิสาขบูชา พ.ศ.2556
- วารสารและบทความ
- **ควรทำอะไรในวันปีใหม่
- **ความสำคัญในพระพุทธศาสนา
- **สัมมาทิฏฐิ ๖
- **หนังสืออนุสรณ์ 120 ปี ชาตกาล ภัททันตะวิลาสมหาเถระ และอาจารย์แนบ มหานีรานนท์
- Vipassana Bhavana
- ทุกข์และการกำหนดรู้ทุกข์ โดย อ.แนบ มหานีรานนท์
- ปัญญาสาร ฉบับที่ 139
- ปัญญาสาร ฉบับที่ 140
- ปัญญาสาร ฉบับที่ 141
- ปัญญาสาร ฉบับที่ 142
- ปัญญาสาร ฉบับที่ 143
- ปัญญาสาร ฉบับที่ 144
- ปัญญาสาร ฉบับที่ 145
- ปัญญาสารฉบับที่ 116
- ปัญญาสารฉบับที่ 128
- ปัญญาสารฉบับที่ 129
- ปัญญาสารฉบับที่ 130
- ปัญญาสารฉบับที่ 131
- ปัญญาสารฉบับที่ 132
- ปัญญาสารฉบับที่ 133
- ปัญญาสารฉบับที่ 134
- ปัญญาสารฉบับที่ 135
- ปัญญาสารฉบับที่ 136
- **ศีลวิสุทธิ
- **จิตฺตวิสุทฺธิ
- **ทิฏฐิวิสุทธิ
- **กังขาวิตรณวิสุทธิ
- **มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
- **ปฏิปทาญาณทัสสนาวิสุทธิ ตอนที่ ๑
- **ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ตอนที่ ๒)
- **ปฏิปทาญาณทัสสนาวิปสุทธิ(ตอนที่ ๓)
- **ปฏิปทาญาณทัสสนาวิสุทธิตอนที่๔ (ตอนจบ)
- **ญาณทัสสนวิสุทธิ
- **อานิสงส์ของการปฏิบัติธรรม
- **มรดกธรรมอันล้ำค่า
- **การเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
- หนังสือเรียน
- คู่มือการศึกษาคัมภีร์มหาปัฏฐาน
- คู่มือการศึกษาธัมมสังคณีมาติกา
- อภิธัมมัตถสังคหะแปลไทย
- อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๑
- อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๒
- อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๓
- อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๔
- อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๕
- อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๖
- อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๗
- อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๘
- อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙
- หนังสือการปฏิบัติวิปัสสนา (อ.แนบ)
- วิสุทธิมัค(สังเขป)
- พระพุทธศาสนาพื้นฐาน
- กิจกรรม
- อภิธัมมัตถสังคหะบรรยาย
- ธรรมบรรยาย
- สำนักปฏิบัติธรรม
- เกี่ยวกับ
May 1 2018
สังเขปเนื้อหารายวิชา หลักสูตรศึกษาพระอภิธรรมประจำ ๒ ปี
สังเขปเนื้อหารายวิชา
หลักสูตรศึกษาพระอภิธรรมประจำ ๒ ปี
อภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริจเฉท
คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมเนื้อหาสำคัญจากพระอภิธรรมปิฎกและอรรถกถาพระอภิธรรมไว้โดยย่อ จัดเป็นคัมภีร์ประเภทอรรถกถาสังเขป (อรรถกถาสรุปความ) รจนาโดยพระอนุรุทธาจารย์ ชาวเมืองท่ากาเวริ เขตเมืองกัญจิปุระ แคว้นโจฬะ อินเดียตอนใต้ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๗ แบ่งเป็น ๙ ปริจเฉท (ตอน) ดังนี้
ปริจเฉทที่ ๑ จิตสังคหวิภาค แสดงเรื่องจิตปรมัตถ์ จำแนกจิตปรมัตถ์โดยความเป็นกุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต เป็นต้น เมื่อรวบรวมจิตประเภทต่างๆ แล้ว ได้ ๘๙ หรือ ๑๒๑ อย่าง
ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค แสดงเรื่องเจตสิกปรมัตถ์ เป็นธรรมที่ปรุงแต่งจิตให้เป็นไปในการรับรู้อารมณ์ต่างๆ เช่น จิตโลภ จิตโกรธ จิตหลงและจิตมีสติ มีสมาธิ มีปัญญาฯ โดยมี ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา โลภะ โทสะ โมหะ สัทธา สติ และปัญญาเจตสิก เป็นต้น เจตสิกเป็นตัวปรุงแต่ง จำแนกเป็นหมวดๆ ได้ ๓ หมวด รวบรวมสภาวลักษณะของเจตสิกแล้ว มี ๕๒ อย่าง พร้อมทั้งแสดงเจตสิกแต่ละอย่างเกิดในจิตดวงไหนได้บ้าง จิตแต่ละดวงนั้นมีเจตสิกเกิดร่วมได้เท่าไร อะไรบ้าง
ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค แสดงการรวบรวมธรรมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับจิตและเจตสิกซึ่งเป็นนามธรรม เมื่อรวมแล้วได้สภาวธรรม ๕๓ ประการ (จิต ๑ เจตสิก ๕๒) จำแนกออกเป็น ๖ หมวด ตามประเภทแห่ง เวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์และวัตถุ
ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค แสดงความเป็นไปของจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นตามลำดับ ในขณะที่รับอารมณ์ ตามทวารต่างๆ ทั้งทางปัญจทวารและทางมโนทวาร ที่เป็นกามวิถีและอัปปนาวิถี เป็นต้น
ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค แสดงเรื่องจิตที่พ้นวิถี ภูมิที่อยู่อาศัยของสัตว์ การปฏิสนธิจิตของสัตว์ในภูมิต่างๆ แม้รูปปฏิสนธิของอสัญญสัตตพรหม ตลอดจนแสดงถึงเรื่องกรรมของสัตว์ที่จะให้วิบากกรรมเกิดขึ้นในภูมิต่างๆ และสัตว์ทั้งหลายที่ใกล้จะตาย ต้องได้รับอารมณ์จากกรรมของตนไปปฏิสนธิใหม่ในภพหน้า
ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค แสดงเรื่องรูปปรมัตถ์ ๒๘ อย่าง และนิพพานปรมัตถ์
๑) รูปปรมัตถ์ แสดงเรื่องรูปปรมัตถ์ตามสภาวะลักษณะ ๒๘ อย่าง พร้อมทั้งแสดงตามนัยเอกมาติกา ทุกมาติกา แสดงสมุฏฐานที่เป็นเหตุให้รูปเกิดขึ้น แสดงจำนวนการเกิดดับของรูปธรรม ตามนัยแห่งภูมิ ตามนัยแห่งกาล ตามนัยแห่งกำเนิดทั้ง ๔
๒) นิพพานปรมัตถ์ เป็นอารมณ์ของโลกุตตรจิต ไม่มีความเกิดและความดับ พ้นจากกาลทั้ง ๓ คือ ปัจจุบัน อดีต และอนาคต เรียกว่า กาลวิมุติ พ้นจากความเป็นขันธ์ทั้ง ๕ เรียกว่า ขันธวิมุติ พ้นจากการปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร เรียกว่า อสังขตธรรม นิพพานเป็นธรรมที่ประเสริฐ เลิศกว่าธรรมทั้งปวงเพราะเป็นธรรมที่ดับทุกข์และกิเลส
ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค แสดงสภาวธรรมทั้งหลายที่สงเคราะห์เข้ากันได้เป็นหมวดเป็นหมู่ คือหมวดอกุศลสังคหะ มิสสกสังคหะ โพธิปักขิยสังคหะ และสงเคราะห์ปรมัตถธรรมทั้งหมดเป็น ๕ กอง มี กองขันธ์ อุปาทานักขันธ์ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ และอริยสัจ ๔ รวมความแล้ว แสดงธรรมที่เป็นไปเพื่อทุกข์และธรรมที่พ้นทุกข์
ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค แสดงสภาวธรรมที่เป็นปัจจัยอุปการะกัน อาศัยกันเกิดขึ้นติดต่อเนื่องกัน ทำให้นามรูปเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏหาที่สิ้นสุดมิได้ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท และแสดงปัจจัยให้พิสดารเป็น ๒๔ ปัจจัย เรียก ปัฏฐานนัย หรือ ปัจจัย ๒๔ ตลอดจนบัญญัติธรรม
ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค แสดงการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ธัมมสังคณีมาติกา
ธัมมสังคณี เป็นคัมภีร์ที่ ๑ ของพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งมีทั้งหมด ๗ คัมภีร์ และเป็นคัมภีร์สำคัญที่สุด เพราะเป็นคัมภีร์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงหัวข้อธรรม ที่เป็นเนื้อหาหลักของพระอภิธรรมปิฎก เรียกว่า “มาติกา” ไว้เป็นเบื้องต้น แบ่งออกเป็น ๓ อย่าง คือ
(๑) ติกมาติกา ๒๒ ติกะ
(๒) ทุกมาติกา ๑๐๐ ทุกะ
(๓) สุตตันติกทุกมาติกา ๔๒ ทุกะ
“มาติกา” แปลว่า แม่บท หรือ หัวข้อ เป็นการรวบรมปรมัตถธรรมทั้งหมดไว้เป็นหมวดหมู่ จากนั้นก็ทรงแสดงขยายออกไปเป็น ๔ กัณฑ์ คือ จิตตุปปาทกัณฑ์ (แสดงเรื่องจิตและเจตสิก) รูปกัณฑ์ (แสดงเรื่องรูป) นิกเขปกัณฑ์ (แสดงติกมาติกาและทุกมาติการวมกัน) และอัฏฐกถากัณฑ์ (แสดงเพื่อเก็บองค์ธรรมของติกมาติกาและทุกมาติกา)
สำหรับหนังสือคู่มือการศึกษา “ธัมมสังคณีมาติกา” นี้ เป็นการจำแนกองค์ธรรมของ “ติกมาติกา” “ทุกมาติกา” และ “สุตตันติกทุกมาติกา” ในคัมภีร์ธัมมสังคณีปกรณ์ ตามนัยของคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหอรรถกถาและฏีกา โดยสังเขป เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับนักศึกษานำไปศึกษาค้นคว้าต่อในคัมภีร์ชั้นสูงขึ้นไป
มหาปัฏฐาน
(กุสลติกมาติกา ปัญหาวาระ อนุโลมนัย)
คัมภีร์มหาปัฏฐาน หรือ “ปัฏฐาน” เป็นคัมภีร์ที่ ๗ ของพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งมีทั้งหมด ๗ คัมภีร์ เป็นคัมภีร์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำเอาปรมัตถธรรมที่เป็นจุดตั้งต้น คือ ปัจจัย จำนวน ๒๔ ปัจจัย มาแสดงให้เห็นความสามารถ (สัตติ) และหน้าที่ของปัจจัยแต่ละปัจจัย แล้วทรงนำมาติกาในธัมมสังคณีปกรณ์ ๑๒๒ หมวด มาจำแนกด้วยปัจจัยทั้ง ๒๔ ปัจจัย เพื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์โดยความเป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน
สำหรับหนังสือคู่มือการศึกษา “มหาปัฏฐาน” (กุสลติกมาติกา ปัญหาวาระ อนุโลมนัย) นี้ เป็นการแสดงองค์ธรรมของปัจจยุเทสและปัจจยนิเทส ๒๔ ปัจจัย ในธัมมานุโลม ติกปัฏฐาน และแสดงการจำแนกกุสลติกมาติกาด้วยปัจจัย ๒๔ ในปัญหาวาระ ปัจจยานุโลม วิภังควาระ โดยแสดงองค์ธรรมตามนัยอภิธัมมัตถสังคหอรรถกถาและฏีกา
วิสุทธิมัค (สังเขป)
คัมภีร์วิสุทธิมัค เป็นคัมภีร์ว่าด้วยทางปฏิบัติเพื่อความหมดจด “วิสุทธิมัค” แปลว่า ทางแห่งความหมดจด คือ สิกขา ๓ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นทางปฏิบัติเพื่อความหมดจดจากกิเลส รจนาโดยพระพุทธโฆสมหาเถระ ชาวอินเดียใต้ ปีพุทธศักราช ๙๕๖ ในรัชสมัยพระเจ้า มหานาม ประเทศศรีลังกา โดยประมวลพระไตรปิฎกพร้อมด้วยอรรถกถาโดยสังเขปแล้วรจนาคัมภีร์วิสุทธิมัคขึ้น
ในการรจนานั้น ท่านได้ยกพระคาถาบทหนึ่งจากสังยุตตนิกาย มาเป็นบทนำของคัมภีร์ว่า
สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ โส อิมํ วิชฏเย ชฏํ.
สํ.ส. ๑๕/๖๑/๒๐ (สฺยา)
แปลความว่า “นรชนผู้มีปัญญา เห็นภัยในสังสารวัฏ ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญจิตและปัญญา มีความเพียร มีปัญญาเครื่องบริหารนั้น ย่อมถางชัฏนี้ได้”
ต่อจากนั้นท่านจึงได้อธิบายศีล สมาธิ ปัญญา ตามใจความพระคาถาข้างต้น โดยจำแนกออกเป็น ๒๓ หัวข้อ (ปริจเฉท) คือ
ศีลนิเทศ แสดงถึงการรักษาศีล
ธุตังคนิเทศ แสดงถึงวิธีการบำเพ็ญธุดงควัตร
กัมมัฏฐานคหณนิเทศ แสดงถึงบุพกิจเบื้องต้นก่อนการเจริญสมถกรรมฐาน
ปฐวีกสิณนิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญปฐวีกสิณ โดยละเอียด
เสสกสิณนิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญกสิณ ที่เหลืออีก ๙ ประการ
อสุภกัมมัฏฐานนิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญอสุภกรรมฐาน ๑๐ ประการ
ฉอนุสสตินิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญอนุสสติกรรมฐาน ๖ ประการแรก ตั้งแต่พุทธานุสสติ ถึง เทวตานุสสติ
อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญอนุสสติกรรมฐาน ที่เหลืออีก ๔ ประการ
พรหมวิหารนิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญพรหมวิหารกรรมฐาน ๔ ประการ
อารุปปนิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญอรูปกรรมฐาน ๔ ประการ
สมาธินิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา และจตุธาตุววัตถาน
อิทธิวิธินิเทศ แสดงถึงวิธีการแสดงฤทธิ์ต่างๆ ๑๐ ประการ อันเป็นผลมาจากการเจริญสมถกรรมฐาน
อภิญญานิเทศ แสดงถึงอภิญญา ๖ ประการ อันเป็นผลจากการเจริญสมถกรรมฐาน
ขันธนิเทศ แสดงถึงขันธ์ ๕ อันเป็นภูมิของวิปัสสนากรรมฐาน
อายตนธาตุนิเทศ แสดงถึงอายตนะ ๑๒ และ ธาตุ ๑๘ อันเป็นภูมิของวิปัสสนากรรมฐาน
อินทริยสัจจนิเทศ แสดงถึงอินทรีย์ ๒๒ และอริยสัจ ๔ อันเป็นภูมิของวิปัสสนากรรมฐาน
ปัญญาภูมินิเทศ แสดงถึงปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ประการ อันเป็นภูมิของวิปัสสนากรรมฐาน
ทิฏฐิวิสุทธินิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนเห็นรูปนามตามความเป็นจริง
กังขาวิตรณวิสุทธินิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนสิ้นความสงสัยในสภาวธรรม เพราะเห็นรูปนามพร้อมเหตุปัจจัย
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนข้ามพ้นวิปัสสนูปกิเลส
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนดำเนินไปตามวิถีของวิปัสสนาญาณ ๙
ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศแสดง ถึงวิธีการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนได้บรรลุอริยมรรค เป็นพระอริยบุคคล
ปัญญาภาวนานิสังสนิเทศ แสดงถึงอานิสงส์ของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
หนังสือคู่มือการศึกษา “วิสุทธิมัค (สังเขป)” นี้ เป็นการย่อความจากอรรถกถาวิสุทธิมรรคแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นการรวบรวมเอาเฉพาะเนื้อหาที่มีความสำคัญอันจำเป็นที่นักศึกษาจะต้องทราบ ตามลำดับ ๒๓ ปริจเฉท
By ผู้ดูแลระบบ • Uncategorized •